หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง
เป็นแหล่งผลิต
และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าม่อฮ่อมดั้งเดิมของจังหวัดแพร่ซึ่มีชื่อเสียงเลื่องลือมากคนนิยมมาซื้อหาไปใช้สอยพร้อมทั้งวิถีชีวิตของคนในหมูในบ้าน
ประวัติไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง
ไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่า
ผู้แก่และจากการค้นคว้าในหนังสือประวัติศาสตร์พบว่า อพยพมาจากเมืองพวน
แขวงเมืองเชียงราย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประมาณ พ.ศ. 2360 2380
ไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง หรือชื่อเดิมเรียกว่า บ้านทั่งโฮ้ง คำว่าทั่ง หมายถึง
ทั่วที่รองรับการตีเหล็ก คำว่า โห้ง เป็นภาษาไทยพวน
หมายถึงสถานที่เป็นแอ่งลึกลงไป คนพวนว่า มันโห้งลงไป
สมัยก่อนนั้นคนพวนบ้านทุ่งโฮ้งจะมีเตาตีเหล็กกันแทบทุกหลังคาเรือน
เขาจึงเรียกว่า บ้านทั่งโห้ง ส่วนคำว่า ทุ่งโฮ้ง คงจะเป็นคำเพี้ยงจากคำว่า
ทั่งโห้ง
ผลิตภัณฑ์โดดเด่น
ผ้าหม้อห้อม หม้อห้อมเป็นคำพื้นเมือง จากคำสองคำคือ หม้อ และ ห้อม
หม้อเป็นภาชนะอย่างหนึ่งที่ใช้ในการบรรจุน้ำ หรือของเหลวมีทั้งเล็กและใหญ่
ส่วนห้อมนั้น เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ที่ใช้ลำต้นและใบมาหมัก
ในน้ำตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ
จะให้เป็นสีกรมท่าโดยนำผ้าขาวไปย้อมให้เป็นสีกรมท่าที่เรียกว่า ผ้าหม้อห้อม
ประเพณี
ประเพณีที่สืบทอดกันมา
ของชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง คือประเพณีกำฟ้า
กำฟ้า หมายถึง การบวงสรวงเทพยดา และบูชาฟ้า เพื่อให้เทพยดาบนฟ้าให้การคุ้มครอง
โดยชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้งจะถือกันอย่างเคร่งครัด
กำฟ้าครั้งแรก เดือน 3 ใต้ (เดือน 5 เหนือ ) วันขึ้นสี่ค่ำ
กำฟ้าครั้งที่ 2 เดือน 3 ใต้ (เดือน 5 เหนือ) วันขึ้นแปดค่ำ
กำฟ้าครั้งที่ 3 เดือน 3 ใต้ (เดือน 5 เหนือ) วันขึ้นสิบสองค่ำ
เรื่องราวของประเพณีกำฟ้า
ในปี ค.ศ. 1787 (พ.ศ. 2330) เจ้านันทะเสน เจ้าเมืองเวียงจันทร์
เห็นว่าเจ้าเมืองชมพู เมืองพวนไม่ยอมมาอ่อนน้อมและส่งส่วนตามปกติ
จึงให้นายทหารชื่อเขียวไปปราบปราม ฝ่ายเจ้าชมพู เจ้าเมืองพวนสู้ไม่ได้
จึงถูกจับมายังเวียงจันทร์ เจ้านันทะเสนจึงให้ทหารนำเจ้าชมพูไปลานประหาร
ขณะทหารจะใช้หอกแทงเจ้าชมพูนั้น เกิดมีลมฝนขึ้นอย่างกะทันหัน
และฟ้าได้ผ่าลงมาที่หอกจนขาดสะบั้น ทหารเพชฌฆาตพากันแตกตื่น ไปรายงานให้เจ้านันทะเสนทราบ
ทำให้เจ้านันทะเสนไม่กล้าประหารชีวิตเจ้าชมพู
และให้เจ้าชมพูกลับไปปกครองเมืองพวนเหมือนเดิม
วันที่ฟ้าช่วยชีวิตเจ้าชมพูไว้เป็นวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 5
ชาวพวนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวัน กำฟ้า
จนเกิดเป็นประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวนทุกหมู่เหล่า
สืบมาจนทุกวันดังที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่าชาวไทยพวน ไม่มีใครถูกฟ้าผ่าตาย
ประเภทการท่องเที่ยว
ท่องเที่ยวเชิงเกษตร
การเดินทาง
ตั้งอยู่ที่ถนนยันตรกิจโกศล ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร
ตามทางหลวงหมายเลข 101 (สายแพร่ - น่าน)