ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดตรัง >อุทยานนกน้ำคลองนำชาน/Hat Chao Mai National Park 

อุทยานนกน้ำคลองนำชาน/ Hat Chao Mai National Park

 

อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม

ข้อมูลทั่วไป
อาณาจักรพะยูนฝูงสุดท้าย  อาณาจักรพะยูนฝูงสุดท้าย  อาณาจักรพะยูนฝูงสุดท้าย ........

อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมมีพื้นที่ครอบคลุมอยุ่ในท้องที่อำเภอสิเกา และอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่ทางทะเลอันดามัน ประกอบด้วยป่าชายเลน หญ้าทะเล เกาะแก่ง มีหาดทรายขาวนวลเรียงยาวไปตามผืนแผ่นดินกว่า 20 กิโลเมตร และสนทะเลตามธรรมชาติอันสวยงาม อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 144,292.35 ไร่ หรือ 230.87 ตารางกิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2522 นายประมูล รักษาแก้ว หัวหน้าศูนย์วิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้กันตัง กองบำรุง กรมป่าไม้ ได้มีบันทึกลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2522 เสนอกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ว่า ได้ทำการออกสำรวจป่าเพื่อทำการวิจัยนิเวศวิทยาในท้องที่ตำบลกันตัง จังหวัดตรัง พบว่า บริเวณหาดแหลมหยงลำเป็นหาดทรายขาวสวยงาม มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร มีสนทะเลขึ้นอยู่ตามธรรมชาติเหมาะที่จะจัดให้เป็นวนอุทยาน เป็นที่พักผ่อนของประชาชน กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ 2502/2522 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2522 ให้ นายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปทำการสำรวจซึ่งปรากฏว่า สภาพพื้นที่เหมาะแก่การจัดตั้งเป็นวนอุทยานได้ กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 378/2523 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2523 ให้ นายประมูล รักษาแก้ว ทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานแหลม หยงลำ อีกหน้าที่หนึ่ง

ต่อมาวนอุทยานแหลมหยงลำได้มีหนังสือที่ กส.0708(ลล)/1 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2523 และบันทึกที่ กส.0708(ลล)/พิเศษ ลงวันที่ 11 กันยายน 2523 ส่งรายงานการสำรวจเบื้องต้นวนอุทยานแหลมหยงลำเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติจึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 3/2523 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2523 เพื่อพิจารณากำหนดที่ดินบริเวณแหลมหยงลำเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติเห็นสมควรปรับปรุงแนวเขตใหม่ให้เหมาะสมโดยจัดตามแนวเขตธรรมชาติให้มากที่สุด กองอุทยานแห่งชาติจึงได้ดำเนินการสำรวจแนวเขตพื้นที่ดังกล่าว และได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 4/2523 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2523 ได้มีมติเห็นสมควรให้กำหนดพื้นที่แหลมหยงลำ หาดยาว หาดสั้น หาดเจ้าไหม และหาดปากเมง เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าคลองไหโละ ป่าคลองปอ และป่าคลองกันตัง ในท้องที่ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา ตำบลบ่อน้ำร้อน ตำบลบางสัก ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง พื้นที่ 144,300 ไร่ หรือ 230.88 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 98 ตอนที่ 170 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 36 ของประเทศไทย

ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่บางส่วนในเขตอุทยานแห่งชาติป่าคลองไหโละ ป่าคลองปอ และป่าคลองกันตัง ในท้องที่ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2532 ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 106 ตอนที่152 ลงวันที่ 13 กันยายน 2532 จำนวน 0.012 ตารางกิโลเมตร เพื่อทำการก่อสร้างโรงเรียนบ้านหาดยาว ของสำนักงานประถมศึกษาอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ทำให้พื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมในปัจจุบันคงเหลือเพียง 230.868 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอสิเกา และอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 7 องศา 17 ลิบดา - 7 องศา 32 ลิบดา เหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 13 ลิบดา - 99 องศา 29 ลิบดา มีอาณาเขตทิศเหนือจดเขาจองจันทร์ อำเภอกันตัง คลองเมงและคลองลำยาวตำบลไม้ฝาด อำเภอ สิเกา จังหวัดตรัง ทิศใต้จดทะเลอันดามัน เกาะลิบง และปากน้ำกันตัง ทิศตะวันออกจดควนดินแดง ควนเม็ดจุน ควนลุ และควนแดง ทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน เกาะไหง เกาะม้าของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา

อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมสามารถแบ่งพื้นที่ออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่

พื้นที่ดินชายฝั่งทะเล รวมทั้งเกาะมุกต์ เกาะกระดาน เกาะแหวน เกาะเชือก เกาะเมง เกาะปลิง และเกาะเจ้าไหม บริเวณชายฝั่งนี้ประกอบด้วยเขาหินปูนสูงชัน ทางตอนเหนือด้านตะวันออกมีเทือกเขาจองจันทร์ เทือกเขาควนเม็ดจูน เทือกเขาควนแดง ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารหลายสายที่มารวมกันเป็นคลองบางสัก ไหลลงสู่แม่น้ำตรัง

พื้นน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 137.22 ตารางกิโลเมตร เป็นห้วงน้ำลึก มีความลึกเฉลี่ย 20 เมตร

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมจัดอยู่ในลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับชุ่มชื้น ได้รับอิทธิพลจากลมมรุสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทั้งสองด้าน จึงทำให้ฝนตกชุกตลอดปี ทำให้เกิดฤดู 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน เด่นชัดกว่าฤดูหนาว โดยฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน ส่วนฤดูฝนเริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม อากาศร้อนชื้นถึงชุ่มชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนมากว่า 2,100 มิลลิเมตรต่อปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สังคมพืชที่พบในอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมสามารถจำแนกออกได้เป็น
ป่าดงดิบ ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งตอนในบริเวณเขาน้ำราบ บ่อน้ำร้อน ทิศตะวันออกของหาดทรายเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งบนเกาะมุกต์ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางวาด ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ตำเสา หลุมพอ คอแลน ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวกหวายและเถาวัลย์
ป่าเขาหินปูน พบด้านทิศตะวันตกของเกาะมุกต์ เกาะเชือก เกาะแหวน เกาะปลิง เขาแบนะ เขาหยงหลิง เขาเมง และเขาเจ้าไหม ประกอบด้วยพืชพรรณเฉพาะพื้นที่ เช่น จันทน์ผา เป้ง สลัดได ยอป่า เตยเขา ปรงเขา กล้วยไม้ชนิดต่างๆ และบอน เป็นต้น
ป่าชายหาด ขึ้นอยู่เป็นบริเวณแคบๆ ตามชายหาดและโขดหินที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น หู กวาง สนทะเล กระทิง เม่า พื้นที่ราบต่อจากชายหาดเป็นป่าโปร่งประกอบด้วยไม้แคระแกร็น พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ เคี่ยม นนทรี เสม็ดแดง ยอป่า หนามแท่ง ช้องแมว พืชชั้นล่างเป็นพวกหญ้าชนิดต่างๆ
ป่าชายเลน พบในพื้นที่ถัดจากชายหาดเข้ามาในบริเวณหลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติตลอดแนวจากหาดปากเมงถึงหาดเจ้าไหม และมีการกระจายอยู่ตามอ่าวของเกาะมุกต์ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ โปรง ตะบูน ตะบัน ถั่ว ตาตุ่มทะเล เป้งทะเล เหงือกปลาหมอ จาก และหวายลิง เป็นต้น สังคมพืชน้ำ ได้แก่ หญ้าทะเล และสาหร่ายทะเล ซึ่งอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมเป็นแหล่งหญ้าทะเลขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 3,975 ไร่ ระหว่างแหลมหยงหลิงและเกาะมุกต์ จากการสำรวจพบหญ้าทะเลขึ้นอยู่ 8 ชนิด ได้แก่ หญ้าเต่า หญ้าชะเงาใบยาว หญ้าชะเงาใบสั้นสีน้ำตาล หญ้าชะเงาใบสั้นสีเขียว หญ้าชะเงาใบสั้นปล้องยาว หญ้าใบสน หญ้าผมนาง และหญ้าใบมะกรูด

สัตว์ที่พบอยู่ในอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมจำแนกออกได้เป็น
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบรวม 51 ชนิด ได้แก่ พะยูน เลียงผา ค่างดำ ค้างแว่นถิ่นใต้ เก้ง กระจงเล็ก เสือไฟ แมวดาว นากเล็กเล็บสั้น ชะมดแผงหางดำ กระเล็นขนหางปลายหูสั้น หนูฟานสีเหลือง และค้างคาวชนิดต่างๆ ฯลฯ
นก พบรวม 137 ชนิด ได้แก่ นกกระสาคอดำ นกตะกรุม นกยางจีน นกทะเลขาเขียวลายจุด นกนางนวลแกลบพันธุ์จีน นกกก นกแต้วแล้ว และ นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ ฯลฯ
สัตว์เลื้อยคลาน พบ 29 ชนิด ได้แก่ เต่าบึงหัวเหลือง จิ้งจกหางเรียบ ตุ๊กแกหางเรียบ กิ้งก่าสวน แย้จุด เหี้ย จิ้งจกเรียวท้องเหลือง งูเหลือม งูไซ และงูพังกา เป็นต้น br>
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก พบ 9 ชนิด ได้แก่ จงโคร่ง คางคกบ้าน กบอ่อง ปาดบ้าน อึ่งอ่างบ้าน เป็นต้น
สัตว์น้ำ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมเป็นแหล่งระบบนิเวศที่สำคัญทั้งระบบนิเวศป่าชายเลน หญ้าทะเล และแนวปะการัง จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย อาหาร หลบภัย และอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น้ำนานาชนิด เช่น ปูแสม ปูม้า หอยนางรม หอยตะเภา หอยชักตีน ปลาเก๋า ปลาผีเสื้อ และโลมา เป็นต้น

บ่อน้ำร้อนควนแคง
ตั้งอยู่บริเวณตำบลบ่อน้ำร้อน ห่างจากที่ว่าการอำเภอกันตัง 6 กิโลเมตร น้ำในบ่ออุ่นจัดอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส ฟองพรายที่ผุดพลุ่งขึ้นมาเป็นครั้งคราวมีกลิ่นจางๆ ของกำมะถันแทรกขึ้นมาด้วย บริเวณโดยรอบบ่อน้ำร้อนมีการปรับสภาพภูมิทัศน์ให้ดูสวยงาม มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบ่อน้ำร้อนที่เกิดในพื้นที่ป่าพรุ ซึ่งแปลกแตกต่างจากบ่อน้ำร้อนที่อื่นๆ มีอาคารบริการ ห้องน้ำ-ห้องสุขา พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ด้วย
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

หาดเจ้าไหม
ห่างจากตัวจังหวัดตรัง 59 กิโลเมตร หากเลียบชายทะเลมาทางปากเมง และ 47 กิโลเมตร หากผ่านทางกันตัง เกาะเจ้าไหม ถูกโอบล้อมด้วยทะเลด้านหนึ่ง และลำคลองอีกด้านหนึ่ง มีเขารูปกระโดงฉลามที่โดดเด่นเป็นสัญลักษณ์ นับจากเขากระโดงฉลามมา 5 กิโลเมตร ไปจรดแหลมหยงหลิงเป็น หาดยาว ชึ่งเป็นชายหาดกว้างขวางเหมาะที่จะมาเข้าค่ายพักแรม แต่ควรระมัดระวังในเรื่องการเล่นน้ำ เนื่องจากน้ำลึกและคลื่นจัด ถัดเข้าไปอีกเป็นชายหาดที่ทอดยาวไปทางตะวันตกที่เรียกว่า หาดเจ้าไหม ชายหาดยาวประมาณ 5 กิโลเมตร เหมาะในการเล่นน้ำเพราะน้ำตื้นและบริเวณกว้าง เบื้องหน้าจะมองเห็นเกาะลิบงอยู่ไม่ไกลนัก หาดทรายขาวและสงบเงียบ ส่วนเบื้องหลังเป็นดงสนร่มรื่น สุดชายหาดคือโขดเขาอีกด้านหนึ่งของเขากระโดงฉลาม ในยามน้ำลงอาจเดินลัดเลาะโขดหินไปสู่เวิ้งอ่าวเล็กๆ อีกแห่งหนึ่งที่เรียก อ่าวปอ แนวชายฝั่งของหาดเจ้าไหมมีหญ้าทะเลขึ้นอยู่จำนวนมาก จึงเป็นแหล่งหากินของฝูงพะยูนหลายสิบตัว

ถ้ำเจ้าไหม
ถ้ำเจ้าไหม อยู่ลึกเข้าไปตามคลองเจ้าไหม ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 18 กิโลเมตร ซึ่งสามารถแล่นเรือเข้าปากถ้ำได้ ถ้ำเจ้าไหมมีหลายชั้นซับซ้อน ชั้นล่างเป็นถ้ำกว้างที่มีหินงอกหินย้อยเหมือนเสาต้นใหญ่ๆ ไต่หน้าผาไปทางขวาอีกประมาณ 100 เมตร จะถึงถ้ำชั้นบน ตามผนังถ้ำมีลักษณะเหมือนเปลือกหอยเรียงซ้อนเป็นชั้นๆ และยังมีแอ่งน้ำใสเย็นก่อน เข้าสู่ชั้นในถ้ำ
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - ล่องแพ/ล่องเรือ

หาดหยงหลิง-หาดสั้น
ด้านทิศใต้ที่ต่อกับหาดยาว เป็นหาดทรายรูปโค้งขนานไปกับดงสนที่เรียก หาดหยงลิง สุดชายหาดเป็นเขาสูงที่เต็มไปด้วยเวิ้งและโพรงถ้ำ ซึ่งสามารถเดินลัดเลาะออกไปสู่หน้าผาริมทะเลได้ จากหาดหยงหลิงมีถนนผ่านไปทางด้านเหนืออีก 1 กิโลเมตร จะมีชายหาดอีกแห่งหนึ่งคนละฟากเขาที่เรียก หาดสั้น และไกลสุดตาลิบๆ อยู่ทางด้านเหนือคือ แหลมหยงลำ
กิจกรรม -กิจกรรมชายหาด - ชมทิวทัศน์

เกาะมุกต์
เป็นเกาะใหญ่อีกเกาะหนึ่งในน่านน้ำตรัง หากมองจากภาพถ่ายทางอากาศจะเห็นหัวแหลมของเกาะมุกต์ยื่นแหลมออกมากลางทะเล บริเวณหัวแหลมคือเขตชุมชนบ้านเกาะมุกต์ ที่ขนาบด้วยหาดหัวแหลม และอ่าวพังกา ชายทะเลทั้ง 2 ด้านมีหาดขาวละเอียด น้ำใส เหมาะที่จะเล่นน้ำได้ดี บริเวณหน้าผาด้านตะวันตกเป็นที่ซ่อนถ้ำลึกลับแสนสวย เรียกว่า ถ้ำน้ำ หรือ ถ้ำมรกต ที่มีทางเข้าเป็นโพรงเล็กๆ พอเรือลอดได้ในช่วงน้ำลง ความคดเคี้ยวและความมืดในโพรงถ้ำแคบๆ ที่มีช่วงยาว 80 เมตร คือ นาทีแห่งความระทึกใจ แต่ความตื่นตาตื่นใจจะเข้ามาแทนที่ทันทีที่ถึงปากถ้ำ ที่มีน้ำทะเลใสสีมรกต หาดทรายขาวสะอาด และพันธุ์ไม้บางชนิด นอกจากนี้ทางด้านทิศเหนือ ตะวันตก และตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะ ยังมีจุดดำน้ำลึกซึ่งมีปะการังอ่อนและกัลปังหาน่าชมมาก
กิจกรรม -ดำน้ำตื้น - กิจกรรมชายหาด - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - ล่องแพ/ล่องเรือ

เกาะกระดาน
ไปทางด้านตะวันตกของเกาะมุกต์ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 12 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 1 ชั่วโมง ก็จะถึงเกาะอีกแห่งหนึ่งที่มีลักษณะเหมือนภูเขาห้าลูกเป็นพืดเรียงตัวติดต่อกัน นั่นคือ เกาะกระดาน ร้อยละ 70 ของพื้นที่เกาะเป็นภูเขาจุดสูงสุด 100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น มีแนวปะการังแข็งตลอดชายฝั่งของเกาะกระดาน มีประการังอ่อนและกัลปังหา ทางด้านทิศใต้ของเกาะ ปะการังที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ปะการังเขากวาง ปะการังเขากวางก้านยาว ปะการังเห็ด ปะการังสมอง ปะการังอ่อน บริเวณที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติใช้เป็นสถานที่กางเต็นท์พักแรม
กิจกรรม -กิจกรรมชายหาด - แค็มป์ปิ้ง - ดำน้ำตื้น - พายเรือแคนู/คยัค

เกาะเชือก
เป็นเกาะเล็กๆ ที่อยู่ในวงล้อมของเกาะมุกต์และเกาะกระดานอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 16 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะเล็กๆ 2 เกาะ ที่อยู่ติดกัน เกาะที่อยู่ด้านตะวันตก มีพื้นที่ประมาณ 0.08 ตารางกิโลเมตร เกาะที่อยู่ด้านตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 0.1 ตารางกิโลเมตร จุดสูงสุด สูง 60 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นเกาะที่มีสัมปทานรังนก สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น มีปะการังแข็ง ปะการังอ่อน ดอกไม้ทะเล กัลปังหา สลับกันอยู่ตลอดแนวชายฝั่ง ซึ่งจะมีแนวปะการังค่อนข้างสมบูรณ์มาก
กิจกรรม -ดำน้ำตื้น

หาดฉางหลาง
เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 47 กิโลเมตรและห่างจากหาดเจ้าไหม 16 กิโลเมตร เป็นชายหาดกว้างและร่มรื่นด้วยแมกไม้ ทิศใต้ของหาดฉางหลางจรดเขาริมน้ำ คือ เขาแบนะ ซึ่งมีร่องรอยภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ค่อนข้างลบเลือนด้วยกาลเวลา สามารถเดินรอบเกาะได้ มีสัตว์ป่าจำพวกค่างแว่นถิ่นใต้ นก มีหญ้าทะเล บนเขาแบนะเป็นจุดดูพะยูน พื้นที่ชายหาดตรงเชิงเขากว้างขวางและร่มรื่นด้วยพรรณไม้ มีบ่อน้ำจืดพร้อม เหมาะสำหรับการกางเต็นท์พักแรม สุดทางเหนือของหาดคือ คลองฉางหลาง ซึ่งบริเวณปากคลองเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่มีทัศนียภาพหลากหลาย
กิจกรรม -กิจกรรมชายหาด - แค็มป์ปิ้ง

หาดปากเมง
เป็นชายหาดรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว หาดทรายชายทะเลแหล่งท่องเที่ยวแห่งแรกของเมืองตรัง อยู่ห่างจากตัวเมือง 40 กิโลเมตร ภาพแรกที่ดึงดูดสายตาผู้มาเยือนได้แก่ โขดเขาใหญ่กลางน้ำรูปร่างคล้ายคนนอนหงายทอดตัวยาวไปทางด้านเหนือ นั่นคือ เขาเมง หรือ เกาะเมง สัญลักษณ์ประจำหาดนี้ เป็นหาดทรายที่สงบเงียบและสวยงาม มีสนทะเลขึ้นตลอดแนวประมาณ 5 กิโลเมตร เมื่อน้ำต่ำสุดเห็นหาดทรายกว้าง 500 เมตร สามารถหาดูหอยตะเภาได้ที่หาดนี้

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
ม. 5 บ้านฉางหลาง ต.ไม้ฝาด อ. สิเกา จ. ตรัง 92150
โทรศัพท์ 0 7521 3260 โทรสาร 0 7521 3260 

การเดินทาง
รถยนต์
จากจังหวัดตรังไปตามทางหลวงจังหวัดตรังหมายเลข 4046 (ตรัง – สิเกา) ถึงกิโลเมตรที่ 30 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4162 สู่หาดปากเมงเป็นระยะทาง ประมาณ 40 กิโลเมตร จากหาดปากเมงเลี้ยวซ้ายไปตามถนนเลียบชายหาดอีกประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม (บริเวณหาดฉางหลาง) รวมระยะทางทั้งสิ้น 47 กิโลเมตร

เรือ
การเดินทางไปตามเกาะต่างๆ ให้ติดต่อเช่าเหมาเรือที่ท่าเรือปากเมง ท่าเรือหาดยาว และท่าเรือควนตุ้งกู ท่าเรือปากเมงเป็นท่าเรือหลักที่จะไปยังเกาะต่างๆ คือ เกาะกระดาน เกาะมุกต์ เกาะแหวน และเกาะเชือก โดยมีที่พักในหมู่เกาะเหล่านี้ 3 แห่ง คือ เกาะกระดาน เกาะมุกต์ และเกาะไหง ระยะทางจากหาดปากเมงถึงตรัง 40 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที มีเรือให้เช่าโดยลักษณะการเช่าเป็นวัน ท่าเรือหาดยาว เป็นท่าเรือที่ตั้งอยู่ถนนสายตรัง-กันตัง ข้ามฟากไปท่าส้ม แล้ววิ่งตามทางไปยังหาดเจ้าไหม ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร แล้วลงไปยังท่าเรือไปเกาะต่างๆ ได้

ที่พักแรม/บ้านพัก
มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
พื้นที่กางเต็นท์ อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ หาดฉางหลาง มีบริการเช่าเต็นท์และอุปกรณ์อื่นๆ
บริเวณหน้าเขาแบนะ 2 แห่ง ขนาดประมาณ 1,000 ตารางเมตร และ 1,100 ตารางเมตร
บริเวณหน้าร้านสวัสดิการ 1 แห่ง ขนาดประมาณ 2,500 ตารางเมตร

ที่จอดรถ
มีที่จอดรถไว้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ หาดฉางหลาง
บริเวณหน้าเขาแบนะ 2 แห่ง ขนาดประมาณ 800 ตารางเมตร และขนาด 650 ตารางเมตร
บริเวณหน้าร้านสวัสดิการ 1 แห่ง ขนาดประมาณ 2,000 ตารางเมตร

บริการอาหาร
มีร้านอาหารและร้านขายของไว้บริการนักท่องเที่ยว

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีการจัดแสดงนิทรรศการ เพื่อให้ข้อมูลและความรู้กับนักท่องเที่ยว จำนวน 2 แห่ง
บริเวณหาดหยงหลิง 1 แห่ง
บริเวณหาดปากเมง 1 แห่ง


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานนกน้ำคลองนำชาน
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
บ่อน้ำร้อนควนแคง
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
หาดเจ้าไหม
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
เกาะมุกต์
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
เกาะเชือก
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
Hat Chao Mai National Park
 
แผนที่จังหวัดอุทยานนกน้ำคลองนำชาน/map of Hat Chao Mai National Park
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานนกน้ำคลองนำชาน

 
ตรัง/Information of TRANG

 

General Information
The coastline of Trang in total extends for over 120 km. And has historically been inhabited by sea fishermen whose houses were built at the mouths of streams and rivers flowing into the sea. These people had an simple easy life, fishing and harvesting produce from there surroundings. The coast of Trang is dominated by beaches of the finest quality sand, clear water and a plentiful unspoilt coastal forest. The coastal zone is very natural. This natural unspoilt environment is the last remaining refuge of the strange marine mammal, the Dugong in Thailand. The Dugong is one of the fifteen reserved animals of Thailand, species which have been adopted by the people, because they are endangered, and require special efforts to ensure there survival in the future.

Hat Chao Mai is a very popular name in this region of Thailand, it is used to signify a special beautiful place and many villages, canals, beaches, caves, hills and islands within the national park are called this. Thus the region when designated a National Park. The national park covers 230.86 sq.km. The park was established in 1981.

Hat Chao Mai National Park is located on the western shore of Thailand and has connecting area as follows:
North : adjacent to Khao Chong Chan in Amphoe Kan Tang, Klong Meng and Khlong Lam Yao in Mai Fad district, Amphoe Sikao, Trang.
South : adjacent to Malaka channel, Amphoe Sikaow, Trang.
East : adjacent to Khuan Din Dang, Khuan Medjun, Khuan Lu and Khuan Dang.
West : adjacent to Ko Ngai, Ko Mang, Malaka channel

Hat Chao Mai National Park consists of land area and sea area, located in the western side of southern part of Thailand. It covers land area about 93.64 sq.km and sea area of Andaman sea in Indian ocean about 137.21 sq.km. This national park is divided into 2 parts, the first part is the coast land including Muk island, Kra Dan island, Wan island, Cheaung island, Pring island and Meng island. This area consists of a steeply high limestone mountain where the northern part of the eastern side has Chong Chan mountain, Kwan Med Chune mountain, Kwan Dang mountain, etc. where are the source of many streams which joins together at Bang Sak canal and drains to the Trang river. In addition, this national park also consists of grass field, rainforest, mangrave forest, beach forest and sand beach whereas sea area has the deep sea widely covered with coral reef along the steeply high shoulder of mountain. This coral reef would be found in the Waen island, Cheaung island and Kradan island.

Climate
Hat Chao Mai National Park is influenced by the northeastern nonsoon wind and southwestern monsoon wind which induces it has a lot of rain all year round. There are two seasons here; the hot and raining season. The hot season starts from Jauary till April while the raining season starts from May till December. Average temperature of March and April is about 35.2 degrees celsius while the lowest temperature is about 21.2 degrees of celsius in January and February. Related humidity for all year round is 80 percent and average rainfall is about 2187.3 milimeters. The highest rainfall is in September which is about 158.8 milimeters.

Flora and Fauna
Vegetations
Able to classify into 5 groups as follows :
Primary rainforest is the main type which covers the inner land area of Nam Rab mountain, Hot water pond and the eastern part of sand beach including Muk island. Most of found plants here are Dipterocarpus chartaceous, Burma reed, and low level woods as found in a general rainforest such as rattans, vines, etc.

Mixed forest in limestone mountain area has been found in the western part of Muk island, Cheaung island, Wan island, Pring island, Bare Na mountain, Meng mountain, Yong Ling moutain and Chaow Mai mountain. These consists of plants which grow only in the specific area such as Dracaena lourieri, Phoenix paludosa, Euphorbia lacel Craib., Orchid, etc.

Beach foresthas been found in the area of shore mountain of Muk island, Chaow Mai island and Meng island. The important plants here are Cassuarina equisetifolia , etc.

Mangrove forest widely covers all area of bay of Muk island. The important plants are Rhizophora apiculata, Ceriops tagal, Xylocarpus granatum , etc. At the back side of this mangrove forest are the place of brackish water plants such as Nypa fruticans, Heritiera littoralis , etc.

Aquatic plants society that could be found here are sea grass, seaweed and planton, especially in the sea area of Chaow Mai National Park is the place of the big sea grass.

Wild Animals
From survey, could be classified as follows :
Mammal Animalswhich are going to be gone in the near future are sea cow, Capricornis sumatraensis, Presbytis melalophos, Muntiacus muntjak and Tragulus javanicus, while the pedatory animals that rarely found here are Felis bengalensis The easily found animals are Aonyx cinerea , etc.

Dugong is a kind of marine mammal. It has a slim and shuttle – like body parallel to the ground and swims by use of their two Flippers. It’s mouth is at the lower part of the face where the upper lip is thick like a pig’s nose. Dugong is mostly herbivorous and feeds on sea grass on the sea floor. It is a rare animal in Thailand but still found in Trang. Therefore it is regarded as a preserved forest animal as being categorized in appendix I of CITES. Being hunted for it’s meat as Foods, caught by fishing gears, holding low reproduction capability, getting affected from coastal pollution which extinguishes sources of sea grass and algae as their nourishing foods, dugong will be extinct in the near future.

Birds, there are two types which are going to be vanished, the first is the black-necked stork and the second is the lesser adjutant. Also found the rare migrating sandpipers such as chinese egret, Nordmann's greenshank and chinese crested tern.

Retiles such as yellow-headed temple terrapin, Indian python an reticulated python.

Amphibians such as R. nigrovittata, Ornate Froglet, etc.

During December to April is the Tourist season. This is the cool season with little rain and clear sky most days. This is the best time of year to view the natural beauty of Hat Chao Mai National Park. The locations to visit include;

Kuan Khang Hot Spring
Hot spring is located in Amphoe Kan Tang, far from the national park office about 12 kilometers. Water of the hot spring is extremely warm at more than 70 celcius degrees. Its buble, sometime, is a smell of sulphur.

Chao Mai Beach
Chao Mai Beach, the park headquarters are 59 Km. from Trang town via the scenic route or 47 via Kantang town. When traveling by the scenic route, the last part of the journey runs along the beach from Pakmeng village to the park office with good views of the An daman sea and the many islands. In the northern part of the park the beaches are very beautiful but dangerous for bathing as the sea has strong currents which can quickly sweep swimmers away. The beaches near headquarters and in the south of the park are beautiful and much safer. The road running from Pakmeng crosses many canals and is bordered on the landward side by thick mangrove forest and on the other side by clean beaches and the sea.

Chao Mai Cave
Chao mai cave, is a large cave which is big enough to enter by boat. The cave has many levels which the bottom level being the biggest, with all the levels connected by passages on the right hand side, which run for about 100 m. In many caves are extensive rock formations with stalactites, stalagmites, crystal curtains and fossils. Some of the stalactites and stalagmites have fused, thus forming massive pillars which stretch from floor to ceiling. In a small chamber at the level is a very beautiful small spring.

Yong Ling Beach - Son Beach
Yong Ling - Son Beach are far from the national park office about 15 kilometers. The southern part is adjacent to Yao Beach which has a curve shape along with a group of pine trees so called Yong Ling Beach. The end of beach is the high mountain with a full of concave and caves which we can walk to the sea-side cliff. From Yongling Beach, we can find a way to the another beach in the norther in part so called Son Beach and the long one is Laem Yong Lum.

Muke Island
Muk Island, to reach any of the island, boats can be hired from Pakmeng, Chang Lang and Chao Mai villages. Muk is a large island which has a very prominent long peninsula on its southern side. The peninsula on its where the majority of habitation occurs especially around the village of Hat Hua laem, which is in a very sheltered location. Both sides of the peninsula are covered with beaches of soft white sand and clear water, making them the ideal location for swimming and water sports. Muk island has a very beautiful cave on the western side.

The cave mouth is quite small but can be entered by boat during low tide. The tunnel stretches for 80 meters to emerge in an open pool the water in which is a beautiful emerald colour, hence the cave is called Tham Morakot, [Emerald cave]. Inside the chamber is a beach of beautiful sand of many hues.

Kradan Island
Kradan Island, lying to the west of Muk island, it takes about 1 hour to reach. The island is quite hilly with a range of 5 hills running the length of the island. Kradan is the most beautiful island in the sea off Trang’s coast. The beaches are of the most luxurious white sand, and the water so clear. This clear water permits the growth of corals and good healthy reefs occur on the north side of the islands, the water shallow enough to view by snorkeling.

Chueak island – Waen island
Chueak island – Waen island, these are small islands which are situated between Muk and Kradan islands and the Trang coast. These islands have corals reefs and Chueak island has a small cave which can be entered by boats at low tide. Both islands have small beaches but the sand is clean and the water very clear. The cave on Chueak island is home to a colony of bats which can be observed leaving the cave at dusk.

Chang Lang Beach
Hat Chao Mai headquarters is located at Changlang beach. The headquarters is in a very scenic location with many limestone cliffs, sandy beaches and clear water. On one of the cliffs near the office is a series of ancient rock paintings in red ochre, some of which are very weathered. There is also a freshwater spring and a campsite on a grassy area beneath Casurina trees which can cater for many people.

Pakmeng Beach
Pakmeng Beach, is the most popular tourist beach in Trang province. It is 40 kms from Tang city and is located in a bay surrounded by rugged limestone cliffs, some of which from islands when the tide is high. The island in the center of the bay looks like a man lying down when viewed from the beach.

Contact Address
Hat Chao Mai National Park
Mu 5, Ban Chang Lang, Mai Fad Sub-district, Amphur Sikao Trang Thailand 92150
Tel. 0 7521 3260 Fax 0 7521 3260 

How to go?
By Car
To reach the park leave Trang on the # 4046 road and head towards Krabi until the 30 km post is reached when you turn left onto the # 4162 road. This road is followed until you reach Pakmeng beach when the road turns left to run along the beach. This followed for about 7 km. to the headquarters is reached.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ตรัง แผนที่จังหวัดตรัง ถ้ำเลเขากอบ หมูย่างเมืองตรัง เขาหลัก หาดเจ้าไหม หาดยาว เกาะมุกและถ้ำมรกต เกาะลิบง เกาะกระดาน เกาะไหง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกันตัง



ถ้ำมรกต
Morakot Cave
(ตรัง)

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอปะเหลียน
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสิเกา
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอห้วยยอด
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง
แผนที่จังหวัดตรัง/map of TRANG
โรงแรมจังหวัดตรัง เกาะไหง/Hotel of TRANG

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์