ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > อยุธยา

หัตถกรรมกรุงเก่า

| ย้อนกลับ |หน้าต่อไป |

สมัยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีความเจริญในด้านช่างหลายแขนง ศิลปสกุลช่างอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นด้าน สถาปัตยกรรม จิตกรรม หรือประติมากรรม ซึ่งถือได้ว่าเป็นยุคทองของศิลปกรรมไทย โดยดูได้จากเครื่องทองของมีค่า เช่น ข้าวของ เครื่องใช้เครื่องประดับของเจ้านาย จากฝีมือช่างในราชสำนัก ที่พบในกรุวัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ ในอดีต มีงานศิลปหัตถกรรมระดับชาวบ้าน ชาวเมืองก็มีมากมาย โดยเฉพาะในเกาะเมืองตลอดจนบริเวณโดยรอบ มีแหล่งผลิตและจำหน่าย เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเหล็ก เครื่องเงิน เครื่องทองเหลือง ตะลุ่มพาน เครื่องอัฐบริขาร และเครื่องไม้ปรุงเรือน
ภายหลังที่กรุงแตก ผู้คนต้องหนีภัยสงคราม และช่างในราชสำนักถูกพม่ากวาดต้อนไปพม่า บางกลุ่มที่หนีเข้าป่าแล้วกลับมาตั้งรกรากในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ศิลปหัตถกรรมกรุงเก่า ในปัจจุบันจะมีหม้อดินเผาคลองสระบัว มีดอรัญญิก รูปหินสลัก ตะเพียนทอง ปลาไทยจากใบลาน ตุ๊กตาชาวบ้าน งอบกรุงเก่า ปรุงเรือนไทย เป็นต้น

หม้อดินเผาคลองสระบัว
อาชีพปั้นหม้อของชุมชนสองฝั่งคลองสระบัว (เป็นงานอาชีพหัตถกรรมที่เก่าแก่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี) และเดิมคลองสระบัว มีชื่อเรียกว่า คลองหม้อ ปัจจุบัน คงเหลือผู้ปั้นหม้อเพียงสิบกว่าหลังคาเรือน และหม้อที่ยังคงปั้น มีอยู่ ๕ ชนิด คือ หม้อต้น หม้อกลาง หม้อจอก หม้อหู และ หม้อกา โดยสามอย่างแรก เป็นหม้อลักษณะกลมก้นมนมีฝาปิด (แบบหม้อต้มยา) ส่วนหม้อหู  คือหม้อแกงมีหู และหม้อกา คือกาต้มน้ำ  ที่นิยมทำขาย คือ หม้อกลาง และหม้อจอก เฉพาะขนาดพอเหมาะใช้สำหรับหุงต้ม

มีดอรัญญิก
มีดอรัญญิก เป็นมีดที่ชาวบ้านไผ่หนอง  และบ้านต้นโพธิ์ อำเภอนครหลวง เป็นผุ้ผลิตด้วยเหล็กเนื้อเหนียว แกร่งและคม  เหมาะแก่การใช้สอยในหลายรูปแบบ และนำมาจำหน่ายที่ตลาดอรัญญิก คนที่ซื้อใช้จึงเรียกกันติดปากว่า "มีดอรัญญิก" บรรพบุรุษที่ตีมีดของทั้งสองหมู่บ้าน เป็นชาวลาวมาจากเวียงจันทน์ ที่อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ ๒ และส่วนใหญ่เป็น ช่างผู้มีฝีมือตีเหล็ก นอกจากจะตีมีดอรัญญิกแล้วยังรับทำจอบ เสียม ผาน และทำใบเคียวเกี่ยวข้าว รวมทั้งรับซ่อมเครื่องมือเหล็ก ดังกล่าวอีกด้วย แม้ในปัจจุบัน พวกชาวนาจะหันไปใช้รถไถ รถเกี่ยวข้าวแทนเครื่องมือดั้งเดิมกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ทั้งสองหมู่บ้านก็ยังคงยึด อาชีพนี้เป็นอาชีพหลัก

รูปหินสลัก
การแกะสลักหินมิใช่อาชีพเก่าแก่ของอยุธยา เมื่อเที่ยบกับการปั้นหม้อหรือตีเหล็ก  แต่เกิดขึ้นจากผลพลอยได้ ที่ชาวบ้านคลุกคลีอยู่กับศิลปวัตถุโบราณที่ยังคงมีอยู่ทั่วไปในราชธานีเดิมแห่งนี้ และฝีมือช่างของคนยุคหลังก็สามารถทำได้งดงามไม่แพ้ของโบราณ การบุกเบิกงานช่างแกะสลักหิน เริ่มทดลองและแกะหิน เลียนแบบของโบราณ จนกระทั้งทำเป็นอาชีพ และกลุ่มลูกค้าก็ขยายวงกว้างขึ้น เช่น พระสงฆ์ที่มาจ้างแกะพระพุทธรูป  โรงแรมต่าง ๆ จ้างแกะเทวรูป และงานที่กรมศิลปากรจ้างให้ซ่อมแซมโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น งานการแกะเศียรพระพุทธรูปวัดไชยวัฒนาราม ที่ขาดหายไป ตะเพียนทอง-ปลาไทยจากใบลาน
ปลาตะเพียนใบลานเป็นงานหัตถศิลป์ ฝีมือชาวมุสลิมในท้องที่ท่าวาสุกรี บ้านหัวแหลม ที่อยู่คู่กับกรุงศรีอยุธยามาร่วมร้อย ปี และนับเป็นแหล่งผลิตปลาตะเพียนใบลานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากคนไทยแต่เดิมใกล้ชิดกับปลาตะเพียนมานาน  จนถือว่าปลาตะเพียนเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ตามความเชื่อดังกล่าว จึงมีผู้นำใบลานแห้งมาสานเป็นปลาตะเพียนจำลอง ขนาดต่าง ๆ ผูกเป็นพวง เพื่อนำไปแขวนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน เป็นศิริมงคลสำหรับเด็ก พร้อมทั้งมุ่งให้เด็กเจริญเติบโต มีฐานะมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ ดุจปลาตะเพียนในฤดูข้าวตกรวง
ปลาตะเพียนสาน มี ๒ ชนิด คือ ชนิดลวดลายและตกแต่งสวยงาม  ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ และอีกชนิดหนึ่งเป็นเพียงสีใบลานตามธรรมชาติ



| ย้อนกลับ |หน้าต่อไป | บน |

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > อยุธยา

กรุงศรีอยุธยา ความเป็นอยู่ พุทธศาสนา การสงคราม การล่มสลาย ศิลปวัตถุ คนท้องถิ่น หัตถกรรม เทศกาลประเพณี มหรสพ พุทธปฏิมากร มรดกโลก
 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์