มรดกทางพระพุทธศาสนา
ศาสนสถานและศาสนวัตถุ
เจดีย์และศาลาการเปรียญวัดจองกลาง
เจดีย์สูง ๑๒ ศอก ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส แต่ละด้านของเจดีย์ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ
มีเจดีย์องค์เล็กที่มุมทั้งสี่ รูปแบบทางศิลปะเป็นแบบพม่าผสมไทยใหญ่ มีลวดลายสวยงาม
สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๕๗
ศาลาการเปรียญ
เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง หลังคามุงสังกะสี และเป็นแบบสองคอ สามชาย
รูปแบบสถาปัตยกรรมผสมพม่าไทยใหญ่ สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๑๐
เจดีย์และพระพุทธไสยาสน์วัดผาอ่าง
เจดีย์ คณะศรัทธา
ร่วมกันสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๙
พระพุทธไสยาสน์
เจ้านางเมียะ ผู้ครองเมืองแม่ฮ่องสอน คนที่สอง ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๙
สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่สักการะ รำลึก และอุทิศส่วนกุศลแก่นางคำใส ซึ่งได้ช่วยชีวิตของพญาสิงหนาทราชา
จากการถูกเสือตะปบ ณ บริเวณวัดผาอ่าง แห่งนี้
วิหารหลวงพ่อโต วัดจองคำ
อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๙ เป็นอาคารทรงตรีมุข หลังคารูปทรงปราสาท
หนึ่งคอ สองชาย ตามแบบสถาปัตยกรรมไทยใหญ่
พระพุทธรูป
หน้าตักกว้าง ๔.๘ เมตร สูง ๖.๕ เมตร เป็นฝีมือช่างชาวพม่า
วัดบ้านเก่า
อยู่ที่บ้านป่าลาน ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง ฯ ผิวดินพบหินกรวดทรายกระจายทั่วไป
มีลำน้ำจำ ไหลผ่านทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ ลำน้ำห้วยไม้ทราวหนาม ไหลผ่านทางด้านทิศตะวันออก
พื้นที่โดยรอบเป็นทุ่งนา
ฐานวิหาร
มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือสูง ๔ เมตร สูง ๑๐ เมตร ยาว ๑๗ เมตร ไม่พบแนวผนังฐานเสา
และกระเบื้องทุกบริเวณ จึงคาดว่าน่าจะเป็นวิหารโถง เครื่องบนหลังคาคงทำด้วยไม้ทั้งหมด
หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
เจดีย์
ตั้งอยู่หลังวิหาร เหลือเพียงฐานเจดีย์ ซึ่งมีเศษอิฐและดินทับถม โดยรอบ
กำแพงแก้ว
เป็นแนวกำแพงเตี้ย ๆ ใช้กรวดขนาดใหญ่เรียงซ้อนล้อมรอบเจดีย์ และวิหาร คงเหลือเพียงด้านตะวันออกเฉียงเหนือ
ยาวประมาณ ๓๑ เมตร ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ ยาวด้านละ
ประมาณ ๓๑.๕ เมตร
จาการสำรวจพบโบราณวัตถุหลายประเภท ทั้งเครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินขัด ชิ้นส่วนเหล็กและตะปู
ที่ใช้ตอกเย็บเครื่องไม้ แผ่นอิฐขนาดต่าง ๆ และชิ้นส่วนภาชนะดินเผา
จากสภาพของอาคารโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่พบ ไม่สามารถบอกอายุสมัยที่แน่นอนของโบราณสถานแห่งนี้ได้
แต่จากคติการสร้างอาคารทางศาสนามาประกอบการพิจารณา คือ ในอำเภอเมือง ฯ พบรูปแบบอาคารทางศาสนา
สองระยะคือ ช่วงสมัยล้านนา ในพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ซึ่งมักนิยมวางผังอาคารให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
และสร้างเจดีย์ไว้ด้านหลังวิหาร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ดังนั้นโบราณสถานวัดบ้านเก่า
น่าจะมีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒
วัดร้างดอยกิ่วขมิ้น
ตั้งอยู่บนยอดเขา ห่างจากบ้านใหม่หัวสนามบิน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ
๑,๒๐๐ เมตร ตำบลปางหมู อำเภอเมือง ฯ
สภาพเดิม องค์เจดีย์
หักพังเสียหาย แต่โครงสร้างอื่นเช่น กำแพงแก้ว
และลานประทักษิณ
ยังคงอยู่ในสภาพที่สามารถศึกษาองค์ประกอบ และรูปแบบสถาปัตยกรรมได้ คือ องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส
มีสิงห์ประดับที่มุมทั้งสี่ องค์เจดีย์มีฐานย่อเก็ตสามชั้น และฐานแปดเหลี่ยมรองรับชั้นมาลัยเถาที่ทำเป็นลายกลีบบัวซ้อนกันสองชั้น
บัวปากระฆังและองค์ระฆังกลม ตกแต่งด้วยลายหน้ามาร (หน้ากาล) ส่วนยอด
อันได้แก่ ปล้องไฉน และปลียอด หักหายไป พบแต่ชิ้นส่วนโลหะประดับยอดฉัตรตกอยู่รอบฐาน
ฐานย่อเก็จชั้นล่างสุดประดับแจกันดอกไม้ หรือหม้อบูรณะ บฎะ ที่มุมทั้งสี่
และตกแต่งผนังด้วยลายลูกฟัก ที่ซุ้มทิศที่ฐานทั้งสี่ด้าน มีลักษณะเป็นมุขยื่นออกมาด้านหน้า
ภายในเป็นคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปปั้นศิลปะพม่าแบบมัณฆเลย์ ส่วนยอดซุ้มเป็นทรงปราสาทซ้อนลดหลั่นเป็นชั้น
ๆ ด้านหน้าเป็นบันไดทางขึ้น ราวบันไดประดับด้วยมังกรหมอบทอดตัวยาวตามแนวบันได
ซุ้มทิศเหล่านี้ก่อทับฐานย่อเก็จชั้นล่างที่ฉาบปูน และตกแต่งลวดลายไว้แล้ว
น่าจะสร้างขึ้นหลังจากสร้างเจดีย์เสร็จแล้ว องค์เจดีย์มีลานประทักษิณ และกำแพงแก้วรูปห้าเหลี่ยมล้อมรอบ
และมีช่องบันไดที่กึ่งกลางทุกด้าน ทำให้มีแผนผังเป็นรูปห้าหลี่ยม ยางตามแนวทิศเหนือ
- ใต้
จากการสำรวจพบโบราณวัตถุ ทั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น เครื่องมือหินกะเทาะ
กับขวานหินขัด และโบราณวัตถุสมัยประวัติศาสตร์ เช่น ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยลายครามของจีน
สมัยราชวงศ์เช็ง เครื่องเคลือบจีนพิมพ์ลายต่าง ๆ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา เตาขุนยวม
เศษเหล็กและแผ่นทองแดงดุนลายประดับฉัตร
จากรูปแบบเจดีย์ พระพุทธรูปในซุ้มทิศเป็นศิลปแบบพม่า สมัยมัณฆเลย์ ที่มักสร้างขึ้นสมัยหลัง
พ.ศ.๒๓๗๘ จากเศษภาชนะดินเผา จากเตาขุนยวมที่ผลิตในช่วงเดียวกันนี้ สันนิษฐานได้ว่า
วัดดอยกิ่วขมิ้น สร้างขึ้นเมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่
๒๕
วัดร้างไม่มีชื่อ
ตั้งอยู่บนลานเนินเขา ฝั่งตะวันตกของลำน้ำยวม ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม พบโบราณสถานมีลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
จำนวนสองหลัง วางตัวในแนวทิศเหนือ - ใต้ หลังแรกมีโครงสร้างก่ออิฐสอดิน ฐานประกอบด้วยฐานปัทม์
บัวลูกแก้วทรงสูง อีกหลังถูกทำลายจนไม่สามารถเห็นรูปแบบได้ นอกจากนี้ยังพบอาคารอีกหลังหนึ่งถูกทำลายเช่นกัน
อาคารทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว
โบราณวัตถุที่พบคือ ขวานหินขัดขนาดเล็ก และเศษภาชนะดินเผา ทั้งเคลือบสีเขียวอ่อน
สีขาวอมฟ้า เขียนลายดำใต้เคลือบ ไหสีน้ำตาลจากเวียงกาหลง และเตาขุนยวม และยังพบเคลือบสีเขียวทึบและบายครามจากจีนในราชวงศ์เหม็ง
จากรูปแบบอาคารและโบราณวัตถุที่พบ แสดงให้เห็นว่าวัดร้างแห่งนี้น่าจะมีความสัมพันธ์กับแหล่งโบราณคดีดอยเวียง
น่าจะอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันคือ พุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒
วัดจอมมอญ (ร้าง)
ตั้งอยู่บนลาดเนินเขาต่อกับที่ราบริมฝั่งลำน้ำซอม ตำบลเมืองปอน อำเภอขุนยวม
โบราณสถานถูกทำลายเกือบทั้งหมด เหลือแต่ซากอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่ทราบรูปทรง
ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ในอดีตเคยมีผู้ขุดพบพระพุทธรูปสำริดแบบล้านนาจำนวนมาก
และพบพระพุทธรูปแบบพม่าด้วย
โบราณวัตถุที่พบได้แก่โลหะเหล็กเส้น น่าจะเป็นเหล็กยึดโครงไม้ และเศษภาชนะดินเผาทั้งเครื่องลายครามของจีน
ชิ้นส่วนภาชนะเขียนลายดำใต้ เคลือบใสจากเตาเวียงกาหลง ทำให้เห็นว่าผู้คนที่มาทำกิจกรรมที่วัดนี้จะมีความสัมพันธ์กับชุมชนที่รับวัฒนธรรมล้านนา
ในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒
วัดร้างบ้านป่าฝาง
ตั้งอยู่บนเชิงดอย ห่างจากบ้านป่าฝางมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๘๐๐
เมตร ในตำบลเมืองปอน อำเภอขุนยวม เป็นวัดร้างประกอบด้วยซากฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
โครงสร้างก่ออิฐสอดิน
โบราณวัตถุที่พบเป็นเศษภาชนะดินเผาประเภทเนื้อแกร่งเคลือบสีขาวอมฟ้าจากเตาเวียงกาหลง
เคลือบสีเขียวอ่อน - เหลือง จากเตาขุนยวม และไหเนื้อดินเคลือบน้ำดิน
จากหลักฐานที่พบมีปริมาณไม่มาก พบที่จะสันนิษฐานอายุสมัยของวัดแห่งนี้ได้
วัดร้างกลางทุ่งนาบ้านป่าฝาง
ตั้งอยู่บนที่ราบริมแม่น้ำปอน ในตำบลเมืองปอน อำเภอขุนยวม จากการสำรวจพบซากอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่ออิฐสอดิน
ขนาด ๑๐.๕ x ๑๙.๕ เมตร สูง ๒ - ๓ เมตร พบขมวดพระเกศาดินเผาจำนวนมาก และพบเศษกระเบื้องมุงหลังคาและเศษภาชนะดินเผาเคลือบสีเขียวไข่กา
จากหลักฐานที่พบยังไม่สามารถกำหนดอายุสมัยการก่อสร้างได้
วัดร้างบ้านเมืองปอน
ตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขาด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของลำน้ำปอน ห่างจากตัวหมู่บ้านเมืองปอนมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ
๑ กิโลเมตร ในตำบลเมืองปอน อำเภอขุนยวม
พบซากโบราณสถานอยู่ในสภาพหักพัง ประกอบด้วยแนวฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้หินกรวดขนาดใหญ่เรียงเป็นกรอบ
และถมดินด้านใน หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คาดว่าน่าจะเป็นวิหาร ด้านหลังพบแนวก่ออิฐสอปูน
คาดว่าเป็นส่วนประกอบของเจดีย์ และพบเศษอิฐกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ
โบราณวัตถุที่พบมีเพียงตะปูเหล็กยึดโครงสร้างอาคาร ชิ้นส่วนไหเคลือบสีน้ำตาล
- ดำ และตะกรันดินเผา จากลักษณะอาคาร และโบราณวัตถุที่พบยังไม่สามารถกำหนดอายุสมัยได้
กองมูเหนือ
ตั้งอยู่หลังโรงเรียนบ้านเมืองปอน อำเภอขุนยวม สร้างตามแบบศิลปะไทยใหญ่ เดิมเป็นที่ก่อเจดีย์ทราย
ในเทศกาลเดือนหก ในสมัยที่พญาไพศาลเป็นนายบ้านเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว ต่อมาบุตรของพญาไพศาลได้ขึ้นเป็นนายบ้าน
จึงได้สร้างเจดีย์ถาวรขึ้น
กองมูใต้
ตั้งอยู่บนเขาด้านทิศใต้ของหมู่บ้านเมืองปอน อำเภอขุนยวม สันนิษฐานว่าชาวลัวะเป็นผู้สร้าง
ถูกทิ้งให้รกร้างมาเป็นเวลานาน จึงได้เกิดอภินิหารมีแสงไฟดวงใหญ่มาก ปรากฏให้ชาวบ้านได้เห็นเป็นประจำในวันพระสำคัญ
ๆ พวกชาวบ้านพากันไปดู พบว่าเป็นวัดร้างมีเจดีย์ปรักหักพัง จึงได้ร่วมกันบูรณะให้อยู่ในสภาพดี
อุโบสถวัดพระนอน
เป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่า ทรงจตุรมุข หลังคามุงสังกะสี ลักษณะแบบสองคอ สามชาย
ประดับลวดลายสังกะสีฉลุ บนยอดหลังคามีฉัตรสีทองแขวนระฆังไว้โดยรอบ เพดานเป็นไม้มีลวดลายประกอบ
เสากลมทาสีทอง และสีแดง หัวเสามีลวดลายติดกระจกคล้ายบัว สร้างโดยพญาฮ่องสอนบุรี
เจ้าเมืองคนที่สี่ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๙ เป็นอุโบสถหลังแรกของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
มีความสวยงามหาดูได้ยาก กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว
วิหารเจ้าพราละแข่ง
วัดหัวเรียวเป็นอาคารไม้สองชั้นติดกัน หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ด ประดับด้วยลวดลายฉลุสังกะสีเป็นชั้น
ๆ แบบปราสาท เป็นศิลปะที่ผสมกลมกลืนอย่างเหมาะสมสวยงาม หลังใหญ่มียอดเป็นรูปโดมต่อด้วยไม้กลึงเป็นช่องแหลมขึ้นไป
หลังเล็กเป็นหลังคาปราสาทห้ายอด ประดับด้วยลวดลายสังกะสีฉลุ บนยอดมีฉัตรสีทองคล้ายฉัตรเจดีย์
สร้างเมื่อปี พ.ศ.๑๔๖๐ เพื่อใช้เป็นอาคารประดิษฐานพระพุทธรูปมหามุนีหรือพราละแข่ง
ที่นำมาจากเมืองมันฑะเลย์ ประเทศพม่า
โกงซอน
เป็นหอสรงน้ำพระพุทธรูป อยู่ที่วัดต่อแพ ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม สร้างเมื่อปี
พ.ศ.๒๔๖๘ เป็นอาคารหลังคาทรงจตุรมุข ยอดดอกพุ่มแถวลายดอกหม้อน้ำ ใช้เป็นสถานที่สรงน้ำพระพุทธรูปในเทศกาลสงกรานต์
|