ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดอ่างทอง >วัดอ่างทองวรวิหาร/Wat Angthong Worawihan 

วัดอ่างทองวรวิหาร/ Wat Angthong Worawihan

 

วัดอ่างทองวรวิหาร ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง โทร. 035-611-546 fax-035-614-072

วัดอ่างทองวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ตรงข้ามศาลากลางจังหวัด เดิมเป็นวัดเล็กๆ 2 วัด ชื่อ วัดโพธิ์เงิน และวัดโพธิ์ทอง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้รวมวัดสองวัดเป็นวัดเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2443 และพระราชทานนามว่า วัดอ่างทอง วัดนี้มีพระอุโบสถที่งดงาม มีพระเจดีย์ทรงระฆังประดับด้วยกระจกสีและหมู่กุฏิทรงไทยสร้างด้วยไม้สักงดงามเป็นระเบียบซึ่งล้วนเป็นสถาปัตยกรรมตามแบบศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ประวัติ

สภาพฐานะและที่ตั้งของวัด

วัดอ่างทองวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ในท้องที่เทศบาลเมืองอ่างทอง มีถนนเทศบาลผ่านเข้ามาในบริเวณวัด ๓ สาย คือ ถนนเทศบาล ๑ ผ่านหน้าวัด ถนนเทศบาล ๓ ผ่านทางด้านตะวันออก ถนนเทศบาล ๔ผ่านทางด้านหลังวัดนอกจากนี้ก็มีถนนซอยร่มโพธิ์ทองอีก ๑ สาย เนื้อที่ดินที่ตั้งวัดมีจำนวน ๓๑ ไร่ ๑ งาน ๖๖ ตารางวา ที่ดินระวาง ๕๐๓๘ I ๕๖๑๒-๗ เลขที่ดิน ๗๒ หน้าสำรวจ ๔๒๗ โฉนดเลขที่ ๖๐๔๓ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง อาณาเขตทิศเหนือจดลำแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศใต้ติดที่ดินราชพัสดุและที่ดินของเอกชน ทิศตะวันออกติดที่ดินของศาลเจ้าและที่ดินเอกชน ทิศตะวันตกติดที่ดินของไปรษณีย์ และบริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดอ่างทอง

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค เพื่อไปทรงหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ที่จังหวัดพิษณุโลก ที่จะนำไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นผ่านมาถึงหน้าวัดโพธิ์ทองและวัดโพธิ์เงิน ทรงทอดพระเนตรเห็นรั้วหน้าวัดต่างกันเป็น ๒ ตอน จึงทรงรับสั่งถามสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งโดยเสด็จไปในเรือพระที่นั่งนั้นด้วย ว่าเป็นเพราะเหตุใด สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงได้กราบบังคมทูลว่า เป็น ๒ วัดติดกัน คือ ทางทิศตะวันตกเป็นวัดโพธิ์ทอง ทางด้านทิศตะวันออกเป็นวัดโพธิ์เงิน ต่างวัดต่างทำ จึงไม่เหมือนกัน พระองค์จึงทรงรับสั่งว่า “ ควรจะมารวมให้เป็นวัดเดียวกัน ” และให้ชื่อขึ้นใหม่ว่า “ วัดอ่างทอง ” เมื่อเสด็จกลับจากการหล่อจำลองพระพุทธชินราชจำลองแล้ว เสนาบดีกระทรวงหาดไทย ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองว่า ให้รวมวัดโพธิ์ทองและวัดโพธิ์เงินเข้าเป็นวัดเดียวกัน แล้วขนานนามวัดขึ้นใหม่ว่า วัดอ่างทอง วัดทั้ง ๒ จึงรวมเป็นวัดเดียวกัน และได้รับขนานนามว่า วัดอ่างทอง อันเป็นมงคลนาม ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ส่วนเสนาสนะต่าง ๆ ก็ปล่อยให้อยู่ในสภาพเดิม และได้เรียกบริเวณหมู่กุฏิของวัดโพธิ์ทองเดิมว่า "คณะใต้" เรียกหมู่กุฏิของวัดโพธิ์เงินเดิมว่า "คณะเหนือ" การปกครองก็ขึ้นอยู่กับเจ้าอาวาสองค์เดียวกัน

การก่อสร้างและปฏิสังขรณ์นับตั้งแต่พระครูวิเศษชยสิทธิ์ได้มาปกครองวัดก็นี้ได้เริ่มทำการปฏิสังขรณ์และก่อสร้างเสนาสนะต่างๆเป็นการใหญ่ เริ่มตั้งแต่กุฏิ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ โรงเรียนพระปริยัติธรรม ทำกำแพงแก้วพระอุโบสถ ตลอดจนการปูกระเบื้องซีเมนต์พื้นของกำแพงแก้วและได้ทำการก่อสร้างพระเจดีย์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปต่าง อีกด้วย แล้วได้จัดการสร้างศาลาลาย ภายในกำแพงแก้วอีก ๔ หลัง เพื่อสำหรับเป็นที่พักของอุบาสกอุบาสิกา และสร้างศาลาท่าน้ำหน้าวัดอีก ๓ หลัง พระประธานในพระอุโบสถสร้างด้วยก่ออิฐถือปูน เป็นพระปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๑๕ เมตร สูง ๒.๗๕ เมตร เป็นพระประธานคู่กับวัดมาแต่เดิม ลักษณะไม่งามและไม่ถูกสัดส่วน ในขณะนั้นได้เริ่มชำรุดและเอนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือใกล้จะโค่นอยู่แล้ว แต่ก็ไม่มีใครคิดปฏิสังขรณ์หรือแก้ไขให้คืนดังเดิม ด้วยเห็นว่าเป็นพระที่ปั้นด้วยปูน หากจะไปขยับเขยื้อนเข้าก็เกรงว่าเป็นการซ้ำเติมให้พังเร็วลงอีก ซึ่งดูจะเป็นบาปแก่ผู้กระทำ จึงปล่อยให้เอนอยู่อย่างนั้น ต่างพากันคาดคะเนว่า ในชั่วเวลาอีกไม่เกินหนึ่งปีก็จะโค่นลงมาเอง จึงได้ร่วมใจกันหล่อพระประธานขึ้นใหม่ด้วยโลหะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๔๒ เมตร สูง ๒.๐๐ เมตร การที่ทำให้องค์พระขนาดเท่านี้ ก็โดยผู้เชี่ยวชาญคำนวณว่าพระองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมัยเมื่อครั้งทรงพระชนม์ชีพอยู่มีขนาดเท่านั้น และหวังว่าถ้าพระองค์เดิมพังแล้ว ก็จะนำองค์ที่หล่อขึ้นใหม่ประดิษฐานแทน

การหล่อพระประธานองค์นี้ ครั้งแรกปรากฏว่าตอนพระเศียรไม่ติด ต่างพากันเข้าใจว่าเป็นความบกพร่องของนายช่าง ซึ่งนายช่างก็ยืนยันว่า การหล่อพระพุทธรูปทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่เคยมีความมั่นใจเท่าครั้งนี้ เพราะได้มีผู้ใหญ่มาร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก การกระทำทุกอย่างเป็นไปด้วยความรอบคอบ แต่ที่มาเป็นเช่นนี้ ก็ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใด แต่ไม่วายประชาชนก็โทษนายช่างอยู่นั่นเอง

เมื่อการหล่อครั้งแรกไม่สำเร็จ จึงได้กระทำพิธีหล่อขึ้นใหม่ ในการหล่อครั้งหลังนี้ นายช่างได้กระทำพิธีสักการะบูชา และบอกเล่าพระประธานองค์เดิม จึงปรากฏว่าการหล่อครั้งหลังนี้สำเร็จลง แม้จะไม่เรียบร้อย ก็พอจะตบแต่งได้ จึงส่งเอาลงไปขัดที่บ้านช่างหล่อธนบุรี เมื่อขัดแล้วเสร็จ ก็ได้นำเข้าไปไว้ในพระอุโบสถ เพื่อรอโอกาสให้องค์เดิมพังก็จะได้นำองค์ใหม่ขึ้นประดิษฐานแทน ต่อมาอีกไม่นานนักพระประธานองค์ที่คาดกันว่าจะโค่นพังลงมานั้นแทนที่จะโค่นลงตามความคาดหวัง กลับตั้งตรงขึ้นได้อีก เมื่อเหตุการณ์กลับมาเป็นเช่นนี้ จึงชวนให้สงสัย คงจะมีใครไปจัดการแก้ไขให้กลับคืนมาเป็นแน่ แต่เมื่อได้ตรวจดูกันอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ก็ไม่มีรอยปรากฏที่แสดงให้เห็นว่าไม่มีใครเข้าไปแตะต้องเลย ในขณะที่เอนอยู่เดิมนั้นเพราะแท่นได้ชำรุดลงไปแถบหนึ่ง และแถบนั้นก็น่าจะต้องรับน้ำหนักมากขึ้น ส่วนอีกแถบหนึ่ง การรับน้ำหนักก็มีแต่จะน้อยลง แต่แถบดังกล่าวนี้กลับทรุดลงไปเสมอกันอีก จึงทำให้องค์พระประธานตั้งตรงได้ดิ่งกับฉัตรที่เหนือพระเศียรพอดี

เหตุการณ์ที่กลับมาเป็นเช่นนี้ ทำให้เกิดความงุนงงแก่ผู้พบเห็นเป็นอันมาก ต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ว่า ท่านแสดงอภินิหารให้ปรากฏ และท่านคงจะไม่ยอมออกไปจากที่นั้น ประชาชนจึงพามีความเลื่อมใสยิ่งขึ้น และได้ทำการปฏิสังขรณ์ขึ้นมาอีก โดยทำแท่นให้แข็งแรงและลงรักษ์ปิดทองกันจนเป็นที่เรียบร้อย สำหรับองค์ที่หล่อขึ้นใหม่นั้นก็ได้นำขึ้นประดิษฐานไว้ตอนหน้าพระองค์เดิม

เมื่อปีพ.ศ.๒๔๗๗ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(พระศารสาลน์-ประพันธ์) ได้ขึ้นมาตรวจโรงเรียนและได้พิจารณาเห็นว่า โรงเรียนประจำจังหวัดซึ่งได้อาศัยศาลาวัดเป็นสถานที่เรียนอยู่นั้นคับแคบมากและยังต้องให้หอสวดมนต์ และบริเวณกุฏิพระเป็นที่เล่าเรียนอีกด้วย ไม่เป็นการสะดวกแก่นักเรียน และก่อความไม่สงบให้แก่พระสงฆ์ จึงได้ปรารภกับท่านเจ้าคุณพระราชเมธี (พระโพธิวงศาจารย์) ว่าควรจะจัดสร้างอาคารเรียนขึ้นต่างหาก โดยใช้สถานที่บริเวณหมู่กุฏิคณะเหนือ (ที่ตั้งวัดโพธิ์เงิน-เดิม) เป็นสถานที่ปลูกสร้าง ซึ่งก็ได้มีความเห็นชอบร่วมกัน แล้วจึงได้รื้อย้ายเสนาสนะต่าง ๆ นำไปปลูกสร้างกุฏิแถวหลังเดียวกัน ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่กุฏิคณะใต้ โดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้ช่วยออกค่ารื้อย้ายให้ด้วยเป็นจำนวนเงิน ๕๐๐ (ห้าร้อยบาท) แล้วจึงได้ทำการปลูกสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนประจำจังหวัดขึ้น ณ ที่แห่งนั้น โดยใช้เงินงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการเป็นจำนวนเงิน ๖,๐๐๐ บาท(หกพันบาท) นายพัน ปัทมโรจน์ ผู้เป็นคหบดีผู้หนื่งในตำบลบ้านแห และมีความคุ้นเคยชอบพอกันอยู่กับพระราชเมธี จึงได้บริจาคสมทบอีกเป็นจำนวนเงิน ๕,๑๐๙ บาท (ห้าพันหนึ่งร้อยเก้าบาท) ท่านข้าหลวงประจำจังหวัด (พระประชากรบริรักษ์) ท่านศึกษาธิการจังหวัด (นายฟุ้ง ศรีวิจารณ์) พร้อมด้วยคณะกรรมการจังหวัดและคณะครูได้ร่วมกันจัดหาได้อีกจำนวนเงิน ๑,๓๔๑ บาท (หนึ่งพันสามร้อยสี่สิบเอ็ดบาท) รวมเป็นเงิน ๑๒,๔๕๐ บาท (หนึ่งหมื่นสองพันสี่ร้อยห้าสิบบาท) การก่อสร้างได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๙ เป็นต้นมา และได้แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑

ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ ท่านข้าหลวงประจำจังหวัดอ่างทอง ได้ปรารภกับท่านเจ้าคุณพระราชเมธีว่า วัดอ่างทองตั้งอยู่ติดกับจังหวัด ปัจจุบันเจ้าอาวาสก็ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดอยู่ด้วย วัดนี้จึงจัดว่าเป็นศูนย์กลางของวัดทั้งหลายในจังหวัดอ่างทอง ประกอบกับที่วัดนี้มีปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ องค์พระเจดีย์ แม่จะได้สร้างขึ้นใหม่ก็จริง แต่ก็ได้บรรจุพระสารีริกธาตุไว้เป็นจำนวนมาก เสนานะต่าง ๆ ก็เป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งในด้านการศึกษา ก็มีทั้งฝ่ายปริยัติธรรมและภาษาไทยอย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่วัดได้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้ ก็โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงมีพระราชบัญชาให้รวมวัดทั้งสองเข้าเป็นวัดเดียวกัน แล้วได้ทรงพระราชทานนามวัดให้ใหม่ อันเป็นมงคลนามสืบเนื่องมาจนบัดนี้ จึงเป็นการสมควรที่จะขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาต ให้ยกฐานะวัดอ่างทองขึ้นเป็นพระอารามหลวงได้ พอดีกับในเดือนตุลาคม ๒๔๘๐ นั้นเอง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พระยาพหลพลพยุหเสนา) ได้ขึ้นมาตรวจราชการที่จังหวัดอ่างทอง และได้แวะเยี่ยมวัดอ่างทอง ท่านข้าหลวงประจำจังหวัดได้กราบเรียนถึงเรื่องราวที่จะขอพระราชทานยกฐานะวัดอ่างทองขึ้นเป็นพระอารามหลวงให้ทราบ และได้พาไปตรวจดูเสนานะต่างๆและเขตวัดโดยรอบ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ก็มีความเห็นชอบด้วยกับความดำริของข้าหลวงประจำจังหวัด จึงสั่งให้ทำเรื่องราวบอกขอเข้าไปเป็นทางการ

ท่านข้าหลวงประจำจังหวัดจึงได้มอบให้ศึกษาธิการจังหวัด (นายฟุ้ง ศรีวิจารณ์) เป็นผู้ดำเนินเรื่องราวบอกขอเข้าไปยังกระทรวงศึกษาธิการตามระเบียบ ต่อมาในเดือนมิถุยายน พ.ศ.๒๔๘๑ ทางจังหวัดก็ได้รับหนังสือของกระทรวงศึกษาธิการที่ ๗๔๗๒/๒๔๘๑ ลงวันที่ ๗๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๑ ว่า ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะวัดอ่างทองขึ้นเป็นพระอารามหลวง ขั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่วันที่ ๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๑ แล้ว วัดอ่างทองจึงได้เป็นพระอารามหลวง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และมีเจ้าอาวาสปกครองวัดมาจนถึงปัจจุบันดังนี้

๑. พระโพธิวงศาจารย์ (แผ้ว สุนฺทโร ป.ธ.๓) (พ.ศ.๒๔๕๕-๒๕๑๖)
๒. พระวิเศษชยสิทธิ์ (ผวน อวิกเขโป) (พ.ศ.๒๕๑๗-๒๕๒๕)
๓. พระราชสุวรรณโสภณ (บุญส่ง ญาณคุตโต ป.ธ.๘) (พ.ศ.๒๕๒๖-ปัจจุบัน)

หลังจากเป็นพระอารามหลวงแล้ว ได้มีการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัดมาเป็นลำดับ ดังนี้

พ.ศ.๒๔๘๒ นายน้อย นางบุญช่วย เลขาจารย์ ได้ก่อสร้างกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก แทนรั้วไม้หน้าวัดที่ชำรุดทรุดโทรมไปมาก

พ.ศ.๒๔๘๕ น้ำท่วมโรงเรียนพระปริยัติธรรมชั้นล่าง ได้เกิดการชำรุดเสียหายหมดต้องจัดทำใหม่ โดยพระเดชพระคุณพระราชเมธี เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง

พ.ศ.๒๔๘๙ หลังคาพระอุโบสถได้ชำรุดทรุดโทรม นายทองดี จิตวัตร นายกรุด นางบุญมี บริจาคทรัพย์บูรณะปฏิสังขรณ์ กรมการศาสนาได้จัดสรรเงินและมีชาวบ้านร่วมกันบริจาคทรัพย์ เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถในครั้งนี้ อีกเป็นจำนวนมาก

พ.ศ.๒๕๐๐ กรมการศาสนาได้เพิ่มเงินจัดสรรให้อีก เพื่อทำแท่นพระประธานในพระอุโบสถให้สูงขึ้น รวมทั้งปิดทององค์พระประธานจำนวน ๒ องค์ พระประธานองค์ใหญ่มีรูปลักษณะพระสมัยอู่ทอง

ทรัพย์สินของวัด

มีเนื้อที่ดินตั้งที่วัดทั้งหมด ๓๑ ไร่ ๑ งาน ๖๖ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๖๐๔๓ และ มีที่ดินธรณีสงฆ์ของวัดอ่างทองวรวิหาร จำนวน ๑๖ แปลง

แปลงที่ ๑ อยู่ที่ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จำนวน ๑ ไร่ ๓ งาน ๓๖ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๖๐๔๔

แปลงที่ ๒ อยู่ที่ตำบลศาลาแดง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จำนวน ๖ ไร่ ๒ งาน ๘๒ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๔๙๒๔

แปลงที่ ๓ อยู่ที่ตำบลบ้านอิฐ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จำนวน ๒๓ ไร่ ๒ งาน ๔๔ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๑๙๗๘

แปลงที่ ๔ อยู่ที่ตำบลบ้านอิฐ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จำนวน ๖ ไร่ ๑ งาน ๖๐ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๕๙๑๒

แปลงที่ ๕ อยู่ที่ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จำนวน ๗ ไร่ ๑ งาน ๕๖ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๕๔๓๙

แปลงที่ ๖ อยู่ที่ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จำนวน ๖ ไร่ ๑ งาน ๓๑ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๙๘๑

แปลงที่ ๗ อยู่ที่ตำบลบางพลับ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง จำนวน ๘ ไร่ ๑ งาน ๘๔ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๓๖๘๓

แปลงที่ ๘ อยู่ที่ตำบลตลาดกรวด อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จำนวน ๖ ไร่ ๓ งาน ๖๐ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๔๕๑

แปลงที่ ๙ อยู่ตำบลป่างิ้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จำนวน ๑๐ ไร่ ๑ งาน ๘๙ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๗๗๕

แปลงที่๑๐ อยู่ตำบลบางซ้ายนอก อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๗๑ ไร่ ๑ งาน ๖๘ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๗๔๑๕

แปลงที่ ๑๑ อยู่ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง จำนวน ๑๕ ไร่ ๓ งาน ๒๗ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๐

แปลงที่ ๑๒ อยู่ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง จำนวน ๑๕ ไร่ ๓ งาน ๘๑ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๒๗

แปลงที่ ๑๓ อยู่ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง จำนวน ๒๔ ไร่ ๒ งาน ๙๘ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๒๓๖๐

แปลงที่๑๔ อยู่ตำบลป่างิ้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จำนวน ๓๖ ไร่ ๒ งาน ๗๒ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๓๘๐

แปลงที่ ๑๕ อยู่ที่ตำบลบ้านอิฐ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จำนวน ๓ ไร่ ๘๐ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๗๙๐๔

แปลงที่ ๑๖ อยู่ตำบลเทพมงคล อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๗๘ ไร่ ๒ งาน ๒๗ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๑๔๔๐๖

พระอุโบสถวัดอ่างทองวรวิหาร

พระอุโบสถวัดอ่างทองวรวิหาร ก่อสร้างและปฏิสังขรณ์นับตั้งแต่พระครูวิเศษชยสิทธิ์ได้มาปกครองวัดนี้ ได้เริ่มทำการปฏิสังขรณ์และก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ เช่น ทำกำแพงแก้วพระอุโบสถ ตลอดจนการปูกระเบื้องซีเมนต์พื้นของกำแพงแก้ว และได้ทำการก่อสร้างพระเจดีย์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปต่าง อีกด้วย

พระประธานในพระอุโบสถสร้างด้วยก่ออิฐถือปูน เป็นพระปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๑๕ เมตร สูง ๒.๗๕ เมตร เป็นพระประธานคู่กับวัดมาแต่เดิม ลักษณะไม่งามและไม่ถูกสัดส่วน ในขณะนั้นได้เริ่มชำรุดและเอนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือใกล้จะโค่นอยู่แล้ว แต่ก็ไม่มีใครคิดปฏิสังขรณ์หรือแก้ไขให้คืนดังเดิม ด้วยเห็นว่าเป็นพระที่ปั้นด้วยปูน หากจะไปขยับเขยื้อนเข้าก็เกรงว่าเป็นการซ้ำเติมให้พังเร็วลงอีก ซึ่งดูจะเป็นบาปแก่ผู้กระทำ จึงปล่อยให้เอนอยู่อย่างนั้น ต่างพากันคาดคะเนว่า ในชั่วเวลาอีกไม่เกินหนึ่งปีก็จะโค่นลงมาเอง จึงได้ร่วมใจกันหล่อพระประธานขึ้นใหม่ด้วยโลหะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๔๒ เมตร สูง ๒.๐๐ เมตร การที่ทำให้องค์พระขนาดเท่านี้ ก็โดยผู้เชี่ยวชาญคำนวณว่าพระองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมัยเมื่อครั้งทรงพระชนม์ชีพอยู่มีขนาดเท่านั้น และหวังว่าถ้าพระองค์เดิมพังแล้ว ก็จะนำองค์ที่หล่อขึ้นใหม่ประดิษฐานแทน

การหล่อพระประธานองค์นี้ ครั้งแรกปรากฏว่าตอนพระเศียรไม่ติด ต่างพากันเข้าใจว่าเป็นความบกพร่องของนายช่าง ซึ่งนายช่างก็ยืนยันว่า การหล่อพระพุทธรูปทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่เคยมีความมั่นใจเท่าครั้งนี้ เพราะได้มีผู้ใหญ่มาร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก การกระทำทุกอย่างเป็นไปด้วยความรอบคอบ แต่ที่มาเป็นเช่นนี้ ก็ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใด แต่ไม่วายประชาชนก็โทษนายช่างอยู่นั่นเอง เมื่อการหล่อครั้งแรกไม่สำเร็จ จึงได้กระทำพิธีหล่อขึ้นใหม่ ในการหล่อครั้งหลังนี้ นายช่างได้กระทำพิธีสักการะบูชา และบอกเล่าพระประธานองค์เดิม จึงปรากฏว่าการหล่อครั้งหลังนี้สำเร็จลง แม้จะไม่เรียบร้อย ก็พอจะตบแต่งได้ จึงส่งเอาลงไปขัดที่บ้านช่างหล่อธนบุรี เมื่อขัดแล้วเสร็จ ก็ได้นำเข้าไปไว้ในพระอุโบสถ เพื่อรอโอกาสให้องค์เดิมพังก็จะได้นำองค์ใหม่ขึ้นประดิษฐานแทน ต่อมาอีกไม่นานนักพระประธานองค์ที่คาดกันว่าจะโค่นพังลงมานั้นแทนที่จะโค่นลงตามความคาดหวัง กลับตั้งตรงขึ้นได้อีก เมื่อเหตุการณ์กลับมาเป็นเช่นนี้ จึงชวนให้สงสัย คงจะมีใครไปจัดการแก้ไขให้กลับคืนมาเป็นแน่ แต่เมื่อได้ตรวจดูกันอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ก็ไม่มีรอยปรากฏที่แสดงให้เห็นว่าไม่มีใครเข้าไปแตะต้องเลย ในขณะที่เอนอยู่เดิมนั้นเพราะแท่นได้ชำรุดลงไปแถบหนึ่ง และแถบนั้นก็น่าจะต้องรับน้ำหนักมากขึ้น ส่วนอีกแถบหนึ่ง การรับน้ำหนักก็มีแต่จะน้อยลง แต่แถบดังกล่าวนี้กลับทรุดลงไปเสมอกันอีก จึงทำให้องค์พระประธานตั้งตรงได้ดิ่งกับฉัตรที่เหนือพระเศียรพอดี

เหตุการณ์ที่กลับมาเป็นเช่นนี้ ทำให้เกิดความงุนงงแก่ผู้พบเห็นเป็นอันมาก ต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ว่า ท่านแสดงอภินิหารให้ปรากฏ และท่านคงจะไม่ยอมออกไปจากที่นั้น ประชาชนจึงพามีความเลื่อมใสยิ่งขึ้น และได้ทำการปฏิสังขรณ์ขึ้นมาอีก โดยทำแท่นให้แข็งแรงและลงรักษ์ปิดทองกันจนเป็นที่เรียบร้อย สำหรับองค์ที่หล่อขึ้นใหม่นั้นก็ได้นำขึ้นประดิษฐานไว้ตอนหน้าพระองค์เดิม

หลังจากเป็นพระอารามหลวงแล้ว ได้มีการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัดมาเป็นลำดับ ดังนี้

พ.ศ.๒๔๘๙

หลังคาพระอุโบสถได้ชำรุดทรุดโทรม นายทองดี จิตวัตร นายกรุด นางบุญมี บริจาคทรัพย์บูรณะปฏิสังขรณ์

กรมการศาสนาได้จัดสรรเงินและมีชาวบ้านร่วมกันบริจาคทรัพย์ เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถในครั้งนี้ อีกเป็นจำนวนมาก

พ.ศ.๒๕๐๐

กรมการศาสนาได้เพิ่มเงินจัดสรรให้อีก เพื่อทำแท่นพระประธานในพระอุโบสถให้สูงขึ้น รวมทั้งปิดทององค์พระประธานจำนวน ๒ องค์ พระประธานองค์ใหญ่มีรูปลักษณะพระสมัยอู่ทอง





Loading...


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยววัดอ่างทองวรวิหาร

 
อ่างทอง/Information of ANGTHONG

  Wat Angthong Worawihan วัดอ่างทองวรวิหาร
Constructed in the Bangkok period, Wat Angthong Worawihan in located near Angthong City Hall. This temple
originally consisted of two small ordinary temples located next to each other : Wat PhoNgoen and Wat Phothong
which were built during the reign of King Rama 4. In 1890 on his boat trip to Phitsanulok, King Rama 5 passed
and noticed these two temples. For their improvement, His Majesty the King had these two small temples
combined into one and named it "Wat Angthong". Buddhist places of interest include phraubosot ot the
ordination hall which was beautifully rebuilt from 1956 - 1957 to replace the old single tiered roof one which
was built in 1902. The new ubosot with five rooms in length has one portico in front and another at the back.
The hall has a two-tiered roof with the gable ends decorated with monk-rankgin fan designs studded with
coloured glass. Moreover, more attractions being in the Bangkok period style of art and architecture are
Thai-style momk's cells properly located and made of teak ; Sala Kanparain (a pavilion for religious rites
or merit-making function) or Teaching Hall ; a chanting hall ; and a beautiful crematorium.

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

อ่างทอง
อำเภอป่าโมก

อำเภอวิเศษชัยชาญ


วัดเขียน

Wat Khian
(อ่างทอง)


วัดอ้อย

Wat Oi
(อ่างทอง)


วัดม่วง

Wat Muang
(อ่างทอง)


วัดหลวง

Wat Luang
(อ่างทอง)

อำเภอเมือง


บึงสำเภาลอย

(อ่างทอง)

อำเภอแสวงหา


วัดยาง

Wat Yang
(อ่างทอง)

อำเภอโพธิ์ทอง

อำเภอไชโย

แผนที่จังหวัดอ่างทอง/map of ANGTHONG

การเดินทาง
รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทางระหว่างกรุงเทพฯ-อ่างทอง ทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ทุกวัน สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 0 2537 8055, 0 2936 2852-66, 0 2936 3603 เว็บไซต์ www.transport.co.th 

รถยนต์ 
จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง คือ
เส้นทางที่ 1 ใช้เส้นทางสายพหลโยธิน ทางหลวงหมายเลข 32 จากกรุงเทพฯ แยกเข้าเส้นทางสายเอเชีย ผ่านอำเภอบางปะอิน-พระนครศรีอยุธยา-อำเภอบางปะหัน-อ่างทอง รวมระยะทาง 105 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2 ใช้เส้นทางตัดใหม่ ข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า - ตลิ่งชัน เข้าเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 ผ่านจังหวัดนนทบุรี-ปทุมธานี-พระนครศรีอยุธยา-สุพรรณบุรี-อ่างทอง รวมระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 3 ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-ปทุมธานี ผ่านปากเกร็ด เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111 ผ่านอำเภอบางไทร-อำเภอเสนา-พระนครศรีอยุธยา จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 3263 และต่อเข้าทางหลวงหมายเลข 309 เข้าอำเภอป่าโมก-อ่างทอง รวมระยะทาง 140 กิโลเมตร
หรือใช้ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1543

อ่างทอง/Information of ANGTHONG

 

General Information

Ang Thong is a small province on the bank of the Chao Phraya River. The former settlement is at Wiset Chai Chan on the bank of the Noi River. It was an essential frontier outpost of Ayutthaya when fighting with the Burmese. The majority of the people was later moved to a new site on the left bank of the Chao Phraya River during the Thon Buri period.

Ang Thong is located 108 kilometres north of Bangkok. It occupies an area of 968 square kilometres and is administratively divided into seven districts (Amphoes): Mueang Ang Thong, Chaiyo, Pa Mok, Pho Thong, Sawaeng Ha, Wiset Chai Chan and Samko.

How to get there
Car
All provinces and major districts in the Central Region are linked by highways while the distant districts and villages can be accessible by rural roads.

Bus
Bus transportation services are available at two main stations in Bangkok. From the bus terminal on Kamphaeng Phet II Road (Tel. 0 2936 0649,0 2936 1972), there are both air-conditioned and non air-conditioned buses leaving for Chai Nat, Nakhon Nayok, Prachin Buri, Lop Buri, Saraburi, Sing Buri, Suphan Buri, Ang Thong, Ayutthaya, Bang Pa-in, Bang Sai, Aranyaprathet, Chachoengsao, and Samut Songkhram. The Southern Bus Terminal (Tel. 0 2435-1199, 0 2434 5557-8) on Boromarajajonani Road operates daily buses to Kanchanaburi, Cha-am, Damnoen Saduak, Phetchaburi, Ratchaburi, Prachuap Khiri Khan, Bang Saphan, Nakhon Pathom, Suphan Buri, Samphran, Samut Songkhram, and Samut Sakhon.

On arrival in each city, the easiest way to travel around is by local transport like tricycle (called “Sam Lo” by Thais) or motor tricycle. “Song Thaeo” or a van with two rows of benches at the back serves as transport for travelling to the outside of the town. However, a vehicle should be rented from Bangkok or a major tourist town in case travellers need more convenience and would like to explore more attractions in the rural areas.

Train
The Bangkok Railway Station (Hua Lamphong) is the major terminal where daily trains leave for Chachoengsao, Bang Pa-in, Ayutthaya, Saraburi, Lop Buri, Nakhon Pathom, Suphan Buri, Ratchaburi, Phetchaburi, Hua Hin, and Prachuap Khiri Khan. To get to Nakhon Pathom and Kanchanaburi, one can take a train at the Thon Buri or Bangkok Noi Railway Station. Samut Sakhon and Samut Songkhram can be also reached by train from the Wongwian Yai Station. Schedules can be obtained at the Information Unit, Tel. 0 2223 7010, 0 2223 7020.

Boat
Travelling by boat is quite popular in the riverside cities or towns including Bangkok, Nonthaburi, Ayutthaya, Samut Songkhram, Nakhon Pathom, and Kanchanaburi. In those provinces, river excursions are operated by local tour operators. Boats for rent are also available at major piers. The price should be established before beginning the trip.

Between Bangkok and Nonthaburi, regular boats run along the Chao Phraya River with frequent stops to pick up and drop their passengers. The boats are usually crowded during the rush hours of a working day.

Festivals
Boat Races
Boat Races The major annual regatta takes place in front of Wat Chaiyo Worawihan on the Chao Phraya River in October together with the Luang Pho To Worship Festival.

During October, boat races are also held at other riverside temples including Wat Pa Mok by the Chao Phraya River and Wat Pho Kriap by the Noi River in Amphoe Pho Thong. Famous boats from all over the country join the races.

General Information

Ang Thong is a small province on the bank of the Chao Phraya River. The former settlement is at Wiset Chai Chan on the bank of the Noi River. It was an essential frontier outpost of Ayutthaya when fighting with the Burmese. The majority of the people was later moved to a new site on the left bank of the Chao Phraya River during the Thon Buri period.

Ang Thong is located 108 kilometres north of Bangkok. It occupies an area of 968 square kilometres and is administratively divided into seven districts (Amphoes): Mueang Ang Thong, Chaiyo, Pa Mok, Pho Thong, Sawaeng Ha, Wiset Chai Chan and Samko.

How to get there
Car
All provinces and major districts in the Central Region are linked by highways while the distant districts and villages can be accessible by rural roads.

Bus
Bus transportation services are available at two main stations in Bangkok. From the bus terminal on Kamphaeng Phet II Road (Tel. 0 2936 0649,0 2936 1972), there are both air-conditioned and non air-conditioned buses leaving for Chai Nat, Nakhon Nayok, Prachin Buri, Lop Buri, Saraburi, Sing Buri, Suphan Buri, Ang Thong, Ayutthaya, Bang Pa-in, Bang Sai, Aranyaprathet, Chachoengsao, and Samut Songkhram. The Southern Bus Terminal (Tel. 0 2435-1199, 0 2434 5557-8) on Boromarajajonani Road operates daily buses to Kanchanaburi, Cha-am, Damnoen Saduak, Phetchaburi, Ratchaburi, Prachuap Khiri Khan, Bang Saphan, Nakhon Pathom, Suphan Buri, Samphran, Samut Songkhram, and Samut Sakhon.

On arrival in each city, the easiest way to travel around is by local transport like tricycle (called “Sam Lo” by Thais) or motor tricycle. “Song Thaeo” or a van with two rows of benches at the back serves as transport for travelling to the outside of the town. However, a vehicle should be rented from Bangkok or a major tourist town in case travellers need more convenience and would like to explore more attractions in the rural areas.

Train
The Bangkok Railway Station (Hua Lamphong) is the major terminal where daily trains leave for Chachoengsao, Bang Pa-in, Ayutthaya, Saraburi, Lop Buri, Nakhon Pathom, Suphan Buri, Ratchaburi, Phetchaburi, Hua Hin, and Prachuap Khiri Khan. To get to Nakhon Pathom and Kanchanaburi, one can take a train at the Thon Buri or Bangkok Noi Railway Station. Samut Sakhon and Samut Songkhram can be also reached by train from the Wongwian Yai Station. Schedules can be obtained at the Information Unit, Tel. 0 2223 7010, 0 2223 7020.

Boat
Travelling by boat is quite popular in the riverside cities or towns including Bangkok, Nonthaburi, Ayutthaya, Samut Songkhram, Nakhon Pathom, and Kanchanaburi. In those provinces, river excursions are operated by local tour operators. Boats for rent are also available at major piers. The price should be established before beginning the trip.

Between Bangkok and Nonthaburi, regular boats run along the Chao Phraya River with frequent stops to pick up and drop their passengers. The boats are usually crowded during the rush hours of a working day.

Festivals
Boat Races
Boat Races The major annual regatta takes place in front of Wat Chaiyo Worawihan on the Chao Phraya River in October together with the Luang Pho To Worship Festival.

During October, boat races are also held at other riverside temples including Wat Pa Mok by the Chao Phraya River and Wat Pho Kriap by the Noi River in Amphoe Pho Thong. Famous boats from all over the country join the races.



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์