ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดเชียงใหม่ >วัดเจ็ดยอดหรือวัดโพธารามวิหาร/Wat Chet Yot Super Highway 

วัดเจ็ดยอดหรือวัดโพธารามวิหาร/ Wat Chet Yot Super Highway

 

    วัดเจ็ดยอด หรือ วัดเจดีย์เจ็ดยอด เป็นชื่อวัดที่คนทั่วไปในภายหลังกำหนดเรียกขึ้นตามลักษณะเครื่องยอดส่วนบนหลังคาพระวิหารโบราณที่ปรากฏมาแต่เดิมในวัดนี้ ซึ่งก่อสร้างเป็นพระสถูปเจดีย์ มีจำนวนเจ็ดยอดด้วยกัน แต่ชื่อของวัดนี้ที่มีมาแต่เดิมเมื่อคราวแรกสร้างวัดชื่อว่า วัดมหาโพธาราม หรือ วัดโพธารามมหาวิหาร

    วัดเจ็ดยอด เป็นวัดวัดโบราณที่พระเจ้าติโลกราช พระราชาธิบดีองค์ที่ ๒๒ แห่งราชวงศ์มังรายโปรดให้หมื่นด้ามพร้าคด หรือ สีหโคตเสนาบดี เป็นนายช่างทำการก่อสร้าง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๙๙๙  เมื่อสถาปนาพระอารามสำเร็จแล้ว พระเจ้าติโลกราชโปรดให้นิมนต์พระมหาเถระชื่อ พระอุตตมปัญญา มาสถิตเป็นอธิบดีองค์แรกแห่งหมู่สงฆ์ในอารามนี้ ครั้งนั้นพระเจ้าติโลกราชได้ทรงสดับธรรมบรรยายจากสำนักพระภิกษุสีหล เรื่องอานิสงส์ปลูกต้นโพธิ์ จึงโปรดให้แบ่งหน่อมหาโพธิ์ต้นเดิมที่พระภิกษุสีหลนำมาจากศรีลังกาเอามาปลูกขึ้นไว้ในอารามป่าแดงหลวง เชิงดอยสุเทพ นำมาปลุกไว้ในอารามที่สร้างขึ้นใหม่ เหตุที่หน่อมหาโพธิ์ปลูกในอารามแห่งนี้ จึงได้รับการขนานนามว่า "วัดมหาโพธาราม" วัดเจ็ดยอดเป็นอารามที่มีความสำคัญยิ่งทางพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านนา ด้วยเมื่อพุทธศักราช ๒๐๒๐  พระเจ้าติโลกราช โปรดให้จัดการประชุมพระเถรานุเถระทั่วทุกหัวเมืองในอาณาจักรล้านนา  แล้วทรงคัดเลือกได้พระธรรมทิณเจ้าอาวาสวัดป่าตาล ผู้เจนจัดในพระบาลีเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระเจ้าติโลกราชทรงรับเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ทำสังคายนาพระไตรปิฏก ณ วัดมหาโพธารามปีหนึ่งจึงสำเร็จเรียบร้อย การสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งใหญ่เป็นลำดับที่ ๘  นับเนื่องได้ทำมาแล้วที่ประเทศอินเดียและศรีลังการวมเจ็ดครั้ง และการทำสังคายนาพระไตรปิฏกที่วัดมหาโพธารามก็นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย วัดเจ็ดยอด ได้กลายเป็นวัดร้างที่ไม่มีพระภิกษุอาศัยแต่เมื่อใดไม่พบหลักฐานแน่ชัด  แต่สันนิษฐานว่า เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๑๙ หัวเมืองต่าง ๆ ในแคว้นล้านนาประสบกับภัยสงครามทั่วไปหมด ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงประกาศให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากไม่มีกำลังพอเพียงที่จะรักษาเมือง พระภิกษุสามเณรและพลเมืองจึงพากันอพยพไปอยู่ตามหัวเมืองอื่น ๆ หมด ต่อมาสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้ากาวิละได้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมืองเชียงใหม่ก็ได้กลับตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง กระนั้นก็ดีบรรดาวัดวาอารามต่าง ๆ  ที่ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองและนอกเมืองก็ยังสภาพเป็นวัดร้างจำนวนมาก วัดเจ็ดยอดก็เป็นหนึ่งในจำนวนวัดร้างด้วย

    ศิลปกรรมที่มี ความสำคัญเนื่องด้วยพระพุทธศาสนาซึ่งนำมาโดยพระภิกษุสิหลนิกายสู่อาณาจักรล้านนาแต่สมัยกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จำนวนหลายแห่งด้วยกัน โบราณสถานของวัดนี้มีความสำคัญต่อเนื่องด้วยประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่และมีคุณค่าในทางศิลปกรรมประเภทพุทธศิลป์ในสมัยล้านนาที่น่าสนใจได้แก่

    ศิลปกรรมที่มี ความสำคัญเนื่องด้วยพระพุทธศาสนาซึ่งนำมาโดยพระภิกษุสิหลนิกายสู่อาณาจักรล้านนาแต่สมัยกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จำนวนหลายแห่งด้วยกัน โบราณสถานของวัดนี้มีความสำคัญต่อเนื่องด้วยประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่และมีคุณค่าในทางศิลปกรรมประเภทพุทธศิลป์ในสมัยล้านนาที่น่าสนใจได้แก่

    ศิลปกรรมของซุ้มประตูโขงที่น่าสนใจคือ ลวดลายปูนปั้น ประดับตกแต่งกรอบวงโค้งและหางซุ้มกับลวดลายปูนปั้นเป็นกาบประดับเชิงเสาและปลายเสาย่อมุมประจำสองข้างซุ้มมหาวิหารเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญยิ่งกว่าโบราณสถานแห่งอื่น ทั้งนี้เนื่องด้วยมหาวิหารแห่งนี้พระเจ้าติโลกราชโปรดให้ใช้เป็นสถานที่ประชุมพระเถรานุเถระทั่วอาณาจักรล้านนา มหาวิหารแห่งนี้ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๐๒๐โดยมีหมื่นด้ามพร้าคด หรือ สีหโคตเสนาบดี เป็นนายช่างทำการก่อสร้าง มหาวิหารเป็นอาคารชนิดเครื่องก่อ ใช้ศิลาแลงทำโครงสร้างลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ตั้งขนานไปตามทิศตะวันออกสู่ตะวันตก ตอนหน้าของอาคารสันนิษฐานว่าเป็นมุขโถงต่อออกไปข้างหน้าเปิดเป็นทางเข้าออกมหาวิหาร ตัวอาคารมหาวิหารก่อผนังทึบล้อมสามด้าน เว้นด้านหน้า
เชิงผนังตอนในสุดของวิหารก่อแท่นแก้วประดิษฐานพระพุทธปฏิมาพระประธานประจำวิหารกลางฝาผนังด้านข้างในห้องโถง เจาะเป็นช่องแคบ ๆ มีบันไดทอดตัวขึ้นไปข้างบนออกสู่หลังคาวิหาร
ซึ่งเป็นหลังคาทรงตัดลักษณะคล้ายดาดฟ้าทั่วไป พื้นที่บนนี้เป็นที่ตั้งของปรางค์ยอดเจดีย์แบบพุทธคยาในอินเดียจำนวนเจ็ด องค์ด้วยกัน

    นอกจากนี้ภายนอกตัวมหาวิหารยังปรากฏลวดลายปูน ปั้นชั้นครูระดับเอกที่ยากจะหาฝีมือไหนมาเทียบได้ลวดลายต่าง ๆ ที่ปรากฏยังได้สำแดงให้ประจักษ์ในคุณค่าทางภูมิปัญญาอันเปรื่องปราชญ์
และ ความสามารถในการสร้างสรรค์


    พระสถูปเจดีย์พระเจ้าติโลกราช พระสถูปองค์นี้พระยอดเชียงใหม่  พระราชาธิบดีองค์ที่ ๑๑ แห่งราชวงศ์มังราย  พระราชนัดดาของพระเจ้าติโลกราช โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐาน
พระอัฐิของพระเจ้าติโลกราช  เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๓๑ พระสถูปเจดีย์พระเจ้าติโลกราช เป็นชนิดก่ออิฐถือปูน ลักษณะรูปทรงเป็นแบบทรงมณฑปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มคูหาเป็นจัตุรมุข หลังคาทรงบัวคลุ่ม
ส่วนเครื่องยอดต่อขึ้นไปก่อเป็นพระสถูปทรงระฆังอย่างเจดีย์สีหล ซุ้มคูหาด้านนอกทิศตะวันออกทำลึกเข้าไปในตัวมณฑป ประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรปูนปั้นองค์หนึ่งปางมารวิชัย


    กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์พระเจ้าติโลกราช วัดเจ็ดยอด วัดสำคัญเก่าแก่คู่เมืองเชียงใหม่ นอกจากความร่มรื่นของแมกไม้ภายในวัดแล้ว ที่นี่ยังเป็นแหล่งโบราณสถานศิลปสมัยเชียงแสนที่สวยงามและหาชมได้ยากอีกด้วย

 



Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยววัดเจ็ดยอดหรือวัดโพธารามวิหาร

 
เชียงใหม่/Information of CHIANGMAI

  Wat Chet Yot Super Highway, north of the Huai Kaew-Nimmanhemin Roads intersection This temple
dates from 1458. The seven-spired square chedi was inspired by designs at Bodhagaya, the site of
the Buddha's Enlightenment in north India over 2,500 years ago, and was built by Lanna Thai architects
after visiting the holy site.

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

เชียงใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ โรงแรม+ร้านอาหาร แผนที่เชียงใหม่
อำเภอเมือง
เส้นทางตะวันตกเฉียงใต้



น้ำตกสิริภูมิ
Siri Phum Waterfall

เส้นทางตะวันออกเฉียงเหนือ(สาย 1001 เชียงใหม่-พร้าว)
เส้นทางสายตะวันตก
 


สวนสัตว์เชียงใหม่
Chiang Mai Zoo
(ชมแพนด้าที่เชียงใหม่)
 
เส้นทางสายตะวันออก(สาย 118 และสาย 1006)
เส้นทางสายเหนือ(สาย 107 เชียงใหม่-ฝาง)



ดอยผาหลวง
Doi pha Luang



ศูนย์ฝึกช้างแตงดาว
Elephant Training Centre

เส้นทางหลวงหมายเลข 1096 แม่ริม-สะเมิง



ฟาร์มผีเสื้อแม่สา
Mae sa Butterfly Farm

เส้นทางหลวงหมายเลข 1269 หางดง-สะเมิง
โรงแรมรีสอร์ทที่แนะนำในเชียงใหม่
โรงแรมทั้งหมดในจังหวัดเชียงใหม่

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์