|
มรดกทางวัฒนธรรม
โบราณสถานและโบราณวัตถุ
โบราณสถาน
โบราณสถานบ้านทุ่งกองมู
อยู่ที่บ้านทุ่งกองมู ตำบลปางหมู อำเภอเมือง ฯ พบกลุ่มโบราณสถานสามแห่ง แต่ละแห่งตั้งอยู่บนเนินห่างกันไม่มากนัก
มีลำห้วยไหลผ่านทางทิศเหนือ
เนินโบราณสถานแห่งที่ ๑
ประกอยบด้วยซากอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวตามแนวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
มีดินถับถมเกือบทั้งหมด ยกเว้นด้านทิศเหนือ สามารถมองเห็นฐานบัวก่ออิฐได้ชัดเจน
ด้านทิศตะวันตกพบกองดินปนเศษอิฐกระจายเป็นเนินสูง สันนิษฐานว่า จะเป็นเจดีย์และมีกำแพงแก้วก่ออิฐล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ด้านทิศใต้นอกกำแพงแก้ว พบเนินดินและกองเศษอิฐอีกแห่งหนึ่ง
เนินโบราณสถานแห่งที่ ๒
ประกอบด้วยซากอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสามหลัง อาคารหลังแรกอยู่ตรงกลาง วางตัวตามแนวทิศเหนือใต้
- อาคารที่สองวางตัวในแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก อยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกของอาคารแรก
อาคารหลังที่สามเป็นอาคารขนาดเล็ก อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอาคาร
ใกล้กำแพงแก้ว และมีกำแพงแก้วรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ล้อมรอบ
ไม่พบซากเจดีย์ในบริเวณนี้
เนินโบราณสวถานแห่งที่ ๓
ประกอบด้วยซากอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า (วิหาร) วางตัวตามแนวตะวันออก - ตะวันตก
ด้านหน้าย่อมุม ด้านหลังเป็นเนินสูงกว่าด้านหน้า สันนิษฐานว่า เป็นฐานพระ
มีโครงสร้างเป็นหินกรวดขนาดใหญ่ และพบเนินดินรูปกลมอยู่ด้านหน้า สามารถเห็นโครงสร้างก่ออิฐสอดินได้
ในบริเวณหลุมลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ
โบราณวัตถุ
พบโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ขวานหิน สะเก็ดหิน เครื่องมือหินกะเทาะ
และสมัยประวัติศาสตร์ เช่น เศษภาชนะดินเผาเคลือบสีเขียวทึบ เครื่องดินเผาจากเตาล้านนา
เครื่องลายครามจีนราชวงศ์เหม็ง
จากโบราณวัตถุที่พบมีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๒ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าโบราณสถานแห่งนี้
มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒
ปากห้วยแม่ซอน้อย
ตั้งอยู่บนที่ลาดเขาติดกับทางหลวงหมายเลข ๑๐๘ (สายแม่ฮ่องสอน - ปาย)
ห่างจากลำน้ำแม่ฮ่องสอน มาทางทิศตะวันออกประมาณ ๒๐๐ เมตร
โบราณสถานประกอบด้วยซากโบราณสถานเพียงแห่งเดียว คาดว่าเป็นเจดีย์ขนาดเล็ก
โบราณวัตถุที่พบคือ เศษกระเบื้องดินเผาเนื้อดิน และเนื้อแกร่งเคลือบใส และเขียนลายดำใต้เคลือบจากเวียงกาหลง
เคลือบสีเขียวจากกลุ่มเตาภาคเหนือ
จากเศษภาชนะดินเผาที่พบ สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะมีการทำกิจกรรม ในช่วงพุทธศควรรษที่
๒๑ - ๒๒
สบแม่ลาก๊ะ
ตั้งอยู่บนลาดเนินเขาบริเวณที่ลำน้ำปอน และลำน้ำแม่ลาก๊ะ มาบรรจบกัน ประกอบด้วยโบราณสถานขนาดใหญ่
สองบริเวณคือ
บริเวณแรก
เป็นฐานก่ออิฐย่อเก็จ ยกระดับเป็นแนวยาวต่อกับคันดินที่วางตัวตามแนวที่ฝั่งน้ำถูกกัดเซาะ
บนฐานยกระดับนี้ถมดินปรับเป็นพื้นดิน
บริเวณที่สอง
เป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐสอดินแบบฐานปัทม์ คาดว่าเป็นฐานวิหาร
โบราณวัตถุ
ที่พบมีเศษภาชนะดินเผาเขียนลายดำใต้เคลือบ เคลือบใสไม่มีสีเทาอมฟ้าจากเตาเวียงกาหลง
เครื่องลายครามสมัยราชวงศ์เหม็งของจีน และเนื้อดินสีแดง ฝังลายเส้นสีขาว (แบบหริภุญไชย)
และลายกดประทับจากเตาล้านนา
คาดว่าแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ น่าจะมีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ ร่วมสมัยกับโบราณสถานแห่งอื่น
ๆ ในบริเวณเดียวกัน
บ้านหางปอน
เป็นโบราณสถานร้าง ตั้งอยู่บนลาดไหล่ดอยในเขตบ้านหางปอน ตำบลเมืองปอน อำเภอขุนยวม
มีลำน้ำปอนไหลผ่านทางทิศตะวันออก ส่วนทิศตะวันตกเป็นที่ราบแคบ ๆ และมีลำน้ำไหลผ่าน
โบราณสถานแห่งนี้ประกอบด้วยซากเจดีย์สององค์ มีลักษณะเป็นเนินดินขนาดเล็ก
ๆ วางตัวเรียงตามแนวเหนือ - ใต้ มีดินและต้นไม้ปกคลุม จนไม่สามารถศึกษารูปทรง
และขนาดของโบราณสถานได้
โบราณวัตถุที่พบสันนิษฐานได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้น่าจะมีอายุการใช้งานในช่วงพุทธศตวรรษที่
๒๒
โบราณสถานบ้านเมืองปอน
อยู่ห่างจากบ้านเมืองปอน มาทางทิศใต้ประมาณ ๓๐๐ เมตร ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม
สภาพโบราณสถานเหลือแต่รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ผนังทั้งสี่ด้านก่ออิฐถือปูน ภายในกลวง
ฐานล่างสุดย่อเก็จหรือย่อมุม ไม่พบโบราณวัตถุใด ๆ น่าจะเป็นฐานกู่กว่าฐานเจดีย์
บ้านสวนอ้อย
อยู่ในเขตตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม บริเวณที่พบโบราณสถานเป็นที่ราบแคบ ๆ
อยู่ระหว่างหุบเขาริมลำน้ำแม่เงา พบอาคารก่ออิฐสอปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวตามแนวตะวันออก
- ตะวันตก หันหน้าลงสู่แม่น้ำเงา ด้านท้ายอาคารมีฐานประดิษฐานพระพุทธรูป
พบลูกปัดดินเผารูปกลมยาว และชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผา ไม่สามารถสันนิษฐานอายุสมัยได้
บ้านแม่สุริน
เป็นเนินเขาลาดชัน บริเวณสะพานข้ามลำน้ำแม่สุริน ในเขตตำบลสามเงา อำเภอขุนยวม
บริเวณด้านทิศเหนือของเนินเป็นที่ราบ มีลำน้ำแม่สุรินไหลผ่าน
จากการสำรวจ พบซากเจดีย์ มีสภาพหักพังเหลือเป็นเนินดินและกองอิฐ ไม่สามารถศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมได้
ด้านตะวันออกเฉียงใต้พบพื้นยกระดับ ก่อด้วยหินกรวดขนาดใหญ่ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ด้านบนพบส่วนที่เป็นปล้องไฉนตกอยู่ นอกจากนั้นยังพบเครื่องมือหินกะเทาะ และพบข้าวของเครื่องใช้ของทหารญี่ปุ่น
ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพาอยู่หลายรายการ เช่น หมวกเหล็ก และชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
โบราณสถานแห่งนี้ไม่สามารถสันนิษฐานยุคสมัยได้
บ้านขุนยวม
โบราณสถานตั้งอยู่กลางทุ่งนา ทางทิศใต้ของบ้านขุนยวม ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม
มีลักษณะเป็นเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โครงสร้างฐานอาคารใช้หินกรวดขนาดใหญ่ก่อเรียงผสมอิฐ
คาดว่าจะเป็นวิหาร นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุประเภทชิ้นส่วนภาชนะดินเผา เนื้อดินอยู่จำนวนเล็กน้อย
ไม่สามารถสันนิษฐานอายุสมัยได้
แหล่งโบราณคดี
บ้านห้วยขาน
อยู่ในตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง ฯ เป็นเนินดินขนาดใหญ่ ทางด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่สะงา
สูงประมาณ ๒๕๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล หลักฐานที่พบประกอบด้วย
๑. เครื่องมือหินกะเทาะ ทำจากสะเก็ดหินรูปสี่เหลี่ยมมีคม บางชิ้นทำจากหินควอทไซด์
๒. ขวานหินกะเทาะ มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม มีขอบคมที่ส่วนฐาน
๓. เศษสะเก็ดหินและแกนหิน ทำจากหินควอทไซด์
๔. ชิ้นส่วนขวานหินขัด
ดอยแข่งลา
อยู่ในเขตตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง ฯ เป็นเนินเขาขนาดย่อมสี่เนินต่อเนื่องกันสูง
๔๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสะงา บนยอดเนินเป็นที่ราบ
มีหินปูขนาดใหญ่ ปรากฎเป็นกลุ่ม ๆ พบโบราณวัตถุบริเวณลาดเนินมากกว่าที่ยอดเนิน
ประกอบด้วยเครื่องมือสะเก็ดหิน ขวานหินกะเทาะ ค้อนหิน หัวลูกศร ขวานหินขัด
หินลับ ลูกปัดหิน
ดอยกุงก้าวคำ
อยู่ที่บ้านยอด ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง ฯ เป็นเนินดินสองเนิน อยู่ห่างจากยอดดอยแข่งล่ามาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ
๘๐๐ เมตร หลักฐานที่พบมีเครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินกะเทาะ เครื่องมือสะเก็ดหิน
ขวานหินขัด หินลับ แกนหิน ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง เขียนลายสีดำ ใต้เคลือบใส
สีเขียว คล้ายผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาเวียงกาหลง
ดอยปางฮัก
อยู่ที่บ้านยอด ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง ฯ เป็นเนินเขาขนาดเล็ก อยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสะงา
ทางทิศใต้มีลำห้วยขนาดเล็กไหลผ่าน หลักฐานที่พบมีเครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินกะเทาะ
เครื่องมือสะเก็ดหิน แกนหิน หินลับ ขวานหินขัด
ดอยมุงเมือง
อยู่ที่บ้านยอด ตำบลหมอกจำแป่ เป็นยอดเขาสูง บนยอดดอยเป็นที่ราบขนาดเล็ก หลักฐานที่พบคือ
เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินกะเทาะ โกลนขวานหิน ขวานหินขัด เครื่องประดับ
(ลูกปัด) เครื่องมือสะเก็ดหิน สะเก็ดหิน หินลับ กำไลหินขัด ค้อนหิน แกนหิน
ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง และเนื้อเครื่องดินเคลือบสีเขียวใต้เคลือบใส
เคลือบสีขาว ขาวอมฟ้า ขาวอมเขียวใต้เคลือบใส เคลือบสีเขียวขี้ม้า เคลือบสีนำตาลดำ
และส่วนที่ไม่เคลือบ มีการตกแต่งผิวด้วยการขูดขีดเป็นลายเส้น ลูกคลื่อน เส้นตรง
และลายตาข่าย
ดอยเจ้าเมือง
อยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่สะงี บ้านห้วยผา ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง ฯ
เป็นเนินเขา ๘ เนินต่อเนื่องกัน พื้นผิวปกคลุมด้วยหินทราย หินควอร์ทไซต์และหินตะกอน
หลักฐานที่พบคือเครื่องมือหินกะเทาะ ขวานกะเทาะ ขวานหินขัด เครื่องมือสะเก็ดหิน
แกนหิน หินลับ ค้อนหิน สะเก็ดหิน
กุงเข้าวัด
เป็นกลุ่มแหล่งโบราณคดีในเขตลุ่มแม่น้ำสะงา บ้านแม่สะงา ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง
ฯ เป็นเนินเขาขนาดย่อมสามเนิน เชื่อมต่อกันด้วยกิ่วดอย มีลำห้วยไหลผ่านทางทิศใต้
หลักฐานที่พบคือเครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินกะเทาะ เครื่องมือสะเก็ดหิน แกนหิน
สะเก็ดหิน เครื่องมือรูปกลมเจาะรูตรงกลาง ค้อนหิน หินลับ ขวานหินขัด
บ้านกลาง
อยู่ริมฝั่งด้านทิศเหนือของห้วยแก่นฟ้า ห่างออกไปประมาณ ๑๐๐ เมตร อยู่ที่บ้านกลาง
ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง ฯ เป็นที่ลาดเชิงเขาติดขอบทุ่งนา ผิวดินมีหินกรวดกระจายอยู่ทั่วไป
หลักฐานที่พบ มีเครื่องมือหินกะเทาะ ทำจากหินกรวดแม่น้ำ มีร่องรอยการใช้งาน
ดอยทุ่งมะกอก
ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของลำน้ำแม่จ๋า ห่างจากบ้านทุ่งมะกอกมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ
๔๐๐ เมตร ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง ฯ เป็นยอดเขาโดด
หลักฐานที่พบคือเครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือหินเจาะรูตรงกลาง และสะเก็ดหิน
ดอยห้วยปูแปง
อยู่ที่บ้านห้วยโปง ตำบลห้วยโปง อำเภอเมือง ฯ เป็นยอดเขาโดด ผิวดินมีหินผุก้อนเล็ก
ๆ กระจายทั่วไป พื้นที่โดยรอบเป็นเทือกเขา พบเครื่องมือหินกรวดแม่น้ำ เป็นเครื่องมือสับตัด
ดอยป่าเฮว
อยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่สะงี บ้านห้วยผา อำเภอเมือง ฯ พื้นที่โดยรอบเป็นกลุ่มเนินเขากระจายอยู่ทั่วไป
บนยอดดอยป่าเฮว มีสันเขาเป็นที่ราบตามแนวยาว ผิวดินมีหินผุขนาดเล็กกระจายทั่วไป
หลักฐานที่พบคือเครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินกะเทาะ เครื่องมือสะเก็ดหิน
ดอยกุงมน
อยู่ที่บ้านแม่สะงา ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง ฯ เป็นเนินเขาขนาดย่อม
หลักฐานที่พบคือเครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือสะเก็ดหิน ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด
โกลนขวานหินขัด ชิ้นส่วนหินลับ เครื่องมือเจาะรูตรงกลาง
ดอยกุ้งเจ้าเมือง
อยู่ที่บ้านแม่สะงา ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง ฯ เป็นเนินเขามีสองบยอดเชื่อมต่อด้วยสันดอย
หลักฐานที่พบคือ เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินกะเทาะ หินลับ เครื่องมือสะเก็ดหิน
ค้อนหิน หินลับ ขวานหินขัด เครื่องมือหินเจาะรูตรงกลาง ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา
เคลือบใสสีฟ้า - เทา เป็นก้นของภาชนะประเภทถ้วย
ดอยแหลม
อยู่ที่บ้านหมอกจำแป่ ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง ฯ เป็นกลุ่มดอยบนเทือกเขาดอยแหลม
หลักฐานที่พบคือขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด โกลนขวานหินขัด เครื่องมือสะเก็ดหิน
สะเก็ดหิน แกนหิน ค้อนหิน หินลับ
ดอยจ่าตี่
อยู่ที่บ้านแม่สะงา ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง ฯ เป็นเนินเขา วางตัวในแนวตะวันออกตะวันตก
โดยรอบเป็นที่ราบลุ่ม ยอดดอยมีที่ราบ
หลักฐานที่พบคือขวานหินกะเทาะ เครื่องมือสะเก็ดหิน หินลับ กล้องยาสูบ เศษภาชนะดินเผา
เนื้อแกร่งเคลือบมีสีออกเหลือง สีดำ และแบบไม่เคลือบ
ดอยผาแดง
อยู่ทางฝั่งซ้ายของถนนสาย ๑๐๘ (แม่ฮ่องสอน - ปาย) เป็นเนินดินสองเนิน ผิวดินมีเศษหินทรายทั่วไป
หลักฐานที่พบคือเครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินกะเทาะ โกลนขวานหินขัด ขวานหินขัด
เครื่องมือสะเก็ดหิน
ดอยป่าหวาย
อยู่ที่บ้านแม่สะงา ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง ฯ เป็นกลุ่มเนินเขาสูง ขนานกับลำน้ำแม่สะงา
บนยอดเนินมีที่ราบแคบ ๆ ผิวดินมีหินโผล่เป็นบางบริเวณ พบโบราณวัตถุกระจายอยู่บนยอดเนินห้าเนิน
หลักฐานที่พบคือ ขวานหินกะเทาะ เครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือสะเก็ดหิน โกลนขวานหินขัด
ขวานหินขัด เครื่องมือหินปลายแหลมสองข้าง จักรหิน หินเจาะรู แกนหิน หินสับ
ค้อนหิน สะเก็ดหิน
จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานได้ว่าแหล่งโบราณคดีนี้ น่าจะเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหิน
ในช่วงต่อเนื่องจากสังคมล่าสัตว์สู่สังคมกสิกรรมตอนต้น รูปแบบเครื่องมือหินที่พบมีลักษณะอยู่ในกลุ่มเดียวกับเครื่องมือหินที่พบในชั้นวัฒนธรรมตอนบนของถ้ำผี
ซึ่งมีอายุประมาณ ๗,๐๐๐ - ๔,๕๐๐ ปีมาแล้ว
ดอยกุงไม้สัก
อยู่ที่บ้านกุงไม้สัก ตำบลห้วยหมู อำเภอเมือง ฯ เป็นกลุ่มเนินเขาขนาดย่อม
มีลำน้ำขนาดเล็กไหลผ่าน บนยอดเขามีที่ราบลาดแบบหลังเต่า มีเศษหินกระจายอยู่ทั่วไป
พบหลักฐานบนยอดเนิน ๔ แห่ง หลักฐานที่พบคือ เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินกะเทาะ
ขวานหินขัด เครื่องมือสะเก็ดหิน แกนหิน สะเก็ดหิน ค้อนหิน หินลับ โกลนขวานหิน
ดอยห้วยขอนไม้
อยู่ห่างจากวัดต่อแพไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ ๑ กม. เศษ ในตำบลแม่เงา
อำเภอขุนยวม เป็นยอดดอยยอดหนึ่งบนเทือกเขา ทางทิศตะวันตกของที่ราบลุ่มบ้านต่อแพ
ทางด้านตะวันตกเป็นร่องเขาสูงชัน
หลักฐานที่พบคือ เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินขัด เครื่องมือสะเก็ดหิน แกนหิน
เครื่องมือหินเจาะรูตรงกลาง ชิ้นส่วนกำไลหิน สะเก็ดหิน
บ้านแม่สุริน
อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านแม่สุริน ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม ลักษณะเป็นเนินเขาค่อนข้างชัน
วางตัวตามแนวตะวันตกเฉียงใต้ บนยอดเนินเป็นที่ราบ
หลักฐานที่พบคือ เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินขัด สะเก็ดหิน นอกจากนันยังพบหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์คือ
ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเคลือบสีน้ำตาลดำ ซากเจดีย์หนึ่งองค์
ดอยห้วยบง
อยู่ห่างตัวอำเภอขุนยวมไปทางใต้ตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๘ (แม่ฮ่องสอน - ปาย)
ประมาณ ๑ กิโลเมตร ในเขตตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม เป็นเนินเขายาวประมาณ ๑ -
๓ กิโลเมตร ขนานกับลำน้ำยวม บนยอดเนินเป็นที่ลาด
หลักฐานที่พบคือ เครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือสะเก็ดหิน
ดอยขุนกลาง
อยู่ใกล้ลำน้ำปายที่บ้านขุนกลาง ตำบลปางหมู อำเภอเมือง ฯ เป็นกลุ่มเนินเขาขนานกับลำน้ำยวม
พบโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ บนเนินสองเนิน
หลักฐานที่พบคือ เครื่องมือหินกะเทาะ แกนหิน ค้อนหิน หินลับ สะเก็ดหิน กองอิฐ
ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเคลือบใส สากดินเผา ลูกปัดดินเผา
ดอยบ้านสบป่อง
อยู่ที่บ้านสบป่อง ตำบลปางหนู อำเภอเมือง ฯ เป็นเนินเขาใหญ่อยู่ริมแม่น้ำปาย
หลักฐานที่พบคือ เครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือสะเก็ดหิน สะเก็ดหิน
แกนหิน
ดอยท่าโป่งแดง
อยู่ในตำบลผาป่อง อำเภอเมือง ฯ เป็นลาดเนินเขาสองแห่ง ที่เชื่อมต่อจากดอยวัดท่าโป่งแดง
หลักฐานที่พบคือ เครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือสะเก็ดหิน หินลับ สะเก็ดหิน
แท่งหินเจาะรู ขวานหินขัด
บ้านหัวน้ำแม่สะกิ๊ด
อยู่ในตำบลผาป่อง อำเภอเมือง ฯ เป็นลาดเนินเขาสองเนิน
หลักฐานที่พบคือ เครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือหินเจาะรูตรงกลาง สะเก็ดหิน
แกนหิน
ดอยหัวฝาย
อยู่ที่บ้านกุงไม้สัก ตำบลปางหมู อำเภอเมือง ฯ เป็นกลุ่มดอยกระจายทั่วบริเวณฝั่งแม่น้ำสะงา
พบหลักฐานบริเวณลาดดอย และบนยอดดอยห้าแห่ง
หลักฐานที่พบคือ เครื่องมือกะเทาะหินทำจากแกนหิน ขวานหินกะเทาะ สะเก็ดหิน
โกลนขวานหินกะเทาะ โกลนขวานหินขัด ค้อนหิน แกนหิน หินลับ
ดอยห้วยโป่งจันทร์
อยู่ที่บ้านปางหมู ตำบลปางหมู อำเภอเมือง ฯ เป็นเนินเขาตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสะงา
พบแหล่งโบราณคดีบนลาดดอยสองแห่ง โดยมีสันดอนเชื่อมต่อกัน
หลักฐานที่พบคือ เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินกะเทาะ แกนหิน เครื่องมือสะเก็ดหิน
โกลนหินขัด สะเก็ดหิน
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
อยู่ที่บ้านปางหมู ตำบลปางหมู อำเภอเมือง ฯ ลักษณะเป็นเนินเขาขนาดใหญ่สองเนินต่อเชื่อมกัน
หลักฐานที่พบคือ เครื่องมือหินกะเทาะ สะเก็ดหิน
ดอยในสอย
อยู่ที่บ้านในสอย ตำบลปางหมู อำเภอเมือง ฯ เป็นกลุ่มดอยทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำแม่สอย
พบหลักฐานทางโบราณคดีบนดอยสองดอย
หลักฐานที่พบคือ เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด เครื่องมือสะเก็ดหิน
สะเก็ดหิน แกนหิน ค้อนหิน หินลับ เครื่องมือเจาะรูตรงกลาง
ถ้ำผี
เป็นถ้ำขนาดไม่ใหญ่มาก อยู่บนภูเขาสูงในแนวเทือกเขาสลับซับซ้อน ในเขตอำเภอเมือง
ฯ
จากการขุดค้นพบว่า ลักษณะดินเป็นดินร่วนเนื้อละเอียด มีร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์แทรกปนตลอด
ตั้งแต่ผิวดินจนถึงระดับลึกประมาณ ๑ เมตร ยังมีร่องรอยการขุดหลุมจากชั้นดินระดับบนลงไปในชั้นดินระดับล่างอีกด้วย
แบ่งชั้นดินทางวัฒนธรรมเป็นสองชั้นคือ
ชั้นวัฒนธรรม พบเครื่องมือหินกะเทาะ หินบด และอื่น ๆ วัสดุที่นำมาทำส่วนมากเป็นหินควอร์ทไซต์
กระดูกสัตว์ และเมล็ดพืช กำหนดอายุตัวอย่างถ่านได้ประมาณ ๑,๑๐๐ - ๙,๕๐๐ ปีมาแล้ว
ชั้นวัฒนธรรมบน พบเครื่องมือหินประเภทสะเก็ดหิน และขวานหิน ใบมีด หินชนวน
เศษภาชนะ ดินเผาลายเชือกทาบ ลายปั้นแปะ ลายขูดขีด และลายตาราง กระดูกสัตว์
เมล็ดพืช กำหนดอายุจากตัวอย่างถ่านได้ระหว่าง ๙,๐๐๐ - ๗,๕๐๐ ปีมาแล้ว
หุบเขาบ้านยาน
อยู่ที่บ้านใหม่หาง เป็นถ้ำอยู่สูงขึ้นไปประมาณ ๕๐ เมตร มีถ้ำบนและถ้ำล่าง
ขนาดกว้างประมาณ ๑๔ เมตร ยาวประมาณ ๒๔ เมตร
หลักฐานที่พบคือ เครื่องมือหิน
ชั้นวัฒนธรรมที่ ๑ ขวานหินขัด สะเก็ดหิน ชั้นวัฒนธรรมที่ ๒ พบเครื่องมือหิน
แบบฮัวบิเนียน เศษภาชนะดินเผา เขียนสีแดงด้านนอก
ด้านในสีดำ ส่วนใหญ่ผิวเรียบ และลายเชือกทาบสีดำหรือสีเทา ด้านในขัดมัน ไม้กระดูกและโลหะ
พบเศษไม้ไผ่จำนวนมากในกองไฟ พบเครื่องมือไม้ไผ่ปลายแหลมในชั้นบนสุด กระดูกสัตว์
พบปลา หอยน้ำจืด เต่า กวาง หนู แรด พืช ชั้นวัฒนธรรมที่ ๑
๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ชั้นวัฒนธรรมที่ ๒ ๕,๔๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว
ชั้นวัฒนธรรมที่ ๓ เก่ากว่า ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว
ถ้ำบ้านเด่น
อยู่ที่บ้านน้ำริน ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า เป็นถ้ำขนาดไม่ใหญ่มากนัก บนแนวเทือกเขาสูง
ประมาณ ๘๐๐ - ๑,๐๐๐ เมตร จากเชิงเขา ภายในถ้ำแบ่งออกเป็นสองคูหา มีทางเดินเชื่อมต่อกัน
หลักฐานที่พบคือ เศษภาชนะดินเผาประเภทหม้อ
และอ่าง ตกแต่งผิวทั้งเรียบและขัดมัน ชุบน้ำดิน ขูดขีดเป็นลายคลื่น และลายเชือกทาบ
เครื่องมือหินกะเทาะ
ทำจากหินควอร์ทไซต์ รูปยาวรี โลงไม้
ทำจากท่อนซุงผ่าครึ่ง ขุดถากเนื้อไม้ด้านในออกจนเป็นร่องตามรูปไม้ กว้างประมาณ
๔๔ - ๕๔ เซนติเมตร หนา ๓๒ เซนติเมตร หัวโลงทั้งสองข้าง แกะสลักเป็นเดือยรูปกลมรีท่อนเดียว
กลมรีสองท่อน และเดือยรูปสี่เหลี่ยมเรียวยาว พบบจำนวน ๙ โลง เสาไม้
เป็นท่อนไม้ขนาดเล็ก ถากจนกลมยาวมีรูเสียบคานเอาไว้ทำโลงไม้ พบจำนวน ๖ โลง
ถ้ำแม่ลาวจันทร์
อยู่ที่บ้านแม่ลาวจันทร์ ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า เป็นถ้ำบนเขาหิน เป็นถ้ำขนาดใหญ่
สูงจากเชิงเขาประมาณ ๑๐๐ เมตร แบ่งเป็นสามคูหา เดินทะลุถึงกันได้ ยาวประมาณ
๕๐ เมตร พบหลักฐานในคูหาด้านตะวันออกและด้านตะวันตกคือ เศษภาชนะดินเผา
เนื้อเคลือบดิน ตกแต่งผิวด้วยลายขูดขีด เชือกทาบ ลายกดจุด เป็นชิ้นส่วนของหม้อปากผาย
มีเนื้อแกร่ง เคลือบสีน้ำตาลแกมเทาเข้ม นอกจากนั้นมีเครื่องมือหินกะเทาะ ค้อนหิน
ชิ้นส่วนกระดูกและเปลือกหอย โลงไม้ พบ
๓ โลง มีอยู่สองแบบคือขนาดใหญ่ยาว ๗ เมตร กว้าง ๖๕ เซนติเมตร หนา ๖๕ เซนติเมตร
ส่วนหัวทั้งสองข้างตกแต่งเป็นเดือยรูปสี่เหลี่ยมหัวมน ยื่นออกมา ๗๐ เซนติเมตร
ขนาดเล็กยาว ๒๓ เซนติเมตร กว้าง ๓๔ เซนติเมตร หนา ๔๐ เซนติเมตร ส่วนหัวทั้งสองข้างตบแต่งเป็นก้อนกลม
ถ้ำบ้านริมน้ำ ๑
เป็นถ้ำบนแนวเทือกเขาด้านตะวันตกเฉียงเหนือของบ้านริมน้ำ ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า
อยู่สูงจากเชิงเขาประมาณ ๕๐ เมตร เป็นถ้ำขนาดใหญ่ กว้าง ๑๐๐ เมตร ยาว ๑๔๐
เมตร สูง ๕ เมตร ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยกระจายทั่วไป
หลักฐานที่พบคือ เศษภาชนะดินเผา
เนื้อเคลือบดิน ประเภทหม้อก้นกลมปากผาย ตกแต่งผิวด้วยการขัดมันและลายเชือกทาบ
โลงไม้
พบ ๓ โลง กว้าง ๖๖ เซนติเมตร ยาว ๒ เมตร ส่วนหัวทั้งสองข้าง แกะสลักเป็นรูปแท่งไม้กลมมนยื่นออกมา
เสาไม้ เป็นท่อนไม้กลม
ใช้สำหรับตั้งและสอดคานรองรับโถไม้ ยาว ๓ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๐ เซนติเมตร
ถ้ำบ้านน้ำริม ๒
อยู่ทางทิศตะวันตกของถ้ำบ้านน้ำริน ๑ ห่างออกไปประมาณ ๗๐๐ เมตร ที่บ้านน้ำริม
ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า เป็นถ้ำขนาดเล็ก กว้าง ๗๕ เมตร ยาว ๑๒ เมตร อยู่บริเวณลาดไหล่เขา
หลักฐานที่พบคือ เศษภาชนะดินเผา
เนื้อเครื่องดิน ประเภทอ่าง หม้อดินกลมปากผาย ตกแต่งผิวทั้งขัดมัน กดประทับ
และลายเชือกทาบ โลงไม้
พบ ๒ โลง ขนาดยาว ๕.๖ เมตร กว้าง ๖๖ เซนติเมตร หนา ๕๐ เซนติเมตร ส่วนหัวทั้งสาองข้างแกะสลักเป็นรูปแท่งไม้กลมยื่นออกมา
|
|