www.dooasia.com > จังหวัดเพชรบุรี > เขื่อนแก่งกระจาน
/Kaeng Krachan Dam เขื่อนแก่งกระจาน/ Kaeng Krachan Dam
เพชรบุรี เป็นเมืองเก่าแก่
เคยเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญชั้นเมืองลูกหลวงของไทยมาช้านาน
และมีชื่อเสียงเลื่องลือ
หลายด้านนอกจากจะเคยเป็นเมืองที่ประทับของอดีตพระมหากษัตริย์แห่งราชวงค์จักรี
ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่ง
ซึ่งรวมทั้งเขื่อนเพื่อการชลประทานและผลิตไฟฟ้าที่สำคัญและมีความงดงาม
นั่นคือ เขื่อนแก่งกระจาน
ลักษณะเขื่อน
เขื่อนแก่งกระจานกั้นแม่น้ำเพชร
ที่บริเวณเขาเจ้า และเขาไม้รวกประชิดกับ
ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน
จังหวัดเพชรบุรี
อยู่ทางด้านเหนือน้ำของเขื่อนเพชรขึ้นไปตามถนน
27 กิโลเมตร เป็นเขื่อนดิน สูง 58 เมตร
สันเขื่อนยาว 760 เมตร กว้าง 8 เมตร
ระดับสันเขื่อน 106 เมตร รทก.(ระดับน้ำทะเลปานกลาง)
นอกจากนี้
ยังมีเขื่อนดินปิดเขาต่ำทางขวางเขื่อนอีก 2
แห่ง คือ แห่งแรกสูง 36 เมตร สันเขื่อนยาว 305
เมตร แห่งที่ 2 สูง 24 เมตร สันเขื่อนยาว 255
เมตร เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้น
อ่างเก็บน้ำ
มีพื้นที่ 46.5 ตารางกิโลเมตร
ความจุ 710 ล้านลูกบาศก์เมตร
ประโยชน์
เขื่อนแก่งกระจานเป็นเขื่อนอเนกประสงค์
ประโยชน์ที่ได้จากเขื่อนมีหลายประการ คือ
เขื่อนแก่งกระจานสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 19,000
กิโลวัตต์ ให้พลังงานเฉลี่ยประมาณ ปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
สามารถขยายพื้นที่ชลประทานของ โครงการเพชรบุรี
ซึ่งเดิมมีอยู่จำนวน 214,000 ไร่ เพิ่มเป็น 336,000 ไร่
และเพื่อการเกษตร การเพาะปลูกในฤดูแล้งได้ 174,000 ไร่
รวมทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภค บริโภค
ตั้งแต่ปากอ่าวเพชรบุรี จนถึงหัวหินให้หมดไป และช่วยบรรเทาอุทกภัย
ในทุ่งเพชรบุรีด้วย
เป็นแหล่งส่งเสริมการประมง
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี
เ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
เป็นอุทยานที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีพื้นที่ถึง 2,915
ตารางกิโลเมตร หรือ 1.8 ล้านไร่ ได้รับการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2524
โดยกำหนดพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำและป่าเหนือเขื่อนแก่งกระจานเป็นเขตอุทยานฯ
เป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานฯ
เป็นภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ในเทือกเขาตะนาวศรี สภาพภูมิประเทศเป็นป่าดิบชื้น
ยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานฯ คือยอดเขางะงันนิกยวงตอง
อยู่ในเขตรอยต่อประเทศพม่าและไทย มีความสูง 1,513 เมตร
รองลงมาคือยอดเขาพะเนินทุ่ง ซึ่งมีความสูง 1,207 เมตร
จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากสันเขื่อนแก่งกระจาน
มีถนนเลียบออกมาทางซ้ายมือเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ
สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ
ทะเลสาบ มีเนื้อที่ประมาณ 45 ตารางกิโลเมตร
มีเกาะกลางแม่น้ำอยู่มากมายหลายเกาะ
นักท่องเที่ยวที่ต้องการจะล่องเรือชมทิวทัศน์เพื่อพักผ่อนหรือตกปลาน้ำจืดในทะเลสาบ
ก็สามารถเช่าเรือได้ที่ร้านอาหารหรือชมรมเรือที่อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ
เขาพะเนินทุ่ง เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของอุทยานฯ
ในเขตประเทศไทยอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 50 กิโลเมตรเป็นภูเขาสูง
มีบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้ากว้าง ในระดับความสูง 960 เมตร
จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณโดยรอบเป็นป่าดิบเขา มีสัตว์ป่าชุกชุม
มีทิวทัศน์งดงาม จากยอดเขาสามารถเห็นทะเลหมอกในช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาว
การเดินทางต้องใช้เวลา 2 วัน พักค้างแรม 1 คืนระหว่างทาง
และติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทาง อาหารและเต็นท์สำหรับพักค้างแรมไปเอง
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว และมีสถานที่กางเต็นท์บริเวณอ่างเก็บน้ำ
บริเวณเขาพะเนินทุ่ง และบริเวณแค้มป์บ้านกร่าง อุทยานฯ
มีเต็นท์ให้เช่าราคาหลังละ 100 บาท/คืน
ค่าธรรมเนียมในการใช้สถานที่กางเต็นท์ 30 บาท/คืน
สามารถติดต่อจองที่พักได้ที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-7223,
579-5734 หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวแก่งกระจาน
โทร. (032) 459293
การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35
ถึงอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 4
ผ่านแยกเข้าตัวเมืองเพชรบุรี จะถึงสี่แยกท่ายาง เลี้ยวขวาเข้าอำเภอท่ายาง
จากนั้นวิ่งไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน ตามทางหลวงหมายเลข 3499
ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ก็จะถึงอำเภอแก่งกระจาน จากปากทางเข้าอุทยานฯ
อีก 4 กิโลเมตรจะถึงที่ทำการอุทยานฯ และหากเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง
จะมีรถสายกรุงเทพฯ-ท่ายาง ลงที่ตลาดท่ายาง
จากนั้นต่อรถสองแถวไปตลาดแก่งกระจาน และต่อรถรับจ้างหรือจักรยานยนต์ไปอีก 4
กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ
ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก
http://www.twineye2002.com
เขื่อนแก่งกระจาน
เขื่อนแก่งกระจาน
เป็นเขื่อนดิน อยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
จังหวัดเพชรบุรี เหมาะแก่การพักผ่อนแบบแค้มป์ปิ้ง
หรือผู้ที่ชื่นชอบการตกปลา ก็สามารถเข้ามาตกปลาได้
ลักษณะการพักผ่อนแบบสบายๆ
การเดินทาง
การกรุงเทพฯ ใช้เส้นทาง ถ.พระราม2 ขับจนมาถึง ตัวเมืองเพชรบุรี
ให้ขับเลยต่อไปอีก ประมาณ 10 กม. จะเห็นป้ายเขื่อนเพชร
จากจุดนี้เลี้ยวขวา แล้วขับไปตามทางอีกประมาณ 47 กม.
จะมีป้ายบอกทางเป็นระยะ ก็จะถึงเขื่อน
เขื่อนแก่งกระจาน
ถึงสันเขื่อน
เป็นจุดที่น่าแวะชม ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก
ตัวสันเขื่อนจะมีอยู่ 2
ช่วง หลังจากขับรถไปอีกสักพัก ก็จะเจอสันเขื่อนที่ 2
เขื่อนแก่งกระจาน
เขื่อนแก่งกระจาน
ถัดจากสันเขื่อนที่ 2 มาไม่ไกลนัก
ก็จะมาถึงที่ทำการอุทยาน อยู่ทางขวามือ
หลังจากติดต่อเจ้าหน้าที่ แล้วก็หาทำเลกางเต็นท์กันได้เลย
ภาพอีกมุมหนึ่งของลานกางเต็นท์
พระอาทิตย์ใกล้ตกดิน
เขื่อนแก่งกระจาน
เขื่อนแก่งกระจาน
อากาศยามเช้า ณ
ลานกางเต็นท์ดีมากครับ
มองออกไปยังทะเลสาบ
น้ำนิ่งเรียบเป็นกระจก เห็นแล้วน่านั่งเรือออกไปเที่ยว
เขื่อนแก่งกระจาน
เขื่อนแก่งกระจาน
เรือลำนี้แหละที่เราจะนั่งไปกัน
ไม่ต้องกลัวเรื่องความปลอดภัยครับ เพราะมีชูชีพครบทุกคน
สำหรับราคาในการพาชมเขื่อน ก็อยู่ที่ 400 บาท ต่อลำ นั่งได้ ประมาณ
10 คน ถ้าต้องการไปไกลกว่านั้น ก็ตกลงราคากันได้ครับ
หรือเหมาทั้งวันเพื่อตกปลา ก็ต้องติดต่อล่วงหน้าจะดีกว่าครับ
มุมมองจากเรือ
ไปยังสันเขื่อน
เขื่อนแก่งกระจาน
เขื่อนแก่งกระจาน
นั่งเรือเที่ยวนี้
ผ่อนคลายจริงๆครับ
เวิ้งน้ำกว้างกลางทะเลสาบ
เขื่อนแก่งกระจาน
สถานที่กางเต็นท์พักแรม
ทางอุทยานได้เตรียมสถานที่ไว้ให้
พร้อมทั้งห้องน้ำ - ห้องอาบน้ำในบริเวณใกล้เคียง
และยังมีบริการให้เช่าเต็นท์ และเครื่องนอน
สำหรับอาหารการกินถ้าไม่ได้เตรียมไป ก็ยังมีร้านอาหารบริเวณไม่ไกล
จากสถานที่ทำการอุทยานอีกหลายร้าน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สามารถโทรถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โทร.032-459-291,032-459-293
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวเขื่อนแก่งกระจาน
เพชรบุรี/Information of PHETCHABURI Kaeng Krachan Dam เขื่อนแก่งกระจาน The dam is located in the vicinity of Amphoe Tha Yang 53.5 kilometers from Phetchaburi township. There are two accessible roads to the dam, i.e., through Amphoe Tha Yang where one must go for an additional distance of 30 kilometers, or by Highway No. 4 where a right turn is to be made at KM. 186-187 for a distance of 30 kilometers. Kaeng Krachan Dam was completed in the year 1966 having a height of 58 meters, length of 760 meters. The top width is eight meters while the widest part of the base is 250 meters. It can eliminate the water shortage problem in Amphoe Hau Hin through the mouth of the Phetch River area. This dam was constructed because the Phetch Dam cannot store water and when water level in the Phetch River is too high it has to be released uselessly. Therefore, Kaeng Krachan Dam was constructed to store water, then deliver to the Phetch Dam for distribution into the irrigated area.
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เพชรบุรี ชะอำ ที่พักชะอำ บังกะโล ชะอำ ที่พัก ชะอำ หาดชะอำ บ้านพักชะอำ ที่พักหาดชะอำ ชะอำบีช โรงแรม ชะอำ บ้านพัก ชะอำ บ้านพักหาดชะอำ โรงแรมชะอำ บังกะโลชะอำ สวนบวกหาด ชะอำ โรงแรมในชะอำ ชะอำ ที่พัก รีสอร์ทชะอำ โรงแรม-ชะอำ แผนที่ชะอำ สวนบวกหาดชะอำ โรงแรมยูเรเซีย ชะอำ คอนโดหัวหินชะอำ
แผนที่จังหวัดเพชรบุรี/map of PHETCHABURI
โรงแรมจังหวัดเพชรบุรี/Hotel of PHETCHABURI