ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดเชียงใหม่ >อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์/Doi Inthanon National Park 

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์/ Doi Inthanon National Park

 

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ข้อมูลทั่วไป
แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า “ดอยหลวง” หรือ “ดอยอ่างกา” คำว่า ดอยหลวง หมายถึง ภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ แต่ก่อนนี้มีฝูงกาลงไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า “ดอยอ่างกา” เมื่อครั้งที่พื้นที่ป่าไม้ทางภาคเหนือ ยังอยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครอบครองนครต่างๆ นั้นในสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์เป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของป่าไม้เป็นอันมาก โดยเฉพาะ “ดอยหลวง” พระองค์มีความหวงแหนเป็นพิเศษ ขณะที่ยังมีพระชนม์อยู่ได้สั่งไว้ว่า หากสิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ขอให้แบ่งเอาอัฐิส่วนหนึ่งไปบรรจุไว้บนยอดดอยหลวงด้วย ต่อมาคำว่าดอยหลวงก็ถูกเปลี่ยนเป็น “ดอยอินทนนท์” ตามพระนามของเจ้าผู้ครองนครนั้น และเมื่อขึ้นไปบนยอดเขาสูงนี้ จะเห็นสถูปบรรจุพระอัฐิของพระเจ้า อินทรวิชยานนท์ประดิษฐานอยู่

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 482 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม อำเภอจอมทอง และอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความสูงตั้งแต่ 400-2,565 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพป่ามีหลายประเภททั้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา โดยเฉพาะป่าดิบเขาบนยอดดอยสูงสุด นับเป็นธรรมชาติที่โดดเด่นที่สุดนอกจากนี้บนยอดดอยยังพบพืชจากเขตอบอุ่น เช่น กุหลาบพันปี บัวทอง ต่างไก่ป่า ฯลฯ และตามหน้าผาพบป่ากึ่งอันไพน์ ซึ่งเป็นสังคมพืชที่หาดูได้ยากในเมืองไทย ดอยอินทนนท์เป็นศูนย์รวมของนกป่าเกือบ 400 ชนิด โดยเฉพาะนกหายากหลายชนิดที่อาศัยในที่สูง เช่น นกปีกแพร นกกระทาดง นกศิวะ ฯลฯ ในจำนวนนี้มีมากกว่า 100 ชนิด ที่เป็นนกอพยพย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยบนดอยอินทนนท์ในช่วงฤดูหนาว หลายชนิดพบได้ยากในพื้นที่อื่น เช่น นกเดินดง นกจับแมลง นกจาบปีกอ่อน นกเขน ฯลฯ

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์และป่าเตรียมการสงวนป่าจอมทอง อำเภอจอมทอง ป่าแม่แจ่ม และป่าแม่ขาน-แม่วาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การสงวนและคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ. 2497 และตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 โดยออกเป็นกฎกระทรวงฉบับที่ 103 (พ.ศ. 2502) ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์นี้ต่อมาได้ถูกกำหนดให้เป็น 1 ใน 14 ป่า ที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการสำรวจและจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรก ตามนโยบายของรัฐบาลในด้านการอนุรักษ์ การป้องกันและดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ และเพื่อการนำเอาสภาพป่าและสภาพภูมิประเทศต่างๆ ของพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่มาใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านธรรมชาติวิทยาและชีววิทยา

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ กองบำรุง กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 119/2508 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 (ขณะนั้นเป็นหมวดอุทยานแห่งชาติ สังกัดกองบำรุง) ให้ นายนิพนธ์ บุญทารมณ์ นักวิชาการป่าไม้ตรีไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น และเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2515 นายปรีดา กรรณสูต ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีบัญชาให้ นายอุดม ธนัญชยานนท์ นักวิชาการป่าไม้โท ทำการสำรวจทางเฮลิคอปเตอร์เพื่อจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติตามมติคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2515 ปรากฏว่า ป่าดอยอินทนนท์ มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีสภาพทิวทัศน์และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม และเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด เหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับศูนย์อำนวยการร่วมฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กห 0312/4757 ลงวันที่ 12 เมษายน 2515 เสนอจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ ให้กำหนดป่าดอยอินทนนท์เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และสภาบริหารคณะปฏิวัติได้มีมติเมื่อวันที่ 27 เมษายน2515 อนุมัติหลักการให้ดำเนินการ กรมป่าไม้จึงดำเนินการจัดตั้งบริเวณที่ดินป่าดอยอินทนนท์ ในท้องที่ตำบลบ้านหลวง ตำบลสบเตี้ยะ ตำบลสองแคว ตำบลยางคราม อำเภอจอมทอง ตำบลแม่วิน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 168,750 ไร่ หรือ 270 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 223 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 148 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 6 ของประเทศ

เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จที่บริเวณดอยขุนกลาง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ให้พิจารณาดำเนินการขยายอาณาเขตของอุทยานแห่งชาติออกไปคลุมถึงบริเวณพื้นที่ที่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำต้นน้ำลำธารเพิ่มขึ้นอีก กรมป่าไม้ได้ทำการตรวจสอบและสำรวจเพิ่มเติม ปรากฎว่า ตามที่กำหนดแนวเขตอุทยานแห่งชาติระบุท้องที่ตำบลแม่ศึก ซึ่งมิได้อยู่ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติและมิได้ระบุท้องที่ตำบลช่างเคิ่งและตำบลท่าผา ซึ่งอยู่ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ดังกล่าว ประกอบกับทางราชการกองทัพอากาศประสงค์ที่จะกันพื้นที่บางส่วนเพื่อก่อสร้างสถานีเรดาร์ เพื่อใช้ในราชการกองทัพอากาศ เนื้อที่ 33 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการได้ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2517 อีกทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสงค์ที่จะปรับปรุงแนวขยายแนวเขตอุทยานแห่งชาติออกไป โดยกำหนดป่าสงวนแห่งชาติอินทนนท์ ป่าสงวนแห่งชาติจอมทอง และป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2518 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2518 ได้มีมติเห็นชอบ

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงดำเนินการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติทั้ง 3 ป่า จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกำหนดบริเวณป่าดอยอินทนนท์ ในท้องที่ตำบลแม่นาจร ตำบลช่างเคิ่ง ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม ตำบลแม่วิน ตำบลทุ่งปี้ อำเภอสันป่าตอง และตำบลสองแคว ตำบลยางคราม ตำบลบ้านหลวง ตำบลสบเตี้ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 62 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รวมเนื้อที่ 301,500 ไร่ หรือ 482.40 ตารางกิโลเมตร โดยให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 223 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515

ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของแนวเขตเทือกเขาถนนธงชัยที่ทอดตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ทอดตัวมาจากเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล มีระดับความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 400-2,565 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยจุดสูงสุดอยู่ที่ยอดดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นจุดที่สูงสุดในประเทศไทย ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมา คือ ยอดดอยหัวหมดหลวง สูง 2,330 เมตร ยอดดอยหัวหมดน้อย สูง 1,900 เมตร ยอดดอยหัวเสือ สูง1,881 เมตรจากระดับน้ำทะเล

ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์โดยทั่วไป ประกอบด้วยหินที่มีอายุตั้งแต่ยุคแคมเบรียนขึ้นไป และหินส่วนใหญ่จะเป็นหินไนส์และหินแกรนิต ส่วนหินชนิดอื่นๆ ที่พบจะเป็นหินยุคออร์โดวิเชียนซึ่งได้แก่หินปูน จนถึงยุคเทอร์เซียรี่ได้แก่หินกรวดมน

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำปิง ให้กำเนิดแม่น้ำลำธารหลายสาย ที่สำคัญได้แก่ ลำน้ำแม่วาง ลำน้ำแม่กลาง ลำน้ำแม่ยะ ลำน้ำแม่หอย ลำน้ำแม่แจ่ม และลำน้ำแม่เตี๊ยะ ซึ่งลำน้ำเหล่านี้จะไหลผ่านและหล่อเลี้ยงชุมชนต่างๆ ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอฮอด อำเภอแม่วาง และอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำปิง

น้ำตกวชิรธาร ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพาเอาความชุ่มชื้นและเมฆฝนเข้ามาทำให้ฝนตก และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากประเทศจีนจะนำเอาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งเข้ามา ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ โดยจะมีฤดูร้อนในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝนในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน และฤดูหนาวในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ สลับกันไป แต่เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีความหลากหลายทางด้านระดับความสูง ทำให้ลักษณะอากาศในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยจะมีลักษณะของสภาพอากาศแบบเขตร้อนในตอนล่างของพื้นที่ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 เมตรลงมา มีสภาพอากาศแบบกึ่งเขตร้อนในบริเวณตอนกลางของพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลระหว่าง 1,000-2,000 เมตร และมีสภาพอากาศแบบเขตอบอุ่นในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลกว่า 2,000 เมตรขึ้นไป

ในพื้นที่สูงตอนบนของอุทยานแห่งชาติ โดยทั่วไปแล้วจะมีสภาพที่ชุ่มชื้นและหนาวเย็นตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณยอดดอยอินทนนท์ซึ่งมีลักษณะเป็นสันเขาและยอดเขา จะมีกระแสลมที่พัดแรงและมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นมาก และในช่วงวันที่หนาวจัดในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อุณหภูมิจะลดต่ำลงถึง 0-4 องศาเซลเซียส และจะมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้น ที่ระดับกลางของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สภาพอากาศโดยทั่วไปจะมีลักษณะค่อนข้างเย็นและชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 20 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูหนาวในเดือนธันวาคม-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 15-17 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,000-2,100 มิลลิเมตร/ต่อปี สำหรับในพื้นที่ที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 1,800 เมตรขึ้นไป จะมีสภาพอากาศที่เย็นและชุ่มฉ่ำอยู่ ทั้งนี้เพราะจะเป็นระดับความสูงของเมฆหมอก ทำให้สภาป่ามีเมฆและหมอกปกคลุมเกือบตลอดปี

เส้นทางศึกษาธรรมชาติพืชพรรณและสัตว์ป่า
สังคมพืชในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์สามารถจำแนกออกเป็น
ป่าเต็งรัง พบกระจายทั่วๆไปในพื้นที่รอบๆ อุทยานแห่งชาติในระดับความสูงจากน้ำทะเล 400-750 เมตร ตามเนินเขาหรือสันเขาที่แห้งแล้ง หรือตามด้านลาดทิศตะวันตกและทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติ ชนิดไม้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย เต็ง รัง เหียง พลวง ก่อแพะ รกฟ้า รักใหญ่ ยอป่า มะขามป้อม ฯลฯ พืชอิงอาศัยพวกเอื้องแซะ เอื้องมะขาม เอื้องแปรงสีฟัน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีพวกมอส ไลเคน นมตำเลีย เกล็ดนาคราช ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่างจะเป็นไม้พุ่ม หญ้าชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญ้าคา ไม้เถา และพืชล้มลุกชนิดต่างๆ ป่าเบญจพรรณ พบกระจายอยู่ทั่วพื้นที่รอบๆ อุทยานแห่งชาติในชั้นระดับความสูง 400-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามที่ลุ่มหรือตามแนวสองฝั่งของลำห้วย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สัก ตะแบก ประดู่ แดง มะเกิ้ม สมอไทย กาสามปีก สลีนก กระบก ซ้อ นอกจากนี้ยังมีไผ่ชนิดต่างๆ พืชอิงอาศัย เช่น เอื้องช้างกระ เอื้องขี้หมา ส่วนพืชพื้นล่างส่วนใหญ่จะเป็นพวกไม้พุ่ม หญ้าคา หญ้าแฝก หญ้าชนิดอื่นๆ ไม้เถา และพืชล้มลุกชนิดต่างๆ

ป่าดิบแล้ง พบกระจายเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยในระดับความสูง 400-1,000 เมตร ตามบริเวณหุบเขา ริมลำห้วย และสบห้วยต่างๆ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางปาย ยางแดง ยางนา ตะเคียนทอง ก่อเดือย ก่อหยุม ก่อลิ้ม ประดู่ส้ม มะไฟป่า ชมพู่น้ำ ไทรย้อย เดื่อหูกวาง พืชพื้นล่างเป็นพืชที่ชอบขึ้นในที่มีความชื้นสูง เช่น กล้วยป่า หญ้าสองปล้อง เหมือดปลาซิว ตองสาด กระชายป่า ข่าลิง ผักเป็ดไทย ออสมันด้า กูด เฟิน ปาล์ม หวายไส้ไก่ หมากป่า และเขือง เป็นต้น

ป่าดิบเขาตอนล่าง
เป็นป่าที่พบในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,000-1,800 เมตร หรือในบริเวณตอนกลางของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกทำลายจากชาวเขาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ทำให้มีป่าที่มีอยู่เป็นป่าที่กำลังฟื้นสภาพ หรือป่ารุ่นใหม่ จะมีป่าดิบเขาดั่งเดิมเหลืออยู่บ้างเพียงเล็กน้อย สภาพโดยทั่วไปของป่าดิบเขาในพื้นที่ดอยอิทนนท์จึงมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับระบบและวิธีการฟื้นฟูของสังคมพืช ชนิดป่าที่พบที่สำคัญได้แก่ ป่าสนล้วน ป่าก่อผสมสน ป่าก่อ และป่าดิบเขาดั่งเดิม พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่ สนสามใบ สารภีดอย เหมือดคนตัวผู้ ก่อแป้น ก่อใบเลื่อม กอเตี้ย ก่อแดง ก่อตาหมูหลวง ก่อนก ทะโล้ จำปีป่า กำลังเสือโคร่ง กล้วยฤาษี นมวัวดอย ฯลฯ

ป่าดิบเขาตอนบน
ขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,800 เมตรขึ้นไป สามารถแบ่งออกได้เป็น ป่าดงดิบ-ป่าก่อชื้น ป่าดงดิบ เขตอบอุ่น และป่าพรุเขตอบอุ่น สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าที่มีต้นไม้สูงใหญ่ และหลายแห่งจะมีลักษณะของป่าดึกดำบรรพ์ พืชพื้นล่างจะไม่แน่นทึบ ทำให้ตามกิ่ง ยอด และลำต้นของไม้ในป่าจะมีมอส กล้วยไม้ เฟิน กุหลาบพันปี สำเภาแดง ขึ้นปกคลุม พันธุ์ไม้ในป่าดิบเขาหรือป่าก่อชื้นได้แก่ ก่อดาน ก่อแอบ จำปีหลวง แกง นางพญาเสือโคร่ง กะทัง นอกจากนี้ยังมีไม้พุ่มและไม้เกาะเกี่ยวเช่น คำขาว กุหลาบขาว คำแดง และยังมีต้นโพสามหาง กระโถนฤาษี เป็นต้น ในบริเวณแอ่งน้ำและรอบๆ ป่าพรุจะมีหญ้าชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่ เช่น บัวทอง พญาดง เทียน ผักหนอกดอย มะ แหลบ วาสุกรี บันดงเหลือง ต่างไก่ป่า กุง กูดขน ฯลฯ และบริเวณชายขอบป่าพรุจะมีกุหลาบพันปีสีแดง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบเฉพาะบนยอดดอยอินทนนท์เท่านั้น

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สัตว์ป่าในบริเวณอุทยานแห่งชาติที่นี้มีจำนวนลดลงไปมาก เนื่องจากถูกชาวเขาเผ่าต่างๆ ล่าเป็นอาหาร และป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกถางลงมาก ทำให้สัตว์ใหญ่บางชนิดหมดไปจากป่านี้ สัตว์ที่เหลืออยู่ส่วนมากเป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กระรอก กระแตธรรมดา กระเล็นขนปลายหูสั้น อ้นเล็ก เม่นหางพวง อีเห็นข้างลาย ชะมดแผงสันหางดำ นกแซงแซวเล็กเหลือบ นกปรอดหัวสีเขม่า นกเด้าดินทุ่ง เหยี่ยว เพเรกริน ไก่ฟ้าหลังขาว นกเงือกคอแดง นกพญาไฟสีกุหลาบ กิ้งก่าหัวสีฟ้า จิ้งเหลนเรียวจุดดำ ตุ๊กแกบ้าน งูลายสอคอแดง กบห้วยสีข้างดำ เขียดหนอง อึ่งกราย คางคกเล็ก ปาดแคระฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ยังคงความสำคัญในด้านของการเป็นแหล่งของนกป่าที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นแหล่งของสัตว์ป่าที่หายาก และมีอยู่เฉพาะถิ่นอยู่หลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ หนูหญ้าดอย กระท่าง เต่าปูลู นกศิวะหางสีน้ำตาล นกปีกสั้นสีนำเงิน นกกระจิ๊ดคอสีเทา และนกกินปลีหางยาว

ปัจจุบันราชการทหารได้ตัดถนนขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ ทำให้เดินทางไปโดยรถยนต์ได้สะดวก สำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติอย่างแท้จริงก็อาจเลือกวิธีเดินเท้า ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมก่อนที่จะมีทางรถยนต์ ทางเดินที่นิยมมักเริ่มต้นจากน้ำตกแม่กลาง คืนแรกพักที่หมู่บ้านกะเหรี่ยงหรือกลางป่า คืนที่สองพักที่หมู่บ้านกะเหรี่ยงผาหม่อน คืนที่สามพักที่ปางสมเด็จ แล้วขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ ในระหว่างทางจะได้รับความเพลิดเพลินกับบรรยากาศป่าเขา และได้ศึกษาความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงไปด้วย

จุดเด่นของอุทยานแห่งชาตินี้ คือ ยอดดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาสูงสุดของประเทศ ซึ่งคนไทยส่วนมากต้องการไปสัมผัสเพื่อประวัติของชีวิต อากาศบนยอดดอยหนาวเย็นประดุจดังอยู่ในเมืองหนาว ยามฤดูหนาวจัด มีเมฆหมอกครึ้ม บรรยากาศดังกล่าวไม่อาจหาได้ในส่วนอื่นของประเทศ ต้นไม้ในบริเวณยอดดอยแปลกไปกว่าที่อื่น เพราะมีสภาพป่าประดุจดังป่าโลกล้านปี ตาม ต้นไม้มีตะไคร่และมอสจับเขียวครึ้ม พันธุ์ไม้ดอก เช่น กุหลาบป่า คล้ายกับที่ภูกระดึง แต่สูงใหญ่กว่ามากจนเรียกกันว่า “กุหลาบพันปี” นอกจากนี้ยังมีลานข้าวตอกฤาษีซึ่งเป็นมอสชนิดหนึ่งขึ้นอยู่หนาแน่นมีสีเขียวสลับส้มกับสีน้ำตาลอ่อน ๆ มอสชนิดนี้จะขึ้นได้เฉพาะที่สูง ความชื้นมากและอากาศหนาวเย็นเท่านั้น

น้ำตกแม่กลาง
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี และมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ให้เล่นน้ำหลายแห่ง แต่ในช่วงฤดูฝนกระแสน้ำไหลแรงจนอาจเป็นอันตรายต่อการเล่นน้ำ น้ำตกแม่กลางอยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ จากถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ ประมาณ กม.ที่ 8 ก่อนถึงด่านตรวจของอุทยานแห่งชาติ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกแม่กลาง สามารถเดินลัดเลาะตามเส้นทางเดินไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากน้ำตกแม่กลางประมาณ 400 เมตร ผ่านเหมืองฝายและภาพเขียนสีผาคันนา

น้ำตกแม่กลาง น้ำตกแม่ยะ
อยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เกิดจากลำห้วยแม่ยะ ไหลลดหลั่นลงมาถึง 30 ชั้น รวมความสูงประมาณ 260 เมตร จนกล่าวกันว่าเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดของประเทศ ในช่วงฤดูฝนสายน้ำตกจะแผ่กว้างถึง 100 เมตร ฤดูแล้งปริมาณน้ำอาจลดน้อยลง แต่สายน้ำตกจะใสสะอาดกว่า น้ำตกแม่ยะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เมื่อเข้าสู่ถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ ได้ประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตร

น้ำตกสิริภูมิ
เดิมชื่อ น้ำตกเลาลี ตามชื่อของชาวเขา ซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้านที่อยู่ใกล้น้ำตกนี้ ต่อมา ม.ร.ว.จักรทอง ทองใหญ่ เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขนานนามว่า “สิริภูมิ” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนาง-เจ้าพระบรมราชินีนาถ น้ำตกนี้อยู่ที่บ้านขุนกลาง ใกล้ กม.ที่ 31 ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ เป็นน้ำตก 2 สาย ที่ไหลคู่กันลงมาจากหน้าผาสูงซึ่งสามารถมองเห็นได้จากระยะไกล

น้ำตกวชิรธาร
มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า น้ำตกตาดฆ้องโยง เกิดจากลำห้วยแม่กลาง อยู่ประมาณหลักกม.ที่ 22 ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 70-80 เมตร สายน้ำไหลตกจากหน้าผาลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ในยามที่แสงอาทิตย์ส่องกระทบละอองน้ำจะปรากฏสายรุ้งงดงามขึ้นเหนือธารน้ำ ตรงข้ามมีหน้าผาสูงชัน เรียกว่า “ผามอแก้ว” หรือภายหลังเรียกว่า ผาแว่นแก้ว

เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน
 
อยู่ตรง กม.ที่ 42 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ ใกล้กับพระมหาธาตุนภเมทนีดลและพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ เส้นทางนี้จะผ่านสภาพธรรมชาติที่แตกต่างกัน 2 ลักษณะ คือ ป่าดิบเขากับทุ่งหญ้าบนสันเขา ทางช่วงแรกผ่านเข้าไปในป่าดิบเขาซึ่งมีบรรยากาศร่มครึ้ม มีแสงแดดส่องลงมาเพียงรำไรตามพื้นป่าเต็มไปด้วยเฟินหลากหลายชนิด มีมอสสีเขียวขึ้นคลุมตามโคนต้นไม้และบริเวณริมห้วยที่ชุมชื้น ทางจะเดินขึ้นเขาจนทะลุออกยังทุ่งหญ้าโล่งกว้างของสันกิ่วแม่ปานซึ่งมีแสงแดดจ้าและสายลมแรง ทำให้บรรยากาศเปลี่ยนไปจากสภาพที่ผ่านมาทันที ทุ่งหญ้าบริเวณนี้เคยเป็นป่าดิบเขามาก่อน แต่ได้ถูกบุกรุกทำลายไปจนมีสภาพดังเช่นปัจจุบัน จากนี้ทางเดินจะเลียบไปตามสันเขาที่มีดงต้นกุหลาบพันปี รวมทั้งไม้พุ่มขนาดเล็กอย่างช้ามะยมดอยและต่างไก่ป่า ซึ่งเป็นตัวอย่างของสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ให้ศึกษา ทางช่วงสุดท้ายจะเข้าสู่ป่าดิบเขาอีกครั้งและไปสิ้นสุดที่จุดเริ่มต้นของเส้นทาง รวมระยะทางทั้งหมดประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดิน 2-3 ชั่วโมง เส้นทางนี้อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ผู้สนใจต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเดินเที่ยวชมคือ เดือนธันวาคม-มกราคม ส่วนในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม เส้นทางนี้ปิดให้บริการเพื่อให้เวลาธรรมชาติฟื้นตัว

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ยอดดอยอินทนนท์
เป็นยอดเขาสูงสุดของประเทศ อากาศบนยอดดอยหนาวเย็นประดุจดังอยู่ในเมืองหนาว ยามฤดูหนาวหนาวจัด มีเมฆหมอกครึ้ม บรรยากาศดังกล่าวไม่อาจหาได้ในส่วนอื่นของประเทศ โดยเฉพาะบริเวณ อ่างกาหลวง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เป็นจุดที่สามารถสัมผัสกับธรรมชาติอันชวนหลงไหลของป่าดิบเขาได้ง่ายที่สุด ภายในจัดทำเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทางประมาณ 300 เมตร โดยใช้สะพานไม้ทั้งหมด เพื่อป้องกันมิให้เหยียบย่ำธรรมชาติอันเปราะบางเสียหาย เส้นทางจะวนกลับมา ณ จุดเริ่มต้น มีป้ายให้ความรู้เรื่องธรรมชาติตลอดเส้นทาง บรรยากาศในอ่างกาหลวงปกคลุมด้วยเมฆที่ลอยพัดผ่านเข้ามาตลอดเวลา อากาศจึงชื้นและเต็มไปด้วยละอองน้ำ ทำให้ต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบเขามีมอสและเฟินขึ้นหุ้มเต็มต้นจนแลดูราวกับป่าในยุคดึกดำบรรพ์ จุดเด่นของเส้นทางนี้ ได้แก่ ต้นกุหลาบพันปีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ กุหลาบพันปีจะบานอวดดอกสีแดงสดดึงดูดให้นกมากินน้ำหวานและช่วยผสมเกสร เช่น นกกินปลีหางยาวเขียว นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้าฯลฯ ส่วนตามโคนต้นกุหลาบพันปีมีข้าวตอกฤาษีขึ้นปกคลุมราวกับพรมธรรมชาติ ข้าวตอกฤาษีเป็นมอสชนิดหนึ่งขึ้นอยู่หนาแน่นมีสีเขียวสลับส้มกับสีน้ำตาลอ่อนๆ มอสชนิดนี้จะขึ้นได้เฉพาะที่สูง ความชื้นมาก และอากาศหนาวเย็นเท่านั้น

นอกจากนี้ในอ่างกาหลวงยังมีพรุน้ำจืดที่อยู่สูงที่สุดของประเทศ ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์เฉพาะถิ่นหายากบางชนิด และเป็นถิ่นอาศัยของนกบนที่สูงจำนวนมากซึ่งสามารถพบเห็นได้ค่อนข้างง่าย เช่น นกศิวะหางสีตาล นกอีแพรดท้องเหลือง นกกะรางหัวแดง นกจับแมลงหน้าผากขาว ฯลฯ ในช่วงฤดูหนาวยังมีนกอพยพย้ายถิ่นนานาชนิดบินมาอาศัย ทำให้ดอยอินทนนท์เป็นแหล่งดูนกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ บริเวณจุดสูงสุดบนยอดดอยอินทนนท์นี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระสถูปของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ผู้เป็นที่มาของชื่อดอยอินทนนท์แห่งนี้อีกด้วย

ถ้ำบริจินดาถ้ำบริจินดา
เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ภายในถ้ำมีความลึกหลายกิโลเมตร เพดานมีหินงอกหินย้อยหรือที่ชาวเหนือเรียกว่า “นมผา” และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน นอกจากนี้ยังมีธารหิน เมื่อมีแสงสว่างมากระทบจะเกิดประกายระยิบระยับดังกากเพชรงามยิ่งนัก ลักษณะของถ้ำเป็นถ้ำทะลุ แสงสว่างลอดเข้ามาได้ ทางเข้าอยู่ทางขวามือห่างจากด่านตรวจไปประมาณ 500 เมตร เข้าไปตามทางอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จนสุดทางที่ริมน้ำแม่หอย จากนั้นต้องเดินข้ามลำน้ำและผ่านป่าไผ่ไปอีก 1 กิโลเมตร จึงถึงถ้ำบริจินดา

จุดชมทิวทัศน์และพระมหาธาตุเจดีย์อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
จุดชมทิวทัศน์อยู่ตรงกิโลเมตรที่ 41 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ สามารถมองเห็นทิวทัศน์อันกว้างไกลของขุนเขาสลับซับซ้อน โดยเฉพาะยามเช้าจะมีทะเลหมอกปกคลุมเหนือหุบเขาน่าชมมาก จากจุดชมทิวทัศน์สามารถมองเห็นพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริสูงเด่นอยู่คู่กัน สำหรับทางเข้าพระมหาธาตุฯ ทั้งสององค์อยู่ห่างจากจุดชมทิวทัศน์ไปอีกประมาณ 500 เมตร กองทัพอากาศสร้างพระมหาธาตุทั้งสององค์ขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บริเวณรอบองค์พระมหาธาตุฯ ประดับตกแต่งด้วยไม้ดอกเมืองหนาวสวยงาม

น้ำตกวังควาย
เป็นน้ำตกที่เหมาะในการลงเล่นน้ำในสายน้ำที่เย็นฉ่ำไหลเซาะลดเลี้ยวตามลานหินลดหลั่นเป็นชั้นๆ พื้นน้ำเป็นทรายเม็ดละเอียด อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่มาตามถนนสายเชียงใหม่-ฮอด ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 58 ก่อนถึงตลาดจอมทองเลี้ยวขวาขึ้นไปตามถนนจอมทอง-ดอยอินทนนท์ระยะทางประมาณ 9.7 กิโลเมตร

น้ำตกสิริธาร
ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอเชียงใหม่ประมาณ 81 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ประมาณกิโลเมตร 58 เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ ประมาณ 23 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปจุดชมทิวทัศน์น้ำตกสิริธาร ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 100 เมตร คดเคี้ยวไปตามความลาดชันของภูเขา

ดอยขุนกลาง
บริเวณกิโลเมตรที่ 31 จะปรากฎสภาพภูมิประเทศโดยรอบจะเป็นทุ่งหญ้าคาเนื่องจากป่าถูกถางลงเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา เป็นดอยที่ลดหลั่นประดุจดังคลื่น โดยเฉพาะในฤดูฝนจะเขียวขจีเป็นทิวทัศน์ที่สวยงามแปลกตาจนน่าบันทึกไว้บนแผ่นฟิล์ม อย่างไรก็ตามบุคคลทั่วไปก็ยังรักที่จะเห็นป่ามากกว่าทุ่งหญ้าคาแบบนั้น

เส้นทางดูนก กม. 38
อยู่ใกล้กับด่านตรวจอุทยานแห่งชาติ กม. ที่ 37.5 ถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ นักดูนกมักเรียกเส้นทางนี้ว่า jeep track เนื่องจากเป็นทางเดินราบเรียบสะดวกสบายผ่านไปท่ามกลางป่าดิบเขาที่ระดับความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากป่าดิบเขาบริเวณยอดดอยอินทนนท์ โดยมีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ เช่น พญาไม้มณฑาดอย ฯลฯ สำหรับนกที่พบเห็นได้ง่าย เช่น นกมุ่นรกตาแดง นกขมิ้นแดง นกเปลือกไม้ นกปลีกล้วยลาย นกติ๊ดแก้มเหลือง ฯลฯ รวมทั้งมีนกหายากซึ่งมีรายงานการพบบนเส้นทางนี้ คือ นกปีกแพรสีม่วง และนกปีกแพรสีเขียว

กลุ่มน้ำตกแม่ปาน
ประกอบด้วยน้ำตก 8 แห่ง ได้แก่ น้ำตกแม่ปาน น้ำตกผาสำราญ น้ำตกสองพี่น้อง น้ำตกทีลอกุ้ย น้ำตกธารทอง น้ำตกแท่นพระสังข์ น้ำตกป่าบงเบียง และน้ำตกห้วยทรายเหลือง อยุ่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (กม.31) ไปตามถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ ไปยังด่านตรวจที่ 2 (กม.38) แยกซ้ายไปทางอำเภอแม่แจ่มประมาณ 6 กิโลเมตร มีทางแยกขวาเข้าไปหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ อน.2 (แม่แจ่ม) ประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเส้นทางศึกษาธรรมชาติผาสำราญ (น้ำตกแม่ปาน-ห้วยทรายเหลือง) เป็นแส้นทางวงรอบ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,150 เมตร สามารถเริ่มเดินจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติไปตามเส้นทางเข้าน้ำตกแม่ปาน จะพบเห็นน้ำตกได้ทั้ง 8 แห่ง และกลับมายังจุดเริ่มต้นบริเวณหน่วยฯ ชมน้ำตกห้วยทรายเหลือง

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ผาแง่มน้อย
ผาแง่มน้อย “แง่ม” เป็นภาษาประจำถิ่นของภาคเหนือ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ง่าม” ในภาษาไทย เป็นคำนามใช้เรียกลักษณะหรือสิ่งที่แยกออกเป็น 2 หรือ 3 ผาแง่มน้อยเป็นหิน 2 แท่ง ตั้งอยู่คู่กันริมเส้นทางเดินชมธรรมชาติกิ่วแม่ปาน หินที่ประกอบขึ้นเป็นผาแง่มน้อยได้แก่หินแกรนิตเนื้อปานกลางยุคไทรแอสซิก มีอายุประมาณ 200 ล้านปีมาแล้ว หินแกรนิตในบริเวณนี้เกิดจากหินหลอมเหลวที่ดันตัวตัดผ่านหินไนส์ ที่มีอายุเก่าแก่มากกว่า 530 ล้านปี ยุคพรีแคมเบรียน เมื่อหินหลอมเหลวที่ยังอยู่ใต้ผิวโลกเย็นตัวลง มวลของหินแกรนิตมีการหดตัวและปรากฏรอยแตกบริเวณขอบของมวลหิน เมื่อเวลาผ่านไปเปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ปรากฏการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นคือ กระบวนการก่อเทือกเขา ทำให้ผิวโลกมีการยกตัวขึ้นเป็นภูเขา ปรากฏการณ์ที่สำคัญต่อมาหลังจากที่หินปรากฏบนผิวโลกคือการผุพังอยู่กับที่ และการกัดกร่อน หินแกรนิตเกิดจากแร่ประกอบหินหลายชนิด เช่น ควอรตซ์ เฟลด์สปาร์ ไบโอไทต์ และมัสโคไวท์ แร่ประกอบหินแต่ละชนิดมีอัตราการผุพังที่ต่างกัน เช่น แร่เฟลด์สปาร์ จะผุพังง่าย และเร็วกว่าแร่ควอรตซ์

ผาแง่มน้อยเป็นหินแกรนิตเช่นเดียวกับหินที่อยู่ข้างเคียง แต่เนื้อหินของผาแง่มน้อยมีปริมาณแร่ควอรตซ์มากกว่าหินที่อยู่ข้างเคียง และหินข้างเคียงก็มีปริมาณแร่เฟลด์สปาร์ที่มากกว่าหินส่วนที่เป็นหน้าผา ผาแง่มน้อยจึงเป็นผลลัพธ์ของความต่างของอัตราเร็วในการผุพัง โดยส่วนที่เป็นผาแง่มน้อยมีความทนทานต่อการผุพังมากกว่าหินที่อยู่ข้างเคียง นอกจากนี้อาจเกี่ยวข้องกับความถี่ของรอยแตกที่หินข้างเคียงมีมากกว่าหินส่วนที่เป็นผาแง่มนี้ด้วย

หมู่บ้านม้งขุนยะน้อยหมู่บ้านม้งขุนยะน้อย
เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรมม้ง บ้านขุนยะน้อย เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง จำนวนประมาณ 70 หลังคาเรือน อยู่ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300 เมตร มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์จากพื้นที่สูงได้ไกล บริเวณโดยรอบหมู่บ้านมีสภาพป่าดิบเขาที่ยังคงความสมบูรณ์ และการอนุรักษ์ป่า “ดงเซ้ง” และต้นไม้ขนาดใหญ่ 7-8 คนโอบ การดำเนินชีวิตของชาวเขาเผ่าม้งนี้ยังคงใช้วิถีชีวิตวัฒนธรรมเดิมๆ อยู่มาก เช่น การแต่งกาย การตีมีดแบบดั้งเดิม การโม่ข้าวหรือข้าวโพดด้วยโม่หิน การทำเหล้าข้าวโพด การสร้างบ้าน การทอผ้า และการจัดประเพณีต่างๆ เป็นต้น ในหมู่บ้านมีการบริการที่พักและกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบ Home Stay

หมู่บ้านกะเหรี่ยงบ้านแม่แอบใน
เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง หรือ ปกาเกอะญอ ชมการดำนินชีวิตที่เรียบง่าย เช่น การทอผ้า การตำข้าว การขับกล่อมบทกลอน “ทา” “ซอ” การเล่นเตหน่า รำดาบ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น การเลี้ยงผีฝาย ผีนา เป็นต้น ในหมู่บ้านมีการบริการที่พักและกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบ Home Stay

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
อุทยานแห่งชาติได้ตัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ตามแนวเส้นทางถนนสายยอดดอยอินทนนท์-แม่แจ่ม ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว ก่อนใช้เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางจากอุทยานแห่งชาติ ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติก่อน
• เส้นทางสายยอดดอย-น้ำตกสิริภูมิ เป็นเส้นทางเดินป่าระยะไกลประมาณ 8 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 5 ชั่วโมง เหมาะสำหรับศึกษาความแตกต่างของพรรณไม้ในระดับความสูงที่ถูกทำลาย การฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมอาชีพชาวเขา และชมทิวทัศน์ของหุบเขาด้านล่าง
• เส้นทางสายถ้ำบริจินดา เป็นทางระยะสั้น เริ่มต้นที่กิโลเมตรที่ 8.5 ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการศึกษาในเรื่องกำเนิดถ้ำ สิ่งมีชีวิตในถ้ำ การเกิดหินงอกหินย้อย สภาพป่าเบญจพรรณผสมกับป่าเต็งรัง
• เส้นทางสายสบหาด-บ้านแม่กลางหลวง ระยะทางประมาณ 900 เมตรใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการศึกษาในเรื่องของสังคมป่าเต็งรังผสมป่าสน คุณประโยชน์ของป่า และชมน้ำตกตาดน้อย
• เส้นทางสายผาแว่นแก้ว-น้ำตกวชิรธาร-บ้านสบหาด ระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการศึกษาในเรื่องของสังคมป่าผสมผลัดใบ โดยเฉพาะในเดือนมกราคม ผืนป่าจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ชมทิวทัศน์ของน้ำตกแม่กลาง น้ำตกวชิรธาร ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงบ้านสบหาด การทำการเกษตร และที่ผาแว่นแก้วซึ่งมีภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์อายุ 2.000-3,000 ปี
• เส้นทางสายกิโลเมตรที่ 38–น้ำตกสิริภูมิ เริ่มต้นริมถนนกิโลเมตรที่ 38 ตรงข้างทางแยกไปอำเภอแม่แจ่ม เป็นเส้นทางเดินป่าระยะไกลประมาณ 5.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 3 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการดูนกที่อาศัยอยู่ในป่าดิบเขาระดับ 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล
• เส้นทางสายปางสมเด็จ-ผาหมอน เป็นทางเดินป่าระยะไกลประมาณ 6 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 4 ชั่วโมง เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบการเดินป่าโดยเฉพาะ และต้องการศึกษาเส้นทางเดินป่าสมัยที่ยังไม่มีถนนตัดขึ้นดอยอินทนนท์

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ 50160
โทรศัพท์ 0 5326 8577 โทรสาร 0 5326 8578 อีเมล reserve@dnp.go.th

การเดินทาง
รถยนต์
จากตัวเมืองเชียงใหม่ เดินทางโดยรถยนต์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ผ่านอำเภอหางดงและอำเภอสันปาตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009 (จอมทอง-ดอยอินทนนท์) จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่กิโลเมตรที่ 8 (น้ำตกแม่กลาง) และตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด 49.8 กิโลเมตร ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 31

ที่พักแรม/บ้านพัก
มีบริการบ้านพักให้จอง

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 250-800 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น

รายการที่ 1
- เต็นท์ ขนาด 3 คน ราคา 250 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 5 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ที่รองนอน ถุงนอน และชุดสนาม

รายการที่ 2
- เต็นท์ ขนาด 2 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม

กรณีที่นำเต็นท์ไปกางเอง ต้องเสียค่าบริการสถานที่ 30 บาท/คน/คืน หากไม่มีเครื่องนอนก็ใช้บริการเครื่องนอนและอุปกรณ์สนามของอุทยานฯ มีอัตราค่าบริการเครื่องนอนกรณีนำเต็นท์ไปเอง มีดังนี้
1) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ถุงนอน ที่รองนอน และชุดสนาม ราคา 150 บาท/ชุด/คืน
2) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม ราคา 200 บาท/ชุด/คืน


     
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์/ Doi Inthanon National Park

 

Doi Inthanon National Park

General Information
Doi Inthanon National Park covers the areas of Sanpatong District, Chomthong District, Mae Chaem District, Mae Wang District, and Toi Lor Sub-district of Chiang Mai Province within an approximate area of 482 square kilometers. The National Park consists of high mountains, including Doi Inthanon, which is the highest mountaintop in Thailand and the source of many rivers such as Ping River, where the Bhumipol Dam is situated and generating the electrical power. The National Park has beautiful natural scenery such as waterfalls, particularly Mae Ya Waterfall, which is one of the most beautiful waterfalls in Thailand.

Historically, the mountain of Doi Inthanon was refered to as Doi Ang Ka. Prince Intharawichayanon, the last ruler of Chiang Mai, realized the importance of the country’s forests, especially in the north, where the forest serve as the watershed for the country. He was interested in helping and supporting people who were investigating the history in his area. So he requested that his body must be placed on the summit of Doi Ang Ka. After his death, the mountain was renamed Inthanon, a short version of his name. Today, visitors can see the Inthanon Wichayanon stupa on the summit of Doi Ang Ka.

The geographical features of the National Park consists of high mountains, including Doi Inthanon, which is the highest mountaintop in Thailand (2,565 meters above the sea level), followed by Doi Huamodluang (2,330 meters above the sea level). Doi Inthanon is the source of many rivers including Mae Klang, Mae Pakong, Mae Pon, Mae Hoi, Mae Ya, Mae Chaem, Mae Khan, and being part of Ping River, where the Bhumipol Dam is situated and generating the electrical power.

Climate

Since the National Park is located at 2,565 meters above the sea level, it has cold weather and high humidity throughout the year, particularly on the top of the National Park. In winter, the temperature at the National Park is below 0„ac. And in summer, despite hot weather in central Chiang Mai and nearby districts, it is still freezing on the top of Doi Inthanon and tourists should be prepared with thick clothes.

Flora and Fauna
The forest in the park is one of the country’s very significance and valuable heritage. Forests include Moist Evergreen Forest, Pine forest and Mixed Deciduous Forest, worth in economic like teak and mountain pine. Dipterocarp spp. Xylia xylocarpa, Pterocarpus, macrocapus Terminalia sp. and Lagerstroemia sp. to name a few. In addition to these, there are many beautiful flowers including vanda orchid, phycastylis and rhododendron. Sphagnum Moss and osmanda fern are found at higher levels in the park. fifty years ago, the mountain peaks were home of hill tribe people. The biggest village was Ban Khun Klang, whose agriculture method was often destructive to the forest ecosystem. Currently the several Royal Projects, assists the villagers in growing cold-climate fruit such as strawberries, grapes and apples as well as flowers. The number of wild animals in the park is decreasing the encroachment. The animals are hunted and their habitats are destroyed for agriculture. The remaining animals include serpent, gibbons, tigers, deer, wild boars, Siamese hares and Red Jungle fowls.

Because of its broad altitudinal range and the cool climate of its upper reaches, the park supports the largest number of bird species of any site in Thailand. The Center for Wildlife Research at Mahidol University records a present total of 362 species and expects addition many at the summit are migrants from northern Asia. Species restricted to Doi Inthanon are Ashy-throated Warbler and an endemic race of the Green-tailed Sunbird; the park is the only site where the Chestnut-bellied Rock-Thrush and the Yellow-bellied Flower pecker are known to over summer and probably breed.

Since the military has built new roads to the top of Doi Inthanon, it is now convenient to travel by car. For tourists, who want to experience the real nature, may select to travel on foot, which is the traditional means of transport before car transport is available. The popular travelling route begins at Mae Klang Waterfall. In the first night, tourists will stay overnight at Karen village or in the forest; in the second night, tourists will stay overnight at the Karen village of Pah Mon; in the third night, tourists will stay overnight at Pang Somdej before reaching the top of Doi Inthanon. During the journey, tourists will enjoy the forest atmosphere and study the livelihood of Karen villagers.

The prominent tourist attraction of the National Park is Doi Inthanon, which is the highest mountaintop in Thailand. It is an ideal destination for most Thai people to visit at least once in their lifetime. The weather on the mountaintop of Doi Inthanon is freezing. And in winter, Doi Inthanon will be covered with the sea of fog, which is an exclusive atmosphere and cannot be seen in other parts of the country. There are strange plants growing on the mountaintop of Doi Inthanon due to the atmosphere like primitive forests. Plants are covered with alga and moss. Species of flowering plants such as wild roses are similar to those at Phu Kradueng but they are much larger like “thousand-year roses”. Moreover, there are fields of green and brown Kaotok Ruesi, a species of moss, which grows only in highland regions with high humidity and cold weather.

Please Select Attraction : + The Beautiful of Nature Mae Klang Waterfall Mae Ya Waterfall Siriphum Waterfall Vachiratharn Waterfall Kaew Mae Pang Nature Trail Summit of Doi Inthanon Brichinda Cave View Point and Phra Mahathat Chedi Wang Kwai Waterfall Siritan Waterfall Doi Khun Klang Bird Watching km.38 Mae Pang Waterfall Group Pha Ngam Noi Khun Ya Noi Hmong Village Ban Mae Ab Nai Karen Village Nature trail

Mae Klang Waterfall
Mae Klang Waterfall is located in the east of the National Park, approximately 8 kilometers away from Chom Thong - Doi Inthanon Road, then make a left hand turn for 1 kilometer until reaching the Waterfall. This waterfall is very popular among Thai and foreigners who come to swim, picnic and relax. The rapid stream and waterfall spill over the area produce cool and pleasant for visitors.

Mae Ya Waterfall
Mae Ya Waterfall is a large waterfall of 260 meters high, located in the south of the National Park. The Waterfall originated in Mae Ya Gully. Many tourists claimed that the Waterfall is one of the most beautiful waterfalls in Thailand since the Waterfall is like a combination of different waterfalls. The Waterfall can be accessed from the right hand side of Chomthong-Hod Road, then, follow the guide posts.

Siriphum Waterfall
The Waterfall was formerly called “Lao Lee Waterfall”, which was named after the headman of a nearby tribesman village. After that Mr.Ror.Vor. Jakthong Thongyai, a former Minister of Agriculture and Cooperatives, named the Waterfall “Siriphum” to enhance the prestige of His Majesty the King and Her Majesty the Queen. The Waterfall is located near km 31, Chomthong-Doi Inthanon Raod

Vachiratharn Waterfall
Vachiratharn Waterfall (or “Muangyong Waterfall”) is a 70-meter-high waterfall, having originated in Mae Klang Gully and being located near km 22, Chomthong-Doi Inthanon Raod. At the Waterfall, there are many caves; and the most beautiful one is Borijinda Cave, a large cave with stalactite and stalagmite, located in the east of the National Park.

Kaew Mae Pang Nature Trail
one of the most beautiful and rewarding walks in the park is a new trail, which begins a short distance up the main summit road from Napamaytanidol. The path leads for a kilometer or more through dense, moist evergreen forest, then emerges and follows the top of a steep slope bordering the canyoned headwaters of the Mae Pan river. Dotted with red rhododendron, the trail proceeds southward for another kilometer with fine, open views to the west, then re-enters the forest and eventually terminates at Napamaytanidol Chedi. Two hours would allow a leisurely walk with camera stops.

Summit of Doi Inthanon
Summit of Doi Inthanon offers fine views to visitors, especially during November and December. On the summit, there is a stupa containing the body of prince Intharawichayonon, whose chronicle placed on the back of the marble plaque nearby. However photographing any parts of the radar station s forbidden.

Brichinda Cave
This impressive limestone cave has a gigantic entrance camber and tower and a scene huge chamber with a skylight opening to the surface. This cave has a medium-size, which has beautiful stalagmite, is situated in the middle of deciduous forest. It takes about one hour walk from the main road.

View Point and Phra Mahathat Chedi
At Km. 41 of Chomthong-Doi Inthanon Road, there are Phra Mahathat Chedi Nophamethanidol and Phra Mahathat Noppholbhumisiri built for presenting to His Majesty the King and Her Majesty Queen Sirikit by Thai Air Force.

Wang Kwai Waterfall
This waterfall has cold pleasant water which is suitable for swimming. Visitors can take route 00, Chiang Mai - Hod, turn right to route 00, Chom Tong - Doi Inthanon at 58 km. and proceed for another 9.7 km.

Siritan Waterfall
This waterfall is 81 km. from Chiang Mai. Take the route 108, Chiang Mai - Hod and turn left at 58 th km. and continue on Chomg Tong - Doi Intanon for 23 km. you will reach Siritan Waterfall. The 100 meters trail in the Montain Rainforest will brighten up your day.

Doi Khun Klang
Approximately km 31, the geographical area is surrounded by fields of grass due to reclamation of forests since 50 years ago, as a result, Doi Khun Klang looks wavy, particularly in the rainy season, the scenery of Doi Khun Klang is so greenish and spectacular for photographing. However, nature lovers wish to see the forests rather than the fields of grass.

Mae Pang Waterfall Group
at Km. 6.6 on the Mae Chaem road is the turn-off to Mae Pang Waterfall. The laterite access road descends about two kilometers to the Mae Chaem Ranger Station and camp-ground, and is suitable for any vehicle although the road can be slippery on the uphill after a heavy rain. The area is quiet, of the beaten track, and can be described as the backcountry of Doi Inthanon Park. It offers a rewarding loop hike of 1 to 2 hours through untouched terrain with small waterfalls and tumbling creeks along most of the route. You can walk along the whole loop since it is largely un-marked, but any visitor can walk the 800 meters to Mae Pang waterfall and back again, as wall as the 200 meters to Huay Sai Luaeng waterall (just beyond the camp-ground).


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

เชียงใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ โรงแรม+ร้านอาหาร แผนที่เชียงใหม่
อำเภอเมือง
เส้นทางตะวันตกเฉียงใต้



น้ำตกสิริภูมิ
Siri Phum Waterfall

เส้นทางตะวันออกเฉียงเหนือ(สาย 1001 เชียงใหม่-พร้าว)
เส้นทางสายตะวันตก
 


สวนสัตว์เชียงใหม่
Chiang Mai Zoo
(ชมแพนด้าที่เชียงใหม่)
 
เส้นทางสายตะวันออก(สาย 118 และสาย 1006)
เส้นทางสายเหนือ(สาย 107 เชียงใหม่-ฝาง)



ดอยผาหลวง
Doi pha Luang



ศูนย์ฝึกช้างแตงดาว
Elephant Training Centre

เส้นทางหลวงหมายเลข 1096 แม่ริม-สะเมิง



ฟาร์มผีเสื้อแม่สา
Mae sa Butterfly Farm

เส้นทางหลวงหมายเลข 1269 หางดง-สะเมิง
โรงแรมรีสอร์ทที่แนะนำในเชียงใหม่
โรงแรมทั้งหมดในจังหวัดเชียงใหม่

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์