ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

สมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 1893-ปัจจุบัน)
            ประตูและกำแพงเมืองนครราชสีมา  
         มีร่องรอยกำแพงเมืองอยู่บางส่วนและมีคูน้ำล้อมรอบ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231)  โดยให้ช่างชาวฝรั่งเศสออกแบบผังเมืองและกำแพงเมือง  ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1,000 เมตร ยาว 1,700 เมตร  มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ  มีป้อมอยู่รายรอบตามกำแพงเมือง  มีประตูเมืองอยู่ 4 ประตู  ประจำอยู่ทั้งสี่ทิศ
           ทุ่งสัมฤทธิ์  อยู่ที่บ้านสัมฤทธิ์  ตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย  ลักษณะเป็นเนินดินสูง  ปัจจุบันได้มีอนุสรณ์สถานขึ้น เพื่อระลึกถึงวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์  มีการจำลองสมรภูมิที่อยู่ใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุการณ์จริง ณ บริเวณหนองหัวลาว  รายละเอียดได้กล่าวไว้แล้วในเหตุการณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
           อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
            อยู่ในเขตอำเภอพิมาย  เดิมเมืองพิมายเป็นชุมชนโบราณ ที่อยู่อาศัยของคนสมัย ก่อนประวัติศาสตร์  มาจนถึงสมัยทวาราวดี  เมืองพิมายมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร  มีคูน้ำล้อมรอบ  แม่น้ำมูลไหลผ่านทางทิศเหนือและทิศตะวันออก  ลำน้ำเค็มไหลผ่านทางทิศใต้ และลำน้ำจักราชไหลผ่านทางทิศตะวันตก  ไปบรรจบแม่น้ำมูลที่ท่าสงกรานต์  กำแพงเมืองแต่ละทิศมีประตูอยู่ 1 ประตู ก่อด้วยศิลาแลงเป็นซุ้ม  นอกกำแพงเมืองไปทางทิศใต้ผ่านประตูชัย  มีถนนโบราณตัดตรงไปยังลำน้ำเค็ม  ที่ริมฝั่งน้ำมีอาคารเป็นรูปกากบาท สร้างด้วยศิลาแลง  สันนิษฐานว่าเป็นท่าน้ำเข้าเมืองพิมาย  ปัจจุบันเรียกว่า ท่านางสระผม บริเวณใกล้กันมีโบราณสถานที่เรียกว่า กุฏิฤษี หรือ อโรคยาศาลา  เป็นศาสนสถานที่สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7  เพื่อใช้รักษาผู้เจ็บป่วย
            ภายในเมืองพิมาย มีโบราณสถานสมัยอยุธยาตอนปลาย  เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐตั้งอยู่บนเนินสูง เรียกว่า เมรุพรหมทัต  ภายในกำแพงเมืองมีสระน้ำโบราณ เพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภค  เรียกว่า  สระแก้ว  สระพลุ่ง และสระขวัญ  นอกเขตกำแพงเมืองมีสระน้ำขนาดใหญ่ คือ  สระเพลง อยู่ทางทิศตะวันออก  สระโบสถ์ อยู่ทางทิศตะวันตก
            ปราสาทพิมาย
            เป็นศาสนสถานทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน  สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17  และมีการก่อสร้างเพิ่มเติม ในพุทธศตวรรษที่ 18  ตัวปราสาทมีกำแพงล้อมรอบสองชั้น  กั้นเขตชั้นนอกด้วยกำแพงแก้ว  และกั้นเขตชั้นในด้วยระเบียงคด  บริเวณด้านหน้านอกเขตกำแพงชั้นนอก มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียกว่า พลับพลา  ถัดจากพลับพลาเป็นทางเข้าด้านหน้าก่อเป็น สะพานนาคราช  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าสู่ศาสนสถาน  ถือว่าเป็นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์  ที่เชิงบันไดมีสิงห์เพศผู้คอยพิทักษ์ศาสนสถาน  ราวบันไดทำเป็นลำตัวพญานาคเจ็ดเศียรแผ่พังพาน  ถัดจากสพานนาคเข้ามามีซุ้มประตูเรียกว่า โคปุระ  ตั้งอยู่กึ่งกลางแนวกำแพงแก้ว  มีทั้งหมดสี่ด้าน  มีชาลาคือทางเดินเชื่อมระหว่างกำแพงแก้วและระเบียงคด  ทำเป็นลานยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร  ระเบียงคด มีลักษณะคล้ายกำแพงแก้ว  มีซุ้มประตูกึ่งกลางกำแพงทั้งสี่ด้าน
            ลานชั้นในมีปราสาทสามองค์  ปราสาทประธาน คือ ปราสาทองค์ใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17  สร้างด้วยหินทรายขาว  หันหน้าไปทางทิศใต้ต่างไปจากศาสนสถานเขมรโบราณอื่น ๆ  ซึ่งมักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปราสาทประธาน ประกอบด้วยมณฑปและเรือนธาตุ ภายนอกของปราสาทประธานมีภาพจำหลักบนทับหลัง  และหน้าบันเป็นเรื่องรามเกียรติ์  ยกเว้นทิศใต้ หน้าบันเป็นภาพศิวนาฏราช  ภายในปราสาทจำหลักภาพเรื่องพุทธประวัติตอนผจญมาร และพระโพธิสัตว์ของฝ่ายมหายาน  ภายในเรือนธาตุเป็นห้องสี่เหลี่ยมเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญ  ที่พื้นห้องทางมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือมีร่องน้ำมนต์
            ปราสาทอีกสององค์สร้างเพิ่มเติมในพุทธศตวรรษที่ 18  ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คือ ปรางค์พรหมทัต  อยู่ทางซ้ายของปราสาทก่อด้วยศิลาแลง  ภายในปราสาทมีประติมากรรมหินทรายเป็นรูปคนนั่งขัดสมาธิ ปรางค์หินแดง  อยู่ทางขวาของปราสาท  ก่อด้วยหินทรายสีแดง  มีส่วนฐานเพื่อเชื่อมต่อกับอาคารเรียกว่า หอพราหมณ์  ซึ่งเดิมเป็นบรรณาลัย
            แหล่งตัดหิน
            หินทรายเป็นวัสดุสำคัญในการสร้างปราสาทหินศิลปะเขมรโบราณ  ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-18  ในภาคอีสานมีภูเขาหินทรายกระจายอยู่ทั่วไป  ในเขตจังหวัดนครราชสีมามีแหล่งตัดหินทรายโบราณที่สำคัญ อยู่ 3 แห่งคือ ที่บ้านมอจบก ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว  บ้านส้มกบงาม ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน และที่ตำบลริมบึง อำเภอสีคิ้ว
            จากร่องรอยการตัดหิน ณ บริเวณแหล่งตัดหินพบว่า  เมื่อเลือกแหล่งหินได้แล้วก็จะทำการถากถางปรับพื้นที่  แล้ววางผังขนาดของหินทรายเป็นก้อน ๆ  รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  แล้วใช้เครื่องมือเหล็กประเภทสิ่งสกัดขนาดใหญ่  สกัดตัดหินพร้อมตกแต่งให้หินแต่ละก้อนให้เป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ตามที่ต้องการแล้วจึงงัดออกจากนั้นจึงนำไปใช้งานต่อไป
            แหล่งเตาผลิตเครื่องปั้นดินเผา
            พบที่บ้านกระเบื้องนอก ตำบลกระเบื้องนอก กิ่งอำเภอเมืองยาง เตาเผาแห่งนี้มีขนาดใหญ่ ก่อด้วยดินรูปร่างยาว ประกอบด้วยช่องใส่ไฟ ห้องลางภาชนะดินเผา และปล่องไฟซึ่งมีสองปล่อง เตาวางตัวในแนวตรงราบกับพื้นดิน ภาชนะดินเผาที่ผลิตจากแหล่งเตาแห่งนี้ เป็นภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดาไม่แกร่ง รูปแบบที่สำคัญคือ หม้อดินก้นกลมและพานเป็นต้น มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 15
            ประตูชุมพล
            ประตูชุมพล คือ ประตูเมืองนครราชสีมา ทางด้านทิศตะวันตก อยู่หลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นประตูเมืองเก่า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด ลักษณะเป็นประตูเชิงเทินก่อด้วยหินก้อนใหญ่ และอิฐก่อฉาบปูนทาสีขาว  บนเชิงเทินเป็นหอรบสร้างด้วยไม้แก่น หลังคามุงกระเบื้องประดับช่อฟ้าใบระกา  บานประตูมีสองบาน  มีกำแพงต่อจากประตูทั้งสองด้านก่อด้วยอิฐ  ส่วนบนกำแพงเป็นใบเสมา  ปัจจุบันได้มีการบูรณะขึ้นใหม่
            อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
            ตั้งอยู่หน้าประตูชุมพล อำเภอเมือง  ประติมากรรมท้าวสุรนารี หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร  อยู่ในท่ายืน  แต่งกายด้วยเครื่องยศที่ได้รับพระราชทาน  ผ้านุ่งกรองทองมีลายเชิงนุ่งจีบคาดเข็มขัด เสื้อกรองทอง  ผ้าห่มสไบกรองทองเฉียงซ้าย สวมตุ้มหู  สวมตะกรุดพิสมรมงคลสามสาย  มือขวากุมดาบ  หันหน้าไปทางตะวันออก
            รูปท้าวสุรนารีประดิษฐานอยู่บนแท่นไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง  เป็นแท่นคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 2.50 เมตร  ฐานที่รองรับแท่นฐานในที่มี 3 ชั้น  แท่นฐานไฟที่ด้านทิศตะวันตก  ซึ่งเป็นด้านหน้าของอนุสาวรีย์มีแผ่นทองแดง จารึกประวัติวีรกรรมของท้าวสุรนารี  อนุสาวรีย์นี้ทำพิธีเปิดเมื่อ ปี พ.ศ. 2477  เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดนครราชสีมา  และชาวไทยทั้งประเทศในวันที่ 23 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายนของทุกปี  จะมีงานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี เป็นงานประจำปี
            ศาลหลักเมือง
            ตั้งอยู่ภายในตัวเมืองนครราชสีมา ใกล้กับวัดพระนารายณ์มหาราช  ตัวศาลและเสาหลักเดิมทำด้วยไม้  สันนิษฐานว่าสร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231)  ต่อมาใน พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์  ยกกำลังมายึดเมืองนครราชสีมา  ได้โค่นทำลายเสาหลักเมืองลง  หลังจากนั้นเสาหลักเมืองได้ถูกย้ายไปไว้ในพื้นที่ต่างๆ หลายแห่ง  จนถึงปี พ.ศ. 2506  ชาวนครราชสีมาได้ร่วมกันสร้างศาลขึ้นใหม่  เป็นศาลาจตุรมุขยอดปราสาท แล้วนำเสาหลักเมืองเดิมมาตั้งไว้
            หอพระนารายณ์
            ตัวศาลหรือหอสร้างด้วยไม้  มีเทวรูปสถิตย์อยู่ในหอสามองค์  คือพระอิศวร  พระนารายณ์ และพระพิฆเนศวร ชาวไทยเรียกกันว่า พระนารายณ์  พระนเรศน์ และพระคเณศ  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2511  ชาวนครราชสีมาได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างศาลขึ้นใหม่ให้ชื่อว่า สถานพระนารายณ์
จารึกอักษรปัลลวะ
            มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-11 เท่าที่สำรวจพบมีอยู่สองแห่งด้วยกันคือ
           จารึกวัดจันทึก  พบที่วัดจันทึก ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง  จารึกด้วยอักษรปัลลวะเป็นภาษาสันสกฤต  กล่าวถึงการสร้างรูปเคารพโดยพระเทวี  (พระนามลบเลือนไปไม่สามารถอ่านได้)

           จารึกบ้านพันดุง  พบที่บ้านพันดุง ตำบลพันดุง อำเภอขามทะเลสอ  จารึกด้วยอักษรปัลลวะ เป็นภาษาสันสกฤต พ.ศ. 1372  มีข้อความกล่าวสรรเสริญพระศิวะ  การสร้างศาสนสถาน และรูปเคารพศักดิ์สิทธิ์ และการถวายสิ่งของและบริการแก่ ศาสนสถาน
จารึกอักษรหลังปัลลวะ
            มีอายุเก่ารองลงมาจาก จารึกอักษรปัลลวะ  เท่าที่สำรวจพบมีอยู่สองแห่งคือ
           จารึกหินขอน 1 และ 2   พบที่บ้านหินขอน อำเภอปักธงชัย  จารึกเป็นภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14  มีภาษามอญปนอยู่ด้วย
           จารึกหินขอน 1  กล่าวถึงการสร้างใบเสมาศิลา  การจารึกและภาพสลักบนเสาหิน  การสร้างวิหารและการบริจาคสิ่งของต่าง ๆ  คำสาปแช่ง  การกำหนดพื้นที่และการบริจาคที่ดิน
           จารึกหินขอน 2  กล่าวถึงการสร้างสิ่งของต่าง ๆ ถวายวัด  เพื่อให้ผลบุญนั้นนำไปสู่พุทธภูมิ
จารึกอักษรขอม
            มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 15  เท่าที่สำรวจพบมีอยู่สามแห่งคือ
           จารึกบ่ออีกา  พบที่บ่ออีกา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จารึกด้วยอักษรขอมโบราณเป็นภาษาสันสกฤตและเขมร เมื่อปี พ.ศ. 1411  มีข้อความกล่าวถึงพระราชาแห่งอาณาจักรศรีจนาศะ  ทรงอุทิศปศุสัตว์และบริวารทั้งหญิงชายถวายแด่  พระภิกษุสงฆ์  กล่าวสรรเสริญพระอิศวร  กล่าวถึงอังศเทพสร้างศิวะลึงค์ทองขึ้นในมหาศักราช 780 (พ.ศ. 1411)
        จารึกปราสาทหินพนมวัน
            พบที่ปราสาทหินพนมวัน  ในหลักที่ 1 มีอยู่ 9 หลักด้วยกัน  จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ และภาษาเขมร  ข้อความในจารึกกล่าวถึง ปีมหาศักราช 812 (พ.ศ. 1433)  พระกัมร เตง อัญยโศวรมัน  มีพระราชโองการให้จัดการฉลองประรำพระเพลิง และพระตำหนัก  ผู้ปฏิบัติตามพระราชโองการ  จะได้รับความดีความชอบ  ส่วนผู้ที่ไมปฏิบัติตามจะได้รับความไม่ดีที่ตนทำไว้
        จารึกปราสาทหินพิมาย
            พบที่ปราสาทหินพิมายมีอยู่ 6 หลักด้วยกัน  จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ  ภาษาสันสกฤต และเขมรลักษณะเป็นรูปใบเสมา  ในหลักที่ 2  ปรากฏศักราชและนักษัตรเป็นปีมะเส็ง มหาศักราช 958 (พ.ศ. 1579)  ข้อความในด้านที่ 1  กล่าวถึงการถวายสิ่งของข้าทาษ  ด้านที่ 2  ออกนามพระราชาศรีสูงยวรมะ  ผู้เป็นที่ยำเกรงของพระราชาทั้งหลาย
        จารึกเมืองเสมา
            พบที่เมืองเสมา  จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ  ภาษาสันสกฤต และเขมร ปี พ.ศ. 1514  มีข้อความกล่าวถึงคำนมัสการพระเจ้าทั้งสามองค์ในศาสนาพราหมณ์  คำนมัสการพระเทวี  กล่าวนามพระเจ้าชัยวรมันที่ 5  หรือพระบาทบรมวีรโลก และพระกรณียกิจ  สุดท้ายกล่าวถึงข้าราชการผู้ใหญ่ได้สร้างพระพุทธรูป และเทวรูป  พร้อมทั้งถวายทาสและสิ่งของต่าง ๆ ไว้แก่ศาสนสถาน
        จารึกสูงเนิน
            พบที่อำเภอสูงเนิน  จารึกด้วยอักษรขอมโบราณภาษาสันสกฤตและเขมร  จารึกนี้ชำรุดเสียหายมาก กล่าวถึงพระราชาผู้ทรงอำนาจ และชาญฉลาด  อีกด้านหนึ่งกล่าวถึงข้าทาษ
ตำนานที่เกี่ยวกับเมืองโคราช
            มีตำนานที่เกี่ยวกับเมืองโคราช  เล่าสืบกันมาแต่โบราณอยู่หลายเรื่องด้วยกัน  พอจะประมาลที่สำคัญได้ดังนี้
           ตำนานท้าวปาจิต-นางอรพิม  เป็นเรื่องของโอรสกษัตริย์ชื่อท้าวปาจิตไปแสวงหาคู่ครอง  ที่เป็นหญิงสาวชาวบ้านที่สวยงาม  คนหนึ่งนางอรพิมต้องเดินทางไกลไปต่างเมืองพบอุปสรรคและเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมาย ณ สถานที่ต่าง ๆ   จึงได้ชื่อบ้านตามที่ที่เกิดเหตุการณ์นั้น เช่น บ้านกางตำรา ซึ่งต่อมาเพี้ยนเป็นบ้านจารตำรา  บ้านถนน  บ้านสนุ่น  บ้านท่าหลวง  บ้านสำริด  ลำมาศ  บ้านกงรถ  พิมาย  บ้านกงเดิน  บ้านนางรำ  บ้านร้องไห้  และปรางค์พรหมทัต

           ตำนานเมืองเวียงจันทน์และเมืองนครราชสีมา  เป็นเรื่องที่กล่าวถึงที่มาของคำว่า เวียงจันทน์ และเมืองนครราชสีมา  โดยเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาเป็นชื่อเมือง โดยเอาแต่คำออกเสียงมาใช้มิใช่เอาความหมายมาใช้

           ตำนานเมืองขวางทะบุรี  เป็นเรื่องที่กล่าวถึงเรื่องเมืองขวางทะบุรีศรีมหานคร  ที่ขุนบรมสร้างขึ้น และประกาศห้ามชาวเมืองไม่ให้ทำบาป เช่น ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ในวันที่กำหนดของแต่ละเดือน  ผู้ใดฝ่าฝืนจะบังเกิดความพินาศ  ต่อมาผู้ครองเมืองไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม  บ้านเมืองเดือดร้อน  พระยาแถนเทวดาผู้ใหญ่จึงให้งูมาทำร้าย  จนเมืองนี้กลายเป็นเมืองร้าง  คงเหลือแต่นางกองศรี  ราชธิดาเจ้าเมืองซึ่งพระราชบิดาซ่อนเอาไว้ในกล่องใบใหญ่  ครั้งนั้นคัทธกุมารซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์  พร้อมทั้งทหารคู่ใจสองคนชื่อ นายชายไม้ร้อยกอ กับนายชายเกวียนร้อยเล่ม  ผ่านมายังเมืองนี้เห็นกลองจึงได้แหวะหนังหน้ากลองออก  พบนางกองศรี  นางกองศรีเล่าเหตุการณ์ให้ทราบ  คัทธกุมารก็สังหารงูเหล่านั้นจนหมด  และชุบผู้คนที่ตายไปให้ฟื้นขึ้นมา  และให้ชื่อเมืองว่า เมืองนครราช  บริเวณกองไฟที่กลายเป็นป่าเรียกว่าดงพระยาไฟ  กระดูกงูเกิดเป็นภูเขา ชื่อ  ภูหอ และภูโฮ่ง

           ตำนานฤาษีตาไฟกับนางปทุม  เป็นตำนานที่กล่าวถึงที่มาของ ชื่อหมู่บ้านและสถานที่ต่าง ๆ อันได้แก่  โนนเมือง  โนนกะหาด  หรือหนองกะพี้  ปราสาทนางรำ  รวมทั้งการที่มีซากหม้อไหอยู่มากมายที่โนนเมือง

           ตำนานเมืองโคราช  มีความว่า เมื่อปี พ.ศ. 1511  พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เห็นว่าเมืองเสมาเป็นเมืองใหญ่จึงส่งข้าราชการผู้ใหญ่ที่ปกครอง ภีมะปุระ และเมืองเสมา  มาสร้างเมืองใหม่ใกล้กับเมืองเสมา  เพื่อใช้ควบคุมขุนนางเขมร อ้างพระราชอาญาเจ้าเมืองเขมร มาเกณฑ์ชาวเมืองไปสร้าง  จึงเรียกเมืองนี้ว่า เมืองอาญา  เขมรเรียกนครอาญา  ต่อมาเรียกสั้นลงเป็น นะคอระอาช  และเป็น นะคอราช  ชาวเมืองเรียกโคราช  สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เมืองโคราช มาจากชื่อเมืองโคราฆปุระ
ประชากร ภาษาและวรรณกรรม
            ประชากรมีอยู่สองกลุ่มใหญ่ด้วยกันคือไทยโคราช และไทยอีสาน  ชนกลุ่มน้อยได้แก่ มอญ  กุย (ข่าหรือส่วย)  ชาวบน  ไทยยวน หรือไทยโยนก  ญวนและแขก  ภาษาที่ใช้กลุ่มใหญ่แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ  ภาษาโคราช และภาษาไทยอีสาน  นอกจากนั้นก็มีภาษาไทยยวน  ภาษามอญ  ภาษาเขมร  ภาษาส่วย  ภาษาชาวบน
           ไทยโคราชและภาษาโคราช
            ไทยโคราชเป็นคนไทยแท้ทั้งเชื้อชาติและภาษา แต่สำเนียงพูดแปร่งไปบ้าง เดิมถิ่นนี้คนพื้นเมืองเป็นชาวละว้า  ชาวไทยอพยพเข้ามาสมัยกรุงศรีอยุธยา  พระเจ้าอู่ทองให้ขุนหลวงพะงั่ว ยกทัพมารวมดินแดนนี้ เข้ากับอาณาจักรอยุธยา  แล้วให้ตั้งด่านอยู่ประจำ ส่งช่างชายอยุธยามาก่อสร้างบ้านเรือน และวัดวาอารามเป็นจำนวนมาก  กลุ่มไทยโคราชเป็นกลุ่มที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ของเมืองนครราชสีมา  เพราะมีสำเนียงพูดแตกต่างจากกลุ่มอื่น มีมากอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอโนนสูง อำเภอโชคชัย  และอำเภอพิมาย เป็นต้น
            ภาษาโคราชเป็นภาษาถิ่นดั้งเดิมของนครราชสีมา  สำเนียงภาษาโคราชในแต่ละอำเภอ ยังมีความแตกต่างกัน  ปัจจุบันคนพูดภาษาโคราชเป็นคนรุ่นเก่า หรือที่อยู่ตามชนบท  คนที่อยู่ในเขตเมืองเมื่อพูดกับคนโคราชด้วยกันมักใช้ภาษาไทยกลาง แต่ปรับเสียงวรรณยุกต์ให้เป็นสำเนียงโคราช
           ลาวเวียง (เวียงจันทน์) หรือไทยอีสานและภาษาอีสาน  ไทยอีสานอพยพเข้ามาอยู่บริเวณเมืองนครราชสีมาหลายรุ่น  ส่วนใหญ่อพยพเข้ามาครั้งทำสงครามปราบปรามเมืองเวียงจันทน์สมัยกรุงธนบุรี  ต่อมาได้มีการอพยพเข้ามาทำมาหากินโดยสมัครใจเพิ่มขึ้น
            ภาษาอีสานเป็นภาษาถิ่นที่มีผู้ใช้พูดรองลงมาจากภาษาโคราช  มีผู้พูดภาษาอีสานในเขตอำเภอแก้งสนามนาง บ้านเหลื่อมกิ่งอำเภอบัวลาย  กิ่งอำเภอสีดา  กิ่งอำเภอเมืองยาง  กิ่งอำเภอลำทะเมนชัย  และบางส่วนของอำเภอบัวใหญ่  อำเภอปะทาย  อำเภอชุมพวง  อำเภอห้วยแถลง  อำเภอสีคิ้ว  อำเภอสูงเนิน  อำเภอปากช่อง  อำเภอวังน้ำเขียว  อำเภอครบุรี  และอำเภอเสิงสาง
          มอญและภาษามอญ  ชาวมอญอพยพเข้ามาอยู่บริเวณเมืองนครราชสีมา ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2318  ในสมัยกรุงธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชทานครัวมอญที่อพยพเข้ามาสวามิภักดิ์  มีพระมหาโยธา (เจ่ง) เป็นหัวหน้า  แบ่งให้พระยานครราชสีมานำขึ้นมาอยู่ที่เมืองนครราชสีมา  ตั้งครัวมอญที่ลำพระเพลิง  เขตอำเภอปักธงชัยที่บ้านพลับพลาอำเภอโชคชัย  พระยาศรีราชรามัญผู้เป็นหัวหน้าพาญาติพี่น้องมาอยู่ในเมืองเป็นสายกองส่วยทอง  ตั้งบ้านเรือนเรียกว่าบ้านมอญ  เมื่อเกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2336  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย) คุมกองมอญมาสมทบมาร่วมรบกับกำลังฝ่ายไทย  เมื่อเสร็จศึกแล้วพวกมอญเห็นเมืองปักธงชัยอุดมสมบูรณ์จึงมาตั้งถิ่นฐาน  ปัจจุบันชาวมอญในนครราชสีมายังรักษาวัฒนธรรมประเพณีมอญไว้ เช่น  ภาษา  การไหว้ผี  การเล่นสะบ้า  ในเขตบ้านท่าโพธิ  บ้านสำราญเพลิง ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย  ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน  ทำเครื่องปั้นดินเผา
            ภาษามอญ  จะใช้พูดในชาวไทยมอญที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป  คนรุ่นหลังจากนี้จะพูดภาษาไทยโคราชทั้งสิ้น
          กุย (ข่าหรือละว้าหรือส่วย) และภาษาส่วย
            เป็นชนพื้นเมืองของหัวเมืองเขมรป่าดง และเมืองนครราชสีมา  พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร ได้อยู่ในพื้นที่นี้ก่อนที่คนไทยจะเข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน เมื่อปี พ.ศ. 2362  เจ้าเมืองนครราชสีมา (ทองอินทร์) ตีข่าได้  แล้วนำมายังเมืองนครราชสีมา
            ภาษาส่วย  เป็นภาษาของชาวส่วยที่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์  ศรีษะเกษ  บุรีรัมย์  มาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง  ปัจจุบันมีเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ที่ยังคงใช้ภาษาส่วยในกลุ่มของตนเอง  นอกจากนั้นจะใช้ภาษาโคราชเป็นพื้น
           ชาวบนญัฮกุร หรือเนียะกุลและภาษาชาวบน   เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขา หรือเนินเขาเตี้ย ๆ  บริเวณด้านในของที่ราบสูงโคราช  ชาวบนอาจสืบเชื้อสายมาจากคนในสมัยทวาราวดี  อยู่ในบางหมู่บ้านของอำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี  และอำเภอหนองบุนนาก

            ภาษาชาวบน เป็นภาษาตระกูลมอญเขมร  ปัจจุบันชาวบนพูดภาษาชาวบนเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป  นอกจากนั้นใช้ภาษาโคราช
          ไทยยวนหรือไทยโยนกและภาษาไทยยวน
            เป็นเผ่าไทยในภาคเหนือของไทย  ได้อพยพเข้ามาอยู่ที่อำเภอสีคิ้วสองทางด้วยกันคือ พวกแรกอพยพจากทางเหนือมาอยู่ที่อำเภอเสาไห้  จังหวัดสระบุรี  ต่อมาเจ้าเมืองสระบุรี ต้องการตั้งกองเลี้ยงโคนมที่เมืองนครจันทึก  จึงได้แบ่งครอบครัวชาวไทยยวนจากอำเภอเสาไห้ ไปอยู่ที่อำเภอสีคิ้ว  อีกพวกหนึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์  ชาวไทยยวนยังรักษาประเพณี และวัฒนธรรมแบบโยนกไว้ได้ดีมาก
            ภาษาไทยยวน  ใช้พูดในหมู่ไทยยวนด้วยกันเองซึ่งมีอยู่ประมาณ 5,000 คน ในเขตอำเภอสีคิ้ว  ในท้องที่ตำบลลาดบัวขาว  ตำบลสีคิ้ว และตำบลบ้านหัน

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์