ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > อนุเสาวรีย์ทหาริ

บางระจัน ทหารอาสา พิพาทอินโดจีน สงครามมหาเอเชียบูรพา สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ต่อสู้คอมมิวนิสต์


| ย้อนกลับ | หน้าค่อไป |


อนุสาวรีย์กรณีพิพาทอินโดจีน
      อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
      ณ กรุงเทพมหานคร
นับตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ประเทศไทยต้อง เสียดินแดนให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศสไปหลายครั้งเพื่อรักษาเอกราช และดินแดนส่วนใหญ่ไว้
ในระยะเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่มียุทธภูมิอยู่ในทวีปยุโรปประเทศไทยกับฝรั่งเศส ได้ลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกัน เมื่อ ๑๒ มิ.ย.๘๓ แต่ยังไม่ได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันกันฝรั่งเศษได้ขอให้สนธิสัญญานี้มีผลบังคับ ใช้โดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนสัตยาบันเพื่อประโยชน์ของฝรั่งเศสเอง
รัฐบาลไทย โดยนายพลตรีหลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตอบตกลงแต่มีเงื่อนไขว่าฝรั่งเศสจะต้องยอมรับข้อเสนอของไทย ๓ ประการ คือ
ข้อ ๑ ขอให้มีการกำหนดเส้นเขตแดนไทยตามลำแม่น้ำโขงตามหลัก กฎหมายระหว่างประเทศ โดยการถือร่องน้ำลึกเป็นเส้นเขตแดน
ข้อ ๒ ให้ปรับปรุงเส้นเขตแดงให้เป็นไปตามธรรมชาติโดยถือแม่น้ำโขง เป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับอินโดจีน ตั้งแต่ทิศเหนือสุดจนจรดทิศใต้ถึงเขตกัมพูชา ให้ฝ่ายไทยได้รับดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามหลวงพระบาง และตรงข้ามปากเซกลับคืนมาเป็นของไทย อย่างเดิม
ข้อ ๓ ให้ฝรั่งเศสรับรองว่าเมื่อฝรั่งเศสไม่ได้ปกครองอินโดจีนแล้วให้คืนลาวและกัมพูชา กลับคืนมาให้ไทยฝรั่งเศสปฏิเสธข้อเสนอของไทย ไทยจึงได้จัดกำลังเตรียมการ ดังนี้
กองทัพบกสนาม มีนายพลตรีหลวงพิบูลสงคราม เป็นแม่ทัพ นายพันเอกหลวงพรหม โยธี เป็นรองแม่ทัพ นายพันเอกเกรียงศักดิ์ พิชิต เป็นผู้ช่วยแม่ทัพและนายพันเอกหลวงวิชิตสงคราม เป็นเสนาธิการกองทัพ กองทัพบกสนามนี้ประกอบด้วย กองทัพบูรพา กองทัพอีสาน กองพลพายัพ กองพลผสมปักษ์ใต้ และกองพลผสมกรุงเทพ ฯ
กองทัพบูรพา มีนายพันเอกเอกหลวงพรหมโยธี เป็นแม่ทัพ นายพันเอกหลวงเสรี เริงฤทธิ์ และนายพันเอกหลวงไพรี ระย่อเดช เป็นรองแม่ทัพ นายพันโทหลวงบูรณสงคราม เป็นเสนาธิการกำลัง ประกอบด้วยกองพลผสมปราจีณ (กองพลวัฒนาและกองพลลพบุรี) กองพลผสมอรัญ (กองพลพระนคร) กองพลจันทบุรีและกองหนุนบูรพา ได้รับภารกิจให้เข้าตีอินโดจีนทางด้านเขมร



อนุสาวรีย์วีรไทย
ณ กองบัญชาการ กองทัพภาคที่ 3 จ.พิษณุโลก

อนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกในราชการสงคราม
ณ หน้าค่ายจิรประวัติ จ.นครสวรรค์


กองทัพอีสาน มีนายพันเอกหลวงเกรียงศักดิ์ พิชิต เป็นแม่ทัพ นายพันเอกหลวงชำนาญ ยุทธศิลป์ และนายพันโทขุนปลด ปรปักษ์ เป็นรองแม่ทัพ นายพันโทหลวง เดชประดิยุทธ เป็นเสนาธิการกำลัง ประกอบด้วย กองพลอุดร กองพลสุรินทร์ กองพลอุบลและกองหนุนอีสาน ได้รับภารกิจให้เข้าตีอินโดจีนด้านลาว (ที่ปากเซ และจำปาศักดิ์)
กองพลพายัพ มีนายพันโทหลวงหาญ สงคราม เป็นผู้บัญชาการกองพล นายพันโทขุนเรือง วีรยุทธ เป็นรอง ๑ นายพันโทหลวงสุทธิ สารรณกร เป็นเสนาธิการกำลัง ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ ๒๘ นครสวรรค์ กองพันทหารราบที่ ๒๙ พิษณุโลก กองทัพทหารราบที่ ๓๐ ลำปาง และกองทัพทหารราบที่ ๓๑ เชียงใหม่
ในกรณีพิพาทอินโดจีน ทหารไทยได้ประกอบวีรกรรมเป็นจำนวนมากที่สำคัญและได้สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย มากที่สุด คือ การรบที่ห้วยยางตำบลบ้านพร้าวในเขตเขมร โดยกองพันทหารราบที่ ๓ พระนคร (ปัจจุบัน คือ กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ (รักษาพระองค์) สังกัดกองพลพระนคร ในกองพันผสมอรัญ ในกองทัพบูรพาจนได้รับสมญานามว่า กองทัพทหารเสือ
๒๘ พ.ย.๘๗ ฝรั่งเศสได้ส่งเครื่องบิน จำนวน ๕ ลำ จากท่าแขกมาทิ้งระเบิดที่นครพนมฝ่ายไทย ได้นำเครื่องบินขับไล่ ๓ เครื่องขึ้นต่อสู้ ขับไล่เครื่องบินข้าศึกหลบหนีกลับไปหลังจากนั้นก็ได้มีการรบทางอากาศ จังหวัดชายแดนตั้งแต่หนองคาย ถึงจันทบุรีและเมืองต่าง ๆ ในลาวและเขมร



อนุสารีย์วีรไทย
ณ ค่ายจักรพงษ์ จ.ปราจีนบุรี

อนุสาวรีย์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง
ณ ชายทะเล อ.แหลมงอบ จ.ตราด


๕ ม.ค.๘๔ กองทัพสนามของไทย ได้เคลื่อนกำลังรุกเข้าไปในดินแดงลาวและเขมร ประสบชัยชนะตลอดแนว ดังนี้
กองทัพบูรพา ยึด ศรีโสภณไพลินและพระตะบองได้
กองทัพอิสาน ยึด จำปาศักดิ์ได้
กองทัพพายัพ ยึด ปากลาย หงสาและเชียงฮอนได้
๑๗ ม.ค.๘๔  เกิดยุทธนาวีเกาะช้าง ระหว่างราชนาวีไทยกับกองเรือรบฝรั่งเศส กองเรือรบฝ่ายไทย ๓ ลำ ได้แก่ เรือรบหลวงธนบุรี (เรือปืน) มีนายนาวาโทหลวงพร้อม วีรพันธ์ เป็นผู้บังคับการเรือ เรือรบหลวงสงขลา (เรือตอร์ปิโด) และ เรือรบหลวงชลบุรี (เรือตอร์ปิโด) กองเรือรบฝรั่งเศสมี ๗ ลำ ได้แก่ เรือลาดตระเวนลามอตต์ปิเกต์เป็นเรือธง พร้อมเรือสลุป
๒ ลำ และเรือปืน ๔ ลำ ฝ่ายไทยเสียเปรียบด้านกำลังมาก ผลการรบได้รับความเสียหายหนักทั้งสองฝ่าย
๒๕ ม.ค.๘๔ ไทยยอมรับข้อเสนอให้หยุดยิงของญี่ปุ่น ที่เข้ามาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาท ครั้งนี้
๒๘ ม.ค.๘๔ ไทยและฝรั่งเศสหยุดยิง และได้ลงนามในสัญญาพักรบที่ไซ่ง่อนบนเรือรบญี่ปุ่น เมื่อ ๓๑ ม.ค.๘๔


อนุสาวรีย์วีรไทย
ณ ค่ายสุรนารี จ.นครราชสีมา

๙ พ.ค.๘๔ ไทยและฝรั่งเศสได้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึก
ณ กรุงโตเกียว โดยไทยได้ดินแดนฝั่งขวา แม่น้ำโขง จำนวน ๖๙,๐๒๙ ตารางกิโลเมตรจากจำนวนที่ไทยเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสทั้งหมด ๔๖๗,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร
๒๔ มิ.ย.๘๔ นายพลตรีพระยาพหล พลพายุหเสนา เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิณ ต้นทางถนนพหลโยธิน บริเวณถนน พญาไท บรรจบกับถนนราชวิถี เพื่อเป็นอนุสรณ์และเกียรติประวัติแต่วีรชนผู้สละชีพเพื่อชาติในกรณีพิพาทอินโดจีน
จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์นี้เมื่อ ๒๔ มิ.ย.๘๕
ทหารและตำรวจที่เสียชีวิต ดังนี้ ทหารบก ๙๔ นาย ทหารเรือ ๔๑  นาย ทหารอากาศ ๑๓ นาย ตำรวจสนาม ๑๒ นาย รวมทั้งสิ้น ๑๖๐ นาย อัฐิของผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง ได้บรรจุไว้ณ อนุสาวรีย์แห่งนี้

| ย้อนกลับ | หน้าค่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์