www.dooasia.com > จังหวัดนนทบุรี >วัดชมภูเวก/Wat Chomphuwek วัดชมภูเวก/ Wat Chomphuwek วัดชมภูเวก
ทั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ บ.บางกระสอ ต.ท่าทราย
อ.เมือง จ.นนทบุรี สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2300 บริเวณเนินอิฐอันเป็นซากโบราณสถาน
ที่มีอยู่เดิม โดยชาวมอญที่อพยพหนีพม่ามาตั้งรกรากอยู่ตรง
บริเวณนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดิมมีชื่อว่า วัดชมภูวิเวก
เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เงียบสงบ และมีเนินดิน ที่ตั้งโบราณสถานเดิม ต่อมาคำว่า
วิ หายไป คงเหลือแต่เพียงชมภูเวกมาจนถึงทุกวันนี้
เป็นวัดที่มีความสำคัญมากในสมัยก่อน เล่ากันว่าเป็นวัดศูนย์กลาง
ของชาวไทยเชื้อสายมอญ เมื่อถึงฤดูเทศกาลต่างๆ
จะมีชาวไทยเชื้อสายมอญจากหัวเมืองทั่วประเทศพากันรอนแรมมาทำบุญและสักการะพระมุเตา
พระเจดีย์ทรงมอญ อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่นำมาจากเมืองมอญกันเป็นประจำ
ในทางศิลปะวัดชมภูเวกได้ชื่อว่าเป็นเพชรน้ำหนึ่งของชาวนนทบุรี
และเป็นมรดกสำคัญอันน่าภาคภูมิใจของชาติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุโบสถที่มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก แต่สร้าง แบบมหาอุต คือ มีประตูเดียว
ใช้ผนังรับน้ำหนัก ปลายผนังสอบเข้าหากันเล็กน้อย ไม่มีเสา มีแต่เสารับชายคาพาไล
ซึ่งเป็นแบบที่หาดูได้ยากในสมัยนี้ ถือกันว่าอุโบสถแบบนี้
สามารถกระทำพิธีปลุกเสกของขลังได้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง นอกจากนี้
หน้าบันและซุ้มประตูยังมีลวดลายปูนปั้นแบบโรโคโค
เป็นลายพรรณพฤกษาประดับด้วยเครื่องลายคราม และเบญจรงค์
ส่วนลวดลายตกแต่งบางส่วนได้รับอิทธิพลจากงานจำหลักไม้ ของจีน
สิ่งที่สำคัญที่สุดในอุโบสถหลังเก่า คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะพิเศษซึ่งเป็นของสกุลช่างนนทบุรี
แตกต่างจากงานเขียนภาพในที่อื่นๆ คือ เขียนด้วยเส้นบางๆ
โครงสีส่วนรวมเป็นสีเดียวกัน พื้นภาพเป็นสีพื้นอ่อนๆ ได้รับ
อิทธิพลจากพม่ามาผสมผสานกัน มีทั้งภาพพุทธประวัติ และทศชาติชาดก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ภาพแม่พระธรณีบีบมวยผม ในพุทธประวัติ ตอนมารผจญ ด้านหน้าพระประธาน
แสดงให้เห็นถึงลักษณะศิลปะชั้นสูง ฝีมือชั้นครู ซึ่งมีความงดงามอ่อนช้อย
และให้ความรู้สึกเหนือธรรมชาติ ประดุจภาพทิพย์ที่เบาเสมือนลอยอยู่ในอากาศ จนอาจารย์
อาภรณ์ ณ สงขลา จิตรกรผู้เชี่ยวชาญของกรมศิลปากร
ได้บันทึกไว้เมื่อครั้งมาสำรวจเพื่อหาทางซ่อมแซมบูรณะว่า
เรายกย่องและรับรองกันว่าเป็นแบบอย่างแม่พระธรณีที่งาม ที่สุดในโลก นอกจากนี้
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี คณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
ในขณะนั้น ได้เห็นความสำคัญและแนะนำว่า สมควรจะถ่ายภาพเขียนส่วนที่ยังเหลืออยู่
ก่อนที่ภาพเขียนเหล่านี้ จะสูญสิ้นไป
ส่วนภาพจิตรกรรมอื่นๆ ภายในอุโบสถก็สวยงามน่าชม ไม่แพ้กัน เช่น
ผนังด้านหลังเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า สองพระองค์ประทับนั่งสมาธิ
ผนังด้านข้างทั้งสองตอนบน เป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าประทับบนบัลลังก์ มีสาวกเฝ้า
ทั้งสองข้าง ผนังระหว่างช่องประตูกับหน้าต่างเป็นภาพทศชาติชาดก
โบราณสถานที่สำคัญภายในวัดที่น่าชมยังมีอีกหลายแห่ง เช่น พระมุเตา พระเจดีย์ทรงมอญ
ซึ่งเล่ากันว่า ชาวมอญทีอพยพมาได้พบเนินดิน ที่เชิงเนินดินก่อด้วยอิฐสีแดงขนาดใหญ่
เห็นว่าที่แห่งนี้คงจะเป็นศาสนสถานหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาก่อน ถือเป็นสิริมงคล
และเป็นสถานที่ใกล้แหล่งน้ำ จึงได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน
และสร้างพระมุเตาขึ้นเป็นที่สักการะทับลงบนซากโบราณสถานที่เหลือแต่ฐานอิฐก่อนั้น
ต่อมาเมื่อพระมุเตาชำรุดทรุดโทรมลง พระมอญได้เดินทางมาบูรณะเมื่อปี พ.ศ.2460
ได้เพิ่มให้สูงใหญ่กว่าเดิม และทำมงกุฎสวมให้ที่ยอดของพระมุเตาอย่างงดงาม
พร้อมกับสร้างพระเจดีย์ขึ้นที่มุมฐาน ทั้ง 4 ทิศ ประดับมงกุฎที่ยอดเช่นเดียวกัน
เป็นศาสนสถานที่ ชาวไทยเชื้อสายมอญต่างพากันมากราบไหว้เป็นประจำ
นอกจากนี้ยังมีวิหาร ด้านหลังอุโบสถ ซึ่งมีความสำคัญ เช่นเดียวกัน เป็นศิลปะแบบมอญ
เดิมเป็นสถานที่ ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ผนังวิหารเป็นแนวตั้งตรง
ผิดกับผนังอุโบสถที่สอบเข้า หน้าบันมีลวดลายปูนปั้นเป็น แบบพรรณพฤกษารูปใบไม้
ดอกไม้ ประด้วยถ้วยชามลายครามและเบญจรงค์
เป็นที่น่าเสียดายที่ปัจจุบันนี้หลุดหายไปเป็น จำนวนมาก
ผนังด้านในทุกด้านตกแต่งด้วยภาพเขียนสีเป็น
เรื่องราวในพุทธประวัติที่ลบเลือนไปมากแล้ว ส่วนรอยพระพุทธบาทจำลองเป็นโลหะสัมฤทธิ์
นำมาครั้งการอพยพ ประดิษฐานบนแท่นศิลาสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ซึ่งมีจารึกอักษรขอมโบราณประมาณ พ.ศ.1800 เรื่องญาณ 3 และอาการ 12 ซึ่งศาสตราจารย์
ร้อยตำรวจโท แสง มนวิฑูร ผู้เชี่ยวชาญอักษรขอมโบราณแห่งกรมศิลปากร เป็นผู้แปล
นับเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้า
สัญลักษณ์ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง คือ เสาหงส์ ซึ่งชาวมอญ
ถือว่าหงส์เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคาเมืองมอญมาแต่ดึกดำบรรพ์
จนมีเมืองชื่อว่าหงสาวดีปรากฏอยู่ในพม่าเวลานี้ และเมื่อมีการสร้างวัดครั้งใด
จึงต้องมีเสาหงส์อยู่ทุกวัด นอกจากนี้ยังมี ศาลท่านพ่อปู่ศรีชมภู
ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้นำหัวหน้ามอญ อพยพหนีพม่ามายังที่แห่งนี้
และพระปรางค์สถูปบรรจุ อัฐิหลวงพ่อฟ้าผ่า อดีตพระราชาคณะสงฆ์ฝ่ายรามัญ
ที่ชาวบ้านเชื่อถือ และพากันมากราบไหว้เป็นประจำ
วัดชมภูเวกเป็นวัดที่เงียบสงบ ร่มรื่นไปด้วยไม้ใหญ่
มีโบราณสถานอันทรงคุณค่าน่าศึกษา ศิลปะมอญที่หาชมได้ยาก
ภาพแม่พระธรณีบีบมวยผมที่สวยที่สุดในโลก และวิถีชีวิตของ
ชาวเมืองที่อยู่รอบบริเวณวัด ล้วนเป็นสิ่งที่ทุกคนควรหาโอกาส เดินทางไปชม
ซึ่งในระหว่างวันที่ 24 30 กันยายน 2551 สำนักงานการท่องเที่ยว
และกีฬาจังหวัดนนทบุรี ได้จัดสัปดาห์ การท่องเที่ยววัดชมภูเวกขึ้น
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจ เข้าเยี่ยมชมความงามของวัดมอญโบราณแห่งนี้
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยววัดชมภูเวก
นนทบุรี/Information of NONTHABURI Wat Chomphuwek (วัดชมภูเวก) Located in the vicinity of Tambon Tha Sai, Amphoe Muang, on Sanan Bin Nam-Nonthaburi Road. There are beautiful mural paintings in the Vihara and Ubosot, as well as the Mon style pagodas.
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
นนทบุรี แผนที่จังหวัดนนทบุรี เกาะเกร็ด ตลาดน้ำบางคูเวียง วัดสังฆทาน วัดไผ่ล้อม วัดสวนแก้ว
include("../head.html");?>
แผนที่จังหวัดนนทบุรี/map of NONTHABURI
โรงแรมจังหวัดนนทบุรี/Hotel of NONTHABURI
include("../foot.html");?>