|
|
|
|
|
|
|
|
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
การตั้งถิ่นฐาน
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (๓,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว)
ยุคสังคมบรรพกาล
มีผู้ให้ความเห็นว่าบริเวณจังหวัดมุกดาหารมีพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมมาตั้งแต่ปลายสมัยก่อนประวัติศาสตร์
การตั้งถิ่นฐานเป็นยุคชนเผ่า ดำรงชีวิตแบบบรรพกาล โดยมีร่องรอยอยู่คือ
ถ้ำฝ่ามือแดง
อยู่บนภูอ่างบก บ้านส้มป่อย ตำบลสีนวน อำเภอเมือง ฯ มีภาพเขียนด้วยสีแดงคล้ายสีน้ำหมาก
มีภาพคน ๒๓ คน ภาพมือ ๙ ภาพ นอกนั้นเป็นภาพอาวุธ เป็นหัวลูกศร ภาพสัญลักษณ์และภาพอื่น
ๆ ที่จำแนกรูปทรงไม่ได้ ภาพคนบางภาพเป็นแบบ
เงาทึบ
หัวโต เหมือนคนโพกผ้าสวมหน้ากาก ภาพเช่นนี้เหมือนกับภาพที่พบบริเวณผาแต้ม
อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบล ฯ ซึ่งคล้ายกับการแต่งกาย ของหญิงชาวผู้ไทยในเวียดนาม
ที่ชอบใช้ผ้าโพกหัวเป็นรูปสามเหลี่ยม
ถ้ำตีนแดง
อยู่ที่ภูอ่างบก บ้านส้มป่อย ตำบลนาสีนวน อำเภอเมือง ฯ ภาพชุดนี้อยู่ต่อเนื่องจากหน้าผาถ้ำผ่ามือแดง
มีภาพคน ๑๘ คน ภาพสัตว์คล้ายสุนัข ๔ ภาพ ภาพตีนแมว ๔ ภาพ และยังมีภาพอื่น
ๆ อีก
ภาพตีนแดงนี้นับเป็นแห่งแรกที่พบในประเทศไทย และที่แปลกไปจากภาพตีนแดงที่พบในที่แห่งอื่น
ภาพที่ถ้ำแห่งนี้ใช้วิธีทาบ แต่ในที่แห่งอื่นใช้วิธีเขียน
ถ้ำผาแต้ม
อยู่ที่ภูวัด บ้านภูล้อม ตำบลบ้านบาก อำเภอดอนตาล พบภาพที่เพิงหินทรายขนาดใหญ่
ยาวประมาณ ๗๐ เมตร สูงประมาณ ๘ เมตร ลึกประมาณ ๖ เมตร เขียนด้วยสีแดงคล้ายสีน้ำหมาก
มีภาพมือ จำนวน ๙๘ ภาพ นอกจากนั้นเป็นภาพสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น ลายเรขาคณิต
ภาพเครื่องหมายกากบาท ภาพตาราง ภาพหยักฟันปลา ภาพลายเส้นโค้งและรูปสัตว์ต่าง
ๆ ซึ่งภาพดังกล่าวคล้ายคลึงกับภาพเขียนสีโบราณ ในจังหวัดอื่น ๆ ของภาคอีสาน
ภาพเขียนสีเหล่านี้เกิดขึ้นจากการประกอบพิธีกรรม เพื่อความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งพบมากในบรรดากลุ่มชนที่มีพื้นฐานทางสังคม
และมีความเชื่อ ความคิดเหมือนกับยุคก่อนประวัติศาสตร์
แหล่งนายกองคูณ
อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามเกาะดอนตาล อำเภอดอนตาล มีพื้นที่ประมาณ ๓๐ ไร่
พบแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเนินดินที่เป็นแหล่งชุมชน และแหล่งฝังศพของคนโบราณ
พบเครื่องมือหินกะเทาะ สะเก็ดหิน และหินขัดที่ใช้หินจากแม่น้ำโขงมาทำ มีกระจายอยู่ทั่วไป
คาดว่าบริเวณนี้น่าจะมีอายุในยุคปลายสมัยก่อนประวัติศาสตร์
มโหรทึก
พบในเขตจังหวัดมุกดาหารสองใบ คือ ที่อำเภอดอนตาล และอำเภอคำชะอี ใบที่พบที่อำเภอดอนตาล
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘๖ เซนติเมตร ก้นกลอง ๙๐ เซนติเมตร จัดว่าเป็นมโหรทึกขนาดใหญ่ที่สุด
ที่พบในประเทศไทย สันนิษฐานว่า มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ - ๘
ที่หน้ากลองมีลายนูนคล้ายดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์ มีรัศมี ๑๕ แฉก มีประติมากรรมรูปกบประดับสี่มุม
ๆ ละตัว ด้านข้างกลองมีลวดลายเป็นรูปเรือส่งวิญญาณ
มโหรทึก ที่อำเภอคำชะอี มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๗๙ เซนติเมตร สูง ๗๐ เซนติเมตร
ที่หน้ากลองมีลายนูนเป็นรูปคล้ายดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์ มีรัศมี ๓๒ แฉก
ไม่มีประติมากรรมรูปกบอยู่หน้ากลอง
มโหรทึก ทำด้วยสำริด มีโลหะผสม ประกอบด้วยทองแดง ดีบุก และตะกั่ว บางแห่งเรียกฆ้องกบ
หรือฆ้องเขียด ชาวมุกดาหารเรียก กลองทอง จัดเป็นวัฒนธรรมดองซอน เนื่องจากมีการขุดค้นพบกลองรูปแบบดังกล่าว
เป็นจำนวนมากที่ตำบลดองเซิน ในเวียดนาม
ยุคอาณาจักรโคตรบูรณ์ (ฟูนัน)
(ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๕ - ๑๐) ชนชาติละว้า เข้ามาอยู่ในพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบัน
ก่อนสมัยพุทธกาล ในภาคอีสานได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่แคว้นโคตรบูรณ์ ต่อมามีชนรุ่นใหม่ในตระกูลมอญ-เขมร
เข้ามามีอำนาจแทน
ชนชาติละว้า เป็นชนชาติดั้งเดิม ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หกประเทศคือ
- ประเทศไทย แถบภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือ
- ประเทศพม่า แถบรัฐฉาน (ไทยใหญ่)
- ประเทศจีน อยู่ทางตอนใต้ของยูนาน
- ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และประเทศกัมพูชา
- ลักษณะของชาวละว้า มีส่วนสูงประมาณ ๕ - ๖ ฟุต ผู้หญิงสูงกว่า ๕ ฟุตลงมา
ชาวละว้าเชื่อว่าบรรพบุรุษดั้งเดิม มีต้นตระกูลเป็นกบชื่อ ยาถำ ยาไถ
รากฐานเดิมอยู่เมืองข่าตอนใต้ประเทศจีน ติดกับแม่น้ำโขง ชาวละว้าจึงเคารพบูชารูปกบ
โดยจะใส่รูปกบไว้บนหิ้งบูชา ในวันขึ้นปีใหม่จะมีประเพณีแห่แหนรูปกบ ไปปล่อยลงตามลำห้วย
ชาวละว้า มีกลองโลหะทำด้วยทองเหลือง ตรงกลางสูงประมาณ ๒ ฟุตเศษ บนแผ่นโลหะที่เป็นผนังกลองมีรูปกบเล็ก
ๆ อยู่สี่ตัว ใช้ตีเวลามีงานพิธี ทางเชียงใหม่เรียกฆ้องกบ คนไทยเรียกมโหรทึก
ปัจจุบันชาวละว้า กลายเป็นชาวไทยภูเขา อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของไทยเป็นส่วนใหญ่
ที่เหลืออยู่ในภาคอีสานและลาว เรียก ข่า ขะมู
นับแต่พุทธศตวรรษที่ ๕ - ๑๒ อาณาจักรโคตรบูรณ์ หรือศรีโคตรบอง
มีอำนาจในแถบนี้ มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองนครราชสีมา รวมเอาภาคอีสานของไทย และประเทศลาว
ตั้งแต่แขวงเวียงจันทน์ ลงไปจนถึงนครจำปาศักดิ์ ศูนย์กลางอำนาจอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางของประเทศลาว
คือ บริเวณเมืองท่าแขก ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำเซบังไฟ ลึกเข้าไปประมาณ ๑๕ กิโลเมตร
กษัตริย์ผู้ครองนครชื่อ พระยาสุริยวงศาสิทธิเดช เป็นคนเชื้อชาติขอม
ฟูนัน เป็นอาณาจักรที่ปรากฎในเอกสารจีน เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗ - ๑๒
ที่ตั้งของฟูนันในช่วงปี พ.ศ.๑๐๒๒ - ๑๑๐๐ อยู่ทางทิศตะวันตกของจามปา
(เวียดนามกลาง) เมืองหลวงของฟูนันคือ จังหวัดนครพนม
มีพระธาตุพนมเป็นพยานทางศิลปวัตถุ ตามเอกสารจีนระบุว่า ชาวเมืองฟูนัน มีผิวดำ
ผมหยิก ล้าหลัง ทำกสิกรรมแบบบรรพกาล ตำนานไต (ไทยใหญ่) เรียกชาวฟูนันว่า
พวกยักษ์ หรือผีเสื้อ
พระธาตุพนม เป็นสถาปัตยกรรมทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในภาคอีสาน สร้างขึ้นในสมัยโคตรบูรณ์เเ
ป็นศิลปผสมผสานแบบทวารวดี แบบขอม และอิทธิพลจากญวนและจาม คาดว่าสร้างเมื่อประมาณปี
พ.ศ.๑๐๐๐ มีการซ่อมแซมลวดลายสลักอิฐ หลัง พ.ศ.๑๒๐๐ มีรูปแบบทางศิลปสถาปัตย์
เนื่องในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และศาสนพราหมณ์ มีการปักเสมาหินที่มีลวดลายเป็นรูปสถูป
หรือรูปกลีบบัวที่ฐานไว้รอบ ๆ องค์พระธาตุ ปักแสดงเขตไว้
ยุคอาณาจักรเจนละ
(พุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘) เมื่ออาณาจักรโคตรบูรณ์เสื่อมอำนาจลง อาณาจักรเจนละก็ได้แผ่อำนาจเข้าครอบคลุมบริเวณแถบนี้แทน
มีเมืองหลวงชื่อ เศรษฐปุระ
ตั้งอยู่แถบจำปาศักดิ์ใกล้กับปราสาทหินวัดภู อันเป็นเทวสถานสำคัญของอาณาจักรเจนละ
เดิมเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรโคตรบูรณ์ อาณาบริเวณของอาณาจักรเจนละ อยู่ตั้งแต่บริเวณเกาะโขง
(สีทันดอน) ในลาวใต้ ขึ้นไปถึงเมืองท่าแขกในลาวกลาง ตรงข้ามกับจังหวัดนครพนม
อาณาจักรเจนละ เริ่มรุกรานอาณาจักรโคตรบูรณ์ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ประชากรชาวเจนละเป็นชนชาติในตระกูลมอญ-เขมร
สายที่เป็นบรรพบุรุษโดยตรงของชาวเขมรในตำนานไต (ไทยใหญ่) เรียกพวกนี้ว่า
นาค
จีนเรียกรัฐนี้ว่า เจนละ มีต้นกำเนิดอยู่บริเวณจังหวัดอุบล - ยโสธร
ต่อมาได้ขยายตัวและแบ่งแยกออกเป็นสองฝ่ายคือ
เจนละบก
และเจนละน้ำ เจนละบกมีพื้นที่เป็นป่าเขา
และที่สูง มีชุมชนเป็นบ้านเมืองเล็ก ๆ อยู่หลายแห่ง มีอาณาเขตตั้งแต่เวียงจันทน์ขึ้นไปทางเหนือไปจดด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม
เอกสารจีนระบุว่า มีรัฐสำคัญชื่อ เหวิน ถาน ซึ่งนักวิชาการของจีนหลายคนให้ความเห็นว่าคือ
เมืองเวียงจันทน์ ส่วนเจนละน้ำมีอาณาเขตอยู่ลงไปทางใต้ ใกล้ทะเลสาบใหญ่ในกัมพูชา
จนถึงชายทะเล ภายหลังได้กลายเป็นอาณาจักรขอมเมืองพระนคร
แต่จังหวัดมุกดาหารที่อยู่ต่อเนื่องกับจังหวัดอุบล ฯ ถือเป็นชุมชนชายแดนของอาณาจักรเจนละ
นักประวัติศาสตร์จีนกล่าวว่าประชาชนของเจนละ พวกผู้ชายมีรูปร่างเล็กและผิวดำ
พวกผู้หญิงผิวขาวเล็กน้อย ประชาชนผมเกล้า และใส่ตุ้มหู ท่าทางว่องไวแข็งแรง
อาบน้ำทุกเช้าและใช้กิ่งไม้เล็ก ๆ ถูฟัน
อีสานระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ แบ่งออกเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ ๔ กลุ่ม มีกลุ่มเมืองในเขตลุ่มแม่น้ำโขง
แม่น้ำมูลในเขตจังหวัดอุบล ฯ นครพนม จนจดบุรีรัมย์ เป็นแคว้นที่อยู่ในอำนาจของอาณาจักรเจนละ
ในสมัยพระเจ้าภววรมัน มีการแพร่หลายของการสร้างศาสนสถาน ศิวลึงค์ และรูปโคนนทิในศาสนาพราหมณ์
ยุคอาณาจักรขอม
(พุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘) ต่อมาเมื่ออาณาจักรเจนละเสื่อมอำนาจลง อาณาจักรขอม ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่นครธม
ก็ได้แผ่อำนาจไปทั่วภาคอีสาน ภาคกลางและภาคเหนือบางส่วนของประเทศไทยในปัจจุบัน
บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำโขงในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘ เป็นดินแดนที่ตกอยู่ในอิทธิพล
และวัฒนธรรมของอาณาจักรขอม นำลัทธิศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเข้ามาแพร่หลาย
มีการสร้างปราสาทขอมขึ้นบนภูมิภาคนี้ขึ้นไปจนถึงจังหวัดสกลนคร อุดรธานี หนองคายและเวียงจันทน์
แต่ไม่พบร่องรอยศาสนสถานที่เป็นแบบของขอมในเขตจังหวัดมุกดาหาร คงพบแต่ไหมีหูบรรจุกระดูกคนตายที่ฝังไว้ในดินเป็นจำนวนมาก
ในเกือบทุกพื้นที่ของจังหวัด ซึ่งนักโบราณคดีระบุว่าเป็นศิลปะแบบลพบุรี (ขอม)
จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่ในแถบจังหวัดมุกดาหาร น่าจะเป็นชนเผ่าข่า
แต่ถูกปกครองโดยอาณาจักรขอม ยังเป็นชุมชนขนาดเล็ก ไม่มีความสำคัญทางการปกครอง
เหมือนแถบเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร หรือทางฝั่งขวาสะหวันนะ เขตทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง
ที่มีการสร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวง สะพานหินและเรือนหินปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน
มีผู้ให้รายละเอียดของรูปลักษณะหน้าตาของคนขอมไว้ว่าเป็นชาวใต้ ผิวคล้ำ ตัดผมสั้น
นุ่งผ้าโจงกระเบนทั้งชายหญิง
หลังยุคอาณาจักรขอม บริเวณแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงนับแต่เวียงจันทน์ลงไปถึงแก่งลี่ผี
ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านช้าง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๒ และในที่สุดได้ตกเป็นเมืองขึ้นของไทยในสมัยกรุงธนบุรี
เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๑
ผู้คนที่อาศัยอยู่ในแถบนี้ก่อนที่ชาวมุกดาหารจะอพยพเข้ามาอยู่ มีคนหลายเชื้อชาติปะปนกันโดยมีชนเผ่าข่าซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิมเป็นหลักอยู่อาศัยมากที่สุด
ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เมืองมุกดาหาร
พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร จากราชวงศ์เวียงจันทน์ได้แยกออกไปตั้งอาณาจักรจำปาศักดิ์
ผู้คนจากอาณาจักรเวียงจันทน์ จึงได้เริ่มอพยพลงมาตามลำแม่น้ำโขง มีการตั้งบ้านเมืองขึ้นใหม่หลายแห่งด้วยกัน
เจ้าจันทรสุริยวงษ์และพรรคพวกได้มาตั้งอยู่ที่บ้านหลวงโพนสิน บริเวณใกล้พระธาตุอิงฮัง
ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ต่อมาเจ้าจันทกินรีผู้เป็นบุตร ได้อพยพพรรคพวกข้ามโขง
มาตั้งอยู่ที่เมืองมุกดาหาร ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตรงปากห้วยบังมุก เมื่อปี
พ.ศ.๒๓๑๓ พบพระพุทธรูปสององค์อยู่ใต้ต้นโพธิ์ริมฝั่งแม่น้ำโขง จึงได้สร้างวัดขึ้นใหม่ในบริเวณวัดร้างเดิมริมฝั่งโขง
ขนานนามวัดที่สร้างใหม่ว่าวัดศรีมุงคุณ
(ศรีมงคล) และได้นำพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ที่พบไปประดิษฐานในวิหารของวัด ชาวเมืองขนานนามว่าพระเจ้าองค์หลวง
เป็นพระประธานของวัดศรีมุงคุณ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนวัดได้เปลี่ยนนามเป็น วัดศรีมงคลใต้
ต่อมาเมื่อมีการตั้งเมืองขึ้นใหม่ ในเวลากลางคืนได้มีผู้เห็นดวงแก้วดวงหนึ่งสีสดใส
เปล่งแสงเป็นประกายลอยออกจากต้นตาลเจ็ดยอดริมฝั่งโขง ล่องลอยไปตามลำน้ำโขงแทบทุกคืน
จนใกล้รุ่งจึงลอยกลับมาที่ต้นตาลเจ็ดยอด เจ้าจันทกินรีจึงให้ขนานนามแก้วศุภมิตรดวงนี้ว่า
แก้วมุกดาหาร
เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๓ อาณาเขตเมืองมุกดาหารครอบคลุมทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง จนจรดแดนญวน
ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยากษัตริย์ศึก
ยกกองทัพขึ้นมาตามลำแม่น้ำโขง เพื่อปราบปราม และรวบรวมหัวเมืองตั้งแต่นครจำปาศักดิ์
นครเวียงจันทร์ นครหลวงพระบาง และหัวเมืองใหญ่น้อยในสองฝั่งแม่น้ำโขง ให้รวมอยู่ในข้าขอบขัณฑสีมาของกรุงธนบุรี
เมืองมุกดาหารเป็นเมืองหนึ่งในบรรดาหัวเมืองดังกล่าว เจ้าจันทกินรีได้รับโปรดเกล้า
ฯ ให้เป็นพระยาจันทรศรีสุราชอุปราชมันธาตุราช
เจ้าเมืองมุกดาหารคนแรก และได้รับพระราชทานนามเมืองว่า เมืองมุกดาหาร
ได้มีเจ้าเมืองต่อ ๆ มาอีกหลายคน
พระยาจันทรศรีสุราช ฯ
(เจ้าจันทกินรี)
เจ้าเมืองคนแรกดำรงตำแหน่งอยู่ ๒๖ ปี ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๗
พระยาจันทรสุรียวงษ์ (กิ่ง)
เป็นบุตรเจ้าเมืองคนแรก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๔๘ - ๒๓๘๓ ในปี พ.ศ.๒๓๖๙
เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ เป็นกบฎต่อกรุงเทพ ฯ ได้ยกกองทัพล่วงเลยไปถึงเมืองนครราชสีมา
แล้วกวาดต้อนผู้คนไปยังนครเวียงจันทน์ หัวเมืองใดขัดขืนก็จับเจ้าเมืองประหารชีวิต
กำลังส่วนที่ยกลงมาตามลำแม่น้ำโขง ได้กวาดต้อนผู้คนตั้งแต่เมืองไชยบุรี นครพนม
มุกดาหารและเมืองเขมราฐ เมืองมุกดาหารถูกตีแตก ชาวเมืองหลบหนีเข้าป่าเป็นส่วนมาก
ในการปราบปรามเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๕ เจ้าเมืองมุกดาหารได้รับมอบให้จัดไพร่พลเป็นกองลาดตระเวณออกไปยังเมืองมหาชัย
เมืองชุมพร (จำพอน) เมืองพ้อง เมืองพลาน ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง กองทัพเมืองมุกดาหารได้กวาดต้อนผู้คนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมาได้
๑,๐๕๗ คน ส่วนใหญ่เป็นพวกข่า กะโซ่ กะเลิ่ง ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองมุกดาหาร
ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เพื่อมิให้เป็นกำลังแก่ฝ่ายเวียงจันทน์
ในปี พ.ศ.๒๓๗๕ เกิดฝนแล้งในเขตเมืองมุกดาหาร ทำนาได้เพียงหนึ่งส่วนเสียไปสองส่วน
เก็บข้าวขึ้นฉางไว้ใช้ในราชการเมืองมุกดาหารได้เพียง ๖,๐๐๐ ถัง ส่งข้าวไปช่วยราชการกองทัพที่เมืองนครพนม
๑,๕๐๐ ถัง แจกจ่ายให้ครอบครัวที่อยพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ๑,๖๐๐ ถัง ราษฎรบางส่วนได้รับความเดือดร้อน
จนถึงกับต้องกินข้าวผสมมันและกลอย
ในปี พ.ศ.๒๓๘๓ สมุหนายก ได้มีท้องตราพระราชสีห์มายังเมืองมุกดาหาร ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
ทางเมืองวัง เมืองพัน เมืองนอง เมืองพ้อง เมืองพลาน เมืองตะโปน (เซโปน) และเมืองชุมพร
(จำพอน) มีกลุ่มคนหลายเผ่าเพันธุ์ เช่น ผู้ไทย ข่า กะโซ่ กะเลิง ย้อ
ฯลฯ เป็นอันมากอาจเป็นกำลังแก่ฝ่ายญวน จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ พระเทพวรษา
(บุญจันทร์) เจ้าเมืองเขมราฐ เป็นแม่ทัพ คุมกองทัพเมืองอุบล ฯ เมืองเขมราฐ
และเมืองมุกดาหาร ยกข้ามโขงไปกวาดต้อนผู้คนในเมืองดังกล่าว เพื่อตัดเส้นทางของกองทัพญวน
ให้ห่างไกลออกไป
พระจันทรสุริยวงษ์ (พรหม)
(พ.ศ.๒๓๘๔ - ๒๔๐๕) เป็นบุตรเจ้าคนก่อน ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นเจ้าเมืองมุกดาหาร
เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๗ ก่อนหน้านั้นอุปฮาด (พรหม) ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพระยาบดินทรเดชา
ให้เป็นผู้ว่า ที่เจ้าเมืองมุกดาหาร
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เมืองมุกดาหารกำกับเมืองหนองสูง
ให้ไปรักษาเขตแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มีหน้าที่รักษาเขตแดนที่เมืองคำอ้อ ทางด้านตะวันออกถึงเมืองห้วยกะสะ
ทางเหนือถึงทุ่งทรายค้อ ต่อเขตเมืองมหาไชย ด้านตะวันตกถึงทุ่งนาบอน แขวงเมืองมหาไชย
ด้านใต้ถึงลำเซน้อย ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ที่จะต้องลาดตระเวณตรวจตรา
ส่วน อุปฮาด ราชบุตรเมืองหนองสูง ที่อพยพมาจากเมืองวัง ตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านคำชะอี
ให้จัดกำลังคนออกไปตั้งด่านรักษาเขตแดน ที่เมืองวัง ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงด้านตะวันออก
ถึงห้วยพะเยาต่อเมืองคาง ด้านเหนือถึงบ้านนาค้อใต้น้ำกวด ด้านตะวันตกถึงภูเขาสร่างเห่
ด้านใต้ถึงภูเขานอ ให้เมืองมุกดาหารแบ่งเขตแดนให้เมืองหนองสูง ด้านตะวันออกตั้งแต่ห้วยทราย
ด้านเหนือถึงเขตบางมอญ ด้านตะวันตกถึงห้วยบังอี ด้านใต้ตั้งแต่บ้านห้วยทราย
เมืองมุกดาหาร ได้แต่งกรมการเมือง ท้าวเพี้ย ผลัดเปลี่ยนกันข้ามโขง ออกไปลาดตระเวณสืบข้อราชการทางเมืองวัง
เมืองคำอ้อต่อแดนญวนอยู่เนือง ๆ มิได้ขาด
ปี พ.ศ.๒๓๙๗ ได้มีท้องตราพระราชสีห์ของสมุหนายก ขึ้นมาถึงเจ้าเมืองมุกดาหารว่า
เนื่องจากในเมืองจีนได้เกิดการกบฎขึ้น เรือสำเภาจีนที่เคยเดินทางไปมาค้าขายลดน้อยลง
ท้องพระคลังจึงจำหน่ายผลเร่ว (หมากเหน่ง) ส่วยที่ส่งไปเมืองได้น้อยลง
ประกอบกับผลเร่วในป่าแถบลุ่มแม่น้ำโขงก็มีน้อยลง บางครั้งเจ้าเมืองกรมการต้องจัดหาเงินไปซื้อผลเร่ว
เพื่อส่งไปกรุงเทพ ฯ อนึ่ง การนำผลเร่วบรรทุกช้าง ม้า โค ต่าง ๆ ลงไปส่งกรุงเทพ
ฯ ก็เป็นการลำบากอยู่แล้ว ฉะนั้น หากหาผลเร่วไม่ได้ หรือไม่พอเพียง ก็ให้เจ้าเมืองกรมการเอาเงินลงไปส่งแทน
จึงให้เรียกว่า เงินแทนผลเร่วส่วย โดยให้คิดราคาแทนผลเร่วหาบละ ๕ ตำลึง (๒๐
บาท) โดยคิดจากชายฉกรรจ์ ๑๐ คน ต่อผลเร่ว ๑ หาบ
ในปี พ.ศ.๒๔๐๐ พระจันทรสุริยวงษ์ (พรหม) ถึงแก่กรรม อุปฮาด (คำ) ได้เป็นผู้รักษาเมืองต่อมาอีก
๒ ปี
เจ้าจันทรเทพสุริยวงษ์ ฯ (เจ้าหนู)
(พ.ศ.๒๔๐๘ - ๒๔๑๒) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าหนู
เชื้อสายเจ้าจากราชวงศ์เวียงจันทน์ เป็นเจ้าเมืองเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๗ เดิมเป็นเจ้าเมืองขอนแก่น
ส่วนอุปฮาด (คำ) ผู้รักษาเมืองมุกดาหารมาก่อน ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็ฯ
พระพฤกษมนตรี ตำแหน่ง จางวางที่ปรึกษาราชการเมืองมุกดาหาร
ในปี พ.ศ.๒๔๑๑ เจ้าจันทรสุริยวงษ์ ฯ เจ้าเมืองมุกดาหาร ได้มีศุภอักษร
กราบบังคลทูล ฯ ลงไปกรุงเทพ ฯ ว่า ได้เกลี้ยกล่อมได้พวกลาวพวน และผู้ไทย จากเมืองเชียงขวาง
เมืองสุย เมืองสบแอก เมืองซำเหนือ เมืองบัว เมืองพาน เมืองส่วย เมืองแทน
มีหลวงภักดี ฯ เป็นหัวหน้า สวามิภักดิ์และขอทำราชการขึ้นกับเมืองมุกดาหาร
มีจำนวน ๑,๐๙๔ คน จึงให้พักตั้งครอบครัวอยู่ที่บ้านหนองแก้ว หาดเดือย ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
(ตรงข้ามอำเภอบึงกาฬ) ซึ่งเป็นเขตนครเวียงจันทน์เดิม จึงขอรับพระราชทานตั้งขึ้นเป็นเมือง
ต่อมาจึงได้โปรดเกล้า ฯ ตั้งขึ้นเป็นเมืองประชุมพนาลัย
ขึ้นกับเมืองมุกดาหาร ปัจจุบันลาวเรียกว่า เมืองประชุม
เจ้าจันทรเทพ ฯ เจ้าเมืองมุกดาหาร ได้จัดราชบรรณาการ มีต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน
สูง ๙ ชั้น หนักต้นละ ๒ ตำลึง ๓ บาท พร้อมด้วย นรนาด ๑ ยอด งาช้าง ๑๒ กิ่ง
สีผึ้งหนัก ๑๒ บาท กับเงินแทนผลเร่วส่วย เป็นราชบรรณาการของเมืองมุกดาหาร
เสมือนหนึ่งเป็นประเทศราช ลงไปทูลเกล้า ฯ ถวายที่กรุงเทพ ฯ ทุกปี เริ่มตั้งแต่ปี
พ.ศ.๒๔๑๐ ต่อมาได้ยกเลิกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๔
เมืองในภาคอีสานที่เคยถวายราชบรรณาการต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน มีอยู่สองเมืองคือ
เมืองนครพนม และเมืองมุกดาหาร
ในปี พ.ศ.๒๔๑๒ พระพฤกษมนตรี (คำ) จางวางอุปฮาด (จีน) และราชบุตร
(แท่ง) ได้นำคำฟ้องกล่าวโทษ เจ้าจันทรเทพ ฯ ถึง ๔๐ ข้อ ระบุความผิดว่า
ได้เบียดเบียนประพฤติผิดในทำนองคลองธรรมของบ้านเมือง ราษฎรเดือดร้อน ต่อมาได้มีท้องตราพระราชสีห์มาถึงเมืองมุกดาหารว่า
ให้เจ้าจันทรเทพ ฯ เจ้าเมือง เจ้าราชวงศ์ (เจ้าดวงเกษ) พระศรีวรราช
(เจ้าดวงจันทร์) เจ้าเมืองท่าอุเทน ผู้เป็นบุตรลงไปสู้คดีความที่กรุงเทพ
ฯ ตระลาการ เห็นว่ามีความผิดจริง สมควรถอดออกจากตำแหน่งทั้งสามคน แล้วให้ยึดตัวไว้ในกรุงเทพ
ฯ ต่อมาได้โปรดเกล้า ฯ ให้บรรดาศักดิ์ทั้งสามคน ลงมาใช้นามเดิม
พระจันทรสุริยวงษ์ (คำ)
(พ.ศ.๒๔๑๓ - ๒๔๒๐) พระพฤกษมนตรี (คำ) ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็น
พระจันทรสุริยวงษ์ เจ้าเมืองมุกดาหาร ในปี พ.ศ.๒๔๑๓ นับเป็นเจ้าเมืองลำดับที่ห้า
เป็นบุตรพระยาจันทสุริยวงษ์ (กิ่ง) เจ้าเมืองมุกดาหารลำดับที่สอง และยังคงพระราชทานเครื่องยศบรรดาศักดิ์
เสมอเหมือนเจ้าเมืองหัวเมืองชั้นเอก ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง
ปี พ.ศ.๒๔๑๘ ได้มีท้องตราพระราชสีห์ จากสมุหนายกมาถึงเมืองร้อยเอ็ด
กาฬสินธ์ สุวรรณภูมิ อุบลราชธานี ยโสธร มุกดาหาร
เขมราฐ เพชรบูรณ์ วิเชียร และหล่มสัก ว่าเนื่องจากทัพฮ่อยกมาตีเมืองเวียงจันทน์
และหนองคาย จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จ ฯ กรมพระบำราศปรปักษ์ เป็นเแม่ทัพใหญ่ยกออกจากกรุงเทพ
ฯ จึงให้เกณฑ์กองทัพเมืองร้อยเอ็ด ๕,๐๐๐ เมืองสุวรรณภูมิ ๕,๐๐๐
เมืองกาฬสินธ์ ๔,๐๐๐ เมืองอุบลราชธานี ๑๐,๐๐๐ เมืองยโสธร ๕,๐๐๐
เมืองเขมราฐ ๔,๐๐๐ เมืองมุกดาหาร ๔,๐๐๐
รวม ๓๗,๐๐๐ คน ส่วนเมืองเพชรบูรณ์ ๔๐๐ ช้าง ๒๐ เชือก เมืองวิเชียร ๒๐๐
ช้าง ๑๕ เชือก เมืองหล่มสัก ๖๐๐ ช้าง ๒๐๐ เชือก โดยให้เตรียมทัพไว้ให้พร้อม
ในปลายปี พ.ศ.๒๔๑๘ พระยามหาอำมาตย์ เจ้ากรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ ซึ่งขึ้นมาจัดราชการ
และตั้งอยู่ ณ เมืองอุบลราชธานี ได้มีคำสั่งมายังหัวเมืองแถบลุ่มแม่น้ำโขง
ให้จัดเตรียมเรือไว้ใช้ในราชการทัพ เพื่อเตรียมยกกองทัพทางเรือไปสมทบ กองทัพใหญ่ในการปราบฮ่อ
โดยให้เตรียมขุดถากทำเรือไว้ให้ กว้าง ๔ วา ๕ ศอก ๖ คืบ คือ เมืองหนองคาย
๕๐ ลำ เมืองโพนพิสัย ๓๐ ลำ เมืองไชยบุรี ๒๐ ลำ เมืองท่าอุเทน ๑๕ ลำ เมืองนครพนม
๕๐ ลำ เมืองเขมราฐ ๔๐ ลำ เมืองมุกดาหาร ๔๐ ลำ
รวม ๒๔๕ ลำ
พระจันทรสุริยวงษ์ (บุญเฮ้า)
(พ.ศ.๒๔๒๑ - ๒๔๓๐) ได้รักษาราชการเมืองมุกดาหารอยู่สองปี จึงได้รับโปรดเกล้า
ฯ พระราชทานสัญญาบัตรประทับพระราชลัญจกร ตั้งให้เป็นพระจันทรสุริยวงศ์ เจ้าเมืองมุกดาหาร
ในปี พ.ศ.๒๔๒๕ ได้มีท้องตราพระราชสีห์ใหญ่มาถึงเจ้าเมืองมุกดาหารมีใจความว่า
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๐ ให้ยกเมืองกุฉินารายณ์เมืองขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ มาขึ้นเมืองมุกดาหารนั้น
บัดนี้เจ้าเมืองกาฬสินธุ์และเจ้าเมืองกุฉินารายณ์ได้ถึงแก่กรรมแล้วทั้งสองคน
ท้าวกินรีผู้ว่าที่เจ้าเมืองกุฉินารายณ์ ได้ขอกลับคืนไปขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ตามเดิม
ในปี พ.ศ.๒๔๒๘ ได้มีท้องตราพระราชสีห์ใหญ่ขึ้นมาถึงเมืองมุกดาหารว่าได้โปรดเกล้า
ฯ ให้พระยามหาอำมาตย์ (หวน ศรีเพ็ญ) สมุหมหาดไทยฝ่ายเหนือ และข้าหลวงใหญ่ซึ่งมาจัดราชการอยู่
ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นแม่ทัพยกขึ้นมาตั้งอยู่ ณ เมืองเขมราฐ ริมฝั่งโขง
เนื่องจากเมื่อฝรั่งเศสได้ดินแดนญวนทางภาคใต้ แล้วบังคับให้ญวนทำสัญญา เพื่อจัดราชการบ้านเมืองตามสัญญาปี
ค.ศ.๑๘๘๓ (พ.ศ.๒๔๒๖) แต่พระเจ้าแผ่นดินญวน พร้อมผู้สำเร็จราชการ ได้ระดมทหารถึงสามหมื่นคนมาตั้งอยู่ที่เมืองเว้แล้วเข้าทำร้ายนายพลฝรั่งเศส
จุดไฟเผาทำลายค่ายทหารฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้จับผู้สำเร็จราชการและฆ่าทหารญวนตาย
๑,๒๐๐
คน พระเจ้าแผ่นดินญวนและเสนาบดีได้หลบหนีเข้ามาในพระราชอาณาเขต ได้หลบหนีเข้ามาทางเมืองลาดคำรั้ง
เมืองลาวบาว แข้ามาหลบซ่อนทางเมืองวัง ที่บ้านดงม่วง เมื่อพบกำลังฝ่ายไทยยกออกไปสกัดกั้นจึงได้หลบหนีออกไปทางเมืองคำเกิดคำม่วน
บ้านนาแป ข้ามเขาบรรทัดแล้วหนีออกไปเมืองต่งเหง่ (เมืองวินห์)
ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๔ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้เริ่มเผยแพร่ออกสู่หัวเมืองแถบลุ่มแม่น้ำโขง
ตั้งวัดศาสนาคริสต์ที่บ้านบุ่งกระแทง เมืองอุบล ฯ แล้วแผ่ขยายตามลำน้ำโขงที่เมืองสกลนคร
(ท่าแร่) เมืองนครพนม (หนองแสง) และเมืองมุกดาหาร (สองคอน) บรรดาพวกทาสซึ่งส่วนมากเป็นพวกข่าและภูเทิง
(ผู้ไทยผสมญวน) ได้ถูกชักชวนให้ไปเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ ได้หลบหนีจากเจ้าเบี้ยนายเงินไปพึ่งพาอาศัยอยู่กับบาทหลวงเป็นจำนวนมาก
เกิดมีปัญหาระหว่างนายเงินและตัวทาส ครั้นเจ้าของทาสไปร้องขอกับบาทหลวงก็ไม่ยอม
พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ จันทรสาขา)
(พ.ศ.๒๔๓๐ - ๒๔๔๐) ราชบุตร (เมฆ) ได้เป็นผู้รักษาราชการเจ้าเมือง แทนหลังจากที่เจ้าเมืองคนก่อนถึงแก่กรรม
และต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๑ จึงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นเจ้าเมืองเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๔
และต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระจันทรเทพสุริยวงษา
เจ้าเมืองมุกดาหาร เป็นพระยาศศิวงษ์ประวัติ ตำแหน่งจางวางที่ปรึกษาราชการเมืองมุกดาหาร
เนื่องจากเป็นเจ้าเมืองเก่า มีอายุมาก และได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองให้เหมือนกันหมดทั่วราชอาณาจักร
ให้ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงษ์ ราชบุตร ตามธรรมเนียมโบราณ มาเป็นผู้ว่าราชการเมือง
ปลัดเมือง ยกบัตรเมือง และผู้ช่วยราชการเมือง
พระจันทรเทพสุริยวงษา (แสง จันทรสาขา)
(พ.ศ.๒๔๔๑ - ๒๔๔๙) ราชวงษ์ (แสง) บุตรพระยาศศิวงษ์ประวัติ ได้รับโปรดเกล้า
ฯ ให้เป็นพระจันทรเทพสุริยวงษา ผู้ว่าราชการเมืองมุกดาหารคนแรก
ปี พ.ศ.๒๔๔๖ เมืองมุกดาหารมีสองอำเภอคืออำเภอเมือง ฯ และอำเภอเมืองหนองสูง
ส่วนเมืองพาลุกากรภูมิถูกยุบลงเป็นหมู่บ้าน
เมืองหนองสูงและเมืองคำชะอี
เมืองหนองสูงตั้งเป็นเมือง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๗ ขึ้นกับเมืองมุกดาหาร ชาวเมืองเป็นกลุ่มชาวผู้ไทยจากแคว้นสอบสองจุไทย
ซึ่งได้อพยพมาอยู่ที่เมืองวังและเมืองคำอ้อคำเขียว ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
ต่อมาได้อพยพมาอยู่ที่ดงบังอี่
ในเขตเมืองมุกดาหาร
ในปี พ.ศ.๒๓๘๗ เจ้าเมืองมุกดาหารได้นำท้าวสีหนาม เจ้าเมืองคำอ้อ ท้าวราชอาด
เมืองคำอ้อ เพี้ยเมืองแสน ท้าวสุวรรณโคตร ท้าวอุปคุต จากเมืองวัว เข้าพบเจ้าพระยาบดินทรเดชา
(สิงห์ สิงหเสนี) สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ที่ออกมาจัดราชการเมืองเขมรอยู่ที่เมืองพนมเป็ญ
ทั้งหมดได้รับพระราชทานดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ว่าจะซื้อตรงจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและกรุงเทพ
ฯ หลังจากนั้นเจ้าเมืองมุกดาหารก็ได้นำเจ้าเมืองคำอ้อ และกรมการเมืองวังเข้าเฝ้า
ฯ ที่กรุงเทพ ฯ และได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ท้าวสีหนาบ เจ้าเมืองคำอ้อเป็นพระไกรสรราช
เจ้าเมืองหนองสูง ให้เมืองมุกดาหาร แบ่งเขตแดนให้เมืองหนองสูง ด้านตะวันออกตั้งแต่ห้วยทรายด้านเหนือถึงเขานางมอญ
ด้านตะวันตกถึงห้วยบัวอึ ด้านใต้ตั้งแต่ห้วยทราย
ในปี พ.ศ.๒๔๒๐ พระไกรสรราช (ท้าวสีหนาบ) เจ้าเมืองหนองสูง ถึงแก่กรรม อุปฮาด
(ลุน) เมืองหนองสูงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระไกรสรราช เจ้าเมืองหนองสูงแทน
ในปี พ.ศ.๒๔๔๒ เมืองมุกดาหาร มีเมืองขึ้นสองเมืองคือเมืองหนองสูง และเมืองพาลุภากรภูมิ
เมืองหนองสูงได้เปลี่ยนเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง และกรมการเมืองขึ้นกับเมืองมุกดาหาร
ตามระเบียบการปกครองแบบใหม่
ในปี พ.ศ.๒๔๖๐ เมืองหนองสูงถูกยุบเป็นอำเภอหนองสูง และได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอหหนองสูงไปตั้งที่บ้านนาแก
ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอนาแก
ส่วนบริเวณเมืองหนองสูงเดิม ได้ถูกยุบลงเป็นตำบลหนองสูง และตำบลคำชะอี ขึ้นกับอำเภอมุกดาหาร
จังหวัดนครพนม
ในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ตำบลหนองสูงและตำบลคำชะอี ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอคำชะอี
และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอคำชะอี
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙
พ.ศ.๒๕๒๘ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นิ่กิ่งอำเภอหนองสูง และได้เป็นอำเภอหนองสูง
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖
เมืองพาลุกากรภูมิ
เป็นเมืองขึ้นของเมืองมุกดาหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๐๙ คือบริเวณอำเภอหว้านใหญ่
ในปัจจุบันคำว่า พาลุกา มาจากคำว่า พาลกะ ในภาษาบาลี แปลว่า ทราย
ในปี พ.ศ.๒๔๐๘ เจ้าเมืองมุกดาหาร พยายามที่จะขยายอาณาเขตเมืองมุกดาหารที่ครอบคลุมทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง
(รวมแขวงสุวรรณเขตของลาว) จนจดแดนญวน เพื่อทดแทนนครเวียงจันทน์ซึ่งเป็นเมืองร้าง
เจ้าเมืองมุกดาหารซึ่งขอพระราชทานตั้งเมืองใหม่อีกเมืองหนึ่ง โดยแยกอาณาเขตเมืองมุกดาหาร
ตั้งแต่ห้วยบังทราย (บางทราย) ขึ้นไปทางเหนือจนถึงลำน้ำก่ำ จึงได้รับโปรดเกล้า
ฯ พระราชทานนามเมืองนี้ว่า เมืองพาลุกากรภูมิ แต่ได้ตั้งเมืองเหนือบ้านบางทรายขึ้นไปคือ
บริเวณบ้านพาลุกา อำเภอหว้านใหญ่ ในปัจจุบัน และได้โปรดเกล้า ฯ ให้ ท้าวทัต
บุตรราชวงษ์ (ทัง) จากเมืองมุกดาหารเป็น พระอมรฤทธิราช เจ้าเมือง ขึ้นกับเมืองมุกดาหาร
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๙
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๐ บาทหลวงชาวฝรั่งเศสจากกรุงเทพ ฯ ซึ่งถือว่าเป็นสังฆราชของคริสตศาสนา
นิกายโรมันคาทอลิค ได้สั่งให้บาทหลวงสองคน ทำการเผยแพร่ศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยได้จัดตั้งวัดในศาสนาคริสต์ขึ้นเป็นวัดแรก
ที่บ้านบุ่งกระแทว เมืองอุบล ฯ ตั้งแต่ปี
พ.ศ.๒๔๒๔ และต่อมาได้ขยายวัดในศาสนาคริสต์ตามหัวเมืองในลำน้ำโขง ที่เมืองเขมราฐ
มุกดาหาร นครพนม และสกลนคร บาทหลวงซาเวียร์ เกโด้ ได้ตั้งวัดศาสนาคริสต์ริมฝั่งแม่น้ำโขงที่บ้านสองคอน
เขตเมืองพาลุกากรภูมิ ซึ่งขึ้นกับเมืองมุกดาหาร บรรดาพวกทาสที่ถูกปลดปล่อยจากเมืองมุกดาหาร
ซึ่งส่วนมากเป็นพวกข่า ผู้เทิง และพวกที่สังคมกล่าวหาว่าเป็น ฉมบ (ผีปอบ ผีกระสือ)
ได้ไปพึ่งพาอาศัยและเข้ารีตอยู่กับบาทหลวงเป็นจำนวนมาก
ทางเจ้าเมืองมุกดาหารได้มีใบบอกไปทางกรุงเทพ ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๙ มีความว่าเจ้าเมืองท้าวเพี้ยหัวเมืองลาวตะวันออก
ประพฤติการณ์ไม่เป็นยุติธรรมพากันไปกดขี่คุมเหง จับข่ามาเป็นทาสใช้สอยอยู่ตามบ้านเรือน
เป็นที่ติเตียนแก่คนต่างประเทศ และได้มีท้องตาประกาศบรรดาเจ้าเมืองท้าวเพี้ย
หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก ห้ามไม่ให้ไปกดขี่คุมเหง จับไพร่ข่ามาซื้อขายใช้สอยการงานที่บ้านเรือน
แต่ทาสเดิมที่ได้ซื้อหามาแต่เดิม ก็ให้คงอยู่ตามพระราชกำหนดกฎหมาย ต่อมาเมื่อปี
พ.ศ.๒๔๒๙ ทาสเดิมที่ได้ออกเงินไถ่ไว้ใช้สอยมาแต่ก่อน พากันกำเริบหลบหนีไปจากเจ้าเบี้ยนายเงิน
ไปอยู่กับบาทหลวงฝรั่งเศสเป็นอันมาก
ทางกรุงเทพ ฯ ได้มีท้องตราราชสีห์ มาถึงเมืองมุกดาหาร มีความว่าได้รับใบบอกแล้ว
และได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล ฯ มีพระบรมราชโองการ ฯ สั่งว่า ซึ่งบาทหลวงยกพระราชกำหนดกฎหมายเป็นหลักฐานในถ้อยคำ
ไม่ดื้อดึงเป็นอย่างอื่นแล้วนั้น ก็เป็นการดี ควรต้องผ่อนผันพิพากษาตัดสินตามกฎหมายอย่างธรรมเนียมในกรุงเทพ
ฯ จึงจะเป็นการเรียบร้อยโดยยุติธรรม ตัวทาสนั้นคงให้เป็นไพร่พลเมืองใช้ในราชการต่อไป
ถ้าเป็นทาสขายตัวเอง ฤาบิดามารดาขาย และเป็นเชลยตีทัพมาเกิด ลูกทาสลูกเชลยในเรือนเบี้ย
ต้องไถ่ตัวให้นายเงินตามเงินที่ซื้อขาย และเกษียณอายุลูกทาส
ลูกเชลย ตามข้อพระราชบัญญัติ และพระราชกำหนดกฎหมาย
ในปี พ.ศ.๒๔๓๓ พระอมรฤทธิธาดา (ทัด) เจ้าเมือง ป่วยเป็นโรคชรา ถึงแก่กรรม
ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อุปฮาด (กุ) เป็นพระอมรฤทธิธาดา เจ้าเมืองพาลุกากรภูมิ
แทน และได้ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐
พ.ศ.๒๔๔๒ ยุบเมืองพาลุกา ลงเป็นหมู่บ้านขึ้นกับเมืองมุกดาหาร กรมการเมือง
ท้าวเพี้ยเก่า ๆ ได้พากันอพยพข้ามโขงไปอยู่เมืองคันธบุรี แขวงเมืองสุวรรณเขตของลาว
บางพวกก็ขอรับราชการกับฝรั่งเศส บรรดาลูกหลานได้อพยพตามไปอยู่ฝั่งลาวเป็นจำนวนมาก
จนที่ตั้งเมืองพาลุกกรภูมิเดิมกลายเป็นเมืองร้าง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|