ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางธรรมชาติ
ทรัพยากรป่าไม้

            ป่าสงวนแห่งชาติ  มีอยู่ ๑๔ ป่าด้วยกัน กระจายอยู่ในอำเภอต่าง ๆ มีพื้นที่รวมประมาณ ๑,๑๔๕,๐๐๐ ไร่
                ป่าดงระแนง  อยู่ในเขตอำเภอยาวตลาด และอำเภอห้วยเม็ก มีพื้นที่ประมาณ  ๖๙,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙
                ป่าดงแม่แฝด  อยู่ในเขตอำเภอนามน อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๑๑๙,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔
                ป่าดงบังอี่แปลงที่ ๑  อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ ๑๒,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑
                ป่าดงหมู  อยู่ในเขตอำเภอเขาวง และอำเภอนาดู มีพื้นที่ประมาณ ๘๘,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘
                ป่าดงห้วยผา  อยู่ในเขตอำเภอห้วยผึ้ง และกิ่งอำเภอนาดู มีพื้นที่ประมาณ ๑๑๐,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘
                ป่านาจาร - ดงขวาง  อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ อำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๓๗,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖
                ป่าโคกกลางหมื่น  อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๑๕,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙
                ป่าดงนามน  อยู่ในเขตอำเภอกมลาไสย อำเภอร่องคำ และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๑๒,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙
                ป่ากังกะอวม  อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ มีพื้นที่ประมาณ ๘๘,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน  ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙
                ป่าดงด่านแย้  อยู่ในเขตอำเภอคำม่วง กิ่งอำเภอสามชัย และอำเภอเขาวง มีพื้นที่ประมาณ ๗๖,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐
                ป่าภูพาน  อยู่ในเขตอำเภอคำม่วง กิ่งอำเภอสามชัย และอำเภอสมเด็จ มีพื้นที่ประมาณ ๒๑๕,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑
                ป่าดงมูล  อยู่ในเขตอำเภอห้วยเม็ก อำเภอหนองกุงศรี และอำเภอท่าคันโท มีพื้นที่ประมาณ ๒๕๙,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘
                ป่าดงบังอี่ แปลงที่ ๒  อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ ๓,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗

            อุทยานแห่งชาติ  มีอยู่แห่งเดียว คือ อุทยานแห่งชาติภูพาน  ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของป่าสงวน ฯ ป่าแก้งกะอาม และบางส่วนของป่าดงห้วยผา อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ และอำเภอห้วยผึ้ง มีพื้นที่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ ๕๗,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นอุทยาน ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ และปี พ.ศ.๒๕๒๕
            เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  มีอยู่แห่งเดียวคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอเขาวง มีพื้นที่ประมาณ ๒๘,๐๐๐ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวน ฯ ป่าดงด่านแย้ และป่าตอห่ม
            เขตห้ามล่าสัตว์ป่า  มีอยู่สองแห่งด้วยกันคือ

                เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำปาว  อยู่ในเขตอำเภอสหัสขันธ์ อำเภอหนองกุงศรี อำเภอท่าคันโท และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ไร่เศษ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่น้ำของเขื่อนลำปาว
                เขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์  อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ ๓,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงบังอี แปลงที่ ๒

            วนอุทยาน  มีอยู่สามแห่งด้วยกันคือ
                วนอุทยานภูพระ  อยู่ในตำบลนาตาล อำเภอทุ่งคันโท มีพื้นที่ประมาณ ๖,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงมูล
                วนอุทยานภูผาวัว  อยู่ในตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ  ๔,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงด่านแย้
                วนอุทยานภูแฝก  อยู่ที่บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง กิ่งอำเภอนาคู มีพื้นที่ประมาณ ๔,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงห้วยผา
            สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า  มีอยู่แห่งเดียวคือ สถานี ฯ ลำปาว มีพื้นที่ประมาณ ๑,๕๐๐ ไร่ อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ
            ป่าชุมชน  คือ กิจการของป่าที่ประชาชนมีส่วนร่วม เป็นแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ อีกรูปแบบหนึ่ง ในปี พ.ศ.๒๕๔๑ มีป่าชุมชนอยู่ ๑๕ หมู่บ้าน เช่น ป่าชุมชนบ้านหนองผ้าอ้อม และป่าชุมชนบ้านสูงเนิน เป็นต้น
ทรัพยากรสัตว์ป่า

            ในอดีต จังหวัดกาฬสินธุ์อุดมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น วัวแดง หมูป่า อีเก้ง อีเห็น พบมากในเขตป่าดงแม่แผด ดงหมู ภูพาน และดงมูล ปัจจุบันสัตว์ป่าลดจำนวนลงไปมาก เนื่องจากปัจจัยทางธรรมชาติ และระบบนิเวศน์ที่ไม่เอื้ออำนวย รวมทั้งสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปมาก
            จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้จัดให้มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีถาน เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าตามธรมชาติ นอกจากนั้น ตามแหล่งต่าง ๆ ยังชุมชุมไปด้วยปลานานาชนิด
เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ

                มหาธารลำปาว  เขื่อนลำปาวเป็นเขื่อนดินที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ก่อให้เกิดแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เป็นธารหล่อเลี้ยงชาวกาฬสินธุ์ ในการเกษตรกรรม บริเวณรอบสันเขื่อนยังมีธรรมชาติชายหาดที่สวยงามชื่อ หาดดอกเกด  เปรียบประดุจชายทะเลน้ำจืดแห่งอีสาน มีสวนสะออน ที่เป็นสวนสัตว์เปิดที่น่าชมยิ่ง ทิวทัศน์อันสวยงามของเขื่อน ทำให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวกาฬสินธุ์ และจังหวัดใกล้เคียง
                ผาเสวยภูพาน  บริเวณเทือกเขาภูพาน เต็มไปด้วยธรรมชาติที่สวยงาม เช่น หน้าผา น้ำตก และแมกไม้ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในภาคอีสาน เมื่อเสด็จถึงอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ บริเวณเทือกเขาภูพานได้ทรงหยุดพัก และได้เสด็จประทับเสวยพระกระยาหารกลางวัน ณ หน้าผาแห่งหนึ่ง ต่อมาชาวกาฬสินธุ์จึงเรียกหน้าผา อันงดงามแห่งนี้ว่า ผาเสวย


                น้ำตก  ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ มีน้ำตกที่สวยงามตามธรรมชาติ เป็นที่รู้จักกันดีคือ
                    น้ำตกตาดสูง  อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ เป็นน้ำตกที่สวยงามมีเอกลักษณ์พิเศษคือ มีลานหินกว้างใหญ่ ในช่วงที่มีน้ำมาก จะมีสายน้ำไหลผ่านลานหินแห่งนี้ ผู้ที่มาเล่นน้ำตก จะไหลลื่นตัวไปตามพื้นที่ลาดเอียงของลานหิน เป็นจุดดึงดูดใจนักท่องเที่ยวอย่างดี
                    น้ำตกตาดทอง  อยู่บนเทือกเขาภูพาน ที่หมู่บ้านโพนนาดี ตำบลหนองผือ อำเภอเขาวง เป็นน้ำตกที่สวยงามมีหลายชั้น ในฤดูฝนจะเป็นช่วงที่สวยงามที่สุด เพราะนอกจากสายน้ำจะไหลพริ้วแล้ว ยังมีดอกไม้ป่าบานสะพรั่งให้ชมอีกด้วย
                    น้ำตกแก่งกะอาม  อยู่ใกล้บ้านแก่งกะอาม ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ มีสภาพเป็นแก่งหินเรียงราย มีลานหินกว้าง และธารน้ำใสเย็นเหมาะแก่การไปพักผ่อน
                ซากไดโนเสาร์  ได้พบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ พันธุ์ซอโรฟอด ชนิดกินพืช อายุประมาณ ๑๓๐ ล้านปี พบที่ภูกุ่มข้าว วัดป่าสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์ นับว่าเป็นการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ใหญ่ ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยา ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์
| ย้อนกลับ | บน | หน้าต่อไป |



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์