ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดชุมพร >วัดพระธาตุสวี/Phra Thart Sawee Temple 

วัดพระธาตุสวี/ Phra Thart Sawee Temple

 

พระบรมธาตุสวี (พระบรมธาตุกาวีปีก) จังหวัดชุมพร

ที่ตั้ง วัดพระธาตุสวี ตั้งอยู่ที่หมู่ ๑ ตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

พระบรมธาตุสวี มีลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมเลียนแบบพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้มีการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง ครั้งหลังสุดเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ โดยกรมศิลปากร ในปัจจุบันพระบรมธาตุสวีมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ๒ ชั้น ฐานชั้นล่างกว้าง ๘.๕๐ เมตร ประดับด้วยซุ้มรูปช้างโผล่ศีรษะและขาหน้า เสมือนค้ำเจดีย์ไว้ด้านละ ๓ ซุ้ม สลับกับรูปยักษ์ถือกระบองและประดับด้วยเสาหลอก ๖ ต้น (เว้นด้านทิศใต้ มีบันไดทางขึ้น จึงมีช้างเพียง ๒ ซุ้ม) มุมทั้งสี่ของฐานมีเจดีย์จำลองเลียนแบบเจดีย์ประธาน ฐานชั้นบนมีพระพุทธรูปปางสมาธิประทับนั่งในซุ้มด้านละ ๕ ซุ้ม มุมทั้ง ๔ ของฐานมีเจดีย์จำลองประดับไว้เช่นกัน ตัวเจดีย์เป็นทรงระฆัง เหนือขึ้นไปเป็นเสาหาร ก้านฉัตร บัวเถา ปล้องไฉน ๗ ชั้น บนสุดเป็นปลียอด และเม็ดน้ำค้าง

ประวัติ/ตำนาน

มีตำนานเล่าถึงประวัติการสร้างพระธาตุบรมสวี ว่า เมื่อครั้งที่พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช แห่งนครศรีธรรมราชมหานคร เสด็จยกทัพมารี้พลมาพักที่วัดร้างแห่งหนึ่งในเขตอำเภอสวีปัจจุบัน ได้พบกาเผือกและกาฝูงหนึ่งเกาะอยู่บนกองอิฐกระพือปีกและส่งเสียงร้อง พระองค์จึงให้รื้อเศษกองอิฐที่กองทับถมกันออกพบฐานเจดีย์ใหญ่ เมื่อขุดลึกลงไปได้พบผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จึงให้แม่ทัพนายกองไพร่พลช่วยกัน สร้างเจดีย์ขึ้นมาใหม่แทนที่เดิม แล้วจัดงานสมโภชเป็นการใหญ่เป็น เวลา ๗ วัน ๗ คืน จากนั้นพระราชทานชื่อว่า พระบรมธาตุกาวีปีก (วีปีก แปลว่า กระพือปีก) ต่อมาเรียกกันว่า พระธาตุกาวี และคำว่า กาวี ได้เพี้ยนจนเป็นกลายเป็นสวีในปัจจุบัน

ก่อนที่พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช จะเสด็จยกทัพกลับ ทรงห่วงใยพระบรมธาตุว่าจะไม่มีผู้ดูแลรักษา จึงสั่งเรียกบรรดาทหารในกองทัพซึ่งกำลังนอนหลับสนิท ในขณะนั้นมีทหารคนหนึ่งชื่อ เมือง ขานรับพระองค์จึงมีรับสั่งถามว่า ต้องการจะอยู่ดูแลรักษาพระบรมธาตุแห่งนี้ไหม นายเมืองขานรับอาสา พระองค์จึงสั่งให้นายทหารตัดศีรษะนายเมืองเซ่นสรวงบูชาไว้ในศาลเพียงตา ศาลนี้เรียกว่า ศาลพระเสื้อเมือง ให้เป็นผู้เฝ้ารักษาพระบรมธาตุ ในปัจจุบันศาลนี้ยังมียังมีคนทั่วไปเคารพนับถือในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีน

ต่อมาศาลพระเสื้อเมืองมีสภาพชำรุดทรุดโทรม กรมศิลปากรจึงได้ออกแบบอาคารใหม่ให้มีลักษณะสอดคล้องกับพระบรมธาตุสวี โดยเป็นอาคารทรงไทยหลังคาจั่ว หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบ ผนังก่ออิฐฉาบปูน ด้านหน้ามีราวระเบียงลวดบัว พื้นอาคารปูนด้วยหินอ่อน

วัดพระธาตุสวี (วัดสวี) ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และถือเป็นโบราณสถานสำคัญของจังหวัดชุมพร



Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยววัดพระธาตุสวี

 
ชุมพร/Information of CHUMPHON

  Phra Thart Sawee Temple
This temple is near Sawee River. It is 47 kilometers away from the city center along Highway no.41,
around Chumphon Lang Suan part. According to legend, Phra Chao Sri Thamma Sokaraj and his army to
took a rost in Sawee District and found a strange occurrence, that is, albino crows and other types of crows
flocked from a ruined structure, His Majesty therefore issued and order to debris. After removing the debris they
found a large pagoda. When they dug the ground deeper they found a jar containing the Buddha's relics. So,
His Majesty had his man built a new pagoda over the old one. The construction could have taken place in
Ayutthaya Era. In 1916 a repair was done. A new structure was made over the old one. At the front of the temple
next to Sawee River stands a shrine where a human-size effigy, is kept . People in sawee District call this
shrine "Sarn Phra Sua Muang".


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ชุมพร แผนที่จังหวัดชุมพร
ขอแนะนำท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอท่าแซะ
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอปะทิว
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสวี
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอหลังสวน
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง
แผนที่จังหวัดชุมพร/map of CHUMPHON
โรงแรมจังหวัดชุมพร/Hotel of CHUMPHON

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์