ประวัติวัดสังฆทาน
วัดสังฆทานได้ ลงทะเบียนไว้กับ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๐/๑
บ้านบางไผ่น้อย หมู่ที่ ๓ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม แวดล้อมไปด้วยสวนของราษฎร มีปูชนียวัตถุ
คือ พระประธานนามว่า "หลวงพ่อโต"
ความเป็นมาเนื่องจากวัดสังฆทานเป็นวัดร้างนับเป็นร้อยๆปีขึ้นไปการจดบันทึกไม่มี
มีเพียงการเล่าต่อถึงความศักดิ์สิทธิ์เท่านั้นดังนั้น
จึงได้มีการวิเคราะห์จากหลักฐานพุทธลักษณะ
จากองค์หลวงพ่อโตกระเบื้องเชิงชายหน้าอุดของหลังคาอุโบสถหลังเก่า
และอิฐที่สร้างองค์พระกับฐานอุโบสถกระเบื้องเชิงชาย
หรือกระเบื้องหน้าอุดเป็นหลักฐานอันสำคัญชิ้นหนึ่งที่ค้นพบและ
เก็บรักษาไว้ในวัดสังฆทานหลักฐานชิ้นนี้ใช้เป็นกระเบื้องประดับตกแต่งเชิง
ชายบนหลังคาอุโบสถสืบทอดจนถึงปัจจุบัน
จะ พบเห็นทั่วไปตามวัดหลวงใช้ประกอบกับกระเบื้องกาบกล้วยเพื่ออุดรูไม่ให้นกหนู
เข้าไปทำรังลักษณะกระเบื้องเชิงชายหน้าอุดของวัดสังฆทานมีลวดลายดอกบัวที่
คลี่คลายปรับเปลี่ยนมาเป็นลายกนกท้ายที่สุดเป็นลายประเภทใบไม้๓แฉกซึ่งเป็น
เค้าโครงดั้งเดิมของดอกบัวทำด้วยดินเผาสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่๒๑๒๒
วัด สังฆทานจะมีประเพณีทำบุญสงกรานต์ และสรงน้ำพระในเดือนเมษายน (วันที่
๑๓-๒๐เมษายน)ทุกปี พร้อมทั้งเปลี่ยนผ้าห่ม องค์พระหลวงพ่อโตผ้าห่มที่ถูกเปลี่ยน
จะนำมาฉีกแบ่งกันไปผูกข้อมือผูกคอชาวบ้านถือว่าศักดิ์สิทธิ์การบน หลวงพ่อโต
มักโดยจะบนด้วยการจุดปะทัดเป็นเครื่องแก้บน "สังฆทาน"
จึงกลายเป็นชื่อของวัดมาแต่เดิม
กว่าจะมาเป็นอุโบสถแก้ว
ปี๒๕๑๑ หลวงพ่อสนองพบวัดสังฆทานร้างอยู่กลางสวนมีเพียงหลวงพ่อโตกับศาลาไม้มุง
สังกะสีเก่าๆบนที่ไร่เศษพิจารณาแล้วว่าที่นี่เหมาะแก่การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ตามแนวทางธุดงคกรรมฐานเนื่องด้วยอยู่ใกล้แหล่งของผู้มีกำลังและปัญญาที่
สามารถช่วยศาสนาได้ดีในอนาคตท่านจึงตัดสินใจที่จะอยู่ที่นี่แต่ขณะนั้นท่าน
คิดว่าตนเองยังมีบารมีไม่เพียงพอที่จะเป็นผู้นำที่นี่ได้ด้วยเหตุผลที่ว่า
ที่นี่ไม่เหมือนที่อื่นการจะเข้ามาทำอะไรนั้นทำได้ยาก
จะต้องให้เขาเห็นดีให้เขาเข้าใจเพราะเป็นการเผยแผ่ธรรมะให้กับผู้มีปัญญา ท่าน
จึงตั้งใจกลับไปปฏิบัติธรรมในถ้ำหมีและถ้ำกระเปาะอีก ๖ ปี
ปี ๒๕๑๗ หลวงพ่อสนองกลับมาวัดสังฆทานอีกครั้งเพื่อจำพรรษา รวมกับพระอีก ๕ รูป
ด้วยปฏิปทาตามหลักธุดงคกรรมฐาน ชาวบ้านบางคนตั้งข้อหาว่าเป็นพระคอมมิวนิสต์
ความเป็นอยู่จึงลำบาก ถูกข่มขู่ด้วยปืนและปาระเบิด
บิณฑบาตเกือบไม่ได้เมื่อนำอาหารมาเทรวมกันก็มีน้อยมากทุกรูปไม่ยอมตักอาหาร
ใส่บาตรหลวงพ่อต้องเป็นผู้ตักใส่บาตรให้น้ำดื่มต้องตักจากบ่อเก่ามาต้มฉัน
ไม่มีน้ำปานะ ไม่มีไฟฟ้า
ปี ๒๕๑๘ หลวงพ่อสนองไปรับพระอาจารย์พลอยเตชพโลวัดเขาภูคามาช่วยเป็นหัวหน้าช่าง
ในการบูรณะองค์หลวงพ่อโต
พร้อมพระเณรประมาณสิบกว่ารูปรวมทั้งชาวบ้านการบูรณะที่แขนชำรุดมากต้องเอา
แป๊บน้ำใส่แล้วโบกปูนทับ
ส่วนที่ใดเนื้อปูนยุ่ยก็ขูดออกแล้วโบกปูนทับนำปูนเก่ามาผสมปั้นเป็นหลวงพ่อ
สังกัจจายน์ (พระมหากัจจายนะ)
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของศาลาหลวงพ่อโต
ใน วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ หลวงพ่อสนองดำริให้รื้อถอนศาลา เพื่อจะสร้างโบสถ์ใหม่
เนื่องด้วยศาลาหลวงพ่อโตมีความชำรุดทรุดโทรมและคับแคบไม่เพียงพอที่จะรองรับ
จำนวนพระภิกษุสามเณรและผู้เข้ามาปฏิบัติธรรมได้นอกจากนี้หลังคาสังกะสีเวลา
ฝนตกจะมีเสียงดังมากหน้าร้อนก็จะร้อนมากดังนั้นพระภิกษุผ้าขาวและชาวบ้านจึง
ช่วยกันรื้อถอนแม้กระทั่งชาวอังกฤษที่เพิ่งเดินทางมาถึงก็ร่วมช่วยด้วย
รูปแบบของโบสถ์
ที่ หลวงพ่อจะให้สร้างขึ้นใหม่นั้นเป็นรูปทรงแปดเหลี่ยมทำด้วยกระจกทั้งหมดและ
กำหนดเวลาการก่อสร้างเป็นเวลาปีครึ่งโดยท่านตั้งจุดประสงค์ว่าโบสถ์ของวัด
สังฆทานต้องเป็นโบสถ์ที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดและถูกต้องตามความเป็น จริง
ขนาดของโบสถ์ต้องจุคนได้ ๖๐๐ คน
เมื่อแบบจำลองของโบสถ์ออกมาก็ถูกวิจารณ์ว่าทำไมโบสถ์จึงเป็นแก้วแปดเหลี่ยม
ไม่ใช่ทรงไทยที่มีช่อฟ้า ใบระกาหลวงพ่อสนองได้ให้เหตุผลว่า
๑. หลวงพ่อโตองค์ใหญ่มากมีความสูงหลายเมตรถ้าสร้างโบสถ์เป็นแบบทรงไทยต้องสร้าง
ให้เศียรหลวงพ่อโตต่ำกว่าขื่อต่ำกว่าอกไก่ โบสถ์ต้องใหญ่มากต้องรับน้ำหนักมาก ทำ ๒
ชั้นก็ไม่เหมาะ เพราะต้องการประหยัดพื้นที่ แต่ถ้าทำเป็นรูปเจดีย์แล้ว
สามารถให้หลวงพ่อโตอยู่ตรงกลาง หรือตรงริมก็ได้ หลวงพ่อโตก็จะดูสวยสง่า
และทรงแปดเหลี่ยมสมมุติเป็นมรรคองค์แปด
๒. การสร้างโบสถ์ทรงไทยต้องลงทุนมากกว่าร้อยล้านบาทขึ้นไปจึงจะเสร็จแต่โบสถ์
แก้วใช้ประมาณ๕๐ล้านบาทสร้างได้๒ชั้นและสามารถสร้างเสร็จได้เร็วกว่า
เนื่องจากทางวัดจำเป็นต้องใช้โบสถ์ในการอุปสมบทหมู่ จุพระเป็นร้อย บรรพชาสามเณรปีละ
๓๐๐ รูป มีการประชุมพระครั้งละสองสามร้อยรูป โบสถ์นี้สามารถจุคนได้ถึง ๖๐๐ คน
ด้านล่างใช้เป็นสำนักงาน ห้องเทป ห้องมูลนิธิ ห้องสมุด ฯลฯ มีประโยชน์อเนกประสงค์
ปี ๒๕๓๗ หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโกวางศิลาฤกษ์โบสถ์แก้วตรงกับวันมาฆบูชาที่
๒๕กุมภาพันธ์ เวลา ๐๒.๔๖ น. คณะพระภิกษุ-สามเณรจากวัดสังฆทาน วัดทุ่งสามัคคีธรรม
และวัดสาขาของวัดสังฆทานทั้งหมดใขณะนั้น ๑๗ สาขา เป็นจำนวนกว่า ๒๐๐ รูป
รวมทั้งสาธุชนจำนวนมากได้พร้อมใจกันน้อมจิตอธิษฐาน ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ ภาวนา
เวียนเทียนรอบองค์หลวงพ่อโต
ถึง วันนี้ โบสถ์แก้วได้ตั้งตระหง่านภายในเขตสีมาวัดสังฆทาน
กำลังรอสายธารศรัทธาจากสาธุชนทั่วทุกสารทิศ เพื่อโบสถ์แก้วหลังนี้จะได้เป็นศาสนสมบัติอันถาวรเป็นที่อุปสมบทแห่งกุลบุตร
ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาสืบไป
เบอร์ที่ใช้ในวัดสังฆทาน
สถานีโทรทัศน์พุทธภูมิ โทร. 0-2496-1160-9 แฟกซ์ : 0-2496-1170
สถานีวิทยุสังฆทานธรรม โทร. 0-2443-0341-2 แฟกซ์ : 0-2443-0338
สำนักงานวัดสังฆทาน โทร. 0-2496-1240-42 แฟกซ์ : 0-2496-1243
รับสมัครบวชเนกขัมมะ โทร. 0-2496-1240-42 ต่อ 130
สังฆทานนิวส์ โทร. 0-2447-1766 แฟกซ์ : 0-2447-1766