ท่องเที่ยว
||
เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
||
ดูดวงตำราไทย
||
อ่านบทละคร
||
เกมส์คลายเครียด
||
วิทยุออนไลน์
||
ดูทีวี
||
ท็อปเชียงใหม่
||
รถตู้เชียงใหม่
Truehits.net
dooasia : ดูเอเซีย
รวมเว็บ
บอร์ด
เรื่องน่ารู้ของสยาม
สิ่งน่าสนใจ
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
เที่ยวหลากสไตล์
มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
เส้นทางความสุข
ขับรถเที่ยวตลอน
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
อุทยานแห่งชาติในไทย
วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
ไก่ชนไทย
พระเครื่องเมืองไทย
เที่ยวภาคเหนือ
กำแพงเพชร
:
เชียงราย
:
เชียงใหม่
:
ตาก
:
นครสวรรค์
:
น่าน
:
พะเยา
:
พิจิตร
:
พิษณุโลก
:
เพชรบูรณ์
:
แพร่
:
แม่ฮ่องสอน
:
ลำปาง
:
ลำพูน
:
สุโขทัย
:
อุตรดิตถ์
:
อุทัยธานี
เที่ยวภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
:
ขอนแก่น
:
ชัยภูมิ
:
นครพนม
:
นครราชสีมา(โคราช)
:
บุรีรัมย์
:
มหาสารคาม
:
มุกดาหาร
:
ยโสธร
:
ร้อยเอ็ด
:
เลย
:
ศรีสะเกษ
:
สกลนคร
:
สุรินทร์
:
หนองคาย
:
หนองบัวลำภู
:
อำนาจเจริญ
:
อุดรธานี
:
อุบลราชธานี
:
บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
เที่ยวภาคกลาง
กรุงเทพฯ
:
กาญจนบุรี
:
ฉะเชิงเทรา
:
ชัยนาท
:
นครนายก
:
นครปฐม
:
นนทบุรี
:
ปทุมธานี
:
ประจวบคีรีขันธ์
:
ปราจีนบุรี
:
พระนครศรีอยุธยา
:
เพชรบุรี
:
ราชบุรี
:
ลพบุรี
:
สมุทรปราการ
:
สมุทรสาคร
:
สมุทรสงคราม
:
สระแก้ว
:
สระบุรี
:
สิงห์บุรี
:
สุพรรณบุรี
:
อ่างทอง
เที่ยวภาคตะวันออก
จันทบุรี
:
ชลบุรี
:
ตราด
:
ระยอง
เที่ยวภาคใต้
กระบี่
:
ชุมพร
:
ตรัง
:
นครศรีธรรมราช
:
นราธิวาส
:
ปัตตานี
:
พัทลุง
:
พังงา
:
ภูเก็ต
:
ยะลา
:
ระนอง
:
สงขลา
:
สตูล
:
สุราษฎร์ธานี
www.dooasia.com
>
เมืองไทยของเรา
>
อยุธยา
พื้นเพคนท้องถิ่น
|
ย้อนกลับ
|
หน้าต่อไป
|
พื้นเพของคนอยุธยาอาจไม่ต่างจากคนพื้นเพในจังหวัดต่าง ๆ แถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา เช่น อ่างทอง สุพรรณบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี เท่าใดนัก เนื่องจากชาวจังหวัดต่าง ๆ แถบนี้ล้วนมีวัฒนธรรมเกี่ยวกับสายน้ำและทุ่งกว้าง ที่ครอบคลุมหลายจังหวัด คือ ทุ่งมหาราช ที่ครอบคลุมหลายเขต เช่น ทุ่งบางปะหัน บ้านแพรก ดอนพุธ (สระบุรี) และมหาราช และจากการที่อยู่กันตามริมแม่น้ำ หรือทุ่งกว้าง ชาวบ้านนิยมปลูกบ้านเรือนเรียงกันเป็นแถวไปตามลำน้ำ โดยหันหน้าเรือนออกไปทางริมแม่น้ำลำคลอง และด้านหลังจะเป็นทุ่งนา บางท้องที่ชอบอาศัยอยู่ในเรือนแพ บริเวณที่ลำน้ำมาบรรจบกันหลายสาย มักจะมีบ้านเรือนหนาแน่น เพราะเป็นศูนย์เรือที่สัญจรไปมา และคนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ มักจะเป็นผู้มีอันจะกิน อีกทั้งมักเป็นคนเก่าแก่ในท้องถิ่น
สำหรับในตัวอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ชุมชนเก่ามักอยู่ริมน้ำ โดยเฉพาะบริเวณที่น้ำมาบรรจบกัน เช่น ย่านหัวรอ (แม่น้ำเจ้าพระยามาบรรจบกับคลองหันตรา และฝั่งตรง ข้ามกับวัดพนัญเชิง (บางกระจะ) ที่เรียกว่าตำบลสำเภาล่ม (แม่น้ำเจ้าพระยาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก)
สำเนียงพูด
ชาวอยุธยาจะมีสำเนียงพูดคล้ายคนในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม อ่างทอง สิงห์บุรี โดยชาวอำเภอบางซ้าย ผักไห่ เสนา ลาดบัวหลวง ซึ่งอยู่ใกล้สุพรรณบุรี และนครปฐม จะพูดสำเนียงเหน่อกว่าชาวอำเภออื่น ทั้งคนอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม คิดว่า เรื่องเขตแดนเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อสะดวกในการปกครอง แต่ไม่แบ่งสายสัมพันธ์ ระหว่างกันและกัน จึงนับได้ว่าสำเนียงเช่นนี้เป็น สำเนียงไทยแท้แต่ดั้งเดิม อยุธยาซึ่งเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม เป็นราชธานี และมีความรุ่งเรืองกว่า ๔๐๐ ปี และใช้สำเนียงนี้ แต่ คนบางกอกยุคหลังน่าจะพูดผิดเพี้ยนเป็นสำเนียงไทยปนจีน ปนแขก หรือปนฝรั่ง อย่างเช่นปัจจุบันมากกว่า
กลุ่มคนในอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาในอดีตเป็นราชธานี และเป็นเมืองท่านานาชาติที่สำคัญ นอกจากคนพื้นเมืองแล้ว ยังมีคนต่างชาติต่างภาษา เข้ามาอาศัยอยู่ไม่น้อย อาจพบว่าโบราณสถานบางแห่งที่ยังคงเหลืออยู่บ้าง แต่ศิลปวิทยาการบางอย่างที่คนต่างชาติได้ถ่ายทอดไว้มีอยู่มาก เช่น ขนมทองหยิบ ฝอยทอง ของชาวโปรตุเกส การต่อเรือกำปั่นของชาวเนเธอร์แลนด์ และกล้องดูดาวของชาวฝรั่งเศส คำพูดบางคำที่เรายืมมาจากแขกชาวมุสลิม เช่น กุหลาบ กั้นหยั่น และการสร้างรูปแบบสถาปัตยกรรมซุ้มโค้งแบบโดม กรอบประตู หน้าต่าง ของวัดวาอาราม ตลอดจนพระราชวัง เป็นต้น เมื่อกรุงศรีอยุธยาสิ้นสภาพเป็นราชธานี ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อยุธยา ก็ยังมีคนไทยเชื้อสายต่างชาติอยู่หลายกลุ่ม เช่น มอญ ไทยมุสลิม ญวน ลาวเวียงจันทน์ และชาวจีน ซึ่งจะกล่าวถึงคนกลุ่มเหล่านี้ พอสังเขป
ชาวมอญ
ตั้งบ้านเรือนที่บ้านเสากระโดง อำเภอบางปะอิน มีวัดทองบ่อ เป็นศูนย์กลางหมู่บ้าน โดยอพยพมาตั้งหลักแหล่งในไทยครั้ง แรก เมื่อประมาณ ๓๐๐ กว่าปีมาแล้ว ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ปี พ.ศ.๒๓๑๗ ได้อพยพเข้ามาอีกระลอกหนึ่ง ประมาณ ๔ พันกว่า คน และได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี จนกระทั้งในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้อพยพ เข้ามาอีกครั้ง ประมาณ หมื่นกว่าคน จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่ที่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี นครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) รวมทั้ง กระจายมาอยู่ที่อยุธยาด้วย เดิมชาวมอญมีอาชีพค้าขายทางเรือ โดยไปรับซื้อใบจากที่ปากน้ำสมุทรปราการ และมาขายที่จังหวัดอยุธยาเลยไปจนถึง นครสวรรค์ แต่ปัจจุบัน ลูกหลานมอญจะได้รับการศึกษาสูง ทำงานราชการและเอกชนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่ได้รับการศึกษาน้อย จะทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม แถวอำเภอบางปะอิน
ชาวไทยมุสลิม
ประชากรชาวไทยมุสลิม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมีจำนวนมากเมื่อเทียบกับกลุ่มชนอื่น โดยจะรวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ มีวัฒนธรรมประเพณี และวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดเป็นเอกลักษณ์ เช่น อาหารการกิน การปฏิบัติศาสนกิจ การแต่งงาน ไทยมุสลิมที่เข้ามาอาศัยอยู่ในอยุธยา ตั้งแต่ยังเป็นราชธานีมีอยู่ ๒ กลุ่มใหญ่ คือ พวกที่มาจากหัวเมืองปัตตานี (แขกตานี) โดยจะเข้ามาตั้งบ้านเรือนบริเวณคลองตะเคียน (บริเวณทางใต้ของเกาะเมือง) อาชีพของไทยกลุ่มแรกนี้ คือ พายเรือขายขนม และเครื่องใช้ทั่วไป อาชีพเสริม คือ ถักแห สวิง ส่งมาจำหน่ายที่หัวรอ และกรุงเทพฯ อีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มที่สืบเชื้อสายมาจากต่างชาติ หรือเรียกว่า แขกเทศ เช่น เปอร์เซีย อาหรับ และอินเดีย พักอาศัยอยู่แถบลุมพลี ภูเขาทอง หัวแหลม บุคคลสำคัญ คือ ท่านเฉกอะหมัด จุฬาราชมนตรี คนแรกของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา (ต้นตระกูลบุนนาค) และยังมีที่สืบเชื้อสายมาจากสุลต่านเมืองสงขลา รวมทั้งพวกตระกูล พุฒตาล ซึ่งไทยมุสลิม มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า แขกแพ หรือแขกเมือง อาชีพของไทยมุสลิมกลุ่มที่ ๒ นี้ คือ การพายเรือเร่ขายสินค้าที่มาจากต่างประเทศ เช่น ผ้า แพรพรรณ จานชาม เครื่องใช้ต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันไทยมุสลิมจะกระจัดกระจายในท้องที่ต่าง ๆ เช่น อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอวังน้อย และ อำเภอนครหลวง เป็นต้น
ชาวญวน
ญวนกลุ่มนี้อพยพเข้ามาในตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา คราวเดียวกับญวนที่เมืองจันทบุรี เป็นครั้งแรก ต่อมาในสมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์ ได้เกิดกบฎที่เมืองไต้เซินของญวน จึงได้อพยพเข้ามาอีกครั้งหนึ่งส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนอยู่ในท้องที่สำเภาล่ม ซึ่งคนอยุธยาจะเรียกว่า บ้านญวน เป็นชุมชนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค และมีวัดนักบุญยอแซฟ เป็นศูนย์กลาง ของชุมชน ปัจจุบันชาวญวนแพร่ขยายไปตั้งบ้านเรือนตามท้องที่ต่าง ๆ เช่น บ้านแพน เจ้าเจ็ด เสนา บ้านหน้าโคก (อำเภอผักไห่) แต่ที่อยู่ กันหนาแน่นมากที่สุด คือ ที่เกาะใหญ่ (บางไทร) ใช้ภาษาญวนในพิธีกรรมทางศาสนาอยู่บ้าง และชาวบ้านละแวกนั้น เรียกว่า เกาะญวน
ชาวลาวเวียงจันทน์
ชาวลาวเวียงจันทน์ หนีความแห้งแล้งกันดาร จากแผ่นดินเกิดเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ ๒ ที่อาศัยอยู่ในอำเภอนครหลวง จะตั้งบ้านเรือนเรียงกันไปตามริมแม่น้ำป่าสัก อาศัยอยู่บ้านสามไถ ต้นโพธิ์ และหนองไผ่ มีนายเทา เป็นผู้นำช่างฝีมือชาวลาว ทั้งช่างทอง ช่างทอผ้า ช่างตีเหล็ก ซึ่งกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้เสด็จทอดพระเนตรฝีมือตีมีด และพอพระราชหฤทัยมาก จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นขุนนราบริรักษ์ (ต้นตระกูลพันหนอง) ชาวไผ่หนอง นิยมปลูกบ้านเรือนติดต่อกันสามารถเดินลอด ใต้ถุนบ้านถึงกัน และแต่ละหลังจะมีเครื่องมือตีมีด และหูกทอผ้า เมื่อถึงช่วงงานนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี จะตีมีดใส่เรือพร้อม พืชผักไปขาย และยังนำมีดไปขายที่บ้านอรัญญิก เหนือลำน้ำป่าสัก และมีดอรัญญิกที่เรารู้จักกันดี จึงเรียกชื่อตามแหล่งจำหน่าย จนถึงปัจจุบัน แต่แหล่งผลิตคือชาวบ้านต้นโพธิ์ และบ้านไผ่หนอง
ชาวจีน
ในอดีตชาวจีนอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่หน้าแน่น บริเวณวัดพนัญเชิง และริมฝั่งน้ำตรงกันข้ามกับวัดพนัญเชิง ปัจจุบัน จะอาศัยหนาแน่นอยู่บริเวณหัวรอ ตลาดเจ้าพรหม มีทั้งจีนแต้จิ๋ว และไหหลำ ตระกูลเก่าที่มีบทบาทในธุรกิจอยุธยาปัจจุบัน คือ แซ่เบ้ (แต้จิ๋ว) และเปลี่ยนนามสกุลเป็นไทย มีคำว่า อัศว นำหน้า ส่วนแซ่ด่าน (ไหหลำ) นั้นเปลี่ยนเป็น นามสกุลมีคำว่า ด่าน นำหน้า นอกจากนั้นยังรวมตัวกันเป็น สมาคมชมรมมูลนิธิเหล่านี้จะช่วยเหลือในด้าน สาธารณกุศลในอยุธยา อาชีพของชาวจีนเหล่านี้ คือ ทำธุรกิจโรงเลื่อยไม้ รวมทั้งมีการต่อเรือ เช่นเดียวกับชาวญวนด้วย
|
ย้อนกลับ
|
หน้าต่อไป
|
บน
|
www.dooasia.com
>
เมืองไทยของเรา
>
อยุธยา
กรุงศรีอยุธยา
ความเป็นอยู่
พุทธศาสนา
การสงคราม
การล่มสลาย
ศิลปวัตถุ
คนท้องถิ่น
หัตถกรรม
เทศกาลประเพณี
มหรสพ
พุทธปฏิมากร
มรดกโลก
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย
www.dooasia.com
เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com
ใช้
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
.