จวนเจ้าเมืองตรัง
เป็นบ้านพักพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ลักษณะเรือนไม้ 2 ชั้น อยู่บนเนินพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ทายาทตระกูล ณ ระนอง ได้เก็บรักษาสภาพที่อยู่อาศัยและสิ่งของเครื่องใช้ของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ไว้อย่างครบ
พระยาตรังภูมาภิบาล (เอี่ยม ณ นคร)
มารับตำแหน่งปกครองเมืองตรัง เมื่อปี 2431 เมื่อ ปี 2433 ถูกราษฎรจำนวน 6,000
ครอบครัว ถวายฎีกา ต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
ขณะเสด็จพระภาสภาคใต้ และเสด็จประภาสเมืองตรัง
สภาพของเมืองตรังครั้งนั้นปรากฏในพระราชหัตถเลขา ดังนี้
แต่การปกครองในเมืองตรังเดี๋ยวนี้ พระยาตรังเป็นคนอ่อน
ไม่พอแก่การไม่มีอำนาจอันใด การที่จะรับเสด็จนี้ก็วิ่งเอง จนหน้าเขียว
จะหาผู้ใดช่วยเหลือไม่ได้ พวกจีนก็คิดอ่านจัดการรับของเขาเอง ส่วนหนึ่งต่างหาก
ปลูกพลับพลารับทับเที่ยงแห่งหนึ่งต่างหาก แต่ไม่มีพาหนะจะไปด้วยระยะทาง ถึง 280
เส้น จึงบอกเลิกเสีย พระยาตรังไปแต่ไม่มีอำนาจเพระขัดข้องอย่างหนึ่งอย่างใด
อย่างเดียวเท่านั้น
ไม่สมารถที่จะทำการให้แข็งแรงได้ เพราะสติปัญญาและความรู้ไม่พอแก่การด้วย
แต่เป็นคนซื่อ ไถ่ถามการอันใดก็บอกตรง ๆ ตามความจริง
ไม่คิดอ่านแก้ตัวปกปิดเอาแต่ความดีมาพูด ทุกวันนี้เมืองตรัง
ราษฎรได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง ด้วยโจรผู้ร้าย แค่ในปีฉลูเอกศก
พระยาตรังมาว่าการนี้ มีผู้ร้านปล้นที่ฉกรรจ์ 10 เรื่อง ฆ่าเจ้าทรัพย์ตาย 5
เรื่อง ไม่ได้ตัวผู้ร้ายเลยสักเรืองเดียว
พระยาตรังร้องว่าไม่มีกำลังที่จะติดตาม เป็นผู้ร้ายมาแต่เมืองพัทลุงบ้าง
เมืองปะเหลียนบ้าง เพราะระยะทางเดินข้ามแดนไม่ถึง 12 ชั่วโมง
แต่ได้ความตามพวกจีนว่า พระยาตรังไม่สันทัดในทางถ้อยความอันใด
ตัวเองก็ไม่ได้ว่าถ้อยความมอบให้แก่รมการ
กรมการนั้นถึงว่าจะได้ตัวผู้ร้ายมาก็ลงเอาเงินปล่อยเสีย
จนพวกชาวเมืองตรังตีราคากันว่า ถ้ามีเงินเพียง 10 เหรียญ เป็นไม่ต้องกลัวอันใด
พวกจีนจับผู้ร้ายได้ก็ไม่ส่งเข้าเมือง ชำระว่ากล่าวโทษเสียเอง
เพราะว่าถ้าส่งให้กรมการแล้วเป็นหนีได้ทุกคน
พระยาตรังบังคับบัญชาอยู่ได้แก่ที่ตำบลควนธานีแห่งเดียว ที่ตำบลทับเที่ยง
เกือบจะไม่รู้ไม่เห็นกันเลย เห็นว่าการในเมืองตรัง ถ้าจะให้เป็นอยู่เช่นนี้
คงจะเกิดความใหญ่สักครั้งหนึ่งไม่ช้านักเป็นแน่ ด้านคนในอังกฤษ ไปมาค้าขายมาก
ที่เกิดผู้ร้ายฆ่าตายเช่นครั้งพระสุรินทรามาตย์เป็นข้าหลวงแต่ก่อนแล้ว
จะเอาอะไรแก่พระยาตรังไม่ได้เป็นอันขาด
ยังเรื่องเจ้าภาษีกับจีนในพื้นเมืองนั้นก็อีกอย่างหนึ่ง น่าจะเป็นเหตุขึ้นได้
เหมือนอย่างเมื่อครั้งหลวงวิเศษสงกากร แต่ก่อนพวกจีนก็พากันร้องว่า
เจ้าภาษีกดขี่ข่มเหง เป็นที่สอง หรือเป็นอีกอย่างหนึ่ง
นอกจากกรมการที่คอยปล่อยผู้ร้าย
ครั้นพวกจีนในเมืองนี้จะไปผูกภาษีเองจากที่กรุงเทพ ก็ต้องลงทุนกู้เงินไป
สำหรับล่วงหน้า และใช้สอย เมื่อไม่ว่าภาษีไม่ได้ก็ต้องเสียดอกเบี้ยเปล่า
บางทีผู้ที่รับธุระเข้าไปว่าภาษีนั้นโกงกันเอง เอาเงินไปจำหน่าย สาบสูญเสียก็มี
จึงไม่อาจที่จะคิดว่ากล่าว ทนความข่มเหงของเจ้าของภาษี ซึ่งออกมากรุงเทพ
ข้างฝ่ายจีนป่านเจ้าของภาษี ก็นำเรื่องราวมากล่าวโทษ
พวกจีนว่าขัดแข้งในการภาษีต่างๆ การก็เป็นจริงทั้ง 2 ฝ่าย เพราะไม่มีอำนาจกลาง
กล่าวคือ ผู้รักษาเมือง กรมการที่พอจะปราบปรามการที่ผิดล่วงเกินต่อกัน
ในพวกเจ้าภาษีและพวกจีนทั้งสองฝ่ายได้
จึงได้ต่างคนต่างหาประโยชน์ของค่าให้อย่างยิ่ง ไม่มีบันทัดที่จะตัดเป็นเส้นกวางลงไปได้
เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหตุอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งควรคิดอ่านแก้ไข
ในการเจ้าเมืองไม่มีอำนาจจะปกครองรักษาบ้านเมืองนี้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งพระอัสดงคตทิศรักษา
เจ้าเมืองกระบุรี มาเป็นเจ้าเมืองตรัง ในตำแหน่งพระยารักษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี
(คอซิมบี้ ณ ระนอง) ในปี 2434 ในช่วงนี้ เมืองตรังเจริญมาก
เพราะเจ้าเมืองส่งเสริมการเกษตรให้ราษฎรปลูกพืชผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์
โดยบังคับให้ปลูกขมิ้น ตะไคร้ พริก มะเขือ มะกรูด มะนาว มะพร้าว มะละกอ อย่างละ
5 ต้น หรือ 5 กอ แม่ไก่ ครัวละ 5 แม่ จำนวน แม่ไก่เพียง 5
แม่ที่ท่านว่าจะช่วยให้ครอบครัวหนึ่งไม่ต้องหาเงินอื่นมาชำระรัชชูปการและเงินบำรุงการศึกษา
บางคน เลี้ยงไว้มากกว่านั้นก็ทำเงินได้มาก ในสมัยนั้น
จังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่มีพริกไทยมาก
เมื่อพริกไทยราคาตกต่ำน่าเห็นว่าจะฟื้นได้ยาก
ท่านจึงไปศึกษาการปลูกต้นยางและทำยางพารารับเบอร์ที่มะลายู
ในที่สุดท่านก็ได้นำพันธุ์ยางมาปลูกแทนพริกไทย ซึ่งสมัยนั้นเมล็ดพันธุ์ยางของมะลายู
เขาหวงแหนกันมาก
เพื่อเป็นการนำร่องท่านได้ชักชวนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีทรัพย์ ทำสวนยาง
เป็นตัวอย่างเพื่อเป็นผลได้ ทั้งส่วนตัวและบ้านเมือง เช่น
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สร้างสวนยางที่ ตำบลกะช่อง พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์
กฤษฏาญณ์ ทำสวนยางที่กันตัง จนกลางเป็นพืชเศรษฐกิจ
แพร่กระจายไปสู่ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปัจจุบัน
รวมทั้งการตั้งกองตำรวจหลวงขึ้น มีตำรวจม้าด้วย ซึ่งมี พ.ท. ออกัส ฟิกเกอร์ เฟรดเดอริก
คอลส์ นายตำรวจเดนมาร์ก เป็นผู้มาให้การฝึกสอนตำรวจที่จังหวัดตรัง เป็นครั้งแรก
และซื้อกลไฟ ไว้ลาดตระเวนให้ความปลอดภัยทางน้ำ
การคมนาคมได้ตัดถนนผ่านเขาพับผ้าไปพัทลุงถึงกันตัง ไปห้วยยอด (เขาขาว)
การค้ากับต่างประเทศส่งสินค้าไปขายปีนัง
ในปี พ.ศ. 2436 ได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขอย้ายเมืองตรังไปตั้งที่กันตัง โดยให้เหตุผลว่า เมืองตรัง
ที่ควนธานีไม่เหมาะสมที่จะตั้งทำการค้า เนื่องจากอยู่ไกลจากปากอ่าว
ทำนุบำรุงให้เจริญได้ยาก ที่กันตังนั้นเหมาะแก่การสร้างท่าเรือ
ที่มีเรือน้ำลึกเข้าถึง จึงได้ย้ายเมืองตรังไปตั้งที่กันตัง
สร้างศาลากลางเป็นตึกใหญ่ 2 ชั้น สองข้าศาลากลางมีตึกชั้นเดียว 2 หลัง
เป็นศาลหลังหนึ่ง ที่ว่าการอำเภอหลังหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2439
สร้างจวนเจ้าเมืองที่ควนรัษฎา ปัจจุบันจัดเป็นพิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์
ได้แบ่งท้องที่การปกครองเรียกว่า ข้อบังคับลักษณะการปกครองท้องที่ รศ 115
ได้รวมเมืองตรัง และเมืองปะเหลียนเข้าด้วยกัน แบ่งเป็น 5 อำเภอ คือ อำเภอบางรัก
(ทับเที่ยง) อำเภอเมือง (กันตัง) อำเภอเขาขาว (ห้วยยอด) อำเภอปะเหลียน
(เมืองปะเหลียนเดิม) อำเภอสิเกา มี 109 ตำบล สำหรับท่าเทียบเรือ
เพื่อป้องกันการปล้นเรือ การสาธารณสุข ได้ให้มิชชันนาริอเมริกัน มีหมอดันแล็ปเป็นหมอประจำ
ตั้งโรงพยาบาลทับเที่ยง ที่ทับเที่ยง จนกระทั้งพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี
(คอซิมบี้ ณ ระนอง) ย้ายไปเป็นเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต ในปี 2445
ซึ่งยังมีผลงานไว้อีกมากมาย