www.dooasia.com > จังหวัดนราธิวาส >ป่าพรุโต๊ะแดง/Pa Phru To Daeng ป่าพรุโต๊ะแดง/ Pa Phru To Daeng
ป่าพรุโต๊ะแดง
ป่าพรุ (Peat Swamp Forest)
เป็นป่าที่มีดินอินทรีย์เป็นองค์ประกอบที่พื้นป่าป่าพรุโต๊ะแดง
เป็นป่าพรุที่สมบูรณ์ผืนใหญ่ที่สุดของประเทศที่ยังเหลืออยู่ เป็นผืน
สุดท้ายในประเทศไทย มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 165,000 ไร่ (เฉพาะพื้นที่อนุรักษ์)
ลักษณะภูมิประเทศของป่าพรุ เป็นที่ลุ่มต่ำใกล้ชายฝั่งทะเล มีปริมาณน้ำฝนมาก
ทำให้ป่าพรุมีน้ำแช่ขังตลอดปี การไหลเวียนของน้ำเป็นไปอย่างเชื่องช้า กระแสน้ำ
ไหลเอื่อย ๆ
ไม่หยุดนิ่งสีของน้ำในพรุเป็นสีน้ำตาลซึ่งเป็นน้ำฝาดที่ได้จากการสลายตัวของซากพืชและอินทรียวัตถุ
สามารถนำมาใช้บริโภคได้ ภายในป่าพรุจะมีความชื้นสูง
ฝนตกชุกอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างสูง ลักษณะดินเป็นดินเลน มีสารประกอบกำมะถัน(Pyrite)
การดำรงชีวิตอยู่ของพืชโดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่จึงเป็นไปอย่างยากลำบาก พืช
ในป่าพรุจึงพัฒนาระบบรากชนิดพิเศษแตกต่างไปจากระบบรากของพืชในป่าประเภทอื่น ๆ เช่น
มีพูพอน (Buttress) รากค้ำยัน (Stilt root) รากหายใจ (Pneumatophore)
ป่าพรุเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด สำหรับสัตว์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์
เช่นแมวป่าหัวแบน อีเห็นน้ำ เหยี่ยงปลาใหญ่หัวเทา ทั้ง 3
ชนิดนี้พบเฉพาะในป่าพรุเท่านั้น
ป่าพรุโต๊ะแดงอยู่ที่ตำบลปูโย๊ะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
และเป็นที่ตั้งของศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร (ป่าพรุโต๊ะแดง)
ป่าพรุแห่งนี้เป็นป่า ที่อุดมสมบูรณ์ที่ยังลงเหลืออยู่
นับเป็นป่าที่มีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ต่อชุมชนเป็นอย่างมาก
เป็นแหล่งอาหารและยารักษาโรคของมนุษย์ มีไม้ยืนต้นที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
เป็นแหล่งน้ำจืดสำคัญของคนที่อาศัยอยู่รอบป่าพรุ เป็นแหล่งรับน้ำขนาดใหญ่
ทำให้น้ำท่วมได้ยาก ตลอดจนรวมความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ มนุษย์ สัตว์
และพืชต่างมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น โดยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ทั้งอาหารและที่อยู่อาศัย
เปรียบเสมือนห่วงโซ่สายใยของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลกที่ไม่อาจ ขาดสิ่งหนี่งสิ่งใดที่จำเป็นไปได้
เป็นป่าพรุธรรมชาติผืนใหญ่ที่สุดของประเทศที่ยังคงสภาพดั้งเดิมอันทรงคุณค่า
ทั้งในด้านแหล่งพันธุกรรมของพรรณพืชหายากที่เป็นเฉพาะถิ่น(Endemic Species)
เป็นแหล่งน้ำ แหล่งอาหารของมนุษย์
เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพป่าที่มีลักษณะเฉพาะนี้ได้
การสำรวจและศึกษาวิจัยสัตว์ป่าพรุโต๊ะแดงได้เริ่มขึ้นในช่วงปลายปี ๒๕๒๙
จนถึงปัจจุบันพบสัตว์ป่าอาศัยอยู่ในพรุแห่งนี้แล้วประมาณ ๓๒๕ ชนิด ประกอบด้วย
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibians)
คางคกบ้าน (Common Asin Toad)
เขียดเขาหลังตอง (White-lipped Frog)
เขียดจิก (Green Paddy Frog)
เขียดว้าก (Rough-sided Frog)
กบหนอง (Grass Frog)
เขียดหลังขีด (Stripe-packed Frog)
กบป่าพรุ (Masked Frog)
กบราชา (Raja Frog)
เขียดลื่น (Yellow-bellied Puddle Frog)
เขียดทราย (Marten' Puddle Frog)
เขียดตะปาด (Four-lined Tree Frog)
เขียดตะปาดมลายู (Collet's Tree Frog)
อึ่งอ่างบ้าน (Banded Bull Frog)
อึ่งลายเลอะ (Butler's Froglet)
อึ่งข้างดำ (Heymon's Froglet)
อึ่งน้ำเต้า (Ornate Froglet)
อึ่งหลังขีด (Inornate Froglet)
สัตว์เลื้อยคลาน (Reptilians)
กิ้งก่าบินปีกสีฟ้า (Common Flying Dragon)
กิ้งก่าเขียว (Green-crested Lizard)
กิ้งก่าแก้ว (Brown-headed Lizard)
กิ้งก่าน้อยหางยาว (Long-tailed Lizard)
แย้ (Butterfly Lizard)
จิ้งเหลนต้นไม้ (Olive Tree Skink)
จิ้งเหลนหลายลาย (Bronze Grass Skink)
จิ้งเหลนบ้าน (Common Sun Skink)
จิ้งเหลนภูเกล็ดเรียบ (Smooth-scaled Skink)
ตุ๊ดตู่ (Dumeril's Monitor)
เหี้ย (Water Monitor)
งูก้นขบ (Red-tailed Pipe Snake)
งูเหลือม (Reticulaled Python)
งูงวงช้าง (Elephant Trunk Snake)
งูเห่าหม้อ (Monocled Cobra)
งูสามเหลี่ยม (Banded Krait)
งูเขียวดอกหมาก งูเขียวพระอินทร์ (Golden Tree Snake)
งูทางมะพร้าว (Copperhead Racer)
งูกินทากจุดขาว
งูหัวดำมลายู (Malayan Blackhead)
งูดงคาทอง (White-spotted Cat Snake)
งูปล้องทอง
สัตว์ปีก (Avians)
นกบั้งรอกแดง (Raffle's Malkoha)
นกบั้งรอกเขียวอกแดง (Chestnut-breasted Malkoha)
นกกระปูดใหญ่ (Greater Coucal)
นกกระปูดเล็ก (Lesser Coucal)
นกแสกแดง (Bay Owl)
นกเค้าเหยี่ยว (Brown Hawk-Owl)
นกเค้าแดง (Reddish Scops-Owl)
นกเค้ากู่ (Collared Scops-Owl)
นกทึดทือมลายู (Buffy Fish-Owl)
นกปากกบพันธุ์ชวา (Javan Frogmouth)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalians)
มนุษย์ (Man)
ลิ่น (Malayan Pangolin)
กระรอกข้างลายท้องแดง (Plantain Squirrel)
กระรอกปลายหางดำ (Gray-bellied Squirrel)
กระรอกสามสี (Prevost's Squirrel)
กระรอกหางม้าจิ๋ว (Low's Squirrel)
กระรอกหน้ากระแต (Shrew-faced Ground Squirrel)
ป่าพรุสิรินธรเป็นส่วนหนึ่งของป่าพรุโต๊ะแดง ป่าพรุแห่งสุดท้ายของประเทศไทย
ซึ่งคลุมพื้นที่ของ 3 อำเภอ คือ อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงโกลก และอำเภอสุไหงปาดี
มีพื้นที่ประมาณ 120,000 ไร่ แต่ส่วนที่สมบูรณ์โดยประมาณมีเพียง 50,000 ไร่
เป็นป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่าและ พรรณไม้
พื้นที่ป่าพรุมีลำน้ำสำคัญหลายสายไหลผ่าน คือ คลองสุไหงปาดี แม่น้ำบางนรา
และคลองโต๊ะแดง อันเป็นที่มาของชื่อป่าภายในศูนย์ฯ
ได้จัดให้มีทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ เพื่อประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านต่างๆ
ที่เกี่ยวกับธรรมชาติของป่าพรุ
เริ่มที่บึงน้ำด้านหลังอาคารศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรเป็นสะพานไม้ต่อลัดเลาะเข้าไปในป่าพรุ
ระยะทาง 1,200 เมตร บางช่วงเป็นสะพานไม้ร้อยลวดสลิง
บางช่วงเป็นหอสูงสำหรับมองทิวทัศน์เบื้องล่างที่ชอุ่มไปด้วยไม้นานาพรรณในป่าพรุ
จะมีป้ายชื่อต้นไม้ที่น่าสนใจ และซุ้มความรู้อยู่เป็นจุดๆ
สำหรับให้ความรู้แก่ผู้เดินชมด้วย เปิดทุกวันเวลา 8.0016.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม
และยังมีห้องจัดนิทรรศการให้ความรู้แก่คนที่มาเที่ยวชมอีกด้วย
ป่าพรุ หรือ peat swamp forest เกิดขึ้นได้อย่างไร ? คำตอบคือ
เกิดจากแอ่งน้ำจืดขังติดต่อกันชั่วนาตาปี และมีการสะสมของชั้นดินอินทรียวัตถุ
ก็คือซากพืช ซากต้นไม้ ใบไม้ จนย่อยสลายอย่างช้าๆ กลายเป็นดินพีท (peat)
หรือดินอินทรีย์ที่มีลักษณะหยุ่นยวบเหมือนฟองน้ำมีความหนาแน่นน้อยอุ้มน้ำได้มาก
และพบว่ามีการสะสมระหว่างดินพีท กับดินตะกอนทะเล สลับชั้นกัน 2-3 ชั้น
เนื่องจากน้ำทะเลเคยมีระดับสูงขึ้นจนท่วมป่าพรุ เกิดการสะสมของตะกอน
น้ำทะเลถูกขังอยู่ด้านใน พันธุ์ไม้ในป่าพรุตายไปและเกิดป่าชายเลนขึ้นแทนที่
เมื่อระดับน้ำทะเลลดลงและมีฝนตกลงมาสะสมน้ำที่ขังอยู่จึงจืดลง
และเกิดป่าพรุขึ้นอีกครั้ง ดินพรุชั้นล่างมีอายุถึง 6,000-7,000 ปี
ส่วนดินพรุชั้นบนอยู่ระหว่าง 700-1,000 ปี
ระบบนิเวศน์ในป่าพรุนั้นมีหลากหลาย ทุกชีวิตล้วนเกี่ยวพันต่อเนื่องกัน
ไม้ยืนต้นจะมีระบบรากแขนงแข็งแรงแผ่ออกไปเกาะเกี่ยวกันเพื่อจะได้ช่วยพยุงลำต้นของกันและกันให้ทรงตัวอยู่ได้
ฉะนั้นต้นไม้ในป่าพรุจึงอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หากต้นใดล้ม ต้นอื่นจะล้มตามไปด้วย
พันธุ์ไม้ที่พบในป่าพรุมีกว่า 400 ชนิด บางอย่างนำมารับประทานได้ เช่น หลุมพี
ซึ่งเป็นไม้ในตระกูลปาล์ม มีลักษณะต้นและใบคล้ายปาล์ม แต่มีหนามแหลมอยู่ตลอดก้าน
ผลมีลักษณะคล้ายระกำ แต่จะเล็กกว่า รสชาติออกเปรี้ยว
ชาวบ้านนำมาดองและส่งขายฝั่งมาเลเซีย ซึ่งคนมาเลย์จะนิยมมาก
ฤดูเก็บจะอยู่ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-มีนาคม ถ้าเป็นช่วงอื่นจะหายากและราคาสูง
บางอย่างเป็นพืชพรรณในเขตมาเลเซีย เช่น หมากแดง ซึ่งมีลำต้นสีแดง
เป็นปาล์มชั้นดีมีราคา มีผู้นิยมนำไปเพาะเพื่อประดับสวน เพราะความสวยของกาบและใบ
ลำต้นมีสีแดงดังชื่อ ยังมีพืชอีกหลายชนิดที่น่าสนใจ เช่น ปาหนันช้าง
พืชในวงศ์กระดังงาที่มีดอกใหญ่และ กล้วยไม้กับพืชเล็กๆ ซึ่งจะต้องสังเกตดีๆ
จึงจะได้เห็น
สัตว์ป่าที่พบกว่า 200 ชนิด เช่น ค่าง ชะมด หมูป่า หมีขอ
แมวป่าหัวแบน(ซึ่งเป็นสัตว์คุ้มครองที่หายากอีกชนิดหนึ่งของไทย) หนูสิงคโปร์
พบค่อนข้างยากในคาบสมุทรมลายูแต่ชุกชุมมากบนเกาะสิงคโปร์
สำหรับประเทศไทยพบชุกชุมในป่าพรุโต๊ะแดงนี้เท่านั้น
และหากป่าพรุถูกทำลายหนูเหล่านี้อาจออกไปทำลายผลิตผลของเกษตรกรในพื้นที่โดยรอบได้
พันธุ์ปลาที่พบ ได้แก่ ปลาปากยื่น
เป็นปลาชนิดใหม่ของโลกพบที่ป่าพรุสิรินธรนี้เท่านั้น ปลาดุกรำพัน
ที่มีรูปร่างคล้ายงูซึ่งอาจพัฒนาเป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้เลี้ยงในแหล่งที่มีปัญหาน้ำเปรี้ยวได้
ปลากะแมะ รูปร่างประหลาดมีหัวแบนๆกว้างๆ และลำตัวค่อยๆยาวเรียวไปจนถึงหาง
มีเงี่ยงพิษอยู่ที่ครีบหลัง
ปลาเหล่านี้จะอาศัยป่าพรุเป็นพื้นที่หลบภัยและวางไข่ก่อนที่จะแพร่ลูกหลานออกไปให้ชาวบ้านได้อาศัยเป็นเครื่องยังชีพ
นกที่นี่มีหลายชนิด แต่ที่เด่นๆ ได้แก่ นกกางเขนดงหางแดง มีมากในเกาะสุมาตรา
เกาะบอร์เนียว และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบครั้งแรกที่นี่เมื่อปีพ.ศ. 2530
นกจับแมลงสีฟ้ามาเลเซีย ซึ่งในประเทศไทยจะพบที่ป่าพรุสิรินธรเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
และปัจจุบันนกทั้งสองชนิดอยู่ในภาวะล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์
ความน่าสนใจของป่าพรุไม่ใช่เพียงแต่ พรรณไม้แปลกๆ สัตว์ป่าหายาก
แต่คนที่ไปเที่ยวโดยเฉพาะเด็กๆจะได้ประสบการณ์ชีวิตกลับไปมากมาย
จากธรรมชาติรอบตัวบางทีหากเดินชมธรรมชาติเงียบๆอาจจะได้พบสัตว์ป่ากำลังหาอาหารอยู่ก็เป็นได้
เส้นทางนี้นำเราเข้าไปหาธรรมชาติอย่างใกล้ชิดแต่ก็ไม่ได้นำเราเข้าไปล่วงเกินธรรมชาติมากนัก
หากนำคู่มือดูนก สมุดบันทึก ดินสอสี กล้องส่องตา กล้องถ่ายรูป และยาทากันยุงไปด้วย
อาจจะเพลิดเพลินจนใช้เวลาในนี้ได้ทั้งวัน
อากาศสดชื่นเย็นสบายในป่าพรุก็ยังทำให้คนที่เข้าไปเยือนรู้สึกสดชื่นประทับใจ
แต่ช่วงเวลาที่มาท่องเที่ยวได้สะดวกคือ กุมภาพันธ์-เมษายน เพราะฝนจะตกน้อยที่สุด
เนื่องจากป่าพรุมีภูมิอากาศแบบคาบสมุทร ฉะนั้นจึงมีฝนตกชุกตลอดปี
สิ่งที่ต้องให้ความระมัดระวังก็คือ ยุงดำ สัตว์กินเลือด พาหะนำโรคเท้าช้าง
ซึ่งจะมีอยู่ชุกชุมและออกหาอาหารในช่วงเวลาค่ำ และ ไฟป่า
ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการสูบบุหรี่ โดยเผลอทิ้งก้นบุหรี่ลงไป
เมื่อป่าพรุเกิดไฟป่าแล้วจะดับยากมากกว่าป่าชนิดอื่น
เนื่องจากเชื้อเพลิงไม่ได้มีแค่ต้นไม้ในป่า แต่รวมไปถึงซากไม้
และต้นไม้ที่ทับถมกันในชั้นดินพรุ จึงเป็นไฟที่ลุกลามลงไปใต้ดิน
ทำให้การควบคุมหรือดับไฟลำบาก ไฟจะคุกรุ่นกินเวลานับเดือนๆ ต้องรอจนกว่าจะมีฝนตกชุก
น้ำท่วมผิวดินไฟจึงจะดับสนิท
การเดินทาง
เดินทางโดยรถไฟ จากกรุงเทพฯจะค่อนข้างสะดวกกว่า เพราะสถานีปลายทางอยู่ที่อำเภอสุไหงโกลก
หากมิได้นำรถมาเองสามารถใช้บริการรถรับจ้างจากตัวเมืองสุไหงโกลกได้โดยสะดวก
ทางรถยนต์ จากอำเภอตากใบใช้เส้นทางตากใบ - สุไหงโกลก (ทางหลวงหมายเลข 4057) ประมาณ
5 กิโลเมตร จะมีทางแยกเล็กๆ เข้าสู่ถนนชวนะนันท์ เข้าไปประมาณ 3กิโลเมตร
แล้วเลี้ยวซ้ายไปอีก 2 กิโลเมตร
มีป้ายบอกทางเข้าสู่ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรเป็นระยะ
สอบถามรายละเอียดที่ ตู้ปณ. 37 อำเภอสุไหงโกลก นราธิวาส 96120
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวป่าพรุโต๊ะแดง
นราธิวาส/Information of NARATHIWAT Pa Phru To Daeng Located some 19 kilometers from Sungai - Kolok on the road to Tak Bai, this more than 80,000 acre area is Thailand's largest remaining swamp forest. The area is still rich in flora an fauna. The Sirindhorn Peat Swap Forest is one of a number of peat swamp forests that are remaining in Thailand. There are many species of amazing living organisms in this forest, which has has a strong influence on scientists of various branches of science to come to study and carry out research work. More than 400 varieties of trees, plants and vegetation indigenous to the area, and more than 200 mammal and bird species, including panthers, seven-coloured squirrels, Singaporean rats, Malaysian red-cheeked flying squirrels and red-tailed magpie robins.
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
นราธิวาส แผนที่จังหวัดนราธิวาส
include("../head.html");?>
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอตากใบ
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอบาเจาะ
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสุไหงปาดี
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสุไหงโกลก
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง
แผนที่จังหวัดนราธิวาส/map of NARATHIWAT
โรงแรมจังหวัดนราธิวาส/Hotel of NARATHIWAT
include("../foot.html");?>