ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > ภูมิศาสตร์ประเทศไทย

ภูมิศาสตร์ประเทศไทย ภูมิรัฐศาสตร์ ขนาด รูปร่าง พรมแดน ภูมิประเทศ
ภาคเหนือ - ธรณีวิทยา  - การระบายน้ำ - พื้นที่ราบ  - ป่าไม้  - เขตแดน  
ภาคกลาง - ธรณีวิทยา  - การระบายน้ำ
ภาคอิสาน - ธรณีวิทยา  - การระบายน้ำ - พื้นที่ราบ - ป่าไม้ - เขตแดน
ภาคใต้ - ธรณีวิทยา - การระบายน้ำ - ทะเลสาบ - ฝั่งทะเล  - พื้นที่ราบ - ลมฟ้าอากาศ

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

พื้นที่ราบ
            พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบกว้างใหญ่และติดต่อถึงกันได้โดยตลอด มีทิวเขากั้นที่ราบออกเป็นตอนๆ อยู่บ้าง จึงทำให้สามารถแบ่งที่ราบออกเป็นแต่ละตอนดังนี้
            ที่ราบสูงนครราชสีมา - อุบลราชธานี  เป็นที่ราบสูงใจกลางของภาค เป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ในตอนที่เข้าใจว่าเป็นปากปล่องภูเขาไฟ เป็นที่ราบกว้างใหญ่บนลุ่มลำน้ำมูล มีพื้นที่อยู่ในเขต ๑๐ จังหวัด แยกออกจากที่ราบจังหวัดเลย และที่ราบจังหวัดอุดร - นครพนม ด้วยแนวทิวเขาเลย ภูเก้าและทิวเขาภูพาน
            ที่ราบสูงอุดร - นครพนม  เป็นที่ราบสูง ส่วนเหนือของภาคในแถบลุ่มน้ำโขง มีพื้นที่อยู่ในเขต ๔ จังหวัดคือ หนอง
คาย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม มีแนวทิวเขาภูพานกั้นอยู่ทางตอนใต้ และมีทิวเขาภูเก้ากั้นอยู่ทางทิศตะวันตก บนที่ราบนี้มีลำน้ำสายสั้น ๆ หลายสายไหลลงสู่ลำน้ำโขงในทิศทาง จากทิศใต้ไปทิศเหนือ และทางทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ลำน้ำที่สำคัญคือ ลำน้ำสงคราม
            ที่ราบสูงเลย  เป็นที่ราบซึ่งมีสภาพเป็นอ่างเล็ก ๆ อยู่ในระหว่างทิวเขาล้อมรอบคือภูเมี่ยง และภูหลวงในทิวเขาเพชรบูรณ์ทางด้านทิศตะวันตก ภูเขาเลย และภูเก้าทางทิศตะวันออก ภูกะดึง และภูผานกเค้าในทิวเขาเพชรบูรณ์ทางด้านทิศใต้ ตอนใจกลางเป็นลุ่มน้ำเลย ซึ่งไหลจากทางทิศใต้ไปทางทิศเหนือ
สภาพลมฟ้าอากาศ
            มีสภาพอากาศจัดอยู่ในจำพวกฝนแถบร้อนและแห้งแล้ง ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (ธ.ค.- ม.ค.) อุณหภูมิจะเริ่มลดใน พ.ย. และต่ำสุดใน ธ.ค - ม.ค. ในช่วง มี.ค. - พ.ค. เป็นฤดูเปลี่ยนมรสุมเหนือ อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วใน มี.ค. และร้อนจัดใน เม.ย. ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (มิ.ย.- ก.ค.) อุณหภูมิโดยทั่วไปจะลดลง และใน ต.ค.เป็นฤดูเปลี่ยนมรสุมใต้ อุณหภูมิเริ่มลดต่ำลงจนอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางแถบเหนือของภาค
            ปริมาณฝน  มียอดเฉลี่ย ประมาณ ปีละ ๑๔๗๔ มิลลิเมตร เดือนที่มีฝนตกสูงกว่า ๒๐๐ มิลลิเมตรขึ้นไป จะอยู่ในเดือนพฤษภาคม และระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน เดือนที่แล้งที่สุดอยู่ในเดือนธันวาคม ในช่วงฤดูฝนจะมีประมาณฝน ประมาณ ร้อยละ ๗๐ ในฤดูแล้งจะมีปริมาณฝนประมาณ ร้อยละ๓๐
            การแผ่กระจายของฝนมีปริมาณมากน้อยต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศ ในแถบตะวันตก ได้แก่พื้นที่ในเขตจังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา จะมีปริมาณฝนเฉลี่ยปีละ ๑๑๒๓ มิลลิเมตร ในแถบลุ่มน้ำมูล ได้แก่พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี กับแถบจังหวัดอุดรธานี และหนองคายจะมีปริมาณฝนเฉลี่ย ปีละ ๑,๔๐๐ - ๑,๕๐๐ มิลลิเมตร ในแถบย่านกลางของภาค ในเขตจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด มีปริมาณฝนเฉลี่ย ปีละ ๑,๓๐๐ มิลลิเมตร และในแถบเหนือของทิวภูเขา จะมีปริมาณฝนมากที่สุดถึง ๒,๐๐๐ มิลลิเมตร
            สรุปช่วงเวลามีฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นดังนี้
            เดือนมกราคมมีฝนเล็กน้อย เฉพาะแห่งมีลักษณะเป็นแนวฝนปะทะ (ฝนชะลาน) หรือฝนฟ้าคะนอง
            เดือนกุมภาพันธ์ เริ่มมีฝนตกเฉพาะแห่ง เป็นฝนแบบแนวปะทะ (ฝนชะลาน)
            เดือนมีนาคม - เมษายน เริ่มมีปริมาณน้อย เป็นฝนฟ้าคะนอง
            เดือนพฤษภาคม จะมีฝนแผ่ไปทั่วทั้งภาค
            เดือนมิถุนายน - กันยายน จะมีฝนมากขึ้นทั้งปริมาณ และความถี่
            นอกจากนั้นในห้วงเดือน กรกฎาคม - กันยายน จะมีพายุหมุนผ่านเข้ามาเป็นครั้งคราว อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้
            หมอก  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักมีหมอกเกิดขึ้นเสมอ ทั้งในฤดูหนาวและฤดูร้อน หมอกจะเกิดขึ้นในตอนเช้า อาจจะเริ่มตั้งแต่ ๐๔.๐๐ น. ไปจนถึง ๑๐.๐๐ น. บางครั้งอาจถึง ๑๑.๐๐ น.
ป่าและพืชพันธุ์

            ป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งออกได้เป็นสามประเภท คือ ป่าดิบ ป่าไม้ผลัดใบ และป่าหญ้า
            ป่าดิบ  ได้แก่ ป่าไม้สน มีอยู่ในจังหวัดเลย (แถบภูกระดึง) และพื้นที่ตอนใต้ของจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ในเขตระหว่าง อำเภอเขมราฐ กับอำเภอโขงเจียม ป่าสน จะอยู่ปะปนกับไม้ผลัดใบต่าง ๆ ป่าดงดิบ จะมีอยู่ในบริเวณพื้นที่แถบภูเขาคือ บริเวณทิวเขาเลย ทิวเขาเพชรบูรณ์ ทิวเขาสันกำแพง ทิวเขาดงพระยาเย็นทางทิศตะวันตก และทิวเขาดงรักทางทิศใต้ กับพื้นที่บริเวณทิวเขาภูพาน ตั้งแต่จังหวัดสกลนคร ถึงเขมราฐ ที่มีชื่อว่า ดงหมากอี่ พื้นที่ทางใต้ของจังหวัดอุดร และแถบริมลำน้ำโขง บริเวณพื้นที่ระหว่าง อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย กับลำน้ำสงคราม
            ป่าไม้ผลัดใบ ได้แก่ ป่าแดง ซึ่งเป็นป่าหลักของภาคนี้ อยู่ในบริเวณระหว่างลุ่มน้ำกับภูเขาโดยทั่วไป พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ไม้พลวง เหียง เต็ง รัง มะค่า ยาง เป็นต้น
            ป่าหญ้า  มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าปนกับป่าโปร่งขนาดเล็ก ป่าหญ้าจะมีอยู่ในพื้นที่ระหว่างลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำสงครามในแถบอำเภอเพ็ญ จังหวัดสกลนคร และตอนใต้ของจังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษ
เขตแดน ช่องทาง และท่าข้าม
  พรมแดน
            ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรูปร่างเป็นส่วนโค้งเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีพรมแดนติดต่อกับต่างประเทศถึงสามด้าน พรมแดนของภาคจะมีเป็นสองลักษณะ คือมีพรมแดนเป็นทิวเขา และมีพรมแดนเป็นลำน้ำ พรมแดนทั้งสองชนิดดังกล่าว จะบังคับให้มีการคมนาคมติดต่อกันได้สดวกเฉพาะจุดคือตามช่องเขาเท่านั้น สำหรับลำน้ำ แม้จะทำได้โดยทั่วไปแต่จะทำได้สดวกเฉพาะบริเวณที่เป็นท่าข้ามเท่านั้น
            พรมแดนที่เป็นลำน้ำ ได้แก่ลำน้ำเหือง และลำน้ำโขง เริ่มตั้งแต่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยไปจนถึง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีรายละเอียดดังนี้
                    ลำน้ำเหือง  จากตำบลนาแห้ว ตำบลนาดี อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ตรงกับตำบลบ่อน้อย และบ้านบ่อแตนของลาว มีความยาว ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร
            ตำบลลาดด่าง ตำบลอาฮี ตำบลหนองผิว อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ตรงกับตำบลบ่อแตน และตำบลแก่นท้าวของลาว มีความยาว ประมาณ ๗๒ กิโลเมตร
                    ลำน้ำโขง  จากตำบลปากตบ ตำบลเชียงคาน ตำบลบุฮม ตำบลปากชม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ตรงกับตำบลแก่นท้าว ตำบลสานะ อำเภอแก่นท้าว และตำบลสานะคามของลาว มีความยาว ประมาณ ๑๑๔ กิโลเมตร
            ตำบลบ้านม่วง ตำบลแก่งไก่ ตำบลพานพร้าว ตำบลกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ติดต่อกับตำบลกกฉ่อ ตำบลสระไก่ ตำบลเวียงจันทน์ ตำบลบ่อโอ อำเภอเวียงจันทน์ จังหวัดเวียงจันทน์ของลาว ระยะทางประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร
            ตำบลเวียงคุก ตำบลกวนวัน ตำบลมีชัย ตำบลในเมือง ตำบลวัดธาตุ ตำบลหินโงน อำเภอเมืองหนองคาย ติดต่อกับ ตำบลบ้านหอย ตำบลท่าเดื่อ ตำบลสิมมโนอำเภอเวียงจันทน์ จังหวัดเวียงจันทน์ของลาว ระยะทางประมาณ ๕๒ กิโลเมตร
            ตำบลวัดหลวง ตำบลชุมพล ตำบลกุดมง ตำบลรัตนวาปี ตำบลโพนแพง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ติดต่อกับ ตำบลบ้านโดน ตำบลนาซอน ตำบลหวย อำเภอเวียงจันทน์ จังหวัดเวียงจันทน์ของลาว ระยะทางประมาณ ๖๐ กิโลเมตร
            ตำบลหนองแข็ง ตำบลบึงกาฬ ตำบลโคกก่อง ตำบลหนองเดิน ตำบลดงปัง อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ติดต่อกับ ตำบลท่าบก ตำบลประชุม อำเภอบริคัณภ์ จังหวัดเวียงจันทน์ ตำบลบ้านซอด อำเภอหินมูล จังหวัดสุวรรณเขตของลาว มีความยาวประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร
            ตำบลบ้านแพง อำเภอแพง จังหวัดนครพนม ติดต่อกับตำบลมุ่งกวาง อำเภอคำม่วน จังหวัดหินมูลของลาว มีความยาวประมาณ ๒๕ กิโลเมตร
            ตำบลพระชาย ตำบลพระนอม ตำบลไชยบุรี ตำบลท่าจำปา ตำบลท่าอุเทน ตำบลรวมราช อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ติดต่อกับ ตำบลนาเหนือ ตำบลห้วยกะงะ ตำบลหาด ตำบลห้วยขมิ้น ตำบลเวิ้น อำเภอคำม่วน จังหวัดหินมูลของลาว มีความยาวประมาณ ๖๔ กิโลเมตร
            ตำบลอาจสามารถ ตำบลหนองแสง ตำบลในเมือง ตำบลท้าค้อ ตำบลท่าเฒ่า ตำบลดงขวาง
            ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองนครพนม ติดต่อกับตำบลนางแก้ว ตำบลท่าเดื่อ ตำบลท่างาม ตำบลดงใต้ ตำบลเชียงวัง อำเภอคำม่วน จังหวัดหินมูลของลาว มีความยาวประมาณ ๓๘ กิโลเมตร
            ตำบลนาถ่อน ตำบลนางหงส์ ตำบลแสนพัน ตำบลพระกลางทุ่ง ตำบลธาตุพนม ตำบลยน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ติดต่อกับตำบลหนองบก ตำบลนามันปลา ตำบลบึงสาร ตำบลหนองหล่ม อำเภอคำม่วน จังหวัดหินมูล ตำบลปากเซ ตำบลท่าเดื่อ อำเภอสุวรรณเขต จังหวัดสุวรรณเขตของลาว มีความยาวประมาณ ๕๖ กิโลเมตร
            ตำบลหว้านใหญ่ ตำบลมุกดาหาร ตำบลศรีบุญเรือง ตำบลโพธิชัย ตำบลดอนตาล อำเภอเมืองมุกดาหาร ติดต่อกับตำบลท่าชะโน ตำบลสุวรรณเขต ตำบลส้มป่อย ตำบลท่าโพธิ ตำบลด่าน อำเภอสุวรรณเขต จังหวัดสุวรรณเขตของลาว มีความยาวประมาณ ๖๓ กิโลเมตร
            ตำบลชานุมาน ตำบลเขมราช ตำบลนาแวง ตำบลพะลาน ตำบลม่วงใหญ่ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ติดต่อกับตำบลเมืองสองคอน อำเภอสุวรรณเขต จังหวัดสุวรรณเขต และตำบลตา อำเภอสารวัน จังหวัดสุวรรณเขตของลาว มีความยาวประมาณ ๙๒ กิโลเมตร
            ตำบลโขงเจียม ตำบลห้วยยาง ตำบลนาโพธิกลาง ตำบลหนามแท่ง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบล ฯ ติดต่อกับตำบลเมืองตา อำเภอสารวัน จังหวัดสุวรรณเขต และตำบลโยง อำเภอเมือง จังหวัดปากเซของลาว มีความยาวประมาณ ๘๐ กิโลเมตร
            สันเขาบรรทัด
                    ตำบลพิบูลมังสาหาร ตำบลโพนกลาง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบล ฯ ติดต่อกับตำบลเมืองเก่า ตำบลดู่ อำเภอโพนทอง จังหวัดจัมปาศักดิ์ของลาว มีความยาวประมาณ ๒๖ กิโลเมตร
                    ตำบลโซง ตำบลโพนงาม ตำบลคอแลน ตำบลตาเกา ตำบลโดมประดิษฐ ตำบลนาจะรวย อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบล ฯ ติดต่อกับตำบลสะเตียงกวาง ตำบลจอมกระสาน ตำบลภูผาข้าง อำเภอจอมกะสาน จังหวัดจัมปาศักดิ์ของลาว
                    ตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบล ฯ ติดต่อกับตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดจัมปาศักดิ์ของลาว
                    ตำบลบึงมะลู่ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ ติดต่อกับตำบลกันตรวจ จังหวัดกำปงทมของเขมร
                    ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ติดต่อกับตำบลอันลงเวง อำเภอวารีแสมของเขมร
                    ตำบลปักได อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ติดต่อกับตำบลโคกกะบัง อำเภอสำโรง จังหวัดเสียมราฐของเขมร
                    ตำบลบ้านกรวด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ติดต่อกับตำบลพุทไธสมัน อำเภอสวายจิก จังหวัดพระตะบองของเขมร มีความยาวประมาณ ๒๔ กิโลเมตร
                    ตำบลละหานทราย อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ติดต่อกับตำบลสมอพวก อำเภอสวายจิก จังหวัดพระตะบองของเขมร มีความยาวประมาณ ๓๒ กิโลเมตร
  ช่องทาง
            ช่องทางซึ่งใช้เป็นทางผ่านเข้าออกบนที่ราบสูงอิสาน แบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ ช่องทางที่ใช้ติดต่อกับต่างประเทศและช่องทางที่ใช้ติดต่อภายในประเทศ
            ช่องทางที่ใช้ติดต่อกับเขมร
                    ช่องตาเพ็ด  ใช้ติดต่อระหว่าง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ กับอำเภอสวายจิก จังหวัดพระตะบองของเขมร เป็นทางคนเดิน กันดารมาก หาน้ำได้ยาก ลักษณะสูงชัน ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ
                    ช่องบาระแนะ  เป็นทางคนเดิน กันดารมาก หาน้ำได้ยาก ลักษณะสูงชัน ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ
                    ช่องอำนิล ช่องจันทบเพ็ด ช่องไซตะกู  เป็นทางเกวียน
                    ช่องจันทนกะฮอม  เป็นทางคนเดินิ กันดาร หาน้ำได้ยาก ลักษณะสูงชัน ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ
                    ช่องปราสาทตาเหมือน  เป็นช่องทางระหว่างอำเภอตลุมกับตึกชุม เป็นทางเกวียน กันดาร หาน้ำยาก ช่องทางอยู่ในที่ราบ สูงประมาณ ๒๒๐ เมตร ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ
                    ช่องเสม็ด  อยู่ในเขตอำเภอตลุม เป็นทางเกวียน มีผู้ใช้อยู่เสมอ กันดารแต่พออาศัยน้ำได้จากบ่อและสระ ช่องทางอยู่บนพื้นราบ สูงประมาณ ๒๒๘ เมตร ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ
                    ช่องกร่าง (จุกกร่าง)  เป็นช่องทางในเขตจังหวัดสุรินทร์ เป็นทางเกวียน กันดาร หาน้ำได้ยาก เป็นทางบนพื้นราบ สูง ๒๒๒ เมตร ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ
                    ช่องเทา ช่องกันกันเทิง  ลักษณะทั่วไปเหมือนช่องกร่าง มีความสูง ๒๕๙ เมตร และ ๒๓๐ เมตร ตามลำดับ
                    ช่องตาเลง  อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ติดต่อกับ จังหวัดเสียมราฐของเขมร เป็นทางเกวียน กันดาร อาศัยน้ำได้จากบ่อ เป็นทางบนที่ราบ สูง ๒๒๕ เมตร ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ
                    ช่องโดนแก้ว  ลักษณะทั่วไปเหมือนช่องตาเลง สูง ๒๓๖ เมตร
                    ช่องปลดต่าง  อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ติดต่อกับ จังหวัดเสียมราฐของเขมร เป็นทางคนเดิน กันดาร หาน้ำยาก เป็นทางบนที่ราบ สูง ๒๓๕ เมตร ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ
                    ช่องระญี  อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ติดต่อกับ จังหวัดเสียมราฐของเขมร เป็นทางคนเดิน อาศัยน้ำจากยอดห้วยลิเจีย เป็นทางบนที่ราบ สูง ๒๓๕ เมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าทึบ
                    ช่องจอม  อยู่ในเขตอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ติดต่อกับ มงคลบุรี ศรีโสภณ เสียมราฐของเขมร เป็นทางเกวียนที่ใช้กันอยู่ประจำ ได้ดัดแปลงให้เป็นทางรถยนต์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ แต่ต่อมาได้ปล่อยให้ทรุดโทรม รถยนต์เดินไม่ได้ อาศัยน้ำจากคลองด่านและน้ำตก
                    ช่องโชค  อยู่ในเขตบ้านด่านกับบ้านสำโรง เป็นทางคนเดิน กันดาร หาน้ำยาก เป็นทางบนพื้นราบ สูง ๒๘๐ เมตร ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ
                    ช่องประแดก  อยู่ในเขตอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ กับตำบลจังกันของเขมร เป็นทางคนเดิน กันดาร หาน้ำยาก เป็นทางบนที่ราบ สูง ๒๖๕ เมตร ภูมิประเทศเป็นท้องทุ่ง
                    ช่องเสก  เป็นทางคนเดิน สูง ๒๗๕ เมตร ลักษณะทั่วไปเหมือนช่องประแดก
                    ช่องกูน  อยู่ในเขตอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เป็นทางเกวียน กันดาร หาน้ำยาก เป็นทางบนพื้นราบ สูง ๔๑๒ เมตร ภูมิประเทศเป็นป่าหญ้าในป่าทึบ
                    ช่องพริก  เป็นทางเกวียน กันดาร หาน้ำยาก ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ
                    ช่องตาระกา  เป็นทางคนเดิน
                    ช่องเกล  อยู่ในเขตบ้านติดจู ติดต่อกับ ตำบลอันลองเวงของเขมร เป็นทางคนเดินอยู่บนที่ราบ สูง ๒๓๓ เมตร
                    ช่องสำโรง  เป็นทางคนเดิน อยู่บนพื้นที่ราบ อาศัยน้ำจากห้วยสละ ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ
                    ช่องเปรียะจำป๊อก  เป็นทางคนเดิน อาศัยน้ำจากสตึงศาลา
                    ช่องห้าเสา  อยู่ในเขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดสุรินทร์ ติดต่อกับ ตำบลอันลองเวงของเขมร เป็นทางคนเดิน อาศัยน้ำจากสตึงจะและ เป็นทางบนพื้นราบ สูง ๕๒๘ เมตร ภูมิประเทศเป็นป่าทึบปนทุ่งหญ้า
                    ช่องเมงเจ  เป็นทางคนเดินบนที่ราบ สูง ๕๔๘ เมตร ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนช่องห้าเสา
                    ช่องพระพะลัย  อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ติดต่อกับ อำเภอสำโรงของเขมร เป็นทางคนเดิน อาศัยน้ำจากห้วยขยุง เป็นทางบนที่ราบ ผ่านช่องเขา สูง ๕๕๗ เมตร
                    ช่องทับอู่ ช่องเพิงพระพุทธ  ลักษณะทั่วไปเหมือนช่องพระพะลัย สูง ๓๐๖ เมตร
                    ช่องโนนอาว  เป็นทางคนเดินไปตำบลละมัง จังหวัดเสียมราฐของเขมร เป็นทางบนพื้นราบ สูง ๒๙๑ เมตร อาศัยน้ำจากห้วยชมดวด ภูมิประเทศเป็นป่าทึบบนทุ่งหญ้า
                    ช่องพระวิหาร  เป็นทางคนเดินที่ใช้กันอยู่เสมอ ระหว่างน้ำอ้อมกับกระเบา ช่องทางที่ใช้ติดต่อกับประเป็นทางบนพื้นราบ ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ
                    ช่องศาลากอกี่  เป็นทางคนเดิน กันดารมากไม่มีใครใช้
            ช่องทางที่ใช้ติดต่อกับลาว
                    ช่องท่าเอง  เป็นทางคนเดินไปยังแม่น้ำโขง เป็นทางบนพื้นราบ ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ
                    ช่องทาง  เป็นทางคนเดินไป จังหวัดจัมปาศักดิ์ของลาว เป็นทางบนพื้นราบ ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ
                    ช่องทางกระต่าย  เป็นทางคนเดินไป จังหวัดจัมปาศักดิ์ของลาว กันดารมาก อาศัยน้ำตามลำธาร เป็นทางบนพื้นราบ ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ
                    ช่องเม็ก  เป็นเส้นทางถนนระหว่าง อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบล ฯ กับเมืองเก่าของลาว อาศัยน้ำจากลำโขงน้อย เป็นทางบนพื้นราบ ยานยนต์เดินทางได้สะดวก ภูมิประเทศเป็นป่าโปร่ง
            ช่องทางภายในประเทศ
                    ช่องตะโก  เดิมเป็นช่องทางระหว่าง จังหวัดบุรีรัมย์ กับ จังหวัดสระแก้ว เดิมเป็นทางเกวียน ต่อมาได้ทำเป็นถนน เป็นทางบนที่สูง (๒๑๕ เมตร)
                    ช่องทิ้งกุบ ช่องบุพราหมณ์ ช่องตากิว ช่องบุขนุน  เป็นทางคนเดินระหว่าง จังหวัดบุรีรัมย์ กับ จังหวัดนครราชสีมา และสระแก้ว เป็นทางกันดารขึ้นลงลำบาก ไม่ใคร่มีผู้ใช้
                    ช่องทางรถไฟผ่านทิวเขาดงพระยาเย็น  ยาวประมาณ ๔๐ กิโลเมตร ระหว่างสระบุรี กับ นครราชสีมา
                    ช่องทางถนนสุรนารายณ์  เป็นช่องทางระหว่างสระบุรี กับนครราชสีมา ผ่านดงพระยากลาง
                    ช่องสระผม  เป็นทางเกวียนเดิม เคยใช้เป็นเส้นทางคนเดินสมัยโบราณ ติดต่อกับ จังหวัดนครราชสีมา อยู่ใต้ถนนแนวสุรนารายณ์ เลียบไปตามลำสนธิ มีด่านกักสัตว์ใกล้ช่องทางนี้
  ท่าข้าม
            เป็นท่าข้าม ระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับประเทศลาวในลำน้ำโขง โดยทั่วไปตลอดฝั่งลำน้ำโขง ใช้เรือข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ทุกแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีถนนเลียบริมฝั่งลำน้ำโขง สำหรับท่าข้ามที่มีความสมบูรณ์ให้ได้ตลอดปี มีดังนี้
                    ท่าข้ามอำเภอเขมราฐ  กว้าง ๑,๐๐๐ เมตร ติดต่อกับบ้านท่าแพของลาวโดยใช้เรือ  น้ำลึกตลิ่งชันทั้งสองฝั่ง
                    ท่าข้ามบ้านศรีมงคล  กว้าง ๑,๒๐๐ เมตร ติดต่อกับ สุวรรณเขตของลาว ฝั่งไทยตลิ่งชัน ฝั่งลาวตลิ่งลาด
                    ท่าข้ามอำเภอธาตุพนม  กว้าง ๑,๒๐๐ เมตร ติดต่อกับบ้านท่าข้าม ตลิ่งลาดทั้งสองฝั่ง
                    ท่าข้ามอำเภอเมืองนครพนม  กว้าง ๑,๒๐๐ เมตร ติดต่อกับท่าแขกของลาว ทางฝั่งไทยตลิ่งชัน ฝั่งลาวตลิ่งลาด
                    ท่าข้ามอำเภอท่าอุเทน  กว้าง ๑,๐๐๐ เมตร ติดต่อกับปากหินบุนของลาว ฝั่งไทยตลิ่งลาด ฝั่งลาวตลิ่งชัน
                    ท่าข้ามอำเภอบึงกาฬ  กว้าง ๑,๐๐๐ เมตร ลึก ๑๕ - ๒๕ เมตร ติดต่อกับบ้านปากสาน ฝั่งไทยตลิ่งลาด ฝั่งลาวตลิ่งชัน
                    ท่าข้ามอำเภอเมืองหนองคาย  กว้าง ๑,๐๐๐ เมตร ลึก ๑๕ - ๒๓ เมตร ตลิ่งชันทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว
                    ท่าข้ามอำเภอเชียงคาน  กว้าง ๑,๐๐๐ เมตร ลึก ๑๕-๒๐ เมตร ตลิ่งชันทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว
 
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์