หมู่บ้านลาวโซ่งหรือไทยดำ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย เป็นกลุ่มชน
ที่อพยพมาจาก หลวงพระบาง ประเทศลาว และยังรักษาวัฒนธรรมประเพณี
ดั้งเดิมเอาไว้ได้ ในวันที่ ๑๐ เมษายนของทุกปี จะมีงานสังสรรค์
และการละเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ
ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก
http://www.codi.or.th
ก้อเฮือนมา
สำบายดีแล้วบ่?
คำกล่าวสวัสดีของชาวลาวโซ่งที่ใช้ทักทายกันเมื่อพบหน้า...
'ชาวไทยทรงดำ?
เป็นชนเผ่าไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่บริเวณดินแดนสิบสองจุไทยในเวียดนามเหนือปัจจุบัน
คนไทยมักเรียกพวกเขาว่า 'ลาวโซ่ง' หรือ 'ไทยโซ่ง'
เนื่องจากอพยพผ่านมาทางประเทศลาว ซึ่งคำว่า ?โซ่ง?
เป็นคำที่ถูกเรียกตามชุดแต่งกายเพราะนุ่งส่วงดำหรือกางเกงสีดำ
ปัจจุบันนิยมเรียกว่า 'ไทยทรงดำ'
ครั้งอดีตสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี(พ.ศ. 2322)
ได้กวาดต้อนไทยดำพร้อมลาวในเวียงจันทน์และเมืองพวนมาอยู่ที่ธนบุรี
ต่อมารัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ลาวเวียงอยู่ที่ จ.ราชบุรี
ลาวพวนอยู่ที่ธนบุรี
และให้ไทยทรงดำไปตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี
และสืบลูกหลานมาเป็นไทยทรงดำเมืองเพชร
ซึ่งตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ในเขตอำเภอเมือง บ้านแหลม บ้านลาด ท่ายาง
หนองหญ้าปล้อง แต่ที่หนาแน่นที่สุดคือที่อำเภอเขาย้อย แถบบ้านห้วยช้าง,
หนองปรง, หนองจิก, ทับคาง, ดอนทราย และหนองชุมพล
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
แม้อิทธิพลจากภายนอกจะเข้ามาครอบงำมากขึ้น
ทำให้คนรุ่นใหม่ต้องปรับตัวไปตามยุคสมัย แต่ชาวไทยทรงดำรุ่นก่อนๆ
ยังคงดำเนินวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและรักษาประเพณีเดิมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
โดยเฉพาะการแต่งกาย
อีกทั้งยังพยายามสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมอันงดงามสู่ลูกหลานคนรุ่นใหม่
ไม่ให้ถูกกลืนไปตามกระแสวัฒนธรรมสมัยใหม่ จนหลงลืมรากเหง้าของตนเอง
นายพนัส ล้วนเมือง กำนันบ้านหนองปลง
จ.เพชรบุรี เล่าว่า ปู่ย่าตายายเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อมาถึงเมืองเพชรบุรี
ประมาณปี พ.ศ. 2322 ได้อพยพจากบ้านท่าแร้งมาอยู่ที่บ้านหนองปลง จ.เพชรบุรี
จนถึงปัจจุบัน
ส่วนใหญ่วิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำบ้านหนองปลงมีวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจากแหล่งที่อยู่เดิมของพวกเรา
ตั้งแต่การทำไร่ ทำนา ถือเป็นอาชีพหลักของชาวไทยทรงดำ
ส่วนวิถีชีวิตด้านอื่นๆ เช่น เรื่องเครื่องนุ่งห่ม การแต่งกาย ภาษา
วัฒนธรรม ยังคงรักษาและสืบทอดจากบรรพบุรุษมาจนถึงปัจจุบัน
แต่พวกเราเริ่มมามีวัฒนธรรมใหม่เกิดขึ้น
โดยการนับถือศาสนาพุทธควบคู่กับการนับถือผีบรรพบุรุษ
จากเมื่อก่อนจะนับถือผีบรรพบุรุษอย่างเดียว
"การนับถือผีบรรพบุรุษเกี่ยวโยงในด้านความเชื่อ เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดมา
เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การดำรงอยู่ของชาวไทยทรงดำสูญเสียวัฒนธรรมไปช้าที่สุด
มีวัฒนธรรมเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว ซึ่งพิธีเสนเรือนหรือพิธีเซ่นผี นิยมทำ 2-3
ปีต่อครั้ง จะยกเว้นเฉพาะเดือน 9 และ เดือน 10
เท่านั้นที่จะไม่มีการประกอบพิธีเซ่นผี ส่วนใหญ่พิธีเสนเรือนจะทำ 3 วัน
ซึ่งนอกจากถือผีก็จะมีวัฒนธรรมในด้านการสังสรรค์รื่นเริง
การไปมาหาสู่กับญาติพี่น้อง?
สัญลักษณ์การแต่งกายของไทยทรงดำ จะเห็นชัดเจนว่า ใช้เสื้อแบบเดียวกัน
ส่วนใหญ่จะใช้สีขาวและสีดำ ใช้สีอื่นเพียงให้สวยงาม
ผู้หญิงมักจะนุ่งผ้าซิ่นลายแตงโม และมวยผมเกล้าไว้บนศรีษะ
ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างจากคนไทยหรือคนเชื้อสายอื่นๆ ทั่วไป
ส่วนภาษาพูดที่ใช้โต้ตอบกัน ก็เป็นภาษาไทยดำ ที่มีลักษณะเฉพาะ
ส่วนภาษาเขียนมีคนรู้เรื่องภาษาเขียนน้อยมาก
กำนันพนัส บอกเพิ่มเติมว่า
อยากให้วิถีชีวิตชาวไทยทรงดำคงความเป็นอยู่อย่างนี้จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
และสิ่งที่สำคัญที่สุดอยากให้ชาวไทยทรงดำหรือคนทั่วไปได้เรียนรู้เรื่องภาษาก่อนแล้วอย่างอื่นจะตามมา
รวมทั้งอยากให้ภาครัฐผลักดันเรื่องการสื่อสารให้มากขึ้น
ที่ผ่านมาพวกเราทำกันเองในลักษณะให้วัฒนธรรมคงอยู่ แต่ไม่มีงบประมาณใดๆ
มาเสริมสร้าง
ในส่วนขององค์กรท้องถิ่น เช่น อบต. สภาวัฒนธรรม สมาคมไทยดำแห่งประเทศไทย
ต่างพยายามร่วมกันผลักดัน แต่การผลักดันให้เป็นรูปธรรมค่อนข้างยาก
เพราะความเป็นอยู่ในปัจจุบันต้องต่อสู้เรื่องปากเรื่องท้องกันมากขึ้น
แต่ก็ได้หารือกับโรงเรียนวัดหนองปลง อยากให้นักเรียนได้ซึมซับความเป็นไทยดำ
โดยเริ่มที่การแต่งกาย ตามด้วยเรื่องภาษา จากนั้นการค้นคว้าอะไรต่างๆ
ก็จะตามมา อาจจะบรรจุเป็นหลักสูตรของโรงเรียนต่อไปในอนาคต
"เรื่องนี้เป็นเรื่องยากพอสมควรเพราะสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันถูกกลืนไปมากแล้ว
การสืบสานวัฒนธรรมที่ดีที่สุดคือการฝังรกรากให้คนได้รักและเข้าใจในเผ่าพันธุ์ให้มากที่สุด
คือ เริ่มจากเด็ก ผมได้ถ่ายทอดเรื่องภาษา โดยเรามีเอกสารต่างๆ
เป็นสื่อให้ศึกษาค้นคว้า
ถ้าเราเริ่มจากตรงนี้ก่อนก็จะสามารถนำไปสู่การปรับความเข้าใจเรื่องความเชื่อ
การแสดง ความเป็นอยู่วิถีชีวิตของพวกเรา"
ด้านนางถนอม คงยิ้มละมัย
อดีตอาจารย์โรงเรียนเขาย้อยวิทยา หรือ หัวหน้าศูนย์ไทยทรงดำ
โรงเรียนเขาย้อยวิทยาเล่าว่า ครูได้สอนเด็กๆ เขียนภาษาไทดำ ภาษาพูดไทดำ
เช่น คำกล่อมเด็ก รำเยาะเย้ย แต้มสะดือ
เล่นอึ่งอ่างให้เด็กนั่งบนหลังเท้าแล้วโยกไปโยกมา เด็กก็กลับไปเล่นกับน้อง
พอไปเจอกับผู้ปกครองเขาก็จะมาเล่าให้ฟังว่าลูกเขากลับไปสืบค้นว่าอึ่งอ่างคืออะไร
หรืออะไรต่างๆ ที่เราให้ทำเป็นการบ้าน คนแก่ที่อยู่บ้านเฉยๆ เด็กๆ
ก็เข้าไปพูดคุยด้วยสืบค้นเรื่องเก่าแก่ ทำให้คนแก่มีคุณค่าทางสังคมมากขึ้น
มีคุณภาพจิตที่ดีขึ้น เป็นการสร้างเยาวชนที่ถูกรูปแบบ
เมื่อเด็กรักวัฒนธรรมแล้วจิตใจก็จะอ่อนโยน
ทุกวันนี้เด็กเขียนเป็นอักษรไทดำได้ เวลากลับไปบ้านเหนื่อยๆ
ไปตรวจการบ้านเด็กๆ แล้วก็หายเหนื่อย
ครูถนอม กล่าวทิ้งท้ายว่า
?สิ่งที่อยากจะฝากไว้ คือ เด็กๆ อย่าได้อายที่เกิดมาเป็นไทยทรงดำ
เราต้องภาคภูมิใจในวัฒนธรรมและร่วมกันสืบสานต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด?
"เฮาอยู่ดีซำนกเอี้ยง เฮาอยู่เสี้ยงซำตะเว็น
เฮาอยู่เย็นซำน้ำบ่อ"...ถ้ารักษาวัฒนธรรมไทยทรงดำเราก็จะอยู่ต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน
วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างชาวไทยทรงดำแห่งบ้านหนองปลง
จ.เพชรบุรี ที่ประกาศตัวตนในการที่จะผนึกความรัก ความสามัคคี
โดยใช้วิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัย สร้างชุมชน
เป็นการสร้างหน่ออ่อนของสังคมไทยจากวัฒนธรรมอันงดงาม
การแต่งการของไทนทรงดำ |
การแต่งกายของชาวไทยทรงดำ แต่งกายด้วยผ้าสีดำเป็นพื้น
ตามปรกติฝ่ายชายจะสวมกางเกงแค่เข่าเรียกว่า " ซ่วงก้อม"
ใส่เสื้อค่อนข้างรัดรูป ยาวถึงสะโพกแล้วผ่าปลายทั้งสองข้าง
แขนยาวเป็นกระบอกถึงข้อมือติดกระดุมเงินอย่างถี่ ๆ
ตั้งแต่คอถึงเอว เสื้อชนิดนี้เรียกว่า
เสื้อก้อมหรือเสื้อไทย
ถ้าไปในงานที่เป็นพิธีการจะสวมกางเกงขายาวเรียกว่า ซ่วงฮี
และใส่เสื่อตัวยาวมีลายปักประดิษฐ์ ตามแบบเฉพาะของตนเอง
เรียกว่า เสื้อฮี
ฝ่ายหญิงตามปรกติสวมเสื้อก้อมติดกระดุมเงิน
ถ้าเป็นงานพิธีจะสวมเสื้อฮี
ผ้าซิ่นที่ใช้นุ่งมีลักษณะเฉพาะคือพื้นดำสลับลาย
เส้นสีขาวครามและมีวิธีนุ่งผ้าซิ่นของชาวไทยทรงดำผิดแปลกไป
คือใช้มุมผ้าทางซ้ายและขวาทบกันแล้วหักพับลง คาดด้วยเข็มขัด
ตรงกลาง แหวกเป็นฉาก ทรงผมของผู้หญิงนิยมเกล้ามวยซึ่งมี 2
แบบ คือผู้ที่อยู่ในวัยสาว จะเกล้าผมที่เรียกว่า ขอดซอย
แต่ถ้าพ้นวัยสาวจะเกล้า แบบ ปั้นเกล้า
เป็นการแบ่งแยกวัยวุฒิ |
|
ประเพณีของไทยทรงดำ |
ประเพณีเสนเฮือนหรือประเพณีเซ่นผีเรือน
เนื่องจากชาวไทยทรงดำ นับถือผีบรรพบุรุษ
เพราะเชื่อว่าถ้าได้
เซ่นผีบรรพบุรุษแล้ว
ผีบรรพบุรุษจะมาปกป้องรักษาลูกหลานเครือญาติให้เกิดความสุขความเจริญ
จึงได้เชิญผีบรรพบุรุษมาไว้บนเรือน ในห้องที่เรียกว่า
"กะล้อห่อง"
มุมหนึ่งของเสาบ้านในห้องนั้นเป็นที่เซ่นไหว้ผีเรือนทุกๆ 10
วัน เรียกว่า ป้าดตง โดยมีแก้วน้ำ และชาม
ข้าว วางอยู่เป็นประจำ
ประเพณีเที่ยวขวง ( โอ้สาว ) คำว่า ขวง
หมายถึงสถานที่แห่งหนึ่งในลานบ้าน มักยกเป็นแคร่
ซึ่งยามกลางคืนใน
ฤดูว่างงานจากการทำนา สาว ๆ ประจำหมู่บ้านกลุ่มหนึ่ง (
ถ้าหมู่บ้านใหญ่มีสาวมากก็แบ่งเป็นหลายกลุ่มที่เป็นบ้านใกล้เรือนเคียง และตกลงกันว่าจะใช้สถานที่บ้านของใครเป็น
ขวง ) ประมาณ 3 4 คนขึ้นไป
มานั่งรวมกัน ทำงานฝีมือผู้หญิง เช่น ปั่นด้าย
ปักหน้าหมอน เป็นต้น เริ่มนั่งขวงประมาณ ๒๐.๐๐ น.
การนั่งขวงเป็นประเพณีมาแต่เดิม
เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการผลิตเครื่องนุ่งห่มอย่างหนึ่ง
และเพื่อเปิดโอกาสหนุ่มสาวในการเลือกคู่ครอง
ประเพณีเล่นคอน( อิ้นคอน )
เป็นประเพณีการเล่น ( ร้องรำ ขับ ขับคล้าย ๆ ขับเสภา)
แต่หางเสียงเนิบฟังทอด ๆ กว่าเซิ้งเอ่วและโอ้สาวอย่างหนึ่ง
มักเริ่มต้นตั้งแต่เดือนห้าขึ้นหนึ่งค่ำเป็นต้นไป
และจะเลิกเล่นคอนต่อเมื่อหมอผีประจำหมู่บ้านกำหนดให้ชาวบ้านเลี้ยงศาลเจ้า
ประจำหมู่บ้านล่วงไปแล้ว เมื่อเริ่มย่างเข้าเดือนห้า
หนุ่ม ๆ ต่างตำบล (
ตำบลเดียวกันจะเที่ยวเล่นคอนในหมู่บ้านของตนนั้นไม่นิยมกระทำกัน
) มักจะรวมพวกของตนเป็นกลุ่ม ๆ ประมาณ ๕๑๐ คนขึ้นไป
ซึ่งในจำนวนนั้นจะต้องมีหมอแคน ( คนเป่าแคน ) หมอลำ(
คนร้องผสมแคน ) หมอขับ ( คนร้องเพลงระหว่างที่เล่นคอน )
ไปด้วย การแต่งกายขณะเล่นคอน ( เฉพาะคนที่ทอดช่วง )
ทั้งชายหญิง นิยมใส่เสื้อฮี |
|