ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

            กลุ่มบ้านกุนุงจนอง  คำว่ากุนุงจนองแปลว่าภูเขาเอียง อยู่ที่บ้านกุนุงจนอง ในตำบลเบตง อำเภอเบตง มีพื้นที่ประมาณ ๒๐ ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับคลองเบตง ทิศตะวันออกติดต่อกับหมู่บ้านตักโกร ทิศตะวันตกติดต่อสวนแปะหลิม ซึ่งติดกับเขตแดนมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อกับสวนยาง
            กลุ่มบ้านนี้ สร้างอยู่บนพื้นที่เดียวกัน ที่ดินเป็นของต้นตระกูล มีประมาณ ๑๕๐ หลังคาเรือน บ้านแต่ละหลังจะมีร่องน้ำจากชายคาตัดเป็นแนวเขตของบ้าน เป็นกลุ่มบ้านที่พึ่งพาอาศัยแบบเครือญาติ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน บริเวณบ้านสะอาดสะอ้านมีระเบียบวินัย ยึดมั่นในคุณธรรมของศาสนาและรักสันติสุข
            กลุ่มบ้านนี้มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี สร้างแบบรูปทรงพื้นบ้าน ผู้ดำเนินการก่อสร้างได้แก่คนในตระกูลยามา บ้านหลังนี้เก่าแก่ที่สุด ใช้ไม้ไผ่ขัดแตะเป็นฝาบ้าน หลังคามุงจาก การสร้างบ้านในสมัยหลัง ๆ จะมีการแกะสลักเป็นลวดลายสวยงาม ประดับตามช่องลม เหนือประตูหน้าต่าง
            สิ่งที่น่าศึกษาของคนในกลุ่มบ้านนี้คือ เรื่องบทบาทของสถาบันในสังคม ซึ่งจะมีผู้นำของกลุ่มบ้านเป็นผู้ปกครองได้แก่ โต๊ะอิหม่าน ซึ่งมีประมาณ ๑๕ คน เขาเหล่านี้นอกจากจะให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนา และให้คำปรึกษาหารือต่าง ๆ แก่ผู้ตนในกลุ่มบ้านแล้ว ยังคอยสอดส่องดูแลความประพฤติของเยาวชนในกลุ่มด้วย มีมัสยิด มีโรงเรียนสอนศาสนา โรงเรียนเทศบาล เด็ก ๆ จะเรียนศาสนาที่มัสยิดในวันเสาร์ อาทิตย์
            การประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้านคือทำสวนยางและสวนผลไม้ รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลประมาณเดือนละ ๒,๐๐๐ บาท มีการประกอบกิจกรรม ที่กระทำร่วมกันของคนในกลุ่มบ้านเช่น การกวนข้าว อาซูรอ การเล่นกีฬาที่ใช้นาเป็นสนามฟุตบอลและสนามตะกร้อ เป็นต้น
แหล่งอุตสาหกรรม
           เหมืองแร่ดีบุก จังหวัดยะลามีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ในการทำเหมืองแร่ดีบุก เพราะเป็นจังหวัดเดียวที่เป็นแหล่งแร่สำคัญ ในบริเวณสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การทำเหมืองแร่เริ่มจากเหมืองหาบ มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเวลาต่อมาได้วหันไปทำเหมืองแร่ชนิดอื่น ๆ ด้วยเช่น เหมืองสูบ เหมืองแล่นและเหมืองฉีด โดยมีที่ตั้งกระจายตัวอยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ อำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต และอำเภอเบตง
สิ่งสำคัญคู่เมืองยะลา

           วัดคูหาภิมุข  เดิมชื่อวัดถ้ำ อยู่ในเขตตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง ฯ  มีพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ศิลปะสมัยศรีวิชัยอยู่ในถ้ำบริเวณวัดแห่งนี้ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๙ พระพิพิธภักดี (เพิ่ม  เตชะคุปต์) เจ้าเมืองยะลาเห็นว่าบริเวณวัดเดิมคับแคบ ควรขยับขยายออกไปจากที่เดิมที่ชายเขา ให้ไปอยู่ริมฝั่งสระด้านนอกชาวบ้านได้ช่วยกันบริจาคที่ดินประมาณ ๒๐ ไร่ แล้วสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ และเสนาสนะเพิ่มเติม ต่อมาอุโบสถหลังเก่าทรุดโทรม ทางวัดจึงได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ เป็นแบบจตุรมุขมีรูปทรงคล้ายรูปแบบเดิม วางศิลาฤกษ์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙

           หลักเมืองยะลา  ด้วยเหตุที่เมืองยะลาได้แยกออกจากเมืองปัตตานีที่แยกออกเป็นเจ็ดหัวเมือง ที่ตั้งตัวเมืองยะลาเดิมมิได้อยู่ในที่ปัจจุบัน แต่ได้มีการโยกย้ายมาแล้วถึงสี่ครั้ง
            ดังนั้นจึงได้มีการวางศิลาฤกษ์สร้างหลักเมืองขึ้น ที่บริเวณศูนย์วงเวียนหน้าศาลากลางจังหวัด เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดคือ พ.ต.อ.ศิริ  คชหิรัญ  เป็นผู้ริเริ่ม
                - เสาหลักเมือง  ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ออกแบบแกะสลักเป็นแท่งกลม ต้นเสาวัดโดยรอบได้ ๑๐๕ เซนติเมตร ปลายเสาวัดโดยรอบได้ ๔๘ เซนติเมตร สูง ๑.๒๕ เซนติเมตร วางอยู่บนฐานลักษณะกลมแกะสลักลวดลายแบบไทยลงรักปิดทองรอบฐาน ชั้นบนและชั้นกลางแกะสลักเป็นรูปนักรบโบราณถือโล่และดาบ ยอดเสาแกะเป็นรูปพระพรหมสี่หน้า อันแสดงถึงความเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา ซึ่งเป็นหลักการปกครองของผู้เป็นใหญ่ที่ปกครองบ้านเมือง
                - อาคารศาลหลักเมือง  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาจตุรมุข หันหน้าไปทางทิศทั้งสี่ มีบันไดขึ้นทั้งสี่ทิศ อาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาด ๖ x ๖ เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง สูง ๖.๕๐ เมตร หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสลับสี หลังจากประกอบพิธีกรรมในการฝังเสาหลักเมืองเสร็จ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ ทางจังหวัดได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองสมโภช และได้ยึดถือเป็นงานสมโภชประจำปีทุกปี ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

           มัสยิดกลางจังหวัดยะลา  เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ได้มีผู้อุทิศที่ดินให้สร้างมัสยิดขึ้นที่บ้านตลาดเก่า อำเภอเมือง ฯ ตั้งชื่อว่ามัสยิดเราฏอตุลยันนะห์ เป็นอาคารชั้นเดียว สามารถทำละหมาดได้ครั้งละ ๕๐ คน  ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ รัฐบาลได้ให้เงินสนับสนุนร่วมกับ เงินบริจาคของประชาชน ได้ขยายมัสยิดออกไปจนจุคนได้ประมาณ ๓๐๐ คน  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๒ รัฐบาลได้ให้งบประมาณแผ่นดินซื้อที่ดินเพิ่มอีก ๓๐๐ ตารางวา และให้สร้างอาคารใหม่ทดแทนด้วยงบประมาณ ๒๘.๒ ล้านบาท
            ตัวอาคารมี ๓ ชั้น กว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๗๐ เมตร หออาซานสูง ๓๘ เมตร โดยหลังคาแทนที่จะเป็นบัวตูมแบบโดมอื่น ๆ กลับเป็นบัวแย้ม มีกระจกใสติดที่ยอดดอกบัวเพื่อให้แสงลอดเข้าไปได้
            มัสยิดแห่งนี้ใช้เวลาสร้างอยู่ ๔ ปี เสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ กล่าวกันว่าเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ศิลปะ หัตถกรรมและงานช่าง
    ประติมากรรม

           ยักษ์วัดถ้ำ  อยู่ที่วัดคูหาภิมุข ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง ฯ  เป็นยักษ์ปูนปั้นในกลุ่มจตุโลกบาล ยืนเฝ้าปากถ้ำพระนอน (ถ้ำแจ้ง) มีตะบองพันเป็นเกลียววางดิ่งอยู่ตรงหน้า หัวตะบองเป็นหัวกะโหลก ตัวยักษ์ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าถุงหยักรั้งยาวเหนือเข่าเล็กน้อย รูปร่างหน้าตาคล้ายคนป่าแยกเขี้ยวยิงฟัน ตาโตแดงเป็นประกาย ศีรษะไม่ประดับเครื่องทรงใด ๆ มีงูพันรอบคอ หัวงูตั้งอยู่บนหัวกะโหลกของตะบอง แขนสองข้างสวมกำไลแขน มีหัวกะโหลกประดับอยู่บนกำไลแขนทั้งสองข้าง
    จิตรกรรม

           จิตรกรรมฝาผนังถ้ำศิลป  ถ้ำศิลปอยู่ในภูเขาวัดถ้ำ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง ฯ  อยู่ห่างจากถ้ำพระนอนไปทางหัวเขาทิศใต้ ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ปากถ้ำอยู่สูงกว่าเชิงเขาประมาณ ๒๘ เมตร ถ้ำนี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองตอน ตอนที่เป็นทางเข้ามีภาพเขียนที่ผนังซ้ายมือด้านเดียว อยู่ทางทิศใต้  ทางด้านทิศเหนือมีภาพเขียนสีอยู่ที่ผนังถ้ำทั้งสองด้าน ภาพที่เขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าปางมารวิชัย ภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่ง เป็นแถวเบื้องซ้ายและขวา มีพระสาวกหรืออาจเป็นอุบาสกอุบาสิกานั่งประนมมืออยู่ ภาพพระพุทธเจ้าปางลีลา และมีรูปผู้หญิงยืนเป็นหมู่สามคน สีที่เขียนเป็นสีดินเหลือง เป็นหลักประกอบด้วยสีน้ำตาลและสีแดง เพื่อแยกน้ำหนักอ่อนแก่ตัดด้วยสีดำ ส่วนสีเขียวเป็นสีที่เกิดขึ้นภายหลัง เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีของสารที่ผสมอยู่ในสี
            ภาพเขียนสีเล่านี้สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสกุลท้องถิ่นที่ได้รับอิทธิพลด้านรูปแบบของภาพโดยตรงจากอินเดีย และน่าจะเป็น
            ภาพเขียนสมัยศรีวิชัยตอนปลาย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐
            ภาพเขียนสีที่ถ้ำศิลป ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำหรับชาติเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
    สถาปัตยกรรม

            มัสยิดและปอเนาะ ปะแดรู  ตั้งอยู่ที่บ้านปะแดรู ตำบลเขาตอง อำเภอยะหา ในพื้นที่ประมาณ ๘ ไร่ ประกอบด้วยอาคารเรียนหลังเก่า อาคารที่พักของโต๊ะครู หลังเก่า บ้านพักครู หอพักนักเรียนชาย - หญิง ซึ่งแบ่งพื้นที่กันอยู่ ตัวอาคารนับว่ามีคุณค่าทางศิลปกรรมคือ อาคารเรียนชั้นเดียวเป็นอาคารไม้พื้นซีเมนต์ หลังคาทรงลีมะ มีลวดลายประดับหน้าจั่วและบริเวณเชิงชายตลอดจนช่องลมต่าง ๆ และตัวอาคารที่เป็นที่พักของโต๊ะครู ก็มีรูปทรงที่สวยงาม อาคารสองหลังนี้มีอายุประมาณ ๘๐ ปี อาคารทุกหลังจะรักษารูปทรงพื้นเมืองไว้เป็นอย่างดี
            มัสยิดปะแดรู (ตัฒวา) สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ สร้างโดยเงินส่วนตัวของปอเนาะ รวมกับเงินบริจาคของชาวบ้านปะแดรู รูปทรงเป็นแบบมัสยิดสากล ที่สมส่วนสวยงาม ซุ้มประตูสร้างขึ้นในช่วงเดียวกันกับที่สร้างมัสยิด เป็นรูปโดมมีลวดลายสวยงาม

            มัสยิดกลาง อำเภอเบตง  ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล อำเภอเบตง เดิมสร้างด้วยเสาไม้กลม ๖ ต้น ใบจาก ๖ ลายา (ตับ) ชาวไทยอิสลามเบตง ได้ร่วมทุนกันสร้างอาคารมัสยิดหลังใหม่ ทางราชการได้ให้งบประมาณสมทบ ทำให้ได้มัสยิดที่สวยงามแห่งหนึ่ง

            ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ยะลา  อยู่ในเขตตำบลสะเตง อำเภอเมือง ฯ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคารูปทรงจีน ลดหลั่นกัน มุงด้วยกระเบื้อง บนสุดของหลังคา แกะสลักเป็นรูปมังกรสองตัว กำลังคาบแก้ว
            ศาลเจ้าแห่งนี้ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘  จากเงินที่ได้รับบริจาค ต่อมาได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติม อาคารที่เป็นโรงครัว ที่พักสำหรับผู้มาพักแรม และในสวนที่เป็นศาลาไว้ศพ อีกหลังหนึ่ง
            อาคารมูลนิธิอำเภอเบตง  ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านถนนรัตนกิจ อำเภอเบตง ในพื้นที่ประมาณ ๕ ไร่ตัวอาคารมีสองหลัง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังแรกมีโครงสร้างแบบศาลเจ้าของจีน หลังคารูปทรงจีน ภายในอาคารเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ห้องโถงส่วนกลางเป็นสถานที่ตั้งพระบูชาของจีน สำหรับให้ศาสนิกชนเข้าไปกราบไหว้บูชา ด้านหน้าอาคารเป็นสวนไม้ประดับ มีพันธุ์ไม้มงคลหลายชนิดปลูกไว้อย่างสวยงาม
            อาคารหลังที่สองเป็นห้องโถงใหญ่ ใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ฝาผนังด้านในของอาคาร จะมีกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องนรกและสวรรค์
            อาคารมูลนิธิสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ มีการตกแต่งศิลปภายในตัวอาคารด้วยความรู้ทางปรัชญา และวรรณกรรมจีนที่ใส่ลงไปในภาพ ศิลปะการแกะสลักไม้ที่บานประตู การแกะสลักภาพบนหลังคา การตกแต่งเรื่องราวเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง ล้วนมีคุณค่าทางศิลปะและวิชาการที่ควรแก่การศึกษา

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์