เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ประวัติความเป็นมา
กรมป่าไม้ได้เข้าไปดำเนินการเพื่อจัดการป่าห้วยขาแข้งให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามาตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2508
แต่ในเวลานั้นทางราชการไม่สนับสนุนให้มีการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2515
เมื่อนโยบายทางราชการเปลี่ยนแปลงไป
จึงได้มีการดำเนินการอย่างจริงจังด้วยออกพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าห้วยขาแข้งให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามกฏหมาย
โดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 201
ลงวันที่ 26
สิงหาคม พ.ศ.2515
ต่อมาเมื่อวันที่ 21
พฤษภาคม พ.ศ.2529
ได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตเพิ่มเนื้อที่ให้มากขึ้น
สืบเนื่องมาจากความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้และสัตว์ป่าจนเป็นที่ยอมรับของนักวิจัยชาวไทยและ
ชาวต่างประเทศว่า เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่
มีความหลากหลายของพันธุ์สัตว์และพรรณพืช ดังนั้นในปี พ.ศ.2534
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งรวมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรจึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่มรดกทางธรรมชาติของโลก
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมรดกโลก ในการประชุมครั้งที่
15
ณ เมืองคาร์เถจ ประเทศตูนีเซีย
สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งตั้งอยู่เชิงเขาหินแดง ริมห้วยทับเสลา
ห่างจากตัวจังหวัดอุทัยธานีตามเส้นทางรถยนต์
90
กิโลเมตร อาณาเขตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งครอบคลุมท้องที่ตำบลระบำ
ตำบลป่าอ้อ อำเภอลานสัก ตำบลทองหลาง กิ่งอำเภอห้วยคต อำเภอบ้านไร่ ตำบลแก่นมะกรูด
อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี และตำบลแม่ละมุ้ง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
ปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ 1,737,587
ไร่ หรือ 2,783.3
ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
โดยทั่วไปมีสภาพเป็นภูเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง
200 - 1,650
เมตร เป็นต้นน้ำลำธารของลำห้วยหลายสาย ที่สำคัญที่สุด คือ ห้วยขาแข้ง
ซึ่งไหลผ่านกลางพื้นที่และมีน้ำตลอดปี ทางซีกตะวันตกเป็นป่าทึบและภูเขาสลับซับซ้อน
จึงก่อให้เกิดลำธารสั้น ๆ หลายสายไหลลงห้วยขาแข้ง
ทางซีกตะวันออกมีลำห้วยที่ใหญ่กว่า ได้แก่ ห้วยไอ้เยาะ
ที่มีต้นน้ำมาจากเขานางรำและเขาเขียว ห้วยแม่ดีเกิดจากเทือกเขาน้ำเย็น
ไหลลงสู่ลำห้วยขาแข้ง และห้วยทับเสลา
ซึ่งมีต้นน้ำไหลมาจากเทือกเขาในจังหวัดนครสวรรค์
เป็นแนวเขตธรรมชาติของเขตรักษาพันธุ์
สัตว์ป่าทางด้านตะวันออกและไหลผ่านที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลงสู่แม่น้ำสะแกกรัง
ชนิดป่าและพรรณไม้
สภาพป่าส่วนมากยังสมบูรณ์ เนื่องจากไม่เคยผ่านการทำไม้มาก่อน บริเวณที่ลุ่ม
ริมห้วยขาแข้งและห้วยใหญ่ ๆ เป็นป่าดงดิบชื้น
ที่สูงขึ้นไปจะเป็นส่วนผสมระหว่างป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ
บางแห่งจะมีไผ่รวกขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ หรือกระจัดกระจายเป็นหย่อม ๆ บนยอดเขาสูงมาก ๆ
จะเป็นป่าดิบเขา
สัตว์ป่า
ป่าห้วยขาแข้งเป็นป่าผืนใหญ่ที่มีเนื่อที่กว้างขวาง
มีอาณาเขตบริเวณติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรที่เชื่อมโยงไปถึงประเทศพม่า
สัตว์ป่าสามารถหลบหลีกไปถึงกันได้ จึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม
รวมทั้งบางชนิดที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ ได้แก่ วัวแดง กวางควายป่า ช้างป่า
กระทิง เก้ง หมูป่า ลิง ชะนี ค่าง สมเสร็จ เสือชนิดต่าง ๆ นกยูง ไก่ฟ้า ไก่ป่า
นกหัวขวาน และนกชนิดอื่น ๆ อยู่กระจัดกระจายทั่วไป
ซึ่งสามารถเห็นตัวและพบร่องรอยอยู่เสมอ
จุดเด่นที่น่าสนใจ
ลำห้วยขาแข้ง
ได้ชื่อว่าเป็นลำน้ำที่มีความสวยงามตามธรรมชาติมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
เป็นลำน้ำสายใหญ่ให้น้ำตลอดปี
นอกจากจะมีน้ำที่ใสแล้วบางตอนยังเกิดหาดทรายที่ขาวสะอาดทอดไปตามริมลำห้วย
มีปลาชุกชุมมาก รวมทั้งสัตว์ป่าและสัตว์ปีกที่อาศัยอยู่ริมน้ำ
ตอนที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ บริเวณสบห้วยไอ้เยาะไหลลงห้วยขาแข้ง
น้ำตกโจน เป็นน้ำตกที่มีน้ำตลอดปี เป็นส่วนหนึ่งของลำห้วยทับเสลาไหลผ่านช่องเขาแคบ
ๆ และเปลี่ยนระดับฉับพลันก่อให้เกิดน้ำตกมีความสูงประมาณ
50
เมตร
วงตีไก่ เป็นปรากฏการณ์ประหลาดของธรรมชาติที่เกิดมีก้อนหินขนาดต่าง ๆ
วางเรียงกันเป็นวง ๆ หลายวง มีชื่อทางเข้าคล้ายประตู
4
ด้าน
โป่งนายสอ ตั้งชื่อตามชื่อพรานป่าซึ่งเสียชีวิตเพราะถูกแรดทำร้าย
อยู่ทางฝั่งขวาของลำห้วยขาแข้ง ตอนกลางของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีน้ำซับตลอดปี
จึงมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก
โป่งพุน้ำร้อน เป็นโป่งใหญ่อยู่ทางตอนเหนือทางฝั่งซ้ายของลำห้วยขาแข้ง มีบ่อ
น้ำพุร้อนอยู่ใกล้ ๆ สัตว์ป่าโดยเฉพาะกระทิง วัวแดง และกวาง มีชุกชุมมาก
นอกจากนี้ยังมีโป่งต่าง ๆ ซึ่งมีชื่อเสียงมากอีกหลายโป่ง เช่น โป่งแสนโต๊ะ
โป่งตะคร้อ โป่งหญิง โป่งเจียว โป่งสมอ เป็นต้น
การเดินทาง
ตั้งต้นจากจังหวัดอุทัยธานีผ่านอำเภอหนองฉางและอำเภอลานสัก ถึงหลักกิโลเมตรที่
53
มีทางแยกทางซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 15
กิโลเมตร ถึงสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง
รวมระยะทางจากจังหวัดอุทัยธานีประมาณ
90
กิโลเมตร
การติดต่อ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ตู้ ปณ.
7
อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี 61160