ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > อนุเสาวรีย์ทหาริ

บางระจัน ทหารอาสา พิพาทอินโดจีน สงครามมหาเอเชียบูรพา สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ต่อสู้คอมมิวนิสต์


| ย้อนกลับ | หน้าค่อไป |

อนุสาวรีย์สงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่สอง)


อนุสาวรีย์วีรไทย
ณ ค่ายจักรพงษ์ จ.ปราจีนบุรี

อนุสาวรีย์วีรชน
ณ ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี


สงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มขึ้นที่ยุโรปเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ระหว่างฝ่ายพันธมิตร ซึ่งมีอังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นผู้นำกับฝ่ายอักษะ ซึ่งมีเยอรมันเป็นผู้นำ ต่อมาสหรัฐอเมริกาและรัสเซียและจีน เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร และญี่ปุ่น เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ
ประเทศไทยประกาศตัวเป็นกลาง เมื่อ ๕ ก.ย.๘๒ และได้ลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
เมื่อ ๒ มิ.ย.๘๓ กับญี่ปุ่นเมื่อ ๒๗ ก.ย.๘๓ เมื่อญี่ปุ่นได้ยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส ที่เวียดนามแล้ว
๗ ธ.ค.๘๔ ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ของสหรัฐที่ฮาวายและวันเดียวกันนั้นได้ยื่นข้อเสนอแก่ไทย ๓ ประการ คือ
- ขอเดินทัพผ่านดินแดนไทยไปยังพม่าและมะลายู
- ขอให้ไทยทำอนุสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น
- ขอให้ไทยทำอนุสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่น
๘ ธ.ค.๘๔ ประเทศไทยยังไม่ให้คำตอบ ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบก ที่ สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานีพร้อมกัน ทหารไทยได้ต่อต้านทหารญี่ปุ่นอย่างดุเดือด แต่ในที่สุดรัฐบาลไทย โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ีก็ได้ยินยอมตามข้อเสนอของญี่ปุ่น ให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทย โดยญี่ปุ่นรับรองที่จะ เคารพเอกราช และอธิปไตยของไทย ต่อมาไทยได้ทำอนุสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ร่วมมือกันทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ



อนุสาวรีย์ พ.อ.ขุนอิงคยุทธบริหาร
ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี

อนุสาวรีย์วีรไทย พ.ศ.2484
ณ ค่ายวชิราวุธ จ.นครศรีธรรมราช


อังกฤษได้ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิด ที่จังหวัดต่าง ๆ และที่กรุงเทพ ฯ เมื่อ ๒๔ ม.ค.๘๕
ไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เมื่อ ๒๕ ม.ค.๘๕
ญี่ปุ่นตอบแทนไทยด้วยการมอบดินแดน ในส่วนที่เคยเป็นของไทยมาก่อน ได้แก่ กลันตัน ตรังกานู ปลิศ และไทรบุรี จากรัฐมาลัย(มะลายู) เมืองเชียงตุงและเมืองพานจากรัฐฉาน โดยได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ว่าด้วย
อาณาเขตประเทศไทยในรัฐมาลัยและรัฐมาลัย เมื่อ ๓๐ ส.ค.๘๕ โดยที่เมืองเชียงตุงนั้น กองพลที่ ๓ ของกองทัพพายัพยึดได้
เมื่อ ๒๐ พ.ค.๘๕
ญี่ปุ่นยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อ ๑๔ พ.ค.๘๘ รัฐบาลไทย โดยมีนายดวงอภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรีได้ประกาศ สันติภาพ เมื่อ ๑๖ ส.ค.๘๘ มีสาระสำคัญว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเป็นโฆษะและพร้อมที่จะมอบ ดินแดนที่ญี่ปุ่นมอบให้คืนให้แก่อังกฤษ ในการนี้สหรัฐอเมริกายอมรับหลักการ การประกาศสันติภาพของไทย ส่วนอังกฤษ
ไม่ยอมรับทันทีได้มีการเรียกร้องหลายประเทศในการยกเลิกสถานะสงครามระหว่างกัน ในที่สุดได้ลงนามในข้อตกลงสมบูรณ์แบบ
เพื่อเลิกสถานะสงครามระหว่างไทยกับอังกฤษ เมื่อ ๑ ม.ค.๘๙ ที่สิงคโปร์



อนุสาวรีย์ยุวชนทหาร
ณ เชิงสะพานท่านางสังข์ จ.ชุมพร

อนุสาวริย์วีรไทย
ณ ค่ายสุรนารี จ.นครราชสีมา


ด้านการทหาร เมื่อไทยเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นแล้วก็ได้ขอให้ไทยส่งกำลังเข้ายึดรัฐฉาน ที่อยู่ในปกครองของอังกฤษ ปัจจุบันอยู่ในพม่า เพื่อป้องกันปีกขวาญี่ปุ่น
มีการจัดตั้งกองทัพพายัพ เมื่อ ๒๔ ธ.ค.๘๔ มี พลตรีจรูญ รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์ เป็นแม่ทัพ พลตรีจรูญ รัตนกูลเสรีฤทธิ์ เป็นแม่ทัพ พลตรีพระวิชัย ยุทธเดชา เป็นรองแม่ทัพกำลังประกอบด้วยกองพลที่ ๒ มีพลตรีหลวงไพรี ระย่อเดช เป็นผู้บัญชาการกองพล กองพลที่ ๓ มีพลตรีหลวงชำนาญ ยุทธศาสตร์ เป็นผู้บัญชาการกองพลและกองพลที่ ๔ มีพันเอกหลวง หาญสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองพล
กองพลที่ ๓ ยึดเชียงตุงเมืองหลวงของรัฐฉารได้เมื่อ ๒๖ พ.ศ.๘๕ และได้เปลี่ยนชื่อรัฐฉานเป็นสหรัฐไทยเดิม ได้ตั้งพลตรีหลวงชำนาญ ยุทธศาสตร์ (ผิน ชุณหะวัณ) เป็นข้าหลวงสหรัฐไทยเดิมเมื่อ ๒๔ ก.ย.๘๕ ขึ้นตรงกองทัพพายัพ
      อนุสาวรีย์วีรกรรม 8 ธันวาคม 84
      ณ กองบิน 53 จ.ประจวบคีรีขันธ์
    ๑. การรบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กองบินน้อยที่ ๕ มีนาวาอากาศตรีหม่อมหลวงประวาศ ชุมสาย ผู้บังคับการกองบิน ทหารอากาศได้พยายามต่อสู้ทุกวิถีทางทั้งทางบก และทางอากาศ อย่างองอาจกล้าหาญทำความสูญเสียให้แก่ ฝ่ายรุกรานอย่างหนัก ฝ่ายไทยเสียชีวิต ๔๐ นาย เสียเครื่องบิน ๔ เครื่อง
    ๒. การรบที่จังหวัดชุมพร กองพันทหารราบที่ ๓๘ มีพันตรีขุนเอกสิงห์ สุรศักดิ์ (เชิด เอกสิงห์) เป็นผู้บังคับกองพัน ได้รวบรวมกำลังทหาร ตำรวจ และยุวชนทหาร เข้าปะทะกับ ทหารญี่ปุ่นอย่างกล้าหาญ ฝ่ายไทยเสียชีวิต ๖ นาย บาดเจ็บ ๕ นาย
    ๓. การรบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช กองพันทหารราบที่ ๓๙ มีพันตรีหลวงประหาร วิปุราม (ชิน โหรากุล) เป็นผู้บังคับกองพัน กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๕ มีพันตรีหลวงอนันต์ สุรกาจ เป็นผู้บังคับกองพัน ได้ร่วมกันต้านทานกองกำลังของญี่ปุ่น อย่างรุนแรงถึงขั้นตะลุมบอนด้วยดาบปลายปืน ฝ่ายไทยเสียชีวิต ๓๙  นาย บาดเจ็บประมาณ ๑๐๐ นาย
    ๔. การรบที่จังหวัดสงขลา กองพันทหารราบที่ ๔๑ กรมทหารราบที่ ๑๘ มีร้อยเอกโชติ โกมลรัตน์ รักษาราชการผู้บังคับกองพัน กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๓  มีพันตรีขุมพร พีรพาน เป็นผู้บังคับกองพัน และกองพันทหารราบที่ ๕ มีพันโทขุนแถว เกถิงพล เป็นผู้บังคับกองพัน ได้นำกำลังเข้าอยู่สู้กับกองทหารญี่ปุ่นอย่างดุเดือด จนได้รับการสูญเสียอย่างหนัก ทั้งสองฝ่าย
    ๕. การรบที่จังหวัดปัตตานี กองพันทหารราบที่ ๔๒ (ปัจจุบัน คือ กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารที่ ๕ ) มีพันตรีขุนอิงค ยุทธบริหาร (ทองสุก อิงคกุล) เป็นผู้บังคับกองพัน ได้นำกำลังเข้าต่อสู้กับกองทหารญี่ปุ่น อย่างกล้าหาญจนเสียชีวิต ทหารหน่วยนี้เสียชีวิต ๒๔ นาย

| ย้อนกลับ | หน้าค่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์