จังหวัดอุตรดิตถ์
จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ใต้สุดของภาคเหนือ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดแพร่
ทิศตะวันออกติดต่อกับสาธารณรัฐประธิปไตยประชาชนลาว มีเขตแนวพรมแดน ๑๒๐
กิโลเมตร ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย
มีพื้นที่ประมาณ ๗,๘๔๐ ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูง
ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เทือกเขาเหล่านี้ต่อเนื่องมาจากจังหวัดแพร่
และจังหวัดน่าน เทือกเขาด้านที่ติดต่อกับจังหวัดแพร่
คือ
เทือกเขาผีปันน้ำ
ตะวันออก
มีดอยพญาฝ่อเป็นดอยที่สูงที่สุด
ส่วนเทือกเขาที่อยู่ติดกับจังหวัดน่าน คือ เทือกเขาหลวงพระบาง
มียอดสูงสุดคือ
ภูลูกคราด
สูงประมาณ ๑,๗๔๐ เมตร รองลงมาคือ ภูสอยดาว
สูงประมาณ ๑,๖๕๐ เมตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอยู่ในเขตอำเภอน้ำปาด
ทางตอนใต้ของจังหวัดตั้งแต่ตอนใต้ของอำเภอลับแล และอำเภอเมือง เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำต่อเนื่องมาจากภาคกลาง
และบริเวณลุ่มน้ำขนาดใหญ่จะมีภูมิประเทศเป็นที่ราบหุบเขา ได้แก่ที่ราบหุบเขาลุ่มน้ำปาด
ซึ่งเป็นที่ราบหุบเขาที่กว้างขวางที่สุด นอกจากนั้นก็มีที่ราบหุบเขาบริเวณคลองตรอน
และที่ราบหุบเขาบริเวณคลองแม่พร่อง
เขตภูเขาและที่สูงเป็นแหล่งต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน
ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดอุตรดิตถ์ และเป็นแม่น้ำที่สำคัญหนึ่งในสี่สาย
ที่มารวมตัวกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน่านไหลผ่านอำเภอท่าปลา อำเภอเมือง
ฯ อำเภอตรอน และอำเภอพิชัย ลำน้ำสายอื่น ๆ ได้แก่ แม่น้ำปาด
คลองตรอน คลองแม่พร่อง คลองโพ คลองจรเข้ และคลองน้ำริด
นอกจากนี้ยังมีแอ่งน้ำตามธรรมชาติอยู่เป็นอันมากที่สำคัญได้แก่ บึงทุ่งกะโล่
ซึ่งเป็นบึงที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุตรดิตถ์
อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ นอกจากนั้นมีบึงมาย บึงทับกระดาน บึงหลัก บึงหล่ม
บึงเบิก และมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อันเกิดจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์
คือ
อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์
อยู่ในเขตอำเภอท่าปลา
โครงสร้างทางธรณีวิทยาของจังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนใหญ่เป็นหินชั้นหรือหินตะกอน
ทำให้มีทรัพยากรแร่จำกัด ส่วนใหญ่เป็นแร่อโลหะ แร่อโลหะที่สำคัญคือ
แร่ดินขาว ซึ่งนับว่าเป็นแร่เศรษฐกิจที่ทำรายได้ ให้กับจังหวัดได้มากที่สุด
นอกจากนั้นก็มีหินอ่อน และแร่ทัลต์
|