ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

บุคคลสำคัญของท้องถิ่น

            สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ทรงพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๗๗ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นบุตรบุญธรรม เจ้าพระยาจักรีศรีสมุหนายก ต่อมาเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในวังหลวง ได้เลื่อนเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก และพระยาตาก เจ้าเมืองตากตามลำดับ ต่อมาได้เป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่ยังไม่ได้ไปรั้งเมืองก็มีสงครามกับพม่า จึงได้อยู่รับราชการที่กรุงศรีอยุธยา
            พระยาวชิรปราการได้ออกรบกับพม่า ที่ล้อมกรุงอยู่หลายครั้ง เห็นว่าผู้ปกครองแผ่นดินอ่อนแอ กรุงศรีอยุธยาคงจะเสียแก่พม่า จึงได้รวบรวมไพร่พลไทย - จีนได้ ๕๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าไปทางทิศตะวันออก ระหว่างทางได้ต่อสู้กับข้าศึก ได้รับชัยชนะจนเป็นที่กล่าวขานของคนทั่วไป จึงพากันมาสวามิภักดิ์ทำให้มีกำลังมากขึ้น จึงได้ตั้งตนเป็นเจ้าตากเพื่อสะดวกในการรวบรวมกำลังกอบกู้อิสรภาพ ทรงพิจารณาเห็นว่าเมืองจันทบุรีเป็นเมืองสำคัญ เหมาะสมเป็นที่มั่นรวบรวมหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกทั้งหมด
            เมื่อรวบรวมกำลังประกอบด้วยเรือ ๑๐๐ ลำ ไพร่พลอีก ๕,๐๐๐ คน ยกกำลังไปทะเลเข้าขับไล่พม่าออกไปจากค่ายโพธิสามต้น กู้อิสรภาพของไทยจากพม่าได้
            ชาวจันทบุรีถือว่าพระองค์มีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ทางใช้เมืองจันทบุรีเป็นฐานที่มั่นเพื่อกอบกู้อิสรภาพกลับคืนมาได้

            พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้สนภาลัย ทรงพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๐ เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๗ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๔ ในรัชสมัยของพระองค์ ไทยได้เกิดกรณีพิพาทกับญวน ทรงเกรงว่าญวนจะเข้ามยึดเมืองจันทบุรี เป็นที่มั่นสู้รบกับไทย จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กอง ออกไปสร้างป้อมค่าย และเมืองขึ้นใหม่คือ ค่ายเนินวง ตำบลบางจะกะ นับว่าพระองค์ทงสายพระเนตรอันยาวไกล เห็นความสำคัญของเมืองจันทบุรี และได้ดำเนินการป้องกันไว้แต่เนิ่น

            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๑ ทรงเสด็จเยือนจันทบุรีถึงสองครั้งในปี พ.ศ.๒๔๑๙ และในปี พ.ศ.๒๔๒๔
            ในปี พ.ศ.๒๔๓๖ ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีด้วยเหตุสืบเนื่องมาจากกรณีพิพาทเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พระองค์ได้ให้รัฐบาลไทยทำสัญญากับฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๖ โดยฝ่ายไทยยินยอมยกดินแดนเมืองประจันตคีรีเขต (เกาะกง) ให้ฝรั่งเศสเพื่อให้ฝรั่งเศสถอนกำลังออกไปจากจันทบุรี
            ในปี พ.ศ.๒๔๕๐ หลังจากที่พระองค์เสด็จกลับจากประพาสยุโรป กอ่นเสด็จกลับคืนสู่พระนคร พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองจันทบุรีอีกครั้งหนึ่ง ได้ทรงมีพระราชดำรัส อันแสดงถึงความมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวเมืองจันทบุรี เป็นอย่างยิ่ง

            สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗  เดิมทรงพระอิสริยยศเป็น หม่อมเจ้ารำไพพรรณี เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์ ได้ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ซึ่งต่อมาได้เสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
            ในปี พ.ศ.๒๔๙๓ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้เสด็จมาประทับที่จังหวัดจันทบุรีที่บ้านแก้ว อำเภอท่าช้าง อำเภอเมือง ฯ  ต่อมาบริเวณนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เรียกว่า สวนบ้านแก้ว  พระองค์ได้ประทับอยู่ ณ วังสวนบ้านแก้ว เป็นเวลาถึง ๒๐ ปี ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญและเป็นประโยชน์กับชาวจันทบุรีคือ
              อุตสาหกรรมทอเสื่อ  ทรงริเริ่มการออกแบบลวดลาย ปรับปรุงเทคนิคการฟอกสีและการย้อมสี ทรงคิดประดิษฐ์เสื่อ เป็นเครื่องใช้แบบต่าง ๆ อันเป็นแนวทางให้เกิดความเจริญกับอุตสาหกรรมทอเสื่อ นำรายได้มาสู่จังหวัดจันทบุรีมากขึ้น
              ด้านสาธารณสุข  พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างตึกศัลยกรรมพร้อมเครื่องมือผ่าตัด พระราชทานชื่อว่า ตึกประชาธิปก ให้แก่โรงพยาบาลจันทบุรี ซึ่งต่อมาโรงพยาบาลจันทบุรีได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลประชาธิปก จันทบุรี
               ด้านการศึกษา  เมื่อพระองค์เสด็จกลับไปประทับ ณ วังสุโขทัย ทรงเห็นว่าวังสวนแก้วควรใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชาวจันทบุรี จึงได้พระราชทานให้กับกระทรวงศึกษา ตั้งเป็นวิทยาลัยครูจันทบุรี ปัจจุบันคือ สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี
            สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ฯ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗  ทรงเป็นผู้นำความเจริญก้าวหน้ามาสู่จังหวัดจันทบุรี เป็นเอนกอนันต์ ประทับอยู่ในดวงใจของชาวจันทบุรีตลอดไป
            สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิส  บุนนาค)  เป็นบุตรเจ้าพระยาอัครมหาเสนา เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๑  ได้เข้ารับราชการ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เป็นที่นายสุจินดา หลวงศักดิ์ นายเวรมหาดเล็ก และเป็นที่จมื่นไวยวรนารถ มหาดเล็ก ตามลำดับ  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้เป็นที่พระยาสุริยวงศ์มนตรี จางวางมหาดเล็ก และต่อมาได้เป็นที่เจ้าพระยาพระคลัง
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ไทยเกิดพิพาทกับญวน เกรงว่าญวนจะมายึดเมืองจันทบุรีเป็นที่มั่นสู้รบกับไทย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองออกไปสร้างป้อมค่ายและเมืองขึ้นใหม่ ณ ที่มีชัยภูมิดีเหมาะแก่การต่อสู้ข้าศึก
            เจ้าพระยาพระคลังพิจารณาเห็นที่เนินวง เป็นชัยภูมิที่เหมาะสม จึงให้ขุดคู พูนเชิงเทิน ก่อเสมาบนหลังเชิงเทินด้วยศิลาแลง
ตั้งปืนใหญ่รายรอบตามช่องกำแพงเมือง สร้างอยู่หนึ่งปีจึงเสร็จ และได้สร้างวัดโยธินนิมิตไว้ในเมือง ใช้เวลาสร้างอยู่สี่เดือน
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเจ้าพระยาพระคลังเป็นที่สมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๔  ท่านถึงแก่พิราลัยเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘
            สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค)  เป็นบุตรคนหัวปีของเจ้าพระยาพระคลัง (ดิส  บุนนาค)  เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๘ ได้เป็นที่หลวงนายสิทธิ์ เป็นผู้ช่วยเจ้าพระยาพระคลังในการสร้างเมืองใหม่ที่ค่ายเนินวง หลวงนายสิทธิ์ต่อเรือรบอย่างฝรั่งได้เป็นลำแรกที่เมืองจันทบุรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้พระราชทานชื่อว่า เรือแกล้วกลางสมุทร
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๑ และเป็นอยู่ถึงห้าปี และได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

            พระยาวิสูตรโกษา (พัก  สาณะเสน)  มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านทำเนียบ ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง ฯ  เป็นบุตรพระยาประเสริฐสัจธารี (เยื้อง  สาณะเสน)  ท่านได้รับราชการเป็นทูตไทยประจำในยุโรปตลอดชีวิตราชการ แะได้ทำหน้าที่เป้นพระพี่เลี้ยงให้กับพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราวุธ ขณะที่พระองค์เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศในยุโรป
            เมื่อพระยาวิสูตรโกษาเกษียณอายุราชการแล้วได้กลับไปอยู่ที่ภูมิลำเนาเดิม และได้สร้างทับสาณะเสน ใช้ชีวิตแบบรักสันโดษ ชอบการทำสวน สวนของท่านเป็นที่เลื่องลือ แม้ในปัจจุบันว่ากระท้อนหวานต้องกระท้อนสวนพระยาวิสูตร
            พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น  สุนทรเวช)  เกิดในตำบลท่าเรือจ้างตลาดใต้ (ตลาดล่าง) อำเภอเมือง ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๓ ได้ติดตามบิดาไปประเทศอินเดีย ได้เรียนภาษาฮินดูสตานี และภาษาอังกฤษที่กัลกัตตา เมื่อกลับมาเมืองไทยได้เข้าเรียนหนังสือที่สำนักเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (อุ่ม) วัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพ ฯ เมื่ออายุ ๑๖ ปี ได้เข้าเรียนแพทย์ในโรงเรียนแพทยาลัย รุ่นที่ ๖ ได้เรียนทั้งแพทย์แผนโบราณ และแผนปัจจุบัน เมื่อจบแล้วได้เป็นอาจารย์สอนนักเรียนแพทย์อยู่สองปี เข้ารับราชการ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ ต่อมาได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นองคมนตรี
                ผลงานที่ท่านได้นำความเจริญมาสู่จังหวัดจันทบุรี มีหลายประการด้วยกัน คือ
                    ๑. ตัดถนนผ่านช่องเขาสระบาปและเขาไม้แก้ว เข้าไปบริเวณหลังเขา เป็นทางลัด เป็นระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ทำให้หมู่บ้านต่าง ๆ หลังเขาสระบาป เช่น บ้านอ่าง อำเภอมะขาม  บ้านมาปไพ อำเภอมะขลุง  ติดต่อกับจังหวัดได้สะดวกรวดเร็วขึ้น และทำให้พื้นที่ที่ถนนตัดผ่านเป็นสวนผลไม้ขนาดใหญ่
                    ๒. ค้นคว้าเรื่องปุ๋ย เผยแพร่ให้กสิกรนำไปใช้ในสวนผลไม้ จัดทำหนังสือเผยแพร่ความรู้ในการทำสวนผลไม้ นำข้าวพันธุ์ดีจากกรมกสิกรรมไปปลูก และเผยแพร่พันธุ์
                    ๓. ใช้วิชาแพทย์ประกอบยาจากสมุนไพร รักษาผู้ถูกพิษสุนัขบ้าและถูกงูพิษกัดโดยไม่คิดมูลค่า นับว่าผลงานของท่านเป็นแบบฉบับอันควรสรรเสริญ และเจริญรอยตามอย่างยิ่ง

            หลวงสาครคชเขตต์ (ประทวน สาคริกานนท์)  เกิดในตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอท่าใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๖ บิดาชื่อหลวงกลางบุรี เข้าเป็นนักเรียนฝึกหัดราชการ อยู่ในโรงเรียนกรมพระสมมติอมรพันธ์ กรมพระคลังข้างที่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๘ จากนั้นได้เข้าเรียนเป็นนักเรียนนายทหารบก (รุ่นเก่า) ๒ ปี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ เข้ารับราชการครั้งแรกในตำแหน่งเสมียนเอก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ จากนั้นได้มารับราชการในตำแหน่ง หลายตำแหน่งที่จังหวัดจันทบุรี เริ่มด้วยตำแหน่งอักษรเลข เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔ และเป็นนายอำเภอขลุง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสาครเขตต์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓ ท่านเป็นผู้เขียน และเรียบเรียงหนังสือจดหมายเหตุ ความทรงจำสมัยฝรั่งเศส ยึดเมืองจันทบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๖ - ๒๔๔๗ เป็นหนังสือที่มีคุณค่ายิ่งสำหรับคนรุ่นหลัง ให้ได้ทราบประวัติความเป็นมาของจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราดในสมัยที่ถูกฝรั่งเศสยึดครอง ตลอดจนการเรียกร้องดินแดนคืน

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์