ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
การตั้งถิ่นฐาน

            การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในเขตจังหวัดน่าน มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๓๕,๐๐๐ - ๒๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในพื้นที่บางส่วนของลุ่มน้ำแหงในเขตอำเภอนาน้อย และลุ่มน้ำน่าน - สา ในเขตอำเภอเมือง และอำเภอเวียงสา พบเครื่องมือหินกะเทาะแบบหยาบ ๆ ทำจากหินกรวด พบเล็กน้อยจากบริเวณเสาดิน บ้านน้ำหก ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย บ้านดู่ใต้ ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง ฯ และพบเครื่องมือหินกะเทาะหน้าเดียวทำจากหินกรวด ค้อนหินบด ค้อนหิน และก้อนหินเจาะรูที่ถ้ำปูเล่ม (ถ้ำอมรินทร์) ในเขตตำบลส้าน อำเภอเวียงสา

            ต่อมาเมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในสมัยหินใหม่ มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์กระจายออกไปกว้างขวางขึ้น พบเครื่องมือหินที่พัฒนาไปมากกว่าเดิมในสมัยหินกลางตอนปลาย และต่อเนื่องไปจนถึงเครื่องมือหินขัดในสมัยหินใหม่ประเภทขวานหินมีบ่า และขวานหินไม่มีบ่า กระจายอยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ อำเภอเวียงสา อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอแม่จริม และอำเภอบ่อเกลือ พบแหล่งผลิตเครื่องมือหินขนาดใหญ่ที่เขาหินแก้ว เขาชมพู และดอยปู่แก้ว ในเขตตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง ฯ และที่ดอยภูทอก บ้านทุ่งผา อำเภอเวียงสา

            ในสมัยหินใหม่แทบจะไม่พบแหล่งโบราณคดียุคโลหะเลย นอกจากพบพร้าหรือมีดสำริด และเครื่องมือเครื่องใช้โลหะจำนวนเล็กน้อย ทางตอนใต้ของตัวจังหวัด ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ พบกลองมโหระทึกสองใบแบบวัฒนธรรมดองซาน (อายุประมาณ ๒,๕๐๐ - ๒๐๕๐ ปี ) ที่บ้านบ่อหลวง ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ สันนิษฐานว่ากลองมโหระทึกทั้งสองใบดังกล่าว อาจถูกฝังไว้เมื่อประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปีมาแล้ว เนื่องจากเครื่องประดับ แหวนทองคำ แหวนสำริด และแผ่นทองที่บรรจุอยู่ในกลองเป็นวัตถุสมัยประวัติศาสตร์
ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์

            เมืองน่านในอดีตเป็นนครรัฐเล็ก ๆ ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน และแม่น้ำสาขา ชื่อเมืองน่านในภาษาบาลีคือ นันทบุรี และได้ชื่อว่าเมืองน่าน เพราะเมืองตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำน่าน ปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๘ ประมาณ พ.ศ.๑๙๑๕
            เมืองน่านมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพอ ๆ กับสุโขทัย พะเยา และล้านนา มีเจ้าผู้ครองนครถึง ๖๓ องค์ เนื่องจากเป็นนครรัฐเล็ก ๆ มีประชากรน้อย บางครั้งเป็นอิสระ บางครั้งตกเป็นประเทศราช ของอาณาจักรที่มีอำนาจมากกว่า แบ่งเหตุการณ์ความเป็นมาได้เป็นสี่ช่วงระยะเวลาดังนี้
            ระยะแรกสร้างเมืองปัว และเมืองน่าน (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ - พ.ศ.๑๙๙๒ ) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๘๒๕ มีคนไทยกลุ่มหนึ่งในการนำของพระยาภูคา ได้ครอบครองพื้นที่ราบตอนบนของจังหวัดน่าน ตั้งศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าอยู่บริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่างใกล้เทือกเขาดอยภูคา ในเขตบ้านหาดเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เนื่องจากพบร่องรอยชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำคันดิน กำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ ต่อมาพระยาภูคาได้ขยายอาณาเขตของตนออกไป โดยส่งบุตรบุญธรรมสองคนไปสร้างเมืองใหม่ ทางตะวันออกบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ให้ขุนนุ่นผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (หลวงพระบาง) ให้ขุนฟองผู้น้องไปสร้างเมืองวรนคร หรือเมืองปัว อยู่ไกลจากแม่น้ำน่านประมาณ ๕,๐๐๐ วา
            จากการสำรวจได้พบชุมชนโบราณสี่แห่ง ในพื้นที่อำเภอปัว คือชุมชนโบราณเมืองปัว และชุมชนโบราณบ้านสวนดอก ตำบลปัว ชุมชนโบราณบ้านศาลา ตำบลศิลาแลง และชุมชนบ้านดอยทุ่งกลาง ตำบลแงง ลักษณะของชุมชนโบราณทั้งสี่แห่ง มีลักษณะใกล้เคียงกันคือ มีคูน้ำคันดินรูปวงกลมมน หรือวงรีมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔๐๐ - ๖๐๐ เมตร
            เมื่อขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อน ราชบุตรได้ครองเมืองน่าน และเมื่อพระยาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนได้ครองเมืองย่างแทน และให้ชายาคือแม่ท้าวคำบินดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมืองน่านในระยะเริ่มก่อตั้งอยู่ที่เมืองปัว เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และมีความใกล้ชิดกับเมืองหลวงพระบาง ในฐานะเมืองพี่เมืองน้อง
            พญางำเมือง  เจ้าเมืองพะเยาได้ขยายอิทธิพลเข้าไปครอบครองเมืองน่าน นางพญาแม่ท้าวคำบินได้หลบหนีไปอยู่ที่บ้านห้วยแร้ง และได้คลอดบุตรชายชื่อ เจ้าขุนใส เมื่อโตขึ้นได้เป็นขุนนางอยู่กับพญางำเมือง และได้รับสถาปนาให้เป็นเจ้าขุนใส่ยศให้ไปครองเมืองปราด ต่อมาเมื่อมีกำลังมากขึ้นก็ได้ดิ้นรนจนพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัว ระหว่างปี พ.ศ.๑๘๖๕ - ๑๘๙๔ จึงพิราลัย เจ้าใสบุตรคนสุดท้องครองเมืองต่อมาได้สามปี ก็พิราลัย พญาการเมือง บุตรพญาผานองอีกคนหนึ่งได้ครองเมืองปัวต่อมา เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๖

            พญาการเมือง  ครองเมืองปัวอยู่ระหว่าง พ.ศ.๑๘๙๖ - ๑๙๐๑ นับเป็นราชวงศ์ภูคาองค์ที่ห้า เมืองปัวได้ขยายตัวมากขึ้น และมีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พญาการเมืองได้สร้างพระธาตุแช่แห้งบนภูเพียงแช่แห้ง ระหว่างแม่น้ำเตี๋ยนกับแม่น้ำลิง อยู่ทางด้านทิศตะวันออก (ฝั่งซ้าย) ของแม่น้ำน่าน ห่างออกไปประมาณสามกิโลเมตร และได้อพยพผู้คนจากเมืองปัวลงมาทางใต้ มาสร้างเมืองใหม่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง ในปี พ.ศ.๑๙๐๒ โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลาง
            พญาการเมืองพิราลัย  เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๖ โอรสคือ พระยาผากอง ขึ้นครองราชย์ได้ ๖ ปี ต้องประสบปัญหาน้ำแล้งในฤดูแล้งทุกปี เนื่องจากเมืองตั้งอยู่ไกลแหล่งน้ำมากเกินไป จึงได้ย้ายเมืองมาสร้างใหม่ อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน่านทางด้านทิศตะวันตก (ฝั่งขวา) ของแม่น้ำน่าน ตรงบริเวณบ้านห้วยไค้ คือ บริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อวันอังคาร ขึ้นหกค่ำ เดือนสิบสอง พ.ศ.๑๙๑๑

            ชื่อเมืองน่านปรากฏครั้งแรกในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๘ จารึกเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๑๙๑๕ มีความตอนหนึ่งว่า " เบื้องเหนือน้ำน่าน.... เจ้าพระยาผากองเจ้าเมืองน่าน เมืองพลั่ว " ในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๔๕ และ ๖๔ กล่าวถึงการกระทำสัตย์สาบาน ระหว่างปู่พญา (เจ้าพญาผากอง) และหลาน (พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ) ในปี พ.ศ.๑๙๓๕ เพื่อช่วยเหลือกันเมื่อเกิดสงคราม ก่อนหน้านี้เจ้าพญาผากองเคยยกทัพจากเมืองน่าน ลงมาช่วยพระมหาธรรมราชาที่ ๒ รบกับสมเด็จพระธรรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพระงั่ว) เพื่อป้องกันเมืองกำแพงเพชร เมื่อ ปี พ.ศ.๑๙๑๙
            เมื่อพญาผากองพิราลัย เจ้าคำตันโอรสพญาผากองครองราชย์มาได้ ๑๑ ปี (พ.ศ.๑๙๓๑ - ๑๙๔๑ ) ก็ถูกขุนหลวงเมืองใต้ (กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา)ลอบปลงพระชนม์โดยการนำยาพิษใส่ในน้ำให้เจ้าคำตันสรงในพิธีราชาภิเษกที่ท่าลี่ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๔๑
            ในปี พ.ศ.๑๙๔๒ พญาเถรเจ้าเมืองแพร่ และพญาอุ่นเรือนสองพี่น้องได้เข้ายึดเมืองน่าน ฆ่าศรีจันต๊ะอนุชาเจ้าคำตันที่ครองเมืองน่านต่อจากพี่ชาย แล้วพญาเถรได้ครองเมืองน่านแทน ส่วนท้าวหุงน้องของเจ้าศรีจันต๊ะ หนีไปพึ่งพญาเชลียง (ศรีสัชนาลัย) พญาเถรครองเมืองน่านได้หกเดือนเศษก็เป็นไข้ป้าง ถึงแก่พิราลัย ท้าวอุ่นเรือนผู้เป็นน้องได้ครองเมืองต่อมาได้หนึ่งปี ท้าวหุงก็ยกกำลังมาตีเมืองน่านคืนได้ ท้าวหุงครองเมืองน่านได้แปดปี (พ.ศ.๑๙๔๓ - ๑๙๕๐) ก็พิราลัย
            เจ้าปู่เข็ง  ผู้เป็นราชโอรสท้าวหุงได้ครองเมืองน่านต่อมา ในปี พ.ศ.๑๙๕๐ ได้สร้างวัดช้างค้ำวรวิหารขึ้นใน ปี พ.ศ.๑๙๕๕ และสร้างวัดพระบาทเขาน้อยกับวัดพญาภู แต่ยังสร้างวัดพญาภูไม่เสร็จก็พิราลัยเสียก่อน เมื่อปี พ.ศ.๑๙๖๐ รวมครองราชย์ได้ ๑๑ ปี
            เจ้าพันตัน  ผู้เป็นราชโอรสได้ครองเมืองต่อมาอีก ๑๐ ปี ตั้งแต่ พ.ศ.๑๙๖๐ - ๑๙๗๖ ก็พิราลัย เจ้างัวงาสุม หรือพญางั่วฬารผาสุม ครองนครเมืองน่าน ต่อมาอีก ๘ ปี ตั้งแต่ พ.ศ.๑๙๖๙ - ๑๙๗๖ ก็พิราลัย เจ้าอินต๊ะแก่นท้าวครองเมืองแทน เกิดการแย่งชิงราชสมบัติขึ้นระหว่างสามพี่น้อง คือเจ้าแปง และเจ้าหอพรหม วางแผนชิงเมืองจากเจ้าพี่ คือเจ้าอินต๊ะแก่นท้าวเมื่อ ปี พ.ศ.๑๙๗๗ เจ้าอินต๊ะแก่นท้าว หนีไปอยู่เมืองเชลียง และได้มาตีเมืองคืน เมื่อปี พ.ศ.๑๙๗๘ แล้วขึ้นครองราชย์เป็นครั้งที่สองนาน ๑๖ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๗๘ - ๑๙๙๓
            พระเจ้าติโลกราช  ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ หลังจากที่ได้รวบรวมเมืองใหญ่น้อยในลุ่มแม่น้ำปิง ลุ่มแม่น้ำกก และลุ่มแม่น้ำวัง ไว้ในอาณาจักรล้านนาแล้ว ก็ได้ยึดเมืองแพร่ และในที่สุดก็ยึดเมืองน่านได้ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๙๓ พญาอินต๊ะแก่นท้าวหนีไปอยู่เมืองเชลียง และถึงแก่พิราลัยที่เมืองเชลียง

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์