ท่องเที่ยว
||
เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
||
ดูดวงตำราไทย
||
อ่านบทละคร
||
เกมส์คลายเครียด
||
วิทยุออนไลน์
||
ดูทีวี
||
ท็อปเชียงใหม่
||
รถตู้เชียงใหม่
Truehits.net
dooasia : ดูเอเซีย
รวมเว็บ
บอร์ด
เรื่องน่ารู้ของสยาม
สิ่งน่าสนใจ
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
เที่ยวหลากสไตล์
มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
เส้นทางความสุข
ขับรถเที่ยวตลอน
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
อุทยานแห่งชาติในไทย
วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
ไก่ชนไทย
พระเครื่องเมืองไทย
เที่ยวภาคเหนือ
กำแพงเพชร
:
เชียงราย
:
เชียงใหม่
:
ตาก
:
นครสวรรค์
:
น่าน
:
พะเยา
:
พิจิตร
:
พิษณุโลก
:
เพชรบูรณ์
:
แพร่
:
แม่ฮ่องสอน
:
ลำปาง
:
ลำพูน
:
สุโขทัย
:
อุตรดิตถ์
:
อุทัยธานี
เที่ยวภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
:
ขอนแก่น
:
ชัยภูมิ
:
นครพนม
:
นครราชสีมา(โคราช)
:
บุรีรัมย์
:
มหาสารคาม
:
มุกดาหาร
:
ยโสธร
:
ร้อยเอ็ด
:
เลย
:
ศรีสะเกษ
:
สกลนคร
:
สุรินทร์
:
หนองคาย
:
หนองบัวลำภู
:
อำนาจเจริญ
:
อุดรธานี
:
อุบลราชธานี
:
บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
เที่ยวภาคกลาง
กรุงเทพฯ
:
กาญจนบุรี
:
ฉะเชิงเทรา
:
ชัยนาท
:
นครนายก
:
นครปฐม
:
นนทบุรี
:
ปทุมธานี
:
ประจวบคีรีขันธ์
:
ปราจีนบุรี
:
พระนครศรีอยุธยา
:
เพชรบุรี
:
ราชบุรี
:
ลพบุรี
:
สมุทรปราการ
:
สมุทรสาคร
:
สมุทรสงคราม
:
สระแก้ว
:
สระบุรี
:
สิงห์บุรี
:
สุพรรณบุรี
:
อ่างทอง
เที่ยวภาคตะวันออก
จันทบุรี
:
ชลบุรี
:
ตราด
:
ระยอง
เที่ยวภาคใต้
กระบี่
:
ชุมพร
:
ตรัง
:
นครศรีธรรมราช
:
นราธิวาส
:
ปัตตานี
:
พัทลุง
:
พังงา
:
ภูเก็ต
:
ยะลา
:
ระนอง
:
สงขลา
:
สตูล
:
สุราษฎร์ธานี
www.dooasia.com
>
มรดกไทย
>
ประวัติจังหวัด
|
ย้อนกลับ
|
หน้าต่อไป
|
|
พัฒนาทางประวัติศาสตร์
|
มรดกทางธรรมชาติ
|
มรดกทางวัฒนธรรม
|
มรดกทางพระพุทธศาสนา
|
จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ในที่ราบสูงตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เรียกว่า
แอ่งโคราช
เป็นแอ่งที่เป็นแนวยาวจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยมีแม่น้ำมูลและสาขาไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ แล้วไปบรรจบแม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดนครราชสีมาตั้งอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของส่วนที่กว้างสุดของประเทศไทย เป็นประตูสู่ภาคอีสานที่ราบสูงโคราช เป็นที่ราบสูงที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 185 เมตร ซึ่งใกล้เคียงกับที่มีคำกล่าวแต่โบราณของไทยว่า เมืองโคราชสูงกว่ากรุงเทพ ฯ อยู่
ชั่วเจ็ดลำตาล
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกคลื่น มีภูเขาอยู่ทางด้านทิศตะวันตก และทิศใต้ของจังหวัด มีเทือกเขาที่สำคัญ คือ เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาผาแดง เขายายเที่ยง เขาเคลียด และเทือกเขาสันกำแพง เขตเทือกเขาดังกล่าวนี้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และเดิมเป็นพื้นที่ป่าดงดิบที่รกทึบ มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือคือ
ดงพญาไฟ
ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น
ดงพญาเย็น
เพื่อลดความน่ากลัวลงไป ป่าดงพญาไฟเดิม เป็นเสมือนปราการธรรมชาติที่กั้นขวาง ระหว่างที่ราบภาคกลางกับที่โคราช คงมีเส้นทางที่ใช้ผ่านดงพญาไฟเดิม จากภาคกลางไปสู่ภาคอีสาน ที่คนสมัยก่อนใช้กันอยู่สามเส้นทางด้วยกันคือ
เส้นทางจาก ลพบุรี - ชัยบาดาล - ช่องพญากลาง ไปสู่ด่านขุนทด
เส้นทางจาก สระบุรี - แก่งคอย - ทับกวาง - กลางดง - ปากช่อง - สีคิ้ว ไปสู่สูงเนิน
เส้นทางจากปราจีนบุรี - กบินทรบุรี - ช่องบุขนุน - ช่องสะแกราช ไปสู่ปักธงชัย
เส้นทางดังกล่าวนี้ต่อมาได้มีทางหลวงแผ่นดินตัดผ่านไปตามช่องทางดังกล่าว ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี คือเส้นทางถนนมิตรภาพ ซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500 จากสระบุรี - แก่งคอย - กลางดง - ปากช่อง - สูงเนิน เข้าสู่นครราชสีมา และทางหลวงดังกล่าวนี้ก็เป็นทางหลวงสายหลักของภาคกลางสู่ภาคอีสาน จากสระบุรีผ่านนครราชสีมาไปสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย
จากใบคัดบอกเรื่องระยะทางเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีข้อมูลดังนี้
ระยะทางผ่านดงพญาไฟตั้งแต่ปากเพรียว (สระบุรี) ถึงเมืองนครราชสีมา โดยผ่านสถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันดีในครั้งนั้นไปตามลำดับ ดังนี้
ปากเพรียวถึงแก่งคอย 332 เส้น (ประมาณ 13 กิโลเมตร)
แก่งคอยถึงมวกเหล็ก 766 เส้น (ประมาณ 31 กิโลเมตร) สิ้นแขวงเมืองสระบุรี เดินทาง 2 คืน
มวกเหล็กถึงลำตะกรอง (ลำตะคอง) 600 เส้น (24 กิโลเมตร) เดินทาง 1 คืน
ลำตะกรองถึงท่าฉาง 450 เส้น (18 กิโลเมตร)
ท่าฉางถึงกดไม้ฉนวน 600 เส้น (24 กิโลเมตร)
กดไม้ฉนวนถึงสูงเนิน 474 เส้น (ประมาณ 19 กิโลเมตร)
สูงเนินถึงภูเขาราช 650 เส้น (26 กิโลเมตร)
ภูเขาราชถึงนครราชสีมา 200 เส้น (8 กิโลเมตร)
รวมเดินทาง 4 คืน เป็นระยะทาง 4,072 เส้น (ประมาณ 163 กิโลเมตร) ระยะทาง
ดงพระยากลาง
ตั้งแต่เมือง พระพุทธบาท ถึงเมืองนครราชสีมา เป็นดังนี้
พระพุทธบาทถึงหนองกระดี่ 650 เส้น (26 กิโลเมตร)
หนองกระดี่ถึงโกทลุง แขวงเมืองไชยบาดาน 517 เส้น (ประมาณ 21 กิโลเมตร)
บ้านโกทลุงถึง ท่าสำโรง 343 เส้น (ประมาณ 14 กิโลเมตร) สิ้นแขวงไชยบาดาน
ท่าสำโรงถึงปลักแรด ลำคลองสันทิ 627 เส้น (ประมาณ 25 กิโลเมตร)
ปลักแรดถึงลำพระยากลางเชิงเขาตก สิ้นแขวงเมืองบัวชุม 646 เส้น (ประมาณ 26 กิโลเมตร)
เชิงเขาตก
เขาช่องพระยาไฟ
เดินเข้าไปในดงจนออกปากดง 132 เส้น (ประมาณ 5 กิโลเมตร)
ปากดงมาบันจบพระยาไฟ ที่บ้านสูงเนิน 1,300 เส้น (52 กิโลเมตร)
บ้านสูงเนินไปถึงเมืองนครราชสีมา 850 เส้น (34 กิโลเมตร)
รวมระยะทาง 5,065 เส้น (ประมาณ 203 กิโลเมตร)
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
บริเวณจังหวัดนครราชสีมามีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สืบต่อกันมา ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 3,000 ปี มาแล้ว และสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
เริ่มตั้งแต่ยุคโลหะตอนปลาย ในห้วงเวลาประมาณ 3500-1500 ปีมาแล้ว จากการสำรวจทางโบราณคดี ชุมชนที่อยู่กระจายทั่วไปในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มีความเจริญอยู่ในระดับสังคมเกษตรกรรม ที่มีการใช้โลหะอันได้แก่สำริดและเหล็ก เช่นเดียวกันกับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะทั่วไปในประเทศไทย
ในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนมีชุมชนที่รวมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน ในเขตอำเภอเมือง อำเภอชุมพวง อำเภอโนนสูง อำเภอพิมาย อำเภอโนนไทย อำเภอสีคิ้ว แหล่งที่พบมักเป็นเนินดินมีรูปร่างกลมหรือเหลี่ยม น้ำท่วมไม่ถึง อยู่ไม่ห่างจากลำน้ำไม่มาก เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม ปรากฏเศษภาชนะดินเผาอยู่เป็นชั้น ๆ และบนผิวดินมักมีเศษภาชนะดินหกกระจายอยู่ทั่วไป ชุมชนบางกลุ่มมีการใช้ขวานหินขัดแบบไม่มีบ่า ภาชนะดินเผาแบบลายเชือกทาบเนื้อดินหยาบ บางชุมชนสามารถผลิตภาชนะดินเผาคุณภาพดี และมีรูปแบบเฉพาะตัว ได้แก่ ภาชนะดินเผาแบบ พิมายดำ ตกแต่งด้วยลายเส้นขัดมัน ครึ่งด้านในเป็นสีแดง รู้จักทำงานศิลปะ เช่นการวาด
ภาพเขียนสีบนเพิงหินขนาดใหญ่ที่เขาจันทน์งาม
จากการพบโครงกระดูกเป็นจำนวนมากในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบว่ามีเครื่องประดับที่เป็นลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน ตุ้มหูสำริด กำไลหินอ่อน แหวนสำริด กำไลสำริด ได้พบแวดินเผาที่ใช้ในการปั่นด้าย นอกจากนั้นยังรู้จักการหล่อโลหะมาเป็นเครื่องใช้ โดยใช้เบ้าดินและแม่พิมพ์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนต้น
ได้รับอิทธิพลอารยธรรมอินเดียในสมัยทวาราวดี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 และได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมขอมในห้วงพุทธศตวรรษที่ 14-18 ก่อนที่จะมีการตั้งอาณาจักรไทยในพุทธศตวรรษที่ 19
สมัยพุทธศตวรรษที่ 11-16
สังคมในสมัยนี้เป็นแบบสังคมเมืองที่มีพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเป็นหลัก มีเมืองสำคัญเจริญขึ้นในบริเวณลำตะคอง และลำปลายมาศ ชุมชนโบราณมีอยู่เป็นจำนวนมากในเขต อำเภอโนนสูง และอำเภอสูงเนิน เช่น เมืองเสมา และเมืองโคราฆปุระ หรือเมืองโคราช บ้านโนนกระเบื้องตำบลค่า อำเภอสูงเนิน เมืองโบราณโนนเมืองเก่าหนองละอาง บ้านติ้ว บ้านแจงน้อย บ้านเสมาใหญ่ตำบลเสมาใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ เป็นต้น
เมืองเสมา
อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อำเภอสูงเนินประมาณ 5 กิโลเมตร ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน กว้าง 1500 เมตร ยาว1700 เมตร กำแพงเป็นคันดินสูง บางส่วนเป็นศิลาแลงและหินทรายอยู่ส่วนบน มีคูเมืองล้อมรอบ ภายในเมืองมีคันดินรูปสี่เหลี่ยมหลายแห่ง บางแห่งเป็นขอบเขตของศาสนสถาน มีซากโบราณสถานสร้างด้วยหินทราย บางแห่งเป็นสระน้ำ บริเวณรอบตัวเมือง มีร่องรอยชุมชนโบราณ และศาสนสถานสมัยทวาราวดี เช่นที่บ้านคลองขวาง มีพระพุทธรูปหินทรายปางไสยาสน์ และธรรมจักรหินทราย ในเขตบ้านหินตั้งที่วัดธรรมจักรเสมาราม มีใบเสมาหินปักเรียงเป็นระยะ ๆ และมีซากโบราณสถานที่บ้านแก่นท้าว นอกจากนี้ยังพบศิลาจารึกหลายหลักในบริเวณเมืองเสมา และพื้นที่ใกล้เคียง เช่น
จารึกบ่ออีกา จารึกเมืองเสมา
และ
จารึกสูงเนิน
เป็นจารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสฤตและเขมร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-16
เมืองโคราฆปุระ
ไม่พบร่องรอยเมืองโบราณ คงพบแต่โบราณสถาน วัฒนธรรมขอมได้แก่ ปราสาทเมืองแขก ปราสาทโพนกู่ ปราสาทหินเมืองเก่า และปราสาทหินบ้านปราสาท เป็นต้น
เมืองพลับพลา
อยู่ในเขตอำเภอห้วยแถลง เดิมเป็นเมืองสมัยทวาราวดี ตัวเมืองมีรูปร่างกลมรี มีคูเมืองหลายชั้น ต่อมาในสมัยลพบุรี ได้สร้างเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซ้อนบนเมืองเก่า
สมัยพุทธศตวรรษที่ 14-18
ในช่วงนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมค่อนข้างมาก วัฒนธรรมขอมได้แพร่เข้าสู่อีสาน ทางอำเภอปักธงชัย และช่องตะโก เข้าสู่ชุมชนบริเวณลำพระเพลิง ลำจักราช และลำปลายมาศ ทำให้เกิดบ้านเมืองสมัยลพบุรีเป็นจำนวนมาก มีชาวขอมเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ด้วย การตั้งถิ่นฐานแบ่งออกเป็นสองสาย คือ ลำปลายมาศสายหนึ่ง แพร่ไปทางตะวันตกของลำปลายมาศ มีบ้านเมืองเกิดขึ้นในเขต อำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี และอำเภอพิมาย อีกสายหนึ่งคือบริเวณลุ่มน้ำสะแทค และลำน้ำมูล ในเขตจังหวัดนครราชสีมา เป็นศูนย์กลางความเจริญต่อเนื่องมาจากเมืองเสมาในลุ่มน้ำลำตะคอง
จากข้อมูลที่พบนอกจากศิลาจารึกภาษาขอมแล้ว ยังมี
ตำนาน
และ
ชาดก
สองเรื่อง คือ เรื่องนางอรพิมพ์กับปาจิตตกุมาร และเรื่องเมืองสีดา หรือนิทานเรื่องท้าวกำพร้า ในด้านโบราณวัตถุก็มีเศียรพระโพธิสัตว์สำริดที่บ้านโตนด และรูปศิลาจำหลักพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เศียรพระพรหม และประติมากรรมรูปนางอรพิมพ์ ที่ปราสาทหินพิมาย
โบราณสถาน ได้แก่ปราสาทหินที่สร้างด้วยหินทราย และศิลาแลงเป็นส่วนใหญ่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน เช่นปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมวัน ปราสาทนางรำ ปราสาทสระเพรง ปรางค์กู่ ปรางค์กู่สีดา เมืองโคราฆปุระ และเมืองพลับพลาเป็นต้น
สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 19-24)
ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ยังไม่ปรากฏชื่อเมืองนครราชสีมาอยู่ใน
ทำเนียบ 16 หัวเมือง
แสดงว่าครั้งนั้นนครราชสีมายังไม่ได้ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏชื่อเมืองนครราชสีมาในกฏมณเฑียรบาลว่า เป็นเมืองหนึ่งในทำเนียบเมือง
พระยามหานคร
8 เมืองที่ต้องถือน้ำพิพัฒน์สัตยา และใน
กฏหมายศักดินาทหาร
หัวเมืองระบุว่า มีตำแหน่งเจ้าเมืองพระยามหานครชั้นโท มีฐานะเป็นเมืองเอกมีเมืองขึ้นรวม 14 เมือง
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้
พระยายมราช (สังข์)
ขึ้นไปครองเมืองนครราชสีมา และโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายเมืองจากที่ตั้งเดิม คือ ที่ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน มาสร้างเมืองใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน โดยเอาชื่อเมืองเดิมทั้งสองเมืองคือ เมืองโคราฆปุระกับเมืองเสมามา รวมกันเป็นชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองนครราชสีมา ตัวเมืองออกแบบโดยช่างชาวฝรั่งเศส ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1,000 เมตร ยาว 1,700 เมตร โดยประมาณ มีคูน้ำล้อมรอบเป็นคูเมือง พื้นที่ภายในเมืองประมาณ 1,000 ไร่ กำแพงเมืองก่อด้วยอิฐ มีใบเสมาเรียงรายตลอด มีป้อมอยู่ตามกำแพงเมือง 15 ป้อม มีประตูเมือง 4 ประตู สร้างด้วยศิลาแลง ดังนี้
ประตูด้านทิศเหนือ ชื่อ
ประตูพลแสน
หรือประตูน้ำ ด้านทิศใต้ ชื่อ
ประตูไชยณรงค์
หรือประตูผี
ด้านทิศตะวันตะวันออก ชื่อ
ประตูพลล้าน
ด้านทิศตะวันตก ชื่อ
ประตูชุมพล
เหนือประตูทั้ง 4 แห่ง มีหอรักษาการบนบนเชิงเทิน ทำเป็นรูปเรือน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าใบระกา ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงประตูชุมพลแห่งเดียว และได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2479
เมืองนครราชสีมามีเมืองขึ้นอยู่ 5 เมือง คือ
นครจันทึก
อยู่ทางทิศตะวันตก
เมืองชัยภูมิ
อยู่ทางทิศเหนือ
เมืองพิมาย
อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
เมืองบุรีรัมย์
อยู่ทางทิศตะวันออก และ
เมืองนางรอง
อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ต่อจากนั้นได้ตั้งเมืองเพิ่มขึ้นอีก 9 เมือง คือ เมืองบำเหน็จณรงค์ เมืองจตุรัส เมืองเกษรสมบูรณ์ เมืองภูเขียว และเมืองชนบทรวม 5 เมือง อยู่ทางทิศเหนือ เมืองพุทไธสง อยู่ทางทิศตะวันออกเมืองประโคนชัย เมืองรัตนบุรี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และเมืองปักธงชัยอยู่ทางทิศใต้
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคต พระยายมราช (สังข์) ไม่ยอมไปร่วมพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา จึงกลายเป็นกบฏ สมเด็จพระเพทราชา จึงมีพระบรมราชโองการให้อัครมหาเสนาบดีเกณฑ์กองทัพไปตีเมืองนครราชสีมา ได้สู้รบกันอยู่ถึงสองปี กองทัพกรุงศรีอยุธยาได้หาวิธีการเข้าตีเมืองนครราชสีมาหลายประการด้วยกันคือ ทำลูกปืนกลยิงเข้าเมือง ใช้ว่าวจุฬาแขวนหม้อดินชักเข้าไปในเมือง จุดเพลิงชนวนล่ามแล้วยิงธนูเพลิงที่หม้อดินเพื่อเผาเมือง จนยึดเมืองได้ พระยายมราช (สังข์) จึงหนีไปสมทบกับ
เจ้าพระยารามเดโช
ที่นครศรีธรรมราชซึ่งเป็นกบฏเช่นกัน แต่ในที่สุดพระเพทราชาก็ปราบกบฏได้สำเร็จ การที่พระยายมราช และเจ้าพระยารามเดโช ไม่ยอมมาถือน้ำพิพัฒน์สัตยาจนถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ ก็ด้วยเหตุผลว่าพระเพทราชา และหลวงสรศักดิ์เป็นกบฏต่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ในปี พ.ศ. 2235 เกิด
กบฏบุญกว้าง
โดยมีชาวลาวผู้หนึ่งชื่ออ้ายบุญกว้าง อ้างตัวเป็นผู้วิเศษได้ออกอุบายจนได้เข้าเมืองนครราชสีมา บรรดากรมการเมืองก็ยอมเป็นพวก พระยานครราชสีมจึงได้วางแผนให้อ้ายบุญกว้าง ยกกำลังไปตั้งที่เมืองลพบุรี เพื่อเตรียมกำลังเข้าตีกรุงศรีอยุธยา แล้วจึงมีหนังสือลับไปกราบทูลสมเด็จพระเพทราชา วางแผนปราบกบฏได้สำเร็จ แล้วนำตัวอ้ายบุญกว้างไปประหารชีวิตที่กรุงศรีอยุธยา
ในปี พ.ศ. 2308 พม่ายกกำลังเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยา กองทัพเมืองนครราชสีมา ถูกเกณฑ์ให้ไปรักษากรุง โดยได้ตั้งค่ายอยู่ใกล้วัดเจดีย์เจ็ดแถว จากนั้น
พระยารัตนาธิเบศร
ได้คุมกองทัพเมืองนครราชสีมา ยกกำลังมาตั้งรักษาเมืองธนบุรี เมื่อพม่ายกกำลังเข้าตีพระยารัตนาธิเบศรไม่ได้คิดสู้รบ แต่กลับหนีข้าศึกกลับไปกรุงศรีอยุธยา กองทัพเมืองนครราชสีมาเลิกทัพกลับไป
ในปี พ.ศ. 2309
กรมหมื่นเทพพิธ
พระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รวบรวมกำลังคนจากหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ยกกำลังไปช่วยกรุงศรีอยุธยาที่ถูกพม่าล้อมอยู่ แต่ถูกพม่ายกกำลังมาดักโจมตีที่นครนายก จึงได้นำกำลังที่เหลือไปที่นครราชสีมา ยึดเมืองไว้ได้ แต่ต่อมาหลวงแพ่งน้องพระยานครราชสีมา นำกำลังจากเมืองพิมาย มาจับตัวกรมหมื่นเทพพิพิธไว้ได้ แล้วนำไปขังไว้ที่เมืองพิมาย เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า
พระพิมาย
เห็นว่า กรมหมื่นเทพพิพิธเป็นเชื้อพระวงศ์ จึงยกขึ้นเป็นหัวหน้า
ชุมนุมเจ้าพิมาย
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ดำเนินการปราบปรามบรรดาชุมนุมต่าง ๆ ชุมนุมเจ้าพิมายจึงถูกปราบปรามจนราบคาบเช่นชุมนุมอื่น ๆ
สมัยรัตนโกสินทร์
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เมืองนครราชสีมาเป็นหัวเมืองเอก เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา ให้ปกครอง
เมืองเขมรป่าดง
และหัวเมืองตอนในภาคอีสาน
เมื่อปี พ.ศ. 2334 เกิด
กบฎอ้ายเชียงแก้ว
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) ยกกำลังไปปราบ ในที่สุดอ้ายเชียงแก้วถูกจับได้ และถูกฆ่าตาย
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เกิด
กบฎอ้ายสาเกียดโง้ง
ซึ่งเป็นภิกษุอยู่แขวงเมืองสารบุรี ต่อมาถูกจับได้ และได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิต สาเหตุของกบฎครั้งนี้ เนื่องมาจากพระพรหมภักดียกกระบัตรเมืองนครราชสีมาเป็นตัวการสร้างสถานการณ์
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าอนุวงศ์
ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ ได้ชักนำอิทธิพลของเวียตนาม มาถ่วงดุลอำนาจทางกรุงเทพ ฯ เจ้าอนุวงศ์มีแผนการทำสงครามกับกรุงเทพ ฯ โดยได้ดำเนินการยึดครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และใช้เป็นฐานเข้าโจมตีกรุงเทพ ฯ เจ้าอนุวงศ์กับเจ้าสุทธสาร คุมทัพหลวงยกมายึดเมืองนครราชสีมา โดยออกข่าวลวงมาว่า จะยกทัพไปช่วยกรุงเทพ ฯ จากการรุกรานของอังกฤษ กองทัพเวียงจันทน์ยึดเมืองนครราชสีมาได้เมื่อ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2369 และได้กวาดต้อนครอบครัวชาวเมืองไปยังเมืองเวียงจันทน์โดยมี
คุณหญิงโม
ภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมารวมอยู่ด้วย พระยาปลัดพร้อมทั้งพระยายกกระบัตร พระณรงค์สงครามกรมการเมือง ได้คิดอุบายจัดหญิงสาวรูปงามส่งให้นายทัพนายกองลาว และขอให้พักค้างคืนที่
ทุ่งสัมฤทธิ์
ให้หญิงชาวเมืองล่อทหารลาวออกไปจากวงเกวียน ให้ดื่มสุราจนเมาไม่ได้สติ ทหารไทยพร้อมด้วยคุณหญิงโมกับชาวเมืองชายหญิงที่ถูกกวาดต้อนไป ก็ได้เข้าโจมตีทหารลาว ทหารลาวถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก ที่เหลือได้หลบหนีไป ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ทราบข่าว จึงได้ถอยทัพกลับไป เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 เมื่อปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เรียบร้อยแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาคุณหญิงโมเป็น
ท้าวสุรนารี
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีพระราชดำริที่จะให้มีเมืองที่อยู่ห่างไกลจากทะเล ไว้เป็นเมืองหลวงสำรองอย่างเช่น ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครั้งแรกทรงเลือกเมืองนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2399 ไว้เป็นเมืองหลวงสำรอง แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ถวายรายงานหลังจากที่ได้ไปสำรวจแล้วว่า เมืองนครราชสีมากันดารน้ำมาก ไม่สะดวกที่จะปรับปรุงเป็นเมืองสำรอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงเลือกเมืองลพบุรีแทน และในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กราบทูลขอให้เปลี่ยนชื่อป่าบริเวณเขาใหญ่ ติดต่อกับเขตจังหวัดสระบุรี นครนายก อำเภอวังน้ำเขียว และอำเภอกบินทร์บุรี ซึ่งเดิมเรียกว่า ดงพระยาไฟ มาเป็นดงพระยาเย็น
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองระหว่างปี พ.ศ. 2433-2435 โดยรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง เริ่มต้นด้วยสถานการณ์ภายในนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2430 ที่ทางกรุงเทพ ฯ ต้องการความช่วยเหลือจากนครราชสีมาใน
การปราบฮ่อ
แต่เจ้าเมืองนครราชสีมาเฉยเมย จึงถูกถอดออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง พระพิเรนทรเทพเป็นข้าหลวงเมืองนครราชสีมา เรียกว่าข้าหลวงประจำ
หัวเมืองลาวกลาง
โดยมีกองว่าราชการอยู่ที่เมืองนครราชสีมา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2434 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์
มาดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงใหญ่เมืองนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้กระทรวงมหาดไทยปกครองดูแลหัวเมือง โดยให้รวมหัวเมืองต่าง ๆ เข้าเป็นมณฑลมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครองมณฑล สำหรับเมืองนครราชสีมารวมกับชัยภูมิและบุรีรัมย์เป็น
มณฑลนครราชสีมา
เป็นการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 ได้เรียกข้าหลวงใหญ่ว่า ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑล และได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาประสิทธิศัลยการ มาดำรงตำแหน่ง
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2475 ได้มีการยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้จัดหัวเมืองออกเป็นภาค มณฑลนครราชสีมาได้เปลี่ยนเป็นภาคที่สาม มีจังหวัดในความปกครอง 6 จังหวัดคือ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ และอุบลราชธานี
กรณีนายพลเอกพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช
ในปี พ.ศ. 2476 ได้มี
คณะกู้บ้านกู้เมือง
ประกอบด้วยข้าราชการทหาร ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการบำนาญ ทั้งทหารและพลเรือน ร่วมกันตอบโต้การปกครองของคณะราษฎร อันมีสาเหตุเกิดจากความหวาดระแวงภัย จากลัทธิคอมมิวนิสต์ เพราะองค์การคอมมิวนิสต์สากล ได้ส่งสาส์นมาแสดงความยินดีต่อคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และการเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติของผู้ก่อการคนหนึ่ง คือ หลวงประดิษฐมนูธรรม การดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ทั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ ความไม่จริงใจในการนำการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไปสู่ประชาชนอย่างแท้จริง เช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยอ้อม การริดรอนสิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์และประชาชน ความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรกับทหารหัวเมือง ผู้ก่อการฝ่ายทหารได้เข้ารวบอำนาจบังคับบัญชาทหาร
คณะกู้บ้านกู้เมืองตกลงจะนำทหารหัวเมือง จากจังหวัดอยุธยา นครราชสีมา ปราจีนบุรี พิษณุโลก นครสวรรค์ ราชบุรี เพชรบุรี และกรมอากาศยานดอนเมือง เคลื่อนพลเข้าพระนคร และให้ทหารกรุงเทพ ฯ เข้าร่วมและตกลงให้ทูลเชิญ นายพลเอกพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช เข้าร่วมด้วย และตกลงใช้ นครราชสีมาเป็นกองบัญชาการใหญ่ และเป็นที่ชุมนุมพล และใช้กำลังทหารจากนครราชสีมาเป็นหลัก และมีกำลังทหารจากหัวเมืองอื่น ๆ ดังกล่าวแล้วเข้าสมทบ แต่การดำเนินการทางทหารไม่เป็นผล ฝ่ายรัฐบาลมีชัยชนะ เมื่อ 26 ตุลาคม 2476
|
ย้อนกลับ
|
หน้าต่อไป
|
บน
|
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย
www.dooasia.com
เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com
ใช้
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
.