เมืองอู่ตะเภา
อยู่ตำบลอู่ตะเภา อำเภอมโนรมย์ จากสี่แยกถนนสายเอเซียประมาณ 5 กิโลเมตร
เป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดี ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน มีเนื้อที่ 295 ไร่
มีอายุเก่าแก่นับพันปี เป็นเมืองหนึ่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
อันมีคุณค่าทางโบราณคดีเป็นอย่างยิ่ง สภาพเมืองในปัจจุบันเป็นเมืองร้าง
ยังมีคันคูเมืองปรากฏให้เห็นเด่นชัด คูเมืองกว้างประมาณ 40 เมตร
คันดินกำแพงเมืองสูงประมาณ 6 เมตร สภาพพื้นที่เป็นเนินสูงและราบลุ่ม
ลักษณะทั่วไป
ลักษณะเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู พื้นที่ประมาณ ๒๙.๕ ไร่
สภาพปัจจุบันมีคูน้ำขนาดกว้างประมาณ ๑๙ เมตร คันดินสูงประมาณ ๙ เมตร
เป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำและคันดินอยู่ในสภาพดี ดูสวยงามมากเมืองหนึ่ง
ด้านตะวันตกของเมืองซึ่งเป็นด้านยาวที่สุดของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
อยู่ติดกับแม่น้ำอู่ตะเภา กำแพงเมืองตอนที่ใกล้ลำน้ำแม่น้ำมากที่สุด
อยู่ห่างกันเพียง ๔๐ เมตรเท่านั้น ด้านนี้คูเมืองตื้น คันกำแพงเมืองค่อนข้างต่ำ
หมู่บ้านอู่ตะเภาตั้งอยู่บริเวณนี้มีรอยขาดของกำแพงเมืองทางด้านนี้สองช่อง
แสดงให้เห็นว่า เป็นช่องระบายน้ำออกจากเมือง ริม กำแพงข้างในมีสระน้ำ ๒
สระอยู่ติดกัน ทางด้านตะวันออกมีร่องกำแพงเมืองกว้างประมาณ ๕ เมตร
ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นประตูเมือง ห่างประตูเมืองออกไปนอกเมืองทางเหนือราว ๓๐ เมตร
พบซากเจดีย์ก่อด้วยอิฐ ฐานกว้างประมาณ ๑๘ เมตร
พระเจดีย์องค์นี้ถูกทำลายเสียแล้วอย่างยับเยิน
เหลือให้เห็นอยู่เพียงแค่ฐานเท่านั้น
ห่างตัวเมืองออกไปทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ราว ๕๐๐ เมตร
พบเสาโกลนสมัยทวาราวดี ทำด้วยหินสีเขียวจมอยู่ในดินหลักหนึ่ง สูงจากพื้นดิน ๘๔
เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง ๕๕ เซนติเมตร
กำแพงเมืองด้านหนึ่งเป็นสันสูงมีต้นไม้ปกคลุมทึบแล่นวกไปบรรจบกันกับด้านตะวันตก
มีช่องทางระบายน้ำออกจากตัวเมืองช่องหนึ่ง
บริเวณกลางเมืองค่อนมาทางด้านตะวันตกและด้านเหนือ
เนินดินขนาดใหญ่อยู่เนินหนึ่งชื่อบ่อหมัน เป็นซากศาสนสถานขนาดใหญ่
ซึ่งก่อด้วยอิฐและศิลาแลง แต่ทว่ายังเหลือแต่ฐาน
ตรงกลางมีบ่อลึกและพบเนินดินมีเศษกระเบื้องถ้วยชามมากมายผิดกับบริเวณอื่น
และพบเหรียญเงินขนาดใหญ่กว่าห้าบาท
ปัจจุบันด้านหนึ่งเป็นตราสังข์อีกด้วนหนึ่งมีรูปศรีวัตสะและรูปปลา
จึงดูแปลกกว่าเงินอื่น ๆ
ที่พบในเขตเมืองนี้ซึ่งมีตราเป็นรูปดวงอาทิตย์และอีกด้านหนึ่งเป็นรูปศรีวัตสะ
หลักฐานที่พบ
สระน้ำโบราณ ๑ สระ มีสภาพตื้นเขิน
เศษภาชนะดินเผา เตาเครื่องปั้นดินเผา และโครงกระดูก
ซึ่งทางจังหวัดได้ส่งให้กรมศิลปากรพิสูจน์แล้ว
เส้นทางเข้าสู่เมืองอู่ตะเภา
จากเมืองชัยนาท เดินทางไปตามเส้นทางหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ถึงสี่แยกสายเอเชีย
เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒ (สายเอเชีย) ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
มีทางแยกถนนลูกรังไปยังเมืองอู่ตะเภา ประมาณ ๕๐๐ เมตร