บุคคลสำคัญ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเสิศหล้านภาลัย
พระองค์ทรงพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ ที่บ้านอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของสมเด็จพระราชชนนี โดยมีบ้านเดิมอยู่หลังวัดจุฬามณี ต่อมาได้อยู่ที่หลังวัดอัมพวันเจติยาราม
เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๘ ในเวลาที่เสด็จพระราชสมภพนั้น สมเด็จพระบรมชนกนาถเป็นหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี
เมื่อทรงพระเจริญวัยได้รับการศึกษาที่วัดระฆังโฆษิตาราม ได้ทรงเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหารช เสวยราชสมบัติ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นี้มีพระชนมายุ
๑๖ พรรษา ได้รับสถาปนาขึ้นทรงกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
ประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมจนขึ้นเสวยราชย์
ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ผนวชในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปประทับอยู่วัดราชาธิวาส
(วัดสมอราย)
ในปี พ.ศ.๒๓๔๙ ได้อุปราชาภิเษกเป็นพระมหาอุปราช
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระอัครมเหษีคือ เจ้าฟ้าบุญรอด
ได้เป็นพระอัครชายา ตั้งแต่ยังมิได้ครองราชย์ เจ้าฟ้าบุญรอดต่อมาได้ทรงรับเฉลิมพระนามเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา
บรมราชินี มีพระโอรสสามพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(เจ้าฟ้ามงกุฎ) และพระบาทมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (เจ้าฟ้าจุฬามณี) ส่วนสมเด็จพระเชษฐาอีกพระองค์หนึ่ง
สิ้นพระชนม์เมื่อวันประสูติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครองราชย์อยู่ ๑๖ ปี ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่พระราชอาณาจักรเป็นเอนกประการ
บ้านเมืองมีความสงบร่มเย็น ในด้านการต่างประเทศทรงรับเป็นไมตรีกับพม่า และได้โปรดเกล้า
ฯ ให้สร้างเมืองและป้อมปราการสำหรับพระนคร
ด้านศิลปวัฒนธรรม ทรงเป็นศิลปินที่สามารถ ทรงเชี่ยวชาญทางกวีนิพนธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
ทางนาฎศิลป์และดุริยางคศิลป์ ตลอดจนบทละครอันเป็นที่นิยมยกย่องกันจนนถึงทุกวันนี้
นอกจากนี้ยังโปรดการช่างอื่น ๆ เช่นช่างแกะสลักและช่างทอง
งานสร้างสรรค์ของพระองค์ที่เป็นมรดกวัฒนธรรมจำนวนมากปรากฎพระเกียรติยศแพร่หลายไปยังนานาประเทศ
จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
ได้ถวายพระเกียรติคุณของพระองค์เป็นบุคคลสำคัญ
ที่มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก และจัดให้มีการเฉลิมพระเกียรติ
ในวาระครบ ๒๐๐ ปี แห่งพระบรมราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ ต่อมาคณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้วันพระราชสมภพ
๒๔ กุมภาพันธ์ ได้รับการประกาศเป็นวันศิลปินแห่งชาติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๗ พระชนมายุได้
๕๖ พรรษา
จอมพลผิน ชุณหวัณ
เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๔ มีภูมิลำเนาอยู่ที่ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที เริ่มการศึกษที่วัดโพธิ์งาม
เข้ารับราชการทหารตั้งแต่อายุได้ ๑๖ ปี โดยเข้าเป็นนักเรียนนายสิบและสอบได้คะแนนดี
ได้รับสิทธิเข้าเรียนเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อจบแล้วเข้ารับราชการทหาร
จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นหลวงชำนาญยุทธศาสตร์ เมื่อมียศเป็นนายพันตรี
จอมพลผิน ฯ ได้ผ่านเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์หลายครั้ง เช่นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ การปฏิบัติการในกรณีพระองค์เจ้าบวรเดช ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖
ได้รับความดีความชอบได้เป็นผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๓ นครราชสีมา
บทบาทครั้งสุดท้ายทางการเมืองคือการทำรัฐประหาร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ร่วมกับจอมพล
สฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยมีรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลังจากนั้นก็ได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบ
ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา และบำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชน
จอมพลผิน ฯ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ เมื่ออายุได้ ๘๒ ปี
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๔ ที่บ้านคลองดาวดึงส์ อำเภอเมือง สมุทรสงคราม เล่นดนตรีได้ตั้งแต่อายุห้าขวบ
เครื่องดนตรีชิ้นแรกคือฆ้องวง เริ่มเล่นดนตรีแท้จริงกับบิดาเมื่ออายุได้สิบเอ็ดขวบ
มีชื่อเสียงโด่งดังว่าเป็นมือระนาดที่ดี หาตัวจับยาก ต่อมาได้ตีประชันฆ้องวง
จนมีชื่อเสียงโด่งดังในกรุงเทพ ฯ
ครั้งหนึ่งได้ตีระนาดถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เพียงตีเพลงโหมโรงอัยเรศไม่ทันจบ
ก็ได้รับการชมเชย และได้รับของพระราชทานเป็นฉลองพระองค์แพร ต่อมาเมื่อได้เดี่ยวเพลงกราวถวาย
จึงได้รับแหวนเพชรเป็นรางวัลและได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้น
ในที่สุดได ้ตำแหน่งจางวางมหาดเล็กในพระองค์
ต่อมาได้รับสั่งให้ประชันวงกับนักระนาดมือเอกในสมัยนั้น ทำให้เกิดเพลงกราวในทางฝันขึ้น
(ฝันว่าครูเทวดามาต่อเพลงให้) เมื่อตีประชันกันก็ชนะในฝีมืออย่างเด็ดขาด ทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังจนชื่อ
จางวางศร ติดปากผู้คนทั่วไป
ผลงานสำคัญในด้านต่าง ๆ ของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ มีดังนี้
๑. ประดิษฐ์วิธีบรรเลงดนตรีขึ้นใหม่ เป็นทางหวานเรียกทางนี้ว่า ทางกรอ
๒. ในเพลงเขมรเลียบพระนคร สามชั้น ซึ่งขยายจากเขมรเขาเขียวสองชั้น เมื่อปี
พ.ศ.๒๔๕๘
๓ . เป็นต้นเพลงทางเปลี่ยนคือ เพลงเดียวกัน แต่บรรเลงให้ซ้ำกันแต่ละเที่ยว
ได้บรรเลงครั้งแรกในงานพิธีเปิดประตูน้ำท่าหลวง (สระบุรี) หลังจากนั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑
๔. คิดโน๊ตตัวเลขสำหรับเครื่องดนตรีไทยขึ้น จนได้ปรับปรุงใช้กันมาจนทุกวันนี้
นอกจากนั้นยังได้ประดิษฐ์เพลงที่มีท่อนนำขึ้นด้วย
๕. เป็นผู้นำเครื่องดนตรีชวามาเมืองไทยคือ อังกะลุง
และได้แก้ไขจนเป็นแบบไทย นอกจากนั้นยังได้นำเพลงแบบชวามาดัดแปลงเป็นเพลงไทย
ซึ่งได้นำมาบรรเลงกันโดยทั่วไป
๖. เป็นครูสอนดนตรีไทยในราชสำนักกัมพูชา และได้นำเพลงเขมรมาทำเป็นเพลงไทยหลายเพลง
เช่น เพลงนำเขาขะแมร์ ขะแมกอฮอม แดละขะแมชม เป็นต้น
๗. เป็นต้นตำรับการบรรเลงดนตรีไทย โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้วางแผนการตีระนาด
สีซอ และอื่น ๆ ไว้ด้วยวิธีพิสดาร
๘. ริเริ่มการเดี่ยวระนาดสองราง ด้วยลีลาที่เหมาะสม
๙. เป็นต้นตำรับการบรรเลงและแต่งเพลงสี่ชั้น
บทเพลงบางเพลงที่หลวงประดิษฐ์ไพเราะแต่งไว้ได้แก่ เขมรปากท่อ เขมรพวงเถา เขมรราชบุรีสามชั้น
เขมรเลียบพระนคร แขกสาหร่ายเถา นกเขาขะแมร์เถา ใบ้คลั่งสามชั้น ลาวเสี่ยงเทียนเถา
กระแตไต่ไม้โหมโรง บูเซ็นซ๊อก ปฐมดุสิตโหมโรง ม้าสะบัดกีบโหมโรง ม้ารำ ครวญหาเถา
ครุ่นคิดเถา แขกขาวเถา ขอมทองเถา ทะยอยนอกเถา นาคราชเถา แสนคำนึงเถา เหราเล่นน้ำเถา
และขะแมร์กอฮอมตับ หลวงประดิษฐ์ไพเราะถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ เมื่ออายุได้
๗๕ ปี
เอื้อ สุนทรสนาน
เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๓ ที่ตำบลโรงหวี อำเภออัมพวา บิดาเป็นช่างแกะหนังใหญ่
มารดาเป็นชาวสวน ได้เข้าเรียนชั้นประถมเมื่ออายุสี่ขวบ ที่โรงเรียนวัดใหม่ราษฎร์บูรณะ
ของจังหวัดสมุทรสงคราม พออ่านออกเขียนได้บิดาก็พาเข้ากรุงเทพ ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐
ฝากไว้กับหมื่นไพเราะพจมาน ผู้เป็นพี่ชายซึ่งรับราชการเป็นคนพากย์โขนในกรมมหรสพ
กระทรวงวัง และได้เรียนต่อที่โรงเรียนพรานหลวงสวนมิสกวัน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงตั้งขึ้นให้เป็นโรงเรียนประจำสอนดนตรีทุกประเภท สมัยนั้นพระเจนดุริยางค์เป็นอาจารย์ใหญ่
เด็กชายเอื้อ เรียนแขนงดนตรีฝรั่งโดยเลือกเรียนไวโอลิน อยู่สามปี และต่อมาเรียนเป่าแซกโซโฟนจนมีความชำนาญ
ในปี พ.ศ.๒๔๖๓ ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการครั้งแรกประจำเครื่องสายฝรั่งหลวงกรมมหรสพ
กระทรวงวัง ได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็น เด็กชา
เงินเดือน ๆ ละ ห้าบาท
พ.ศ.๒๔๖๙ ได้เลื่อนชั้นประจำวง ๑ เงินเดือนเพิ่มเป็นเดือนละสิบบาท
พ.ศ.๒๔๗๑ ได้เลื่อนชั้นเป็น พันเด็กชาตรี
เงินเดือนสามสิบบาท
พ.ศ.๒๔๗๒ ได้เลื่อนชั้นเป็น พันเด็กชาโท
พ.ศ.๒๔๗๕ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้โอนไปรับราชการที่กรมศิลปากร ได้เงินเดือนสี่สิบบาท
พ.ศ.๒๔๘๑ โอนไปรับราชการที่กรมโฆษณาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกบันเทิง กองการต่างประเทศ
และปฎิบัติหน้าที่ฐานะหัวหน้าวงดนตรีสากล สุนทราภรณ์
จนเกษียณอายุราชการเมื่อปี
พ.ศ.๒๕๑๔
ผลงานเพลงพอสรุปได้ดังนี้
พ.ศ.๒๔๗๙ แต่งเพลง ยอดสนต้องลม เป็นเพลงแรก และขับร้องเพลงแรกคือ เพลงในฝัน
พ.ศ.๒๔๘๓ แต่งเพลงปลุกใจเพลงแรกคือ เพลงรักสงบ
พ.ศ.๒๔๘๙ แต่งเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกคือ เพลงยามเย็น และแต่งเพลงถวายพระพรเพลงแรกคือ
เพลงราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น
หลังจากนั้นได้แต่งเพลงปลุกใจ และเพลงสดุดี ประมาณ ๑๐๐ เพลง
แต่งเพลงถวายพระพร และถวายความจงรักภักดีล้นเกล้า ฯ ทุกพระองค์ รวม ๒๐ เพลง
แต่งเพลงประจำจังหวัด และเผยแพร่ความสำคัญของจังหวัดในรูปแบบต่าง ๆ ประมาณ
๑๐๐ เพลง
แต่งเพลงประจำสถาบันต่าง ๆ ประมาณ ๖๐๐ เพลง
ศาสตราจารย์ ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์
เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ ที่บ้านริมแม่น้ำแม่กลอง ตลาดบางจาก ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา
จบชั้นประถมจากโรงเรียนประชาบาล อำเภออัมพวา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕
พ.ศ.๒๔๘๑ จบมัธยมปีที่ ๖ โรงเรียนเทเวศร์วิทยาลัย
พ.ศ.๒๔๘๖ ได้อนุปริญญาเกษตรศาสตร์
พ.ศ.๒๔๙๕ ได้ปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ.๒๔๙๖ ได้ปริญญาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต เกียรตินิยม (ดี) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ.๒๕๐๐ ได้ปริญญาเอก ทางเศรษฐศาสตร์การเกษตร จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา
การรับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นตรีอันดับ ๑ ตำแหน่งพนักงานตรี
กองควบคุมสหกรณ์ กรมสหกรณ์
พ.ศ.๒๔๘๘ ลาออกจากราชการไปศึกษาต่อ และกลับเข้ารับราชการในตำหน่งเดิม เมื่อปี
พ.ศ.๒๔๘๙
พ.ศ.๒๔๘๙ โอนมารับราชการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตำแหน่งประจำแผนก
สำนักเลขาธิการ
พ.ศ.๒๔๙๕ เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท ตำแหน่งหัวหน้าแผนกสถิติและทะเบียน
พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นอาจารย์โท คณะกสิกรรมและสัตวบาล
พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นเอก ตำแหน่งอาจารย์เอกคณะกสิกรรม
และสัตวบาล
พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นพิเศษ ตำแหน่งอาจารย์แผนกวิชาเกษตรศาสตร์
สาขาเศรษฐศาสตร์การเกษตร คณะกสิกรรมและสัตวบาล
พ.ศ.๒๕๐๘ รักษาการในตำแหน่งรองเลขาธิการสภาวิจัยแห่งชาติฝ่ายสังคมศาสตร์
แล้วไปเป็นผู้เชี่ยวชาญการอาหาร และเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ในตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงเกษตร
ประเทศมาเลเซีย
พ.ศ.๒๕๑๑ เป็นศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ และเป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมเยาวชนแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๑๕ เป็นศาสตราจารย์อัตราพิเศษ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
พ.ศ.๒๕๑๙ ลาออกจากราชการ
ในปี พ.ศ.๒๔๘๙ ศ.ดร.อุทิศ ฯ ได้ตั้งคณะเครื่องสายไทย ชื่อ คณะบางขุนนนท์
ขึ้น
มีชื่อเสียงมากจนได้ออกรายการวิทยุ ศ.ดร.อุทิศ ฯ ได้ฝึกซอสามสายกับพระยาภูมิเสรี
จนกระทั่งสามารถออกรายการวิทยุเป็นประจำ เป็นที่สนใจของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ
และได้รับไว้เป็นศิษย์ ให้เรียนเพลงต่าง ๆ ฝึกหัดการแต่งเพลงและหัดปี่พาทย์
ศ.ดร.อุทิศ ฯ เป็นทั้งนักวิชาการ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียน ที่มีผลงานเป็นจำนวนมาก
และยังเป็นผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรีไทยอีกด้วย
สรุปผลงานที่สำคัญคือ ในด้านการวิจัยและบทความต่าง ๆ ทางด้านเศรษฐศาสตร์ การบัญชี
มีมากกว่า ๑๐๐ เล่ม และได้เขียนตำราดนตรีไทยได้แก่ทฤษฎี และการปฏิบัติดนตรีไทย
ภาค ๑ ภาค ๒ ประมวลเพลงไทย (สำหรับบทปี่พาทย์) เพลงเต็มและเพลงเนื้อเต็มต่าง
ๆ หนังสือคู่มือฝึกอังกะลุง หนังสือคู่มือฝึกขลุ่ย โน้ตเพลงไทย มีจำนวนมากกว่า
๑๐๐ เล่ม
ด้านการแต่งเพลงไทย ได้แต่งไว้หลายประเภทด้วยกันคือ
๑. ประเภทเพลงตับ ประมาณ ๙ เพลง เช่น เพลงตับหนุมานกล่องดวงใจ เพลงตับเจ้าพระยาสามตา
เป็นต้น
๒. ประเภทเพลงสามชั้น เพลงเถา ประมาณ ๘๓ เพลง เช่น กระต่ายเต้น ครุ่นคำนึง
จีนดูดาว พม่าแปลง มอญครวญ บุหลันลอยเลื่อน (เถา) นอกจากนี้ยังคิดทางเดี่ยวของเครื่องดนตรีต่าง
ๆ ไว้มากมาย เช่น เดี่ยวขิมเพลงม้าย่อง เดี่ยวซอด้วง เชิดนอก กราวใน เดี่ยวซอสามสาย
นารายณ์แปลงรูป เดี่ยวระนาดสามราง และเพลงอาหนู เป็นต้น
๓. ประเภทเพลงประโคม ประมาณ ๑๓ เพลง เช่น พม่ารำขวาน มะลิลา มอญครวญ และแสนรันทด
เป็นต้น
๔. ประเภทเพลงศาสนาและคติธรรม ประมาณ ๑๑ เพลง เช่น คุณธรรมความดี ศีล
- สมาธิ - ปัญญา และมรณานุสติ เป็นต้น
๕. ประเภทเพลงอวยพรงานมงคล ๑๕ เพลง
๖ . ประเภทเพลงปลุกใจ ๒๐ เพลง
๗. เพลงเนื้อเต็ม ประมาณ ๑๐๐ เพลง
|