www.dooasia.com > จังหวัดนราธิวาส >หาดนราทัศน์/Naratat Beach This area, near the estuary of the Bangnara River, comprises a broad and extensive หาดนราทัศน์/ Naratat Beach This area, near the estuary of the Bangnara River, comprises a broad and extensive ชายหาดนราทัศน์
เป็นหาดทรายขาวสะอาดยาวประมาณ ๕ กิโลเมตร
ไปสิ้นสุดที่ปลายแหลมด้านปากแม่น้ำบางนราซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันเรือกอและที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
แนวสนทำให้บรรยากาศริมทะเลร่มรื่นมากขึ้น ชาวบ้านนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจกันที่นี่
ใกล้ๆกันมีหมู่บ้านชาวประมงตั้งกระจัดกระจายตามริมแม่น้ำบางนรา
และบริเวณเวิ้งอ่าวมีเรือกอและของชาวประมงจอดอยู่มากมาย
อยู่เลยจากตัวเมืองนราธิวาสไปตามถนนสายพิชิตบำรุง ประมาณ ๑ กิโลเมตร
นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถจักรยานยนต์
รถสามล้อถีบหรือรถสองแถวเล็กจากตัวเมืองนราธิวาสไปยังหาดนราทัศน์ได้สะดวก
มัสยิดกลาง (เก่า) มัสยิดกลางหลังเก่านี้
มีชื่อว่า มัสยิดยุมอียะห์ หรือมัสยิดรายอ
ตั้งอยู่ทางเหนือของตัวเมืองห่างจากศาลากลางจังหวัดขึ้นไปตามถนนพิชิตบำรุงก่อนถึงหอนาฬิกาเล็กน้อย
เป็นมัสยิดไม้แบบสุมาตราสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๑
เป็นมัสยิดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนราธิวาส และเป็นที่ตั้งของสุสานเจ้าเมืองเก่า คือ
พระยาภูผาภักดี ตามปกติมัสยิดกลางประจำจังหวัดจะมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
แต่เนื่องจากมัสยิดแห่งนี้ค่อนข้างคับแคบ
จึงได้มีการสร้างมัสยิดหลังใหม่ขึ้นบริเวณปากแม่น้ำบางนรา
อย่างไรก็ตามประชาชนในพื้นที่ยังคงเลื่อมใสศรัทธาในมัสยิดหลังเก่าอยู่
มัสยิดแห่งนี้จึงดำรงฐานะเป็นมัสยิดกลางสืบต่อไป
และทำให้นราธิวาสมีมัสยิดกลางประจำจังหวัดด้วยกันถึง ๒ แห่ง
มัสยิดกลาง (ใหม่) ตั้งอยู่ที่บ้านบางนรา
ก่อนถึงหาดนราทัศน์ เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม
มัสยิดกลางนราธิวาสนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔
เป็นมัสยิดกลางประจำจังหวัดแห่งที่ ๒ สร้างเป็นอาคาร ๓ ชั้น แบบอาหรับ
ชั้นล่างจะเป็นห้องประชุมใหญ่ ห้องทำละหมาดอยู่ ๒ ชั้นบน ยอดเป็นโดมขนาดใหญ่
มีหอสูงสำหรับส่งสัญญาณอาซานเรียกชาวมุสลิมเข้ามาละหมาด
พุทธอุทยานเขากง (วัดเขากง-พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล)
มีเนื้อที่ ๑๔๒ ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลลำภู
จากตัวเมืองใช้เส้นทางนราธิวาส-ระแงะ (ทางหลวงหมายเลข ๔๐๕๕) ประมาณ ๙ กิโลเมตร
จะมองเห็นวัดเขากง
และพระพุทธรูปทักษิณมิ่งมงคลสีทองปางปฐมเทศนาขัดสมาธิเพชรอยู่บนยอดเขา
เป็นศิลปะสกุลช่างอินเดียตอนใต้ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ แล้วเสร็จในปี พ.ศ.
๒๕๑๒ องค์พระเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกสีทอง หน้าตักกว้าง ๑๗ เมตร
ความสูงวัดจากพระเกศบัวตูมถึงบัวใต้พระเพลา ๒๔ เมตร
จัดเป็นพระพุทธรูปกลางแจ้งที่งดงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้
เนินเขาลูกถัดไปมีเจดีย์สิริมหามายาซึ่งเป็นทรงระฆัง เหนือซุ้มประตูทั้ง ๔
ทิศมีเจดีย์รายประดับอยู่ ภายในประดิษฐานพระพรหม
บนยอดสุดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันศักดิ์สิทธิ์
เนินเขาถัดไปอีกลูกหนึ่งเป็นที่ตั้งของอุโบสถ
ผนังด้านนอกทั้งสี่ด้านประดับกระเบื้องดินเผาแกะสลัก
ด้านหลังเป็นรูปช้างหมอบถวายดอกบัว หน้าบันเป็นรูปนักรบมีเทวดาถือคนโทถวาย
พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ตั้งอยู่บนเขาตันหยงมัส ตำบลกะลุวอเหนือ
ด้านริมทะเลใกล้กับอ่าวมะนาว ห่างจากตัวจังหวัดนราธิวาสตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๘๔ (นราธิวาส-ตากใบ) เป็นระยะทาง ๘ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๓๐๐ ไร่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙)โปรดเกล้าฯให้ก่อสร้างขึ้น
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ ภายในเขตพระราชฐานประกอบด้วย
พระตำหนักของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
และของพระบรมวงศานุวงศ์ ตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิดทำให้มีบรรยากาศร่มรื่น
ยังมีศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งเป็นแหล่งฝึกงานพร้อมทั้งจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิก
พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ทุกวันระหว่างเวลา
๘.๓๐๑๖.๓๐ น. เว้นเฉพาะช่วงที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานมาประทับแรมเท่านั้น
ซึ่งปกติจะเป็นช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม
การเดินทาง
สามารถนั่งรถโดยสารประจำทางเส้นที่ไปอำเภอตากใบ และลงที่หน้าพระตำหนักได้เลย
อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลกะลุวอเหนือ ตามทางหลวงหมายเลข ๔๐๘๔ (นราธิวาส-ตากใบ) ประมาณ
๓ กิโลเมตร และมีทางแยกไปสู่หาดอีก ๓ กิโลเมตร
เป็นชายหาดที่ยาวต่อเนื่องจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจังหวัดปัตตานี
เป็นโค้งอ่าวเชื่อมต่อกัน ยาวประมาณ ๔ กิโลเมตร มีโขดหินคั่นสลับโค้งหาดเป็นระยะ
ด้านหนึ่งติดพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ บริเวณริมหาดมีสวนรุกขชาติ
และทิวสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายหาด (beach forest)
ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร พันธุ์ไม้ที่พบจะเป็นไม้ที่ชอบความแห้งแล้ง เช่น จักทะเล
มะนาวผี เตยทะเล (ผลมีหน้าตาคล้ายสับปะรด) เป็นต้น
หากใครอยากพักค้างคืนมีบ้านพักของเอกชนในบริเวณใกล้เคียงให้บริการ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง
จัดตั้งขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ที่จะเป็นแหล่งรวมการศึกษา สาขาวิชาต่างๆ
ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาที่ดินทำกินแก่ราษฎรในพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ คือ
วิเคราะห์ ทดลอง ทดสอบการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ให้ข้อมูลวิชาการ และฝึกอบรมการเกษตร
เนื้อที่ศูนย์ทั้งหมด ๑,๗๔๐ ไร่ ถูกแบ่งเป็น อาคารสำนักงาน แปลงสาธิต
และแปลงวิจัยทดลองในพื้นที่ป่าพรุ โครงการในพระราชดำริ เช่น โครงการแกล้งดิน
คือการทดลองทำให้ดินในนาข้าวเปรี้ยวที่สุด และหาวิธีแก้ไข
เพื่อที่จะนำไปปรับใช้กับดินเปรี้ยวในพื้นที่ต่างๆได้ทุกที่ โครงการอื่นๆของศูนย์
เช่น
โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ที่นำมาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพพื้นที่นี้ซึ่งมีน้ำมากพออยู่แล้ว
การทดลองปลูกปาล์มน้ำมันที่ขึ้นในดินอินทรีย์จัด
โดยมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กครบวงจร
ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่เข้ามาดูแลผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมัน เช่น
น้ำมันที่สกัดได้จากปาล์ม สบู่ เนย ส่วนหนึ่งขายให้คนงาน และส่วนหนึ่งจำหน่ายภายนอก
โรงงานปศุสัตว์ทำบ่อก๊าซชีวภาพจากมูลวัว
การทดลองนำระกำหวานมาปลูกเป็นพืชแซมในสวนยางพารา เป็นต้น
ไม่ใช่เฉพาะงานทางด้านเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียวทางศูนย์ยังเปิดศูนย์ฝึกอบรมงานหัตถกรรมจากกระจูดและใบปาหนันในวันเวลาราชการ
การมาศึกษาหาความรู้ที่นี่ยังได้ความเพลิดเพลินไปด้วย
ดังพระราชดำริที่จะให้การมาดูงานที่นี่เหมือนการมาพักผ่อนหย่อนใจในสวนสาธารณะ
ทั้งนี้มีนิทรรศการของศูนย์ฯจัดทุกเดือนกันยายน ซึ่งตรงกับเทศกาลของดีเมืองนราพอดี
การเดินทาง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ
ตั้งอยู่ระหว่างบ้านพิกุลทองและบ้านโคกสยา ตำบลกะลุวอเหนือ
ห่างจากพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ประมาณ ๑ กิโลเมตร
และห่างจากตัวเมืองนราธิวาสตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘๔ นราธิวาส-ตากใบ ระยะทาง ๘
กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๗๓๕๔ ๒๐๖๒-๓
หมู่บ้านยะกัง
เป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งนราธิวาสยังเป็นหมู่บ้านบางนรา
ปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตผ้าปาเต๊ะ หรือผ้าบาติก ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด
อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปตามทางหลวงสาย ๔๐๕๕ (อำเภอเมือง-อำเภอระแงะ)
ระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตร เลี้ยวเข้าถนนยะกัง ๑ ซอย ๖ ประมาณ ๗๐๐ เมตร
หมู่บ้านทอน ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกเตียน
ห่างจากตัวเมืองตามเส้นทางนราธิวาส-บ้านทอน (ทางหลวง ๔๑๓๖) ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร
เป็นหมู่บ้านชาวประมงไทยมุสลิม เป็นแหล่งผลิตเรือกอและทั้งของจริงและจำลอง
เรือกอและจำลองมีราคาตั้งแต่หลักร้อยไปถึงหลักหมื่น แต่คุณค่าไม่ได้อยู่แค่นั้น
เพราะคนที่ทำนั้นบางคนเป็นเด็กมีตั้งแต่อายุ ๑๓ ปีขึ้นไป
เด็กบางคนในหมู่บ้านจะใช้เวลาว่างมานั่งหัดทำเรือกอและ ศิลปะพื้นบ้านของพวกเขาเอง
นอกจากเรือท่านอาจจะได้ความอิ่มใจกลับไปด้วยหากได้เห็นความสนอกสนใจของพวกเขาที่มีต่องานศิลปะเช่นนี้
นอกจากนั้นยังมีผลิตภัณฑ์จากกระจูดและใบปาหนัน เช่นซองใส่แว่น กระเป๋า
ไปจนถึงเสื่อที่มีลวดลายและสีสันสวยงามลงตัว หากรักษาดีๆ จะมีอายุการใช้งานถึง ๑๐
ปี ระดับราคาของผลิตภัณฑ์ต่างๆไม่แพงนักตั้งแต่ ๓๐ บาท ไปจนถึงหลักร้อย
และที่นี่ยังเป็นแหล่งผลิตน้ำบูดู
และข้าวเกรียบปลาที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย
ตลอดแนวหาดจะเห็นแผงตากปลาเรียงรายอยู่ มีตุ่มซีเมนต์ใส่บูดูจำนวนมาก
นักท่องเที่ยวสามารถแวะมาชมวิธีการผลิตและซื้อของฝากได้ทุกวันแต่ปกติในบ่ายวันศุกร์ชาวบ้านมักจะไปทำละหมาดและพักผ่อน
ซึ่งไม่สะดวกนักหากจะแวะมาเวลานี้
เรือกอและ เป็นเรือประมงชายฝั่งขนาดเล็ก
ที่ใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง ลักษณะเป็นเรือลำใหญ่ มีความยาว ๒๕, ๒๒ และ ๒๐
ศอก
ลักษณะการสร้างเรือจะทำให้ส่วนหัวและท้ายเรือสูงขึ้นจากลำเรืออันเป็นเอกลักษณ์มาช้านาน
ลวดลายบนลำเรือกอและเป็นการผสมผสานระหว่างลายมลายู
ลายชวาและลายไทยโดยมีสัดส่วนของลายไทยอยู่มากที่สุดเช่น ลายกนก ลายบัวคว่ำบัวหงาย
ลายหัวพญานาค หนุมานเหิรเวหา รวมทั้งลายหัวนกในวรรณคดี เช่น บุหรงซีงอ หรือ สิงหปักษี
(ตัวเป็นสิงห์ หรือราชสีห์ หัวเป็นนกคาบปลาไว้ที่หัวเรือ)
เชื่อกันว่ามีเขี้ยวเล็บและมีฤทธิ์เดชมาก ดำน้ำเก่ง
จึงเป็นที่นิยมของชาวเรือกอและมาแต่บุร่ำบุราณ งานศิลปะบนลำเรือเสมือน
วิจิตรศิลป์บนพลิ้วคลื่น
และเป็นศิลปะเพื่อชีวิตเพราะเรือกอและมิได้อวดความอลังการของลวดลายเพียงอย่างเดียว
ทว่ายังเป็นเครื่องมือในการจับปลาเลี้ยงชีพชาวประมงด้วย
กล่าวกันว่าลูกแม่น้ำบางนราไม่มีเรือกอและหาปลาก็เหมือนไม่ใส่เสื้อผ้า
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวหาดนราทัศน์
นราธิวาส/Information of NARATHIWAT Naratat Beach This area, near the estuary of the Bangnara River, comprises a broad and extensive pine-lined beach with white sand. Several beachside restaurants serve native-style cuisine, and accommodation facilities are available.
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
นราธิวาส แผนที่จังหวัดนราธิวาส
include("../head.html");?>
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอตากใบ
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอบาเจาะ
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสุไหงปาดี
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสุไหงโกลก
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง
แผนที่จังหวัดนราธิวาส/map of NARATHIWAT
โรงแรมจังหวัดนราธิวาส/Hotel of NARATHIWAT
include("../foot.html");?>