ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

ภาษาและวรรณกรรม
            ภาษา กลุ่มชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอนใช้ภาษาถิ่นหลายภาษาทั้งคนไทยพื้นที่ราบและคนไทยภูเขา คนไทยพื้นที่ราบเดิมเป็นชาวไทยใหญ่ พูดและเขียนภาษาไทยใหญ่ (ไต)
            ปัจจุบันมีประชาชนจากถิ่นอื่นอพยพมาอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมากขึ้น ทำให้มีภาษาถิ่นเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งนอกจากภาษาไทยใหญ่แล้ว ยังมีผู้ที่ใช้ภาษาล้านนา (คำเมือง) ภาษาอีสาน ภาษาพม่า ภาษาอินเดีย และภาษาจีน
            ส่วนชาวไทยภูเขาจะใช้ภาษาถิ่นตามเผ่าพันธุ์  เรียงตามลำดับจากภาษาที่มีผู้ใช้มากคือภาษากะเหรี่ยง (ร้อยละ ๗๙) ภาษามูเซอ (ร้อยละ ๗) ภาษาลีซอ (ร้อยละ ๖) ภาษาลัวะ (ร้อยละ ๕) และภาษาม้ง (ร้อยละ ๔)
                ภาษาไทยใหญ่ (ไต)  มีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ปัจจุบันใช้มากเฉพาะภาษาพูดเท่านั้น เนื่องจากไม่มีการเรียนการสอน และไม่สะดวกต่อการใช้สื่อความหมาย
                ตัวอักษรไทยใหญ่มีรูปเหมือนตัวอักษรพม่าเกือบทั้งหมด ตัวอักษรของพวกงเงี้ยวเกือบเป็นตัวอักษรพม่าล้วน ผิดอยู่เฉพาะตัว ก จ ผ ห  อักษรสี่ตัวนี้ มีรูปคล้ายอักษรอาหม
                ชาวล้านนาและชาวลาวมักเรียกภาษาไทยใหญ่ว่า ภาษาเงี้ยว นักภาษามักเรียกภาษานี้ว่า ภาษาชาน เป็นภาษาไทยถิ่นหนึ่งซึ่งพูดโดยชนส่วนใหญ่ในรัฐฉาน ในพม่ามีเชียงตุง เป็่นเมืองหลวง พวกนี้เรียกตนเองว่า ไต ภาษาชานหรือไทยใหญ่ มีอยู่สี่กลุ่มคือ
                    ฉานตะวันออกเฉียงใต้  ได้แก่ พวกที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ในพม่า
                    ฉานตะวันตกเฉียงใต้  ได้แก่ พวกไทยใหญ่ที่อยู่ทางใต้ของรัฐฉาน
                    ฉานตะวันออกเฉียงเหนือ  ได้แก่ พวกฉาน จีน หรือพวกไทเมา ที่อยู่ทางเหนือของรัฐฉาน ตั้งแต่บางส่วนในแคว้นยูนนานของจีน ไปจนถึงตะวันตกของแม่น้ำอิรวดี ในพื้นที่ที่เป็นราชอาณาจักรฉานเดิม
                    ฉานตะวันตกเฉียงเหนือ  และตะวันออกเฉียงเหนือ รวมเรียกว่า พวกฉานเหนือ ได้แก่ พวกไทยใหญที่เรียกว่า เงี้ยว
                    พวกฉานตะวันตกรวมไปถึงพวกไทยใหญ่ ที่อยู่ในเแคว้นอัสสัมของอินเดีย เช่น ไทยอาหม ไทยดำตี่ ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำอิรวดี
                    พวกไทยใหญ่ได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ทางชายแดนภาคเหนือ เช่นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และเชียงราย ส่วนจังหวัดอื่นก็มีจังหวัดตาก พิษณุโลก และพิจิตร เป็นต้น
                ภาษากะเหรี่ยง  คนไทยภาคเหนือนิยมเรียกกะเหรี่ยงว่า ยาง ชาวกะเหรี่ยงมีถิ่นเดิมอยู่ในพม่า ได้อพยพเข้ามาอยู่กินในประเทศไทย มีประมาณ ๒๐๐ ปีเศษมาแล้ว กะเหรี่ยงมีสี่เผ่าใหญ่คือ
                   กะเหรี่ยงขาว หรือ สกอ  ชาวไทยภาคเหนือเรียก ยางกะเลอ
                   กะเหรี่ยงแดงหรือบาเว  เรียกตนเองว่า กะยา คนไทยภาคเหนือเรียก ยางแดง
                   กะเหรี่ยงต้องสู้ หรือ ปาโอ  คนไทยภาคเหนือเรียก ตองสู้
                   กะเหรี่ยงโป้ว  มีภาษาของตนเองต่างหาก ไม่เหมือนภาษาของพวกที่อยู่ในจีน - ทิเบต แต่บางแห่งบอกว่ามีความใกล้เคียงกับแขนงของ ทิเบต - พม่า
                ภาษาลีซอ  นักภาษาศาสตร์จัดภาษาลีซอ ไว้ในกลุ่มภาษโลโลพม่า ของตระกูลภาษาทิเบต ลีซออพยพมาจากรัฐคะฉิ่นในพม่า เข้ามาในประเทศไทยสมัยเดียวกันกับพวกมูเซอ
                ภาษาลีซอ  มีแต่ภาษาพูดไม่มีภาษาเขียน ลีซออพยพเร่ร่อนใช้ชีวิตสังคมกับคนหลายเผ่า ทำให้ลีซอเป็นนักภาษา สามารถพูดภาษาของชนเผ่าอื่น ๆ ได้ เช่น มูเซอ ยูนนาน อีก้อ ไทยใหญ่และภาษาถิ่นอื่น ๆ ในภาคเหนือของไทย
                ภาษามูเซอ หรือภาษาลาฮู  เดิมมูเซอมีถิ่นที่อยู่ในทิเบตและพม่า ได้อพยพเข้ามาในประเทศไทย เมื่อประมาณก่อนสงครามมหาเอเชียบูรพา แบ่งออกเป็นสี่สาขาคือ มูเซอแดง มูเซอดำ มูเซอเซเล และมูเซอชี
                ภาษามูเซอ ไม่มีพยัญชนะสะกดเช่นเดียวกับภาษากะเหรี่ยง และมีแต่ภาษาพูด มีการยืมคำบางคำจากพม่า และยูนนานบ้าง ภาษามูเซออยู่ในกลุ่มภาษา ทิเบต - เยอรมัน  เป็นตระกูลภาษาคำโดด ออกสำเนียงพยางค์เดียว มีเสียงสูงต่ำ แตกต่างกันถึงสามเสียง
                ภาษาละว้า  ละว้าเป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมในดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อไทยอพยพเข้ามาก็ได้ถอยร่นเข้าไปอยู่ในดินแดนที่ไม่มีผู้ใดรบกวน จนกลายเป็นชาวเขาไปในที่สุด
                ภาษาละว้า เป็นภาษาถิ่นหนึ่งของตระกูลภาคออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ - เขมร มีระบบพยัญชนะต้นเสียง และเสียงกล้ำมาก โดยเฉพาะเสียงควบกล้ำ ร และ ล  ชาวละว้าสามารถพูดคำเมือง และภาษาชาวเขาเผ่าอื่นได้ด้วย ภาษาละว้ามีสำเนียงคล้ายภาษาข่าในประเทศลาว และภาษามอยในประเทศเวียดนาม พวกพะเนียง สะเตียง ในประเทศกัมพูชา พวก ล้า ว้า ปูนาน ฯลฯ ในรัฐฉานและมณฑลยูนนานตอนใต้
                ภาษาม้ง หรือแม้ว และภาษาเย้า  เดิมเป็นภาษถิ่นหนึ่งของตระกูลทิเบต - พม่า ปัจจุบันจัดเป็นภาษาในตระกูลภาษาจีน - ทิเบต  ม้งในประเทศไทยมีอยู่สามประเภทคือ
                    ม้งดำ หรือม้งน้ำเงิน  ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดแพร่ น่าน ตาก เชียงราย และมีอยู่ประปรายในจังหวัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลก
                    ม้งขาว  มีอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และน่าน ภาษม้งขาวและม้งดำแตกต่างกันมาก จนฟังกันไม่รู้เรื่อง
                    ม้งมะนา  มีอยู่ในจังหวัดน่าน โดยอพยพเข้ามาจากประเทศลาว
                    ม้งทั้งสามประเภท ใช้ภาษาแตกต่างกันมากจนไม่สามารถสื่อความหมายกันได้ ภาษาม้งและภาษาเย้า ไมีมีอักษรของตนเอง มีการยืมอักษรจีนมาใช้
                    ชาวม้ง ใช้ภาษาสัญลักษณ์โดยใช้การกรีดให้เป็นรอยบนท่อนไม้เล็ก ๆ เป็นเครื่องหมายแทนตัวหนังสือ
            วรรณกรรม  มีทั้งที่เป็นมุขปาระ และเป็นสัญลักษณ์อักษร
                วรรณกรรมที่เป็นมุขปาระ  ที่สืบทอดกันมาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วยตำนานและบทเพลง บทกลอน

                    ตำนานคนไต (ไทยใหญ่)  พงศาวดารไทยใหญ่เล่ม ๑ นิพนธ์โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ระบุว่า นานมาแล้วพระเจ้าอุทิพวา ราชาธิราชกรุงจีน มีราชธิดาพระเนตรบอด นามว่า สอฮะลา มีอายุได้ ๑๒ ปี ถูกจับลอยแพ แพได้ลอยมาติดกิ่งไม้ที่เมืองตะโก้ง ราชธิดาก็ปีนขึ้นจากแพ ได้ไปพบพยัคฆ์ร้ายตัวหนึ่ง (เสือเผือก) ซึ่งเป็นสวามีของพระธิดาในชาติก่อน เลยได้เป็นสามีภรรยากันมีบุตรสี่คน เมื่อเจริญวัยราชธิดาก็เอาแหวนมอบให้ เพื่อแสดงให้เป็นที่เชื่อถือ และได้กลับไปเฝ้าพระเจ้าตา ได้เล่าเรื่องราวของราชธิดาให้ฟัง พระเจ้ากรุงจีนจำได้ และรับไว้เป็นหลานได้ว่าเรียนศิลปวิทยาครบสามศกแล้ว ลาพระเจ้าตากกลับมาหามารดา ได้มอบฆ้อง มีด นกยาง ให้ราชนัดดาคนที่หนึ่ง - สาม ส่วนคนที่สี่ ให้ไปขอนครที่จะครอบครองจากผู้เป็นบิดา
                    ราชนัดดาคนแรกเดินทางมาถึงที่ตั้งเมืองโมกองหรือเมืองคลัง เกิดอภินิหารฆ้องดังขึ้นเองสามลา จึงสร้างเมืองขึ้นตรงที่นั้นเรียกว่า เมืองเมียนกองดี ต่อมาเปลี่ยนเป็นเมืองก้อง พม่าเรียกเมืองโมกอง ไทยเรียกเมืองตัง
                    ราชนัดดาคนที่สอง เดินทางมาถึงวันหนึ่งมีดที่ได้รับมาหลุดจากมือไปปักดินอยู่เป็นอัศจรรย์ จึงให้สร้างเมืองขึ้นเรียกว่า เมียนมีดญี คือบ้านมีดใหญ่หรือเมืองมีด พม่าเรียกไมเมียก
                    ตอนแรกเรียกชื่อว่า เมียนยางยี ต่อมากลายเป็นเมืองยาง พม่าเรียกโมยิน
                    ราชนนัดดาคนสุดท้าย มาหาพญาเสือเผือกผู้เป็นบิดา พญาเสือเผือกก็สร้างเมืองให้เรียกว่า เมียนเสือญี ต่อมาเรียกว่า เวียงเสือ พม่าเรียกวนโส
                    ด้วยเหตุนี้ชาวไทยใหญ่จึงเชื่อกันว่า คนไตเป็นเชื้อสายผู้กล้าหาญอาจพญาเสือ

                  ตำนานกะเหรี่ยง  มีอยู่สองเผ่าด้วยกันคือ เผ่าโปว์ และกะเหรี่ยงแดง
                         - กะเหรี่ยงเผ่าโป้ว  มีเรื่องเล่าว่านานมาแล้วมีสองพี่น้องชายหญิง ผู้ชายเป็นพี่ชื่อลาเนียม ผู้หญิงเป็นน้องชื่ออาม่อง อยู่ในเขตเมืองปันมะนา ตอนใต้ของเมืองมัณทะเล เป็นผู้ที่จงรักภักดีต่อผีภูเขาหลวง เมื่อได้อาหารมาก่อนจะกินจะเซ่นผีภูเขาหลวงก่อน ผีภูเขาชอบใจจึงให้กลองยาววิเศษมา เมื่อต้องการสิ่งใดก็ให้ตีกลองแล้วจะได้สิ่งนั้นสมปรารถนา
                         วันหนึ่งลาเนียมตีกลองได้เม่นมาตัวหนึ่ง แบ่งให้น้องสาวครึ่งหนึ่ง ขนเม่นแทงเนื้อน้องสาวบาดเจ็บสาหัส เลยโกรธหาว่าพี่ชายเอาสัตว์ขนแหลมมาให้ จึงได้ลอบเปลี่ยนหนังหมีกลองเสียใหม่ กลองนั้นก็หมดความขลัง ลาเนียมตีกลองไม่ได้ผล เมื่อทราบเรื่องที่น้องสาวทำเช่นนั้นก็โกรธ จึงหนีไปทางทิศเหนือตามลำพัง น้องสาวตามหาพี่ชายไม่พบ ไปจนถึงเมืองลา ได้แต่งงานกับชายต่างเผ่า ลูกหลานที่เกิดเป็นต้นตระกูลของกะเหรี่ยง สะกอ และโปว์ ต่อมา
                         - กะเหรี่ยงแดง  มีตำนานเล่าว่าบริเวณเมืองง่วนต่องปี่ ซึ่งอยู่ทางใต้เมืองหลอยก่อ รัฐดะยา เป็นถิ่นที่อยู่ของนางนกหรือกินรี มีชายหนุ่มต้นตระกูลชาวคะยาไปพบเข้าและได้เป็นสามีภรรยากัน มีลูกหลานสืบต่อมาเป็นกะเหรี่ยงแดง
                         ชาวกะเหรี่ยงแดง ถือว่า ตนเป็นลูกหลานกินรีจึงมักเดินทางไปเคารพบูชาบรรพบุรุษของตนและเวลาตายจะหันศีรษะไปทางทิศเมืองง่วนต่องปี่เสมอ
                         กะเหรี่ยงแดง เป็นเผ่านักรบที่กล้าแข็ง เมื่อครั้งจอละฝ่อ เป็นผู้ปกครองดินแดนคะยา ได้เคยทำการสู้รบกับเจ้าอุปราชหอหน้าแห่งเมืองนครเชียงใหม่ แต่ไม่แพ้ชนะกันจึงได้ทำสัตย์ปฏิญาณสงบศึก โดยฆ่ากระบือเผือกหนึ่งตัว ใช้เลือดมาผสมสุราเป็นน้ำสาบาน ปฏิญาณเป็นสัญญาไมตรีต่อกันว่า ตราบใดแม่น้ำคง (สาละวิน) ไม่แห้งหาย เขาควายไม่ตรง ถ้ำหลวงยังไม่ยุบ เมืองนครเชียงใหม่กับเมืองยาวแดง จะเป็นไมตรีไม่รุกรานกันตราบนั้น

                    ตำนานมูเซอ  มีตำนานเล่าว่า ผีฟ้าหรือพระเจ้าได้สร้างโลกไว้ให้มีแผ่นดินกับน้ำ ภายหลังเกิดต้นไม้ สัตว์ และแมลงต่าง ๆ ขึ้น พระเจ้าจึงสร้างมนุษย์ผู้ชายคนแรก มีรูปร่างคล้ายสิงทะโมน แต่ไม่มีขนรุงรัง และสร้างผู้หญิงคนหนึ่งมีท่อนล่างเป็นปลาอาศัยอยู่ในน้ำ แต่ขึ้นมาบนบกได้ ที่เรียกว่านางเงือก ทั้งสองได้พบปะ และเป็นสามีภรรยากัน ขณะที่นางเงือกตั้งครรภ์ได้เกิดน้ำท่วมแผ่นดิน ทั้งสองได้หลบอาศัยอยู่ในน้ำเต้าแห้งใบใหญ่ ข้างในกลวง ตรงปากเป็นรูเล็ก ๆ ต่อมานางเงือกได้คลอดลูกชายหญิงจำนวน ๑๐๐ คน เมื่อน้ำแห้งแล้ว ผลน้ำเต้าค้างอยู่บนยอดเขาหิมาลัย ลูก ๆ ของนางเงือกได้คลานออกมาจากน้ำเต้า จับคู่กันไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ต่าง ๆ เป้นต้นตระกูลของมนุษย์ต่อมา
                    มูเซอ ถือว่าตนเป็นพี่คนโต ต้องอยู่บนภูเขา ปรนนิบัติดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า ดังนั้นชีวิตของมูเซอจึงต้องอยู่แต่บนภูเขา

                    ตำนานลีซอ  มีตำนานเล่าว่า สมัยก่อนเมื่อเทวดาแบ่งเขตแดนให้คนเชื้อสายต่าง ๆ คนอื่น ๆ ใช้ก้อนหินหรือเสาหลักปักแสดงอาณาเขต แต่ลีซอกลับใช้หญ้าคามัดเป็นปม ทำเครื่องหมายไว้ พอถึงฤดูร้อนไฟป่าไหม้ลามทุ่งหญ้าคาหมด ลีซอไม่สามารถบอกเขตแดนของตนได้ จึงต้องอพยพร่อนเร่หาที่อยู่ไปเรื่อย ๆ
            ในเรื่องเกี่ยวกับตัวอักษรมีเรื่องเล่าว่า เมื่อเทวดาให้ตัวอักษรมา คนอื่น ๆ จดไว้ในก้อนหินหรือไม้ แต่ลีซอกลับจดใส่ขนมข้าวป๊ก (ทำด้วยข้าวเหนียวคลุกกับถั่วงาที่ตำละเอียด) ระหว่างเดินทางกลับหมู่บ้านเกิดหิวจัด หาอาหารอย่างอื่นไม่ได้จึงได้เอาข้าวปุ๊กมาย่างไฟกินหมด ทำให้จำตัวอักษรไม่ได้
                    ตำนานลั๊วะ  มีตำนานเกี่ยวกับลั๊วะอยู่มาก พงศาวดารเก่าเล่าว่า ลวรัฐซึ่งนักประวัติศาสตร์ ลงความเห็นว่าคือบริเวณเมืองลพบุรี เคยเป็นอาณาจักรละว้ามาก่อนที่ขอมจะขึ้นมามีอำนาจ ในสมัยพระนางจามเทวีครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ก็ได้เคยทำสงครามวกับพวกละว้า
                        - ปฐมพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน  กล่าวว่ามีพวกละว้าอยู่ที่บริเวณดอยตุงมาก่อน ตำนานพระธาตุในเมืองเหนือ กล่าวถึงชนชาติละว้าก่อนชนชาติไทยและชนชาติขอม
                        ชาวละว้าเชียงรายเล่าว่า เดิมพวกเขาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีพญาวิลังค๊ะเป็นใหญ่ ได้พุ่งหอกสะเหน่าไปขอพระนางจามเทวี เมื่อไม่สมหวังก็สู้รบกันจนตัวตาย พวกละว้าแตกหนีไปอยู่ตามป่าเขา ปู้เจ้าน้ำขุนรองจากพญาวิลังก๊ะ ได้พาพวกละว้าหนีไปอยู่ทางเชียงราย และเชียงตุง เพื่อมิให้คนไทยจำได้ จึงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายใหม่ เมื่อถูกถามจะบอกว่าตนเองเป็นข่าแพน ข่าเปี่ยน และอื่น ๆ ถ้าตอบว่าเป็นลัวะหรือละว้าก็จะถูกฆ่าตายสิ้น
                        - พงศาวดารเชียงตุง  มีว่าคนทั้งหลายออกจากน้ำเต้าใบเดียวกัน ละว้าออกมาก่อน กะเหรี่ยงเป็นพวกที่สอง ต่อมาจึงเป็นคนไทยและชนชาติต่าง ๆ ดังนั้นละว้าและกะเหรี่ยงจึงเป็นพี่ของคนไทย ก่อนที่พญามังราย จะยกทัพไปรบได้เมืองเชียงตุงนั้น เชียงตุงเป็นถิ่นที่อยู่ของละว้าทั้งสิ้น
                        - พงศาวดารเมืองยอง  (เมืองยองอยู่ทางทิศตะวันออกของเชียงตุงติดประเทศลาว) ระบุว่าเดิมละว้าตั้ง
บ้านเรือนอยู่รอบหนองน้ำใหญ่ เจ็ดหมู่บ้าน มีพญาลกเป็นหัวหน้า ต่อมาพวกละว้าจากเชียงตุงอยพยมาอยู่ด้วย เจ้าฟ้าเชียงตุงมาขอคนคืนไป ท้าวลกไม่ยอมให้จึงเกิดรบกัน ท้าวลกชนะและตีหัวเมืองอื่น ๆ ได้อีก ๒๘ หัวเมือง รวมทั้งเมืองเชียงรุ้งของไทยลื้อด้วย ต่อมาภายหลังท้าวลกแพ้เจ้าสุนัททกุมารโอรสเจ้าฟ้าเมืองเชียงรุ้ง จึงได้หนีเข้าไปในดินแดนลาว กลายเป็นพวกข่าต่าง ๆ เช่น ข่ามุ ข่าเมด ข่าแพน ข่าฮอก ข่าน้อย ข่ากาด ข่ากะเลน ข่าวะ ฯลฯ
                        - ปฐมตำนานเมืองสิบสองผู้ไทย  เล่าว่ามนุษย์ทั้งหลายออกมาจากน้ำเต้าปุง ซึ่งปู่ลางเชิงเอาเหล็กไฟแทงเป็นรูใหญ่ พวกมนุษย์ต่างพากันคลายออกมา พวกข่าออกมาเป็นคู่แรก ผิวจึงคล้ำเตี้ย บริเวณนั้นอยู่ที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู)  เป็นต้นตระกูลของข่า และม้อยในลาว  และเวียดนามปัจจุบัน
                        - พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง  เล่าว่าขุนลอกับขุนฮาง รบกันขุนลอชนะไล่พวกขุนฮางไปอยู่ตามป่าเขา และพวกนี้คือ พวกข่านั่นเอง
                        - ตำนานเก่าแก่  กล่าวถึงต้นตระกูลพวกละว้าว่า มีภูเขาลูกหนึ่งสูง ๒,๑๐๐ เมตร อยู่เหนือเมืองข่า บนภูเขามีหนองน้ำยาว ๒๐ เส้น กว้าง ๕ เส้น น้ำลึกและเย็นมองเห็นเป็นสีเขียว เรียกว่า หนองเขียว เป็นถิ่นกำเนิดของกบยักษ์สองตัวผัวเมีย วันหนึ่งจับมนุษย์มาได้ก็เอามากิน แล้วเอากะโหลกแขวนไว้ดูเล่น ต่อมากบตัวเมียตั้งท้อง ออกลูกเป็นชายเก้าคน หญิงเก้าคน
                        กบทั้งสองยังคงจับมนุษย์มาเป็นอาหาร วันหนึ่งบังเอิญจับหลานของตนเองมากิน บรรดาลูก ๆ ต่างจับคู่แต่งงานมีบุตรหลานแยกย้ายไปอยู่ในหุบเขาเก้าแห่ง จึงได้มาหารือกันว่า พ่อแม่ของพวกเราแก่ชราแล้ว แต่ชอบกินเนื้อมนุษย์สักวันคงจับพวกเรากินเป็นแน่ จึงได้พร้อมใจกันจับพ่อแม่ที่เป็นกบมาฆ่ากิน ตั้งแต่นั้นมาก็เกิดประเพณีฆ่าพ่อแม่ที่แก่ชรามากินเป็นอาหาร เพิ่งเลิกไปเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีมาแล้ว
                        เพื่อเป็นการระลึกว่าต้นตระกูลเป็นกบ จึงได้นำโลหะมาหล่อเป็นกลองทองเหลืองกลม ๆ มีรูปกบเกาะอยู่ที่ริมของกลอง ใช้ตีในงานพิธีกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทำรูปกบไว้ที่แท่นบูชาด้วย ในเทศกาลวันปีใหม่ จะมีพิธีแห่รูปกบไปปล่อยในแม่น้ำลำธารเสมอ
                        - ตำนานหินไล่กัวะ  มีชาวลัวะกลุ่มหนึ่ง เชื่อว่าบรรพบุรุษของตนเองอาสัยอยู่ในถ้ำ แถบลุ่มน้ำสาละวิน (น้ำคง) มีหินก้อนใหญ่อยู่ก้อนหนึ่งเป็่นผัวเมียกัน เป็นที่เคารพนับถือของชาวลัวะในยุคนั้นมาก และได้รับการเลี้ยงดูจากบรรพบุรุษเป็นอย่างดี ต่อมาเมื่อมีลูกหลานลัวะเพิ่มขึ้น ไม่ได้ให้ความสำคัญแก่ก้อนหินคู่นั้นเท่าที่ควร ได้มีการล่วงละเมิดประเพณีดั้งเดิมหลายอย่าง ทำให้ก้อนหินนั้นโกรธจึงได้กลิ้งทับชาวลัวะล้มตายเป็นอันมาก พวกที่เหลือพากันอพยพหนีตายมาทางทิศตะวันออก ก้อนหินทั้งสองก็ไม่ลดละคงติดตามไปฆ่าต่อไป จนกระทั่งมาถึงบริเวณภูเขาสูงที่ทอดยาว ทางด้านทิศตะวันออกของลำน้ำยวม ชาวลัวะที่เหลือจึงหนีขึ้นไปอยู่ตามยอดเขาสูง ฝ่ายก้อนหินทั้งคู่ก็พยายามติดตาม และถามข่าวคราวหาชาวลัวะอย่างไม่ลดละ จนกระทั้งพบนกกระตั้วหัวหงอกตัวหนึ่งได้บอกแก่ก้อนหินทั้งคู่ว่า ชาวลัวะไม่ได้อยู่แถวนี้ เพราะตนเองแก่จนหัวหงอกแล้ว ยังตามชาวลัวะไม่พบเลย ก้อนหินทั้งคู่เลยเชื่อและหยุดไล่ตามชาวลัวะแต่นั้นมา
                        ปัจจุบันก้อนหินทั้งคู่ยังปรากฎอยู่ในเขตอำเภอแม่ลาน้อย โดยก้อนแรกมีลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๐ เมตร อยู่ที่ห้วยผักละ (ชะอม) อีกก้อนหนึ่งอยู่กลางห้วยแม่ฮุ
                        ตำนานเรื่องนี้เล่าโดยชนเผ่าอื่น ส่วนเผ่าลัวะเองเรียกว่า หินชนกัน  โดยมีเรื่องว่าชนเผ่าลัวะถูกศัตรูไล่มาจนถึงบริเวณหินใหญ่ดังกล่าว จึงได้ใช้เป็นทำเลในการต่อสู้ ในที่สุดไม่สามารถเอาชนะกันได้ จึงได้ตกลงสงบศึก ณ ที่นั้น ในภาษากะเหรี่ยงเรียกหินตรงนั้นว่า กุลาตี คำว่า ลาตี แปลว่า ตกลงกัน

                    ตำนานม้ง  มีเรื่องเล่าว่า ชาวม้งต้องทำสงครามกับชนเผ่าต่าง ๆ อยู่เสมอ วันหนึ่งได้เอาหนังสือบรรทุกหลังม้า เดินทางมาหยุดพักริมลำธารแห่งหนึ่ง ปลดตะกร้าใส่หนังสือแล้วปล่อยม้าไปกินหญ้าแล้วหลับไป ม้าได้กินหนังสือของพวกเขาหมด ตั้งแต่นั้นมาชาวม้งก็ไม่มีหนังสือใช้
                วรรณกรรมลายลักษณ์อักษร  แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ สองกลุ่มคือ
                    ลิกโหลง  เป็นวรรรณกรรมแบบฉบับ ใช้สำหรับอ่านในพิธีกรรมต่าง ๆ หรือเพื่อศึกษาทำความเข้าใจ ไม่นิยมนำไปอ่านประกอบเสียงดนตรี มีการแบ่งลักษณะย่อย ๆ ออกไปอีก ๑๒ แบบ
                    ลิกอ่อน  เป็นวรรณกรรมประเภทเพลงร้องต่าง ๆ นิยมแต่งพร้อมกับเสียงดนตรีประกอบ แบ่งย่อยออกเป็น ๑๓ แบบ
                    ล้อกปืน ลายความ (ลีลา จังหวะ)  ทั้งวรรณกรรมมุขปาระ และลายลักษณ์อักษร มีลีลาจังหวะการปล่อยลมในการพูด และอ่านแบบเดียวกัน ยกเว้นคำพูดปกติ และคำสนทนาปราศัยกับคำประพันธ์ ประเภทร้อยแก้ว มีลีลาจังหวะการอ่านสี่ลักษณะ

                ศิลาจารึก  พบเพียงแห่งเดียว คือ ศิลาจารึกวัดศรีเกิด (วัดหนองบัว)  พ.ศ.๒๐๒๓ - ๒๐๓๓  อยู่ในตำบลแม่ลี้ อำเภอปาย แผ่นศิลาเป็นหินทรายสีน้ำตาล หักขึ้นจากด้านซ้ายไปทางด้านขวา ซึ่งเป็นส่วนบน จารึกเป็นอักษรฝักขาม ภาษาไทยยวน

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์