ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

 
สิ่งสำคัญและเอกลักษณ์วัฒนธรรม

            บ่อน้ำทิพย์ดอยคะม้อ  ตั้งอยู่บนยอดดอยคะม้อ ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาสูงชัน ยอดเขาแหลมแตกต่างจากยอดเขาบริเวณใกล้เคียง บนยอดดอยคะม้อมีความกว้างประมาณ ๑๒ เมตร ยาว ประมาณ ๓๐ เมตร  บ่อน้ำทิพย์มีปากบอกว้างประมาณ ๓ เมตร ความลึกไม่ปรากฎ เมื่อลงไปในบ่อลึก ๓ วา จากปากบ่อ แล้วมองกลับไปทางปากบ่อจะเห็นว่าดัวบ่อมีลักษณะรูปร่างคล้ายนิ้วมือ
            ดอยคะม้อตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมือง ฯ ในเขตตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง ฯ อันเป็นส่วนหนึ่งของป่าสวนแห่งชาติ ป่าแม่ธิ - แม่ตีบ - แม่สาร  ตามหลักฐานทางธรณีวิทยา บริเวณนี้เคยเป็นภูเขาไฟที่ดับมานานแล้ว มีลักษณะเหมือนหม้อคว่ำ ชาวเมืองแต่โบราณเรียกว่า ดอยคว่ำหม้อ ภายหลังเพี้ยนมาเป็นดอยคะม้อ เป็นดอยที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน เป็นต้นน้ำของห้วยแม่ตีบ การเดินทางขึ้นยอดดอยคะม้อ ซึ่งอยู่สูงจากเชิงเขาประมาณ ๓๐๐ เมตร มีทางลาดจากเชิงเขาจำนวน ๑,๗๔๙ ขึ้น ทำให้การเดินทางสดวกขึ้นมาก
            มีตำนานเล่าต่อกันมาว่า เมื่อครั้งพุทธองค์ได้เสด็จจาริกไปโปรดสัตว์ในที่ต่าง ๆ ได้แวะมาฉันภัตตาหารบนยอดดอยแห่งนี้ ก่อนจะฉันภัตตาหาร พระพุทธองค์ทรงบิณฑบาตร แล้วนำขึ้นไปยังดอยลูกหนึ่ง อยู่ทางตอนเหนือของดอยคะม้อ ดอยลูกนั้นได้ชื่อว่า ดอยห้างบาตร อยู่ในเขตตำบลห้วยทราย อำเภอบ้านธิ บนดอยห้างบาตร มีรอยบาตรประทับอยู่บนแผ่นหิน เมื่อพระพุทธองค์ฉันภัตตาหารแล้วไม่มีน้ำจะเสวย จึงทรงตั้งพระอธิฐานถึงพุทธบารมี แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงบนแผ่นหิน เมื่อยกหัวแม่มือขึ้น ก็มีน้ำพุ่งขึ้นมาให้เสวย แล้วจึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า เมื่อตถาคตเสด็จดับขันธปรินิพานแล้ว ธาตุของตถาคตจะไปตั้งอยู่กลางเมืองหริภุญชัย ในสมัยพญาอาทิตยราชแล้วคนทั้งหลาย จะมาตักเอาน้ำแห่งนี้ไปสรงพระธาตุของตถาคต
            ความสำคัญของบ่อน้ำทิพย์ดอยคะม้อ คือ
                -  ใช้เป็นน้ำสรงองค์พระธาตุหริภุญชัย ในประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ฯ ที่มีขึ้นเป็นประจำทุกปี ตรงกับวันเพ็ญเดือนหก (วันวิสาขบูชา) ตรงกับวันเพ็ญเดือนแปดเหนือ ชาวบ้านเรียกว่า ประเพณีเดือนแปดเป็ง จะมีพิธีตักน้ำจากบ่อทิพย์ก่อนสรงพระธาตุ ฯ สามวัน และจะจัดขบวนแห่น้ำทิพย์มาสรงน้ำพระธาตุ ฯ เป็นประจำทุกปี
                -  ใช้น้ำในบ่อน้ำทิพย์ในพิธีบรมราชาภิเษก และงานพระราชพิธีต่าง ๆ นับเป็นหนึ่งในสิบแปดแห่งของน้ำศักดิ์สิทธิที่ได้รับจากแหล่งน้ำต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อมาตั้งทำน้ำพระพุทธมนต์ ณ มหาเจดีย์สถานที่เป็นมหานครโบราณ

            อุโมรถไฟถ้ำขุนตาน  ตั้งอยู่ที่บ้านขุนตาน ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา ห่างจากตัวจงหวัดลำพูนประมาณ ๔๐ กิโลเมตร เป็นอุโมงค์ที่เจาะทะลุผ่านเข้าไปในดอยงาช้าง ของเทือกเขาขุนตาน ที่เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ ขวางกั้นเส้นทางจากจังหวัดลำปางไปยังจังหวัดลำพูน
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มดำเนินการในกิจการรถไฟ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๐ โดยเริ่มจากกรุงเทพ ฯ สู่บางปะอิน จังหวัดอยุธยา ต่อมาได้สร้างทางรถไฟต่อไปยังอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และต่อมาได้สร้างทางแยกจากสถานีชุมทางบ้านพาชีไปยังภาคเหนือ เปิดใช้การถึงสถานีปากน้ำโพ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๘ และในปีเดียวกันนี้ได้เริ่มสำรวจ เพื่อเจาะอุโมงค์รถไฟที่ดอยงาช้าง เทือกเขาขุนตาน ใช้เวลาทำการสำรวจอยู่สองปี
            การเจาะอุโมงค์ขุนตาน เริ่มเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ โดยมีวิศวกรชาวเยอรมัน เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างจากตัวเมืองลำปาง ที่เป็นหัวงาน การเดินทางสู่บริเวณที่ก่อสร้าง ต้องใช้วิธีเดินเท้าหรือขี่ม้า การขนอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการก่อสร้างต้องใช้แช้างและเกวียนบรรทุกไป ส่วนที่เป็นโขตเขตต้องใช้วิธีนำผ่านไปด้วยรอก  การขุดเจาะเป็นด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง เครื่องมือเครื่องใช้ทุ่นแรงมีไม่เพียงพอ ต้องใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ กรรมวิธีในการขุดเจาะเริ่มด้วยการเจาะเล็ก ๆ เข้าไปก่อนโดยใช้หรือใช้แรงคนตอกสกัด เมื่อได้รูลึกเข้าไปตามที่ต้องการ แล้วจึงเอาดินระเบิดไดนาไมต์ฝังในรูนั้น จากนั้นก็ใส่เชื้อประทุแก๊บเข้าไป เพื่อทำหน้าที่จุดระเบิด โดยมีสายชนวนต่อยาวออกไปเพื่อความปลอกภัยของผู้จุดระเบิด
            การขุดเจาะอุโมงค์รถไฟขุนตาน ใช้วิธีเจาะที่ทันสมัยเช่นเดียวกับการเจาะอุโมงค์ใหญ่ ๆ ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน มีการขุดเป็นสองช่องอยู่ข้างบน และข้างล่าง เพื่อสะดวกในการขุดดิน และหินออกจากอุโมงค์ และทำการขุดอุโมงค์จากปลายอุโมงค์ทั้งสองด้านเข้าไปบรรจบกันตรงกลาง เมื่อขุดเจาะเข้าไปลึก ๆ ไม่มีอากาศเพียงพอต่อการหายใจ ก็ใช้วิธีการสูบอากาศจากภายนอกเข้าไปช่วยด้วยเครื่องสูบลมที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำ การขนดินและหินที่ขุดเจาะออกจากอุโมงค์ ส่วนใหญ่ใช้แรงงานคน เป็นอุโมงค์ขนาดเล็กไม่ยาวมาก
            การขุดเจาะอุโมงค์รถไฟขุนตานใช้เวลา ๘ ปี อุโมงค์ทะลุกันได้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ มีปริมาณหินที่ขุดเจาะออกมาประมาณ ๖๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ได้นำเอาหินจำนวนนี้มาถมลำห้วยบริเวณปากอุโมงค์ จนกลายเป็นที่ตั้งของตัวสถานีรถไฟขุนตานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
            เมื่อเสร็จการขุดเจาะแล้วงานก่อสร้างขึ้นต่อไปเป็นการบุผังอุโมงค์คอนกรีดเสริมเหล็ก เพื่ความแข็งแรงและป้องกันน้ำรั่วซึม ซึ่งต้องใช้เวลาทำอยู่ ๓ ปี เสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๑ และต้องใช้เวลาอีก ๓ ปี กว่าที่จะการเดินรถไฟสายเหนือ จะไปสุดทางที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ การวางรางรถไฟจากลำปางไปยังปากอุโมงค์ทางด้านทิศใต้ เป็นด้วยความยากลำบาก เนื่องจากภูมิประเทศแถบปางหละ มีสภาพเป็นป่าเปลี่ยว แม้ว่าจะมีระยะทางเพียง ๘ กิโลเมตร แต่เป็นโขดเขาสูงชันลดเสี้ยวไปตามหุบเหว ชะง่อนเผาและป่าทึบ ช่วงระหว่างปางหละกับปากอุโมงค์ขุนตานต้องผ่านเหวลึกสามแห่ง ต้องใช้วิธีทำสะพานทอดข้ามเหวลึกดังกล่าว
            อุโมงค์รถไฟขุนตาน ใช้เวลาก่อสร้าง ๑๔ ปี นักเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาม ๑,๓๖๒ เมตร ปากอุโมงค์ด้านทิศเหนือสูงกว่าปากอุโมงค์ด้านทิศใต้ ๑๔ เมตร ทั้งนี้เพื่อให้น้ำสามารถระบายออกไปทางปากอุโมงค์ด้านทิศใต้ได้ ณ จุดนี้เป็นจุดที่ทางรถไฟพาดผ่านสูงที่สุดในประเทศไทย อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ๕๗๘ เมตร และเป็นช่วงที่ลาดชันที่สุดของทางรถไฟทั่วประเทศ เมื่อนับจากสถานีแม่ตานน้อย จังหวัดลำปาง ถึงสถานีขุนตานจังหวัดลำพูน ความยาว ๘ กิโลเมตร มีระดับต่างกัน ๒๐๐ เมตร

            ถนนสายเชียงใหม่ - ลำพูน (สายเก่า)  ถนนสายนี้มีความผูกพันกับแม่น้ำปิงห่าง ต้นยาง และต้นขี้เหล็กอย่างแนบแน่น เดิมแม่น้ำปิงห่างจะไหลผ่านทางด้านทิศตะวันออกของเวียงกุมกาม และทิตะวันตกของตัวเมืองหริภุญชัย ระยะทางจากเวียงกุมกามถึงตัวเมืองหริภุญชัยประมาณ ๒๕ กิโลเมตร ต่อมาแม่น้ำปิงได้เปลี่ยนทางเดิน ทำให้แม่น้ำปิงเดิมที่ไหลผ่านเวียงกุมกามและเมืองหริภุญชัย กลายเป็นแม่น้ำปิงห่าง เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำ ระหว่างเมืองเชียงใหม่กับเมืองลำพูน มีการตั้งหมู่บ้านตลอดแนวแม่น้ำและมีวัดอยูอตลอดแนวประมาณ ๓๐ วัด ทำให้เกิดเส้นทางคมนาคมทางบกเลียบแนวแม่น้ำห่าง เป็นเส้นทางบกที่สำคัญของการติดต่อระหว่างเชียงใหม่กับเมืองลำพูนมาแต่เดิม และมีการพัฒนาเส้นทางมาตามลำดับ
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสร้างถนนอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๘ โดยพระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวเฉียง เริ่มสร้างถนนสายนี้ตั้งแต่เชิงสะพานนวรัฐ เลียบแม่น้ำปิงที่วัดกู่ขาว จนถึงตัวเมืองลำพูน ถนนสายนี้ส่วนหนึ่งสร้างบนผนังดินธรรมชาติของแม่น้ำปิงห่าง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๘ - ๒๔๕๔ ทางราชการได้นำต้นไม้ยางมาให้ชาวบ้านช่วยกันปลูกตลอดสองข้างทาง ส่วนในเขตตัวเมืองลำพูนได้ปลูกต้นขี้เหล็ก ทำให้มีต้นไม้ปลูกอยู่สองข้างถนนสายนี้ตลดอเส้นทางประมาณสองพันต้น มีระยะห่างดันประมาณสิบวา นับเป็นเอกลักษณ์ของถนนสายนี้

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์