ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


การตั้งเมืองกาฬสินธุ์
            กลุ่มเจ้าโสมพะมิตเข้าไปตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านผ้าขาว บ้านพันนา ในลุ่มน้ำสงคราม บริเวณใกล้พระธาตุเชิงชุมในเขตจังหวัดสกลนครปัจจุบัน ขณะนั้นมีไพร่พลประมาณ ๕,๐๐๐ คนเศษ ต่อมาได้อพยพไพร่พลของตนข้ามเทือกเขาภูพานไปอาศัยอยู่ที่บ้านกลางหมื่น (ปัจจจุบันอยู่ในตำบลกลางหมื่น อำเภอเมือง ฯ ) ต่อมาได้อพยพไปอยู่บริเวณแก่งสำเริง ริมแม่น้ำปาว ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวจังหวัดกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน แล้วได้ลงไปเฝ้า ฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่กรุงเทพ ฯ  ขอพระราชทานตั้งเมืองทำราชการขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ
            ขอพระราชทานตั้งเมือง ในปี พ.ศ.๒๓๒๕ เจ้าโสมพะมิตได้ส่งบรรณาการต่อกรุงเทพ ฯ โดยผ่านทางเวียงจันทน์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๓๖ เจ้าโสมพะมิตได้ลงไปกรุงเทพ ฯ ขอพระราชทานตั้งเมือง และได้มีพระบรมราชโองการ ฯ ยกฐานะบ้านแก่งสำเริง ขั้นเป็นเมืองกาฬสินธุ์ และโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าโสมพะมิตเป็นที่พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ต่อมาถึงปี พ.ศ.๒๓๔๕ ได้มอบให้ท้าวหมากแพง บุตรพระอุปชาเป็นผู้ว่าการเมืองกาฬสินธุ์ต่อมา
            อาณาเขตเมืองกาฬสินธุ์  ได้กำหนดไว้กว้าง ๆ คือทิศเหนือตั้งแต่แม่น้ำพองข้างเหนือมาตกแม่น้ำชีข้างตะวันตก ทิศตะวันออกตั้งแต่ลำน้ำพองตัดลัดไปห้วยไพรธาร ไปเขาภูทอกศอกดาว ตัดไปบ้านผ้าขาวพันนา บ้านเดิมยอดลำน้ำสงครามตกแม่น้ำโขงเขตฝ่ายตะวันออก ต่อแดนเมืองนครพนม และเมืองมุกดาหาร ผ่านภูเขาภูพานตัดมาถึงภูหลักทอดยอดยังแต่ยอดยังตกแม่น้ำลำพระชัย เป็นเขตข้างใต้ ทิศตะวันตกลำน้ำพระชัยต่อแดนเมืองร้อยเอ็ด และต่อแดนเมืองยโสธร
            การจัดระเบียบสังคม  ยึดเอาแบบอย่างเวียงจันทน์ โดยแบ่งออกเป็น
                ชนชั้นผู้ปกครอง ทำตามแบบแผนการปกครองในอาณาจักรศรีสัตนาคนหุต ในการกำหนดตำแหน่งต่าง ๆ ของข้าราชการ ได้แก่ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร เสนาฝ่ายขวา เสนาฝ่ายกลาง เสนาฝ่ายซ้าย พวกทหารอาสาและกรมการเมือง มีหน้าที่ควบคุมดูแลไพร่พลตามลำดับไปจนถึงหมู่บ้านซึ่งเรียกว่านายกองและนายหมวดในที่สุด
                ชนชั้นถูกปกครอง  รวมเรียกว่าเลกหรือไพร่ ชายฉกรรจ์จัดเป็นเลกที่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานให้แก่ชนชั้นผู้ปกครอง ถ้าไม่สามารถทำงานให้แก่มูลนายได้ เลกเหล่านี้ก็สามารถส่งสิ่งของแทนการถูกเกณฑ์ได้ตามความเหมาะสม หรือตามที่มูลนายกำหนด
                สตรีและเด็ก  ในบัญชีเลกไพร่ จะระบุจำนวนสตรี และเด็กให้ทราบเท่านั้นว่าสังกัดกองใด มีผู้ใดเป็นนายกอง  หน้าที่ของสตรีคือ การทอผ้า ทำนาและประกอบอาชีพตามสภาพท้องถิ่น ส่วนเด็กถือได้ว่าจะเป็นเลกไพร่ในโอกาสต่อไป
                ภิกษุสามเณร  ได้รับการยกเว้นการเกณฑ์แรงงานหรือสิ่งของ จากเจ้าเมือง กรมการเมือง
            การปกครองหัวเมืองกาฬสินธุ์ ได้นำแบบอย่างการปกครองของอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ โดยจัดสรรตามตำแหน่งข้าราชการคือ
                คณะอาญาสี่ คือกลุ่มข้าราชการชั้นสูง ประกอบด้วยเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์และราชบุตร
                คณะผู้ช่วยอาญาสี่   ประกอบด้วยตำแหน่งท้าวผู้ใหญ่สี่ตำแหน่งคือท้าวสุริยาหรือท้าวขัตติยา ท้าวสุริโย ท้าวโพธิสาร และท้าวสิทธิสารหรือท้าวอินทิสาร
                เขื่อบ้านขางเมือง  คือ ตำแหน่งต่าง ๆ ที่เป็นกลไกสำคัญในการบริหารบ้านเมืองด้านต่าง ๆ  ตำแหน่งระดับนี้เรียกว่า เพียผู้ใหญ่ ประกอบด้วยตำแหน่งต่าง ๆ คือ เมืองแสน เมืองจัน เมืองกลาง เมืองขวา เมืองซ้าย เมืองคุก เมืองฮาม และเมืองแพนนาเหนือนาใต้ ชาเนตรชานนท์ มหาเสนา มหามนตรี
                ท้าวน้อยและเพียน้อย  เป็นกลุ่มข้าราชการชั้นผู้น้อยหรือชั้นประทวน
            การแต่งตั้งเจ้าเมือง กรมการเมือง ตำแหน่งในอาญาสี่ ได้รับแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ เจ้าเมืองจะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระหรือพระยา  ส่วนตำแหน่งอุปฮาด ราชวงศ์และราชบุตร ไม่มีบรรดาศักดิ์เฉพาะ เรียกชื่อตามตำแหน่ง  การเสนอชื่อผู้สมควรได้รับตำแหน่งในอาญาสี ต้องได้รับความเห็นชอบ และสนับสนุนจากกรมการเมืองเสียก่อน แล้วจึงมีใบบอกไปกราบบังคมทูลให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง มีสัญญาบัตรตราตั้งเป็นสำคัญ  ผู้ได้รับแต่งตั้งจะต้องเดินทางลงไปรับพระราชทานสัญญาบัตร และเครื่องยศที่กรุงเทพ ฯ
            ตามแบบแผนประเพณี  เจ้าเมือง กรมการเมือง เป็นตำแหน่งตลอดชีพ  แต่ถ้าเจ้าเมืองชราภาพเกินกว่าจะปกครองบริหารเมือง ได้ก็จะกราบถวายบังคมลาออกเอง และจะได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นที่ปรึกษาราชการของเมือง
            การสืบทอดตำแหน่งเจ้าเมือง กรมการเมือง ตำแหน่งในอาญาสี มักสืบทอดกันทางสายเลือด  เมื่อเจ้าเมืองถึงแก่กรรม อุปฮาดมักได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าเมืองต่อไป อุปฮาดมักเป็นน้องชายหรือบุตรชายคนโตของเจ้าเมือง แต่ไม่ใช่เป็นการตายตัวเสมอไป
            เจ้าเมืองและกรมการเมืองไม่มีเงินเดือนประจำหรือเบี้ยหวัด แต่จะได้รับผลตอบแทนในลักษณะต่าง ๆ คือได้เลื่อนตำแหน่ง
เมื่อมีความชอบในราชการสงคราม ได้รับแรงงานและผลประโยชน์เงินส่วยจากเลกทนาย กล่าวคือเจ้าเมือง กรมการเมือง จะมี
เลกทนายไว้ใช้งานเป็นกองของแต่ละตำแหน่ง มีเลกไพร่จำนวนเท่าใดจะแบ่งออกเป็นสามส่วน เลกไพร่สองส่วนให้ถือเป็นเลกส่วย
ที่จะต้องเก็บส่วยส่งไปยังราชสำนัก ที่เหลืออีกหนึ่งส่วนยกไว้เป็นเลกทนายหรือเลกยกคงเมืองของเจ้าเมือง กรมการ ท้าวเพีย ตลอดจนนายหมวด นายกองหรือท้าวฝ่ายตาแสง กำนัน จ่าบ้านและนายบ้าน
            การสักเลก  เลกหมายถึงชายฉกรรจ์ที่มีความสูงเสมอไหล่ ๒.๕ ศอกขึ้นไป จนถึงอายุ ๗๐ ปี  การสักคือการเอาเหล็กแหลม แทงตามเส้นหมึกที่เขียนไว้เป็นตัวอักษร บอกชื่อเมือง ชื่อมูลนายที่สังกัด โดยสักที่ข้อมือด้านหน้า หรือด้านหลังมือ
            ทั้งหัวเมืองกาฬสินธุ์ในปี พ.ศ.๒๓๙๒ มีเลกรวมทั้งสิ้น ๔,๓๘๗ คน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงยกเลิกการสักเลก โดยให้มีการสำรวจสำมะโนครัวแทน
            การเก็บส่วย  ส่วย หมายถึง สิ่งของหรือเงินที่เลกหัวเมืองส่งให้แก่ทางราชการ เพื่อทดแทนการที่เลกไปรับราชการหรือถูกเกณฑ์แรงงาน
            สาเหตุที่เลกเมืองกาฬสินธุ์ต้องส่งส่วยให้กับกรุงเทพ ฯ ก็เพื่อเป็นการตอบแทนต่อรัฐบาลในฐานะที่ได้รับการคุ้มครองจากทางกรุงเทพ ฯ ในเชิง "พึ่งพระบรมโพธิสมภาร" รวมทั้งการที่เจ้าเมือง กรมการเมือง ได้รับพระราชทานยศ อำนาจและรางวัลจากทางกรุงเทพ ฯ
            การเกณฑ์ส่วยเริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๗๓ - ๒๓๗๕ ทางกรุงเทพ ฯ ได้ส่งข้าหลวงคือขุนพิทักษ์ และหมื่นภักดีมาสักเลกที่เมืองกาฬสินธุ์ในปี พ.ศ.๒๓๖๗ เพื่อกำหนดเกณฑ์ส่วยสำหรับหัวเมืองกาฬสินธุ์ผูกส่วย ผลเร่ง (หมากเหน่ง)  เงิน กระวานและสีผึ้ง ต่อทางราชการ  ถ้าหาสิ่งของดังกล่าวไม่ได้ก็จะต้องชำระเงินส่วยคนละ ๔ บาทต่อปี
            ธรรมเนียมการเกณฑ์ส่วยได้ตั้งเกณฑ์สำหรับเลกแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มไว้เป็นอัตราที่แน่นอน เช่น กำหนดให้เลก ๕ คน ต่อผลเร่งหนัก ๑ หาบ ซึ่งคิดเป็นเงินได้ ๕ ตำลึง  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า เงิน ค่าราชการ  แต่สำหรับมณฑลอีสานยังคงเก็บจากเลกคนละ ๔ บาทเช่นเดิม จนถึงปี พ.ศ.๒๔๖๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเปลี่ยนชื่อเรียกว่า เงินรัชชูปการ ซึ่งก็ยังคงเรียกเก็บจากเลกคนละ ๔ บาทเช่นเดิม  เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์ มีอยู่ ๗ หัวเมืองด้วยกันคือ
                เมืองท่าขอนยาง ในปี พ.ศ.๒๓๘๘ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านท่าขอนยาง ริมลำน้ำชี ขึ้นเป็นเมืองท่าขอนยาง ให้พระคำก้อนเป็นพระสุวรรณภักดี เจ้าเมือง  ให้อุปฮาดเมืองคำเกิดเป็นอุปฮาด ให้ราชวงศ์ และราชบุตรเมืองคำเกิดเป็นราชวงศ์และราชบุตรทำราชการขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์
                เมืองแซงบาดาล  ในปี พ.ศ.๒๓๘๘ บ้านบึงกระดานได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองแซงบาดาล ให้อุปฮาด (คำแดง) เมืองคำม่วน เป็นพระศรีสุวรรณ เจ้าเมือง
                เมืองกุดสินนารายณ์  ในปี พ.ศ.๒๓๘๘ บ้านกุดกว้างได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองกุดฉิมนารายณ์ ให้ราชวงศ์ (กอ) เมืองวัง เป็นพระธิเบศร์วงศา เจ้าเมือง
                เมืองภูช้างแล่น  ในปี พ.ศ.๒๓๘๘ บ้านเถึยงมาชุมได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองภูแล่นช้าง  ให้หมื่นเดช คนเมืองเวียงจันทร์ เป็นพระพิชัยอุดมเดชเป็นเจ้าเมือง
                เมืองกมลาไสย  ในปี พ.ศ.๒๔๐๙ ราชวงศ์เกษ เมืองกาฬสินธุ์ ได้อพยพพาไพร่พลไปตั้งอยู่ที่บ้านสระบัว แล้วขอพระราชทานตั้งเมือง และได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกขึ้นเป็นเมืองกมลาไสย ในระยะแรกขึ้นต่อเมืองกาฬสินธุ์ ภายหลังได้ขอแยกตัวไปขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ
                เมืองสหัสขันธ์  ในปี พ.ศ.๒๔๑๐ ท้าวเสนได้พาสมัครพรรคพวก อพยพออกจากเมืองกาฬสินธุ์ไปตั้งอยู่ที่บ้านโคกพันลำ แล้วขอพระราชทานตั้งเมือง และได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกขึ้นเป็นเมืองสหัสขันธ์ ให้ท้าวเสนเป็นเจ้าเมือง ขึ้นต่อเมืองกมลาไสย
                เมืองกันทรวิชัย  ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านคันธารีขึ้นเป็นเมืองกันทรวิชัย ขึ้นต่อเมืองกาฬสินธุ์ ให้เพียคำมูลเป็นพระประทุมวิเศษ เป็นเจ้าเมือง
            พัฒนาการทางการเมืองการปกครอง  เมืองกาฬสินธุ์ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๖ โดยมีพระยาไชยสุนทร (เจ้าโสมพะมิต) เป็นเจ้าเมือง และท้าวคำหวาเป็นอุปฮาด เมื่อทั้งสองคนถึงแก่กรรมแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ท้าวหมาแพง บุตรพระอุปชา เป็นพระยาไชยสุนทร เจ้าเมือง ท้าวหมาสุ่ย และท้าวหมาฟอง บุตรเจ้าโสมพะมิต เป็นอุปฮาด และราชวงศ์ตามลำดับ
            เมื่อเกิดความขัดแย้งสงครามเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ.๒๓๖๙ - ๒๓๗๐)  เจ้าอุปราช (ดิสสะ) ได้ยกกองทัพมากวาดต้อนครอบครัวเมืองกาฬสินธุ์ พระยาไชยสุนทร (หมาแพง)  ถูกจับประหารชีวิต พร้อมอุปฮาด (หมาสุ่ย) และราชวงศ์โคตรด้วย
            เมื่อเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี)  ยกกองทัพขึ้นมาปราบ ได้กวาดต้อนเลกไพร่ เมืองกาฬสินธุ์ กลับมาอยู่บ้านเมืองตามเดิม แล้วเสนอชื่อคณะอาญาสี่ กรมการเมืองกาฬสินธุ์ ขอพระราชทานตั้งท้าววรบุตร (เจี๋ยม) น้องชายพระยาไชยสุนทร (หมาแพง) เป็นพระยาไชยสุนทร เจ้าเมือง ปกครองเมืองกาฬสินธุ์ได้ ๑๑ ปี ก็ถึงแก่กรรม ในปี พ.ศ.๒๓๘๑ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๘๓ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้แต่งตั้งอุปฮาด (หล้า)  เป็นพระยาไชยสุนทร เจ้าเมือง และได้ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๗  อุปฮาด (ทอง) บุตรพระยาไชยสุนทร (เจียม) ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน และได้ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๔  อุปฮาด (กิ่ง) ได้รับโปรดเกล้า ฯ เป็นพระยาไชยสุนทร เจ้าเมือง และได้ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๓  อุปฮาด (หนู) ได้รับสัญญาบัตรตั้งให้เป็น พระยาไชยสุนทร เจ้าเมือง
            ในปี พ.ศ.๒๔๓๓  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้แบ่งการปกครองหัวเมืองลาวตะวันออก ออกเป็นสี่กอง โปรดเกล้า ฯ ให้ นายสุดจินดา (เลื่อน) เป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองกาฬสินธุ์ กมลาไสย และภูแล่นช้าง เมืองดังกล่าวนี้จัดอยู่ในหัวเมืองลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๗ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลลาวกาว และเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอีสาน ในปี พ.ศ.๒๔๔๓ หัวเมืองกาฬสินธุ์อยู่ในบริเวณร้อยเอ็ด
            ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๐ เมืองกาฬสินธุ์ และเมืองกมลาสัย ถูกจัดอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด คือปี พ.ศ.๒๔๕๕ ถึงปี พ.ศ.๒๔๖๙  ได้จัดเป็นมณฑลร้อยเอ็ด จังหวัดกาฬสินธุ์อยู่ในมณฑลนี้ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๙  จังหวัดกาฬสินธุ์ก็ถูกโอนไปสังกัดมณฑลนครราชสีมา แล้วถูกยุบเป็นอำเภอหลุบ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ ไปสังกัดจังหวัดมหาสารคาม จนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๐ จึงได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดอีกครั้งหนึ่ง
| ย้อนกลับ | บน | หน้าต่อไป |



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์