www.dooasia.com >
เมืองไทยของเรา >
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย
ภูมิรัฐศาสตร์
ขนาด รูปร่าง
พรมแดน
ภูมิประเทศ
ภาคเหนือ
- ธรณีวิทยา -
การระบายน้ำ
- พื้นที่ราบ -
ป่าไม้ -
เขตแดน
ภาคกลาง
- ธรณีวิทยา -
การระบายน้ำ
ภาคอิสาน
- ธรณีวิทยา -
การระบายน้ำ
- พื้นที่ราบ
- ป่าไม้
- เขตแดน
ภาคใต้
- ธรณีวิทยา
-
การระบายน้ำ
- ทะเลสาบ
- ฝั่งทะเล -
พื้นที่ราบ
- ลมฟ้าอากาศ
ภาคใต้ของไทย
ภาคใต้เป็นภูมิภาคซึ่งมีพื้นที่เป็นรูปแหลมยาวยื่นลงไปในมหาสมุทร มีทิศทางจากเหนือ
ณ แนวกั้นอ่าวไทยที่เส้นรุ้ง ๑๓ องศา ลงไปทางใต้จดมาเลเซีย ที่เส้นรุ้ง ๕
องศา ๓๐ ลิบดา กั้นมหาสมุทรอินเดียไว้ทางด้านทิศตะวันตก และทะเลจีนใต้ทางด้านทิศตะวันออก
มีทิวเขาอันต่อเนื่องจากที่ราบสูงยูนนานเป็นแกนหรือโครงของแหลม ต่อลงไปจนจดเส้นศูนย์สูตรที่สิงคโปร์
ภาคใต้ของไทยติดต่อกับประเทศพม่าทางทิศตะวันตก โดยมีทิวเขาตะนาวศรี
และลำน้ำปากจั่นเป็นพรมแดน
ติดต่อกับมาเลเซียทางด้านทิศใต้ โดยมีทิวเขาสันกาลาคีรี
กับลำน้ำนราธิวาสเป็นพรมแดน
มีพื้นที่ ประมาณ ๗๕,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑ ใน ๗ ของพื้นที่ประเทศ
ตอนแคบที่สุดกว้าง ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร และตอนแคบที่สุดของแหลมที่คอคอดกระ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กว้างประมาณ ๔๐ กิโลเมตร ส่วนกว้างที่สุดไม่เกิน
๒๐๐ กิโลเมตร ส่วนยาวประมาณ ๗๕๐ กิโลเมตร
สภาพทางธรณีวิทยา
ภาคใต้มีโครงสร้างอันประกอบด้วยทิวเขาเป็นแถบของแหลม อยู่ประมาณตอนกลาง ยาวตลอดจากเหนือไปใต้
ทำให้ตัวแหลมมีความคงทนต่อการทำลายของธรรมชาติ มีพื้นที่ลาดเทลงสู่ทะเลทั้งด้านอ่าวไทย
และมหาสมุทรอินเดีย แนวรอยพับย่นของธรณีมีอยู่หลายแห่ง เช่น ทางตะวันตกของอำเภอทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช และมีต่อทอดลงไปในทะเลด้วย บริเวณหมู่เกาะทางตะวันออกของ
อำเภอบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี กับในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของ จังหวัดสงขลา
ภูเขา
ภาคใต้นอกจากจะมีทิวเขาเป็นแนวยาวตลอดทั้งภาค อยู่ตอนกลางของพื้นที่แล้ว ยังมีทิวเขาสั้น
ๆ แทรกอยู่มีทิศทางขนานไปกับทิวเขาหลักเกือบทั้งสิ้น เราสามารถแบ่งทิวเขาในภาคใต้
ออกเป็นทิวเขาใหญ่ ๆ ได้ ๕ ทิวคือ ทิวเขาตะนาวศรี ทิวเขาระนองหรือภูเก็ต ทิวเขาสันกาลาคีรี
ทิวเขานครศรีธรรมราช และทิวเขาสามร้อยยอด
ทิวเขาตะนาวศรี
ทางเหนือเริ่มตั้งแต่ช่องเจดีย์สามองค์ ทอดตัวยาวลงไปทางใต้
จดบริเวณจังหวัดชุมพร ตอนลำน้ำปากจั่น ทิวเขาตะนาวศรีเป็นเทือกเดียวกับทิวเขาถนนธงชัย
เป็นทิวเขาหิน เว้นบางตอนทางด้านตะวันตก ในเขตดินแดนมอญ มีภูเขาหินปูนอยู่บ้าง
ทิวเขาตะนาวศรี เป็นทิวเขาต่อเนื่องตลอดทิว มีความกว้าง และความสูงมากที่สุดในพื้นที่ระหว่าง
จังหวัดเพชรบุรี ถึงลำน้ำปราณ ต่อจากบริเวณนี้ลงไป จะมีลักษณะแคบและเตี้ยกว่าทางตอนเหนือ
ยอดเขาสูงสุดในตอนใต้นี้ คือ ยอดเขาหลวง
อยู่ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งอยู่ทางใต้ของช่องสิงขร
ทิวเขาตะนาวศรีตอนใต้สุด แยกออกไปสองฟากของลำน้ำ ส่วนตะวันตกอยู่ในเขตพม่า
ส่วนตะวันออกอยู่ในเขตไทย ซึ่งได้ชื่อใหม่ว่าทิวเขาภูเก็ต
ช่องทางในทิวเขาตะนาวศรีที่สำคัญมีอยู่สามช่อง คือ ช่องเจดีย์สามองค์ ช่องสิงขร
และช่องบ้านเลียบญวน
ทิวเขาตะนาวศรีปันน้ำลงทั้งสองฟากทิวเขาคือ
- ลงสู่มหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ ลำน้ำทะวาย ลำน้ำตะนาวศรี และลำน้ำอัตรัน (เชียงกราน)
- ลงสู่อ่าวไทย ได้แก่ ลำน้ำแม่กลอง ลำน้ำเพชรบุรี ลำน้ำปราณ คลองท่าตะเภา
และคลองชุมพร
ยอดเขาสูงส่วนใหญ่อยู่ในเขตพม่า ที่สูงเกิน ๑,๐๐๐ ขึ้นไปมีอยู่ ๘ ยอดด้วยกัน
อยู่ในเขตไทย ๗ ยอดด้วยกัน คือ เขาแดนใต้ เขาเราะแระ อยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี
เขาหวานน้อย เขาว่านมี อยู่ทางตะวันตกของจังหวัดเพชรบุรี เขาใหญ่อยู่ทางตะวันตกของอำเภอปราณบุรี
เขาหลวงอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเขากูบอยู่ในเขต อำเภอทับสะแก
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ทิวเขาภูเก็ต
(หรือทิวเขาระนอง) เป็นทิวเขาที่แยกออกจากทิวเขาตะนาวศรีเริ่มจาก จังหวัดชุมพร
นับจากแม่น้ำปากจั่นลงไปทางใต้เป็นแนวไปในแหลมมลายู ไปสุดตอนที่ต่อกับทิวเขานครศรีธรรมราช
และทิวเขาสันกาลาคีรีในจังหวัดสตูล นอกนั้นเป็นทิวที่ล้ำลงไปในทะเลเกิดเป็นเกาะภูเก็ตขึ้น
จึงให้ชื่อว่าทิวเขาภูเก็ต และเนื่องจากว่าทิวเขานี้ผ่านจังหวัดระนอง จึงได้ชื่อว่าทิวเขาระนอง
ทิวเขานี้เป็นเขาหินแกรนิต ได้ปันน้ำลงสองฟาก คือ ด้านอ่าวไทย และด้านมหาสมุทรอินเดีย
ทางด้านอ่าวไทย มีคลองสวี ลำน้ำหลังสวน และลำน้ำคีรีรัฐ (ไหลลงอ่าวบ้านดอน)
ทางด้านมหาสมุทรอินเดีย มีลำน้ำกระ (มีคลองปากจั่น และคลองสะอุ่นไหลมาบรรจบ)
และลำน้ำตะกั่วป่า
ทิวเขานี้มียอดเขาสูงที่สำคัญ คือ เขากะทะคว่ำ
สูง
๑,๐๙๒ เมตร เขาปลายบางโต๊ะ
สูง ๑,๐๔๗ เมตร เขาทั้งสองลูกนี้อยู่ตอนเหนือของจังหวัดพังงา เขาพระมี
สูง ๑,๑๐๖ เมตร อยู่ในเขตอำเภอคอเขา จังหวัดพังงา เขาหลังคาตึก
สูง ๑,๒๗๒ เมตร อยู่ในเขตอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ยังมียอดเขาที่สูงเกิน
๑,๐๐๐ เมตร อีกหลายยอด แต่ไม่มีชื่อเรียกกัน
ทิวเขาภูเก็ตกั้นเขตแดน ระหว่างฟากตะวันออกกับฟากตะวันตก ของสี่จังหวัดในภาคใต้คือ
ทางตอนเหนือกับจังหวัดชุมพร (ตะวันออก) กับจังหวัดระนอง (ตะวันตก) ทางตอนใต้กั้นจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ตะวันออก) กับจังหวัดพังงา (ตะวันตก)
ทิวเขานครศรีธรรมราช เป็นทิวเขาที่อยู่ทางตะวันออกของทิวเขาภูเก็ต
และเป็นแกนของแหลมต่อลงไปอีกแนวหนึ่ง ทิวเขานี้กั้นที่ราบสุราษฎร์ไว้ตอนกลาง
โดยมีภูเขาลูกโดด ๆ แทรกอยู่เป็นตอน ๆ มีความสูง ๒๐๐-๓๐๐ เมตร มี เขาพนมเบญจา
สูง
๑,๔๐๔ เมตร เป็นยอดสูงสุด เป็นเขาหินแกรนิต ที่มีทิศทางทอดตัวจากเหนือไปใต้
จากริมฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยไปสุดยังฝั่งทะเลด้านตะวันตก เริ่มจากทางใต้ของลำน้ำตาปี
ทางใต้จดทิวเขาสันกาลาคีรี ตอนเหนือของทิวเขานี้มียอดสูงหลายยอด ส่วนตอนกลาง
และตอนใต้ยอดไม่สูงนัก ส่วนที่ยื่นลงไปในทะเลของทิวเขานี้ได้แก่เกาะสมุย
และเกาะพงัน
ส่วนทางตอนใต้ในจังหวัดต่าง ๆ แบ่งเป็นสองส่วน คือ ทางด้านตะวันออกมีจังหวัดนครศรีธรรมราช
พัทลุง และสงขลา ทางด้านตะวันตกมี จังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล เป็นสันปันน้ำ
ทางด้านอ่าวไทย และด้านทะเลอันดามัน
ด้านอ่าวไทย มีลำน้ำตาปี และลำคลองต่าง ๆ ที่ไหลลงทะเลสาบสงขลา
ด้านทะเลอันดามัน มีลำน้ำตรัง
ยอดเขาสูงที่สำคัญได้แก่ เขาหลวง อยู่ทางตะวันตกของ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
สูง ๑,๗๘๖ เมตร เขาเหม็นอยู่ในเขต อำเภอฉวาง สูง ๑,๓๐๙ เมตร เขาสอยดาวอยู่ในเขต
จังหวัดตรัง สูง ๙๙๓ เมตร
ช่องทางที่สำคัญมีอยู่ ๓ ช่องทางคือ ช่องทางรถไฟระหว่างนครศรีธรรมราช ผ่านอำเภอทุ่งสง
ไปตรัง ช่องทางระหว่างคอนเนียงไปสตูล เป็นช่องทางถนน
ทิวเขาสันกาลาคีรี
เป็นทิวเขาที่ต่อเนื่องกับทิวเขานครศรีธรรมราช เป็นทิวเขาหินแกรนิต และแยกออกเป็นหลายแนว
มีทิศทางขนานกันจากเหนือลงใต้ ตอนย่านกลางมีความสูง ประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร ตอนริมทั้งด้านตะวันตก
และตะวันออก มีความสูงประมาณ ๔๐๐ เมตร ทิวเขานี้เริ่มตั้งแต่จังหวัดสตูล ไปสุดในเขตจังหวัดนราธิวาส
มีลักษณะลดหลั่นเป็นขั้นบรรได ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ กั้นเขตแดนไทยกับมาเลเซียในเขตจังหวัดสตูล
สงขลา ยะลา และนราธิวาสของไทย กับเขตรัฐไทรบุรี ปลิส เปรัค และกลันตันของมาเลเซีย
ช่องทางที่สำคัญคือ ช่องทางถนนและเส้นทางรถไฟ จากหาดใหญ่ไปปาดังเบซาร์ และช่องทางถนนจากยะลาไปเบตง
ยอดเขาสูงเกินกว่า ๑,๐๐๐ เมตร มีอยู่เป็นจำนวนมากประมาณ ๑๔ ยอด มีชื่อเป็นภาษาพื้นเมือง
ยอดสูงสุดคือ กุหนุงฮูลูติติบาซาร์ สูง ๑,๕๓๕ เมตร
ทิวเขาสามร้อยยอด เป็นทิวเขาหินปูนเตี้ย
ๆ สูง ระหว่าง ๓๐๐-๖๐๐ เมตร แยกอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทิวเขาตะนาวศรี
มีทิศทางขนานกับทิวเขาตะนาวศรี เริ่มต้นจากจังหวัดเพชรบุรีในเขต อำเภอชะอำ
ทอดตัวไปทางใต้ ผ่านอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลงไปเป็นหมู่เกาะต่าง
ๆ ในอ่าวประจวบ ฯ ตัวเขาสามร้อยยอดแท้ ๆ อยู่ชิดกับชายฝั่งอ่าวไทย บริเวณใต้อำเภอปราณบุรี
|