ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดปราจีนบุรี >ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์/Phraya Abhaibhubate Building 

ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์/ Phraya Abhaibhubate Building

 

อยู่ภายในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3069 ถนนปราจีนอนุสรณ์ ตึกหลังนี้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร(ชุ่ม อภัยวงศ์) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2452  โดยให้บริษัทโฮวาร์ด เออร์สกิน เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง เพื่อถวายเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หากเสด็จมณฑลปราจีนบุรีอีก หลังจากที่ได้เสด็จในครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2451แต่เสด็จสวรรคตก่อนในกลางปี พ.ศ. 2453  ตึกหลังนี้ได้ใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2455รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์อีกหลายพระองค์คราเสด็จมณฑลปราจีนบุรีโดยที่ท่านเจ้าของตึกไม่เคยใช้ตึกหลังนี้เป็นที่พำนักส่วนตัวเลย ตราบจนสิ้นอายุขัยในปี พ.ศ. 2465 จึงได้มีการจัดตั้งศพของท่านไว้ชั้นบนของตึกนี้ก่อนการพระราชทานเพลิงศพในปีเดียวกันต่อมาพระอภัยวงศ์ วรเศรษฐ (ช่วง อภัยวงศ์) ได้น้อมเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวอภิเษกสมรสกับพระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวีซึ่งเป็นหลานสาวคนหนึ่งของท่านในปี พ.ศ.2480พระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวีได้โดยเสด็จสมเด็จพระภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาสิริโสภาพรรณวดีพระราชธิดา ไปประทับที่ประเทศอังกฤษจึงประทานที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดแก่มณฑลทหารบกที่ 2 จังหวัดปราจีนบุรีเพื่อใช้เป็นสถานพยาบาลสำหรับทหารและประชาชนทั่วไปต่อมาได้โอนมาเป็นของกรมสาธารณสุขและโรงพยาบาลแห่งนี้ได้เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดปราจีนบุรี ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484และเปลี่ยนชื่อเป็น
"
" ตึกหลังนี้ได้ใช้เป็นห้องตรวจโรค ห้องจำหน่ายยา ห้องผ่าตัด และห้องคนไข้หญิง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2512 การก่อสร้างตึกอำนวยการได้เสร็จสิ้นลง ทางโรงพยาบาลจึงใช้ตึกหลังนี้เฉพาะการสัมมนาในบางกรณี ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2533 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเป็นโบราณสถาน และในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 ตึกหลังนี้ได้ใช้รับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสด็จส่วนพระองค์เพื่อทอดพระเนตรตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมยุโรปแบบบาโร้ค (Barogue) เป็นตึกสองชั้นมีมุขด้านหน้าตรงกลางเป็นโดม   ผนังด้านนอกมีลายปูนปั้นลายพฤกษาประดับซุ้มประตูและหน้าต่างภายในตึกแบ่งออกเป็นหลายห้อง ห้องที่งดงามที่สุดคือ ห้องโถงกลางชั้นล่างซึ่งยังคงลักษณะการตกแต่งภายในแบบเดิมอยู่ครบถ้วนตั้งแตลวดลายกระเบื้องปูพื้นภาพเขียนสีปูนเปียกบนเพดาน และลายปูนปั้นหัวเสาปัจจุบันใช้เป็นที่จัดแสดงประวัติเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ของใช้ประจำตัว พระฉายาลักษณ์พระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาสิริโสภาพรรณวดี ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นหลานปู่และหลานทวดของเจ้าพระยาอภัยภูเบศรด้วยห้องชั้นล่างซีกซ้ายของอาคารจัดเป็น   "พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร"
โดยนายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้มอบวัสดุครุภัณท์เกี่ยวกับยาไทย เช่น ตู้เก็บสมุนไพร ครกบดยา รางบดยา หินฝนยา ตำรายาไทย ฯลฯเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาการแพทย์ไทย และสนับสนุนการจัดตั้ง "มูลนิธิหมื่นชำนาญแพทยา" ขึ้น หมื่นชำนาญแพทยา(พลอย แพทยานนท์)เป็นบุตรของแพทย์หลวงประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยเป็นอย่างมาก พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศรเปิดบริการให้เข้าชมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2539





 


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์

 
ปราจีนบุรี/Information of PRACHINBURI

  Phraya Abhaibhubate Building (ตึกพระยาอภัยภูเบศ)
This is an old building situated in the provincial hospital. It was constructed in 1909 as a residence
of King Rama V when visiting this town. It is a two-storey European style building. The front porch is
highlighted by a central dome. The outside walls, doors and windows are covered in a floral design.
It is also a study centre for traditional Thai medicine and medicinal plants.

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ปราจีนบุรี ล่องแก่งหินเพิง
อำเภอนาดี
อำเภอประจันตคาม


น้ำตกตะคร้อ

Takro Waterfall
(ปราจีนบุรี)
อำเภอเมือง


วัดโบสถ์

Wat Bot
(ปราจีนบุรี)
 


สวนพันธุ์ไผ่

Bamboo garden
(ปราจีนบุรี)
แผนที่จังหวัดปราจีนบุรี/map of PRACHINBURI
โรงแรมจังหวัดปราจีนบุรี/Hotel of PRACHINBURI

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์