www.dooasia.com >
เมืองไทยของเรา
>
อนุเสาวรีย์ทหาริ
บางระจัน
ทหารอาสา
พิพาทอินโดจีน
สงครามมหาเอเชียบูรพา
สงครามเกาหลี
สงครามเวียดนาม
ต่อสู้คอมมิวนิสต์
ชั้นที่ ๔
จัดแสดงเครื่องแบบ เครื่องหมายยศ และส่วนประกอบของเครื่องแบบทหาร โดยมีการจัดแสดงดังนี้
๑. จัดแสดงเครื่องแบบ เครื่องแต่งกายโดยใช้หุ่นจัดแสดง และภาพประกอบ
แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๖ สมัยคือ สมัยก่อนสุโขทัย สมัยสุโขทัย
สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และสมัยปัจจุบัน
จนวน ๑๕ หุ่น
๒. จัดแสดงส่วนประกอบของเครื่องแบบ เช่น หน้าหมวก อินทรธนู
เครื่องหมายยศ กระดุม เครื่องหมายเหล่า และเครื่องหมายสังกัด
๓. จัดแสดงหุ่นเท่าคนจริงแต่งเครื่องแบบเต็มยศ จำนวน ๔ หุ่น คือ
หุ่นทหารบก หุ่นทหารเรือ หุ่นทหารอากาศ และหุ่นตำรวจ
๔. การนำเสนอข้อมูลด้วยเครื่องจักรคำนวน และวีดิทัศน์ เกี่ยวกับวิวัฒนาการของเครื่องแบบ
เครื่องหมายยศ และเครื่องประกอบการแต่งกายของทหารตำรวจ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
อาคารภาพปริทัศน์
(PANORAMA)
เป็นอาคารทรงแปดเหลี่ยม ผนังภายในอาคารโค้งเป็นวงกลม มีจิตรกรรมฝาผนังขนาดสูง
๔.๓๐ เมตร ยาว ๙๐ เมตร แสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
เพื่อให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งความกล้าหาญเสียสละของบรรพบุรุษ
ที่ได้อุทิศตนเพื่อปกป้องและรักษาเอกราชของชาติ
จิตรกรรมฝาผนังที่แสดง
กลุ่มภาพที่ ๑ การก่อตั้งบ้านบ้านเมือง
มีภาพการสร้างกรุงศรีอยุธยา เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพในสมัยกรุงสุโขทัย
เริ่มต้นด้วยภาพพ่อขุนผาเมือง มอบเมืองแก่พ่อขุนบางกลางหาว ภากภาพพ่อขุนรามคำแห่งมหาราชโปรด
ฯ ให้ช่างจำหลักศิลาจารึกอักษาไทย ภาพพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงอาณาจักรทางใต้
ภาพเจดีย์เจ็ดยอด เมืองเชียงใหม่ พระบรมธาตุหริภุญไชยและเจดีย์กู่กุด เมืองลำพูน
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงอาณาจักรทางเหนือ
กลุ่มภาพที่ ๒ การวิวัฒนาการ
มีภาพการจัขบวนพยุหยาตราตามตำรับพิชัยสงครามในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่
๒ เป็นหลัก ส่วนหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพการรบที่เมืองเชียงกราน สมัยพระชัยราชาที่แสดงให้เห็ยถึงการใช้อาวุธปืนไฟเป็นครั้งแรก
และมีทหารอาสาชาวโปรตุเกสเข้ามาร่วมรบด้วย
กลุ่มภาพที่ ๓ การเสียกรุงศรีอยุธยา
และการกู้อิสรภาพ ครั้งที่ ๑
มีภาพสงครามยุทธหัตถี พ.ศ.๒๑๓๕ เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพการเสียเอกราช
ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๑๑๒ ซึ่งเป็นภาพการทำพิธีสงบศึกสงครามช้างเผือก ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ภาพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา และภาพการกู้เอกราชครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๑๒๗ ซึ่งเป็ภาพการประกาศอิสรภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ภาพหมู่เจดีย์อยุธยาที่วัดใหญ่ชัยมงคล และภาพเจดีย์ภูเขาทอง
กลุ่มภาพที่ ๔ ความรุ่งเรืองของอาณาจักรไทย
มีภาพราชทูตฝรั่งเศสถวายพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ณ พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
อัญเชิญพระสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ผ่ายวัดไชยวัฒนาราม แลพภาพเจ้าพระยาโกษาธิบดี
(ปาน) ราชทูตไทย ถวายพระราชสาสน์ แด่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ณ พระราชวังแวร์ซายส์
กลุ่มภาพที่ ๕ การเสียกรุงศรีอยุธยา
ครั้งที่ ๒
มีภาพพม่าเผากรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๓๑๐ เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพกองทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ.๒๓๐๘ ภาพวีรกรรมชาวบ้านบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี พ.ศ.๒๓๐๙ และภาพวีรกรรมขุนรองปลัดชูที่กุยบุรี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
กลุ่มภาพที่ ๖ การกู้อิสรภาพ
ครั้งที่ ๒ และการก่อตั้งกรุงธนบุรี
มีภาพการตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น
ๆ ประกอบด้วยภาพพระเจ้าตากสินมหาราช ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่า ออกจากค่ายวัดพิชัยทางด้านตะวันออก
ภาพพระเจ้าตากสินมหาราชทรงช้างพังคีรีบัญชนประตูเมืองจันทบุรี และภาพพระราชวังกรุงธนบุรี
กลุ่มภาพที่ ๗ การก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์
มีภาพวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และหมู่พระมหามณเฑียร เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ
ประกอบด้วยภาพพิธียกเสาหลักเมือง ภาพการอัญเชิญพระแก้วมรกต จากกรุงธนบุรีมาประดิษฐาน
ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพการสังคายนาพระไตรปิฎก และภาพคณะปุโรหิตกำลังเขียนกฎหมายตราสามดวง
กลุ่มภาพที่ ๘ สงครามเก้าทัพ
มีภาพการรบที่ตำบลลาดหญ้า ในสงครามเก้าทัพ เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพการรบที่ท่าดินแดงและสามสบ
เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๙ และภาพการทำสงครามกับญวนในสมัยรัชกาลที่ ๓ พ.ศ.๒๓๗๖ - ๒๓๙๐
กลุ่มภาพที่ ๙ การรอดพ้นจากการล่าอาณานิคม
มีภาพเรือรบฝรั่งเศสปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ร.ศ.๑๑๒ เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ
ประกอบด้วยภาพการค้าโดยเรือสำเภา ภาพความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยรัชกาลที่
๓ และภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับคู่กับพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่
๒ แห่งรัสเซีย
กลุ่มภาพที่ ๑๐ การเข้าสู่ยุคใหม่
มีภาพพระราชกรณียกิจ และโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่
๕ - รัชกาลที่ ๘
รัชกาลที่ ๕ ภาพการเลิกทาส การตอกหมุดรางรถไฟเป็นปฐมฤกษ์ ณ สถานีรถไฟหัวลำโพง
และภาพสภาอุณาโลมแดง
รัชกาลที่ ๖ ภาพการจัดตั้งกองเสือป่าและลูกเสือ และการเดินสวนสนามฉลองชัยชนะของกองทหารอาสาผ่านประตูชัย
ณ กรุงปารีส ในสงครามโลกครั้งที่ ๑
รัชกาลที่ ๗ ภาพการพระราชทานรัฐธรรมนูญ
รัชกาลที่ ๘ ภาพการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสำเพ็ง
ภูมิสถาปัตยกรรมและพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง
เป็นการจัดและตกแต่งพื้นที่บริเวณภายนอกอาคารอนุเสาวรีย์ทหาริ ให้สวยงามและเหมาะสม
โดยแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและส่วนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง
๑. ส่วนภูมิสถาปัตยกรรม
ประกอบด้วย
๑.๑ รั้ว อยู่ทางถนนวิภาวดีรังสิต ด้านถนนพหลโยธิน และด้านที่ติดกับที่ดินของเอกชน
๑.๒ ประตู มีทั้งหมด ๔ ประตู ด้านถนนวิภาวดีรังสิต ๒ ประตู
และด้านถนนพหลโยธิน ๒ ประตู ลักษณะบานประตูเป็นโลหะอัลลอยด์โปร่งรูปอาวุธโบราณ
และธงสามชาย
๑.๓ ป้ายชื่อ มี ๒ ป้าย อยู่กึ่งกลางรั้วด้านถนนวิภาวดีรังสิต
และถนนพหลโยธิน จารึกคำว่า "อนุเสาวรีย์ทหาริ" ด้านล่างเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษสูง
๒๐ เซนติเมตร จารึกคำว่า "National Memorial"
๑.๔ ป้อมยาม มีทั้งหมด ๔ ป้อม อยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า - ออก ทั้ง
๔ ด้าน
๑.๕ สวนพักผ่อน
๑.๖ สวนอนุเสาวรีย์ทหาริ
๑.๗ พื้นที่อเนกประสงค์
๒. ส่วนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง
เป็นพื้นที่จังหวัดแสดงวัตถุพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งขนาดใหญ่ ประกอบด้วย
๒.๑ รถสะเทินน้ำสะเทินบก (LVT)
๒.๒ รถถังแบบ ๘๓ (Light tant Type ๙๕ HA - GO)
๒.๓ เครื่องบิน บ.จฝ.๑๓ (T - 28 D)
๒.๔ เรือยนต์เร็วตรวจการลำน้ำ (เรือ นปข.)
๒.๕ เฮลิคอปเตอร์แบบ ๑๓
๒.๖ รถถังเบาแบบ ๗๗
๒.๗ ปืนใหญ่ภูเขาแบบ ๖๓
๒.๘ ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ๑๐๕ มิลลิเมตร โบฟอร์ส อัตราจร
๒.๙ สะพานเครื่องหนุนมั่น
|