อย่าปลูกกล้วยเอาไว้แก่กอเลา |
หมายถึงอย่าปลูกกล้วยไว้โดยไม่เอาใจใส่บำรุงรักษาปล่อยให้ต้นเลาปกคลุม |
อย่าจาคำเส้าแก่เจ้าขุนบวก |
ห้ามพูดคำที่ไม่ดี
หรือไม่เป็นมงคลแก่ขุนนางผู้มีอำนาจ |
เป็นไพร่น้อยอย่าจาสวดต่อฮ้อลัวะชาวดอย |
เป็นไพร่ผู้น้อยอย่าได้กล่าววาจาดุร้ายต่อชาวต่างชาติต่างถิ่น |
อย่าเอาภูดอยมาเป็นรั้วบ้าน |
หมายถึงอย่าปลูกบ้านอยู่เชิงเขา
หรือติดภูเขา |
อย่าคบคนขี้คร้าน |
อย่าคบคนเกียจคร้าน |
อย่าอยู่บ้านมักสุข |
อย่าอยู่กับบ้านเอาแต่ความสุขสบาย
อย่าปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไม่ทำประโยชน์ |
ลุกเมื่อเช้าอย่าทืบฟาก |
ตื่นนอนตอนเช้าอย่ากระทืบพื้นบ้าน
คืออย่าให้ขุ่นมัว หงุดหงิด |
อย่าออกปากเสียงแข็ง |
อย่าพูดเสียงดังหยาบคาย |
อย่าแสงกันที่ข้างน้ำบ่อ |
อย่าพูดสนทนากันที่ข้างบ่อน้ำ |
อย่าห่อเข้า
(ข้าว) หื้อข้าท่านลักหนี |
อย่าห่อข้าวให้ข้าทาษอันเป็นของคนอื่น
หนี |
อย่าตีเสื้อผ้าหลังถึม |
อย่าเอาเสื้อผ้าตีฟาดกับฝากระแซง |
อย่ายืมกลองท่านมาตี |
อย่ายืมของที่ชำรุดง่ายของผู้อื่นมาใช้
จะเกิดความเสียหายได้ |
อย่าเอาขอนผีท่านมาให้ |
อย่านำเอาของที่ไม่มีประโยชน์ใด
ๆ มาสร้างความทุกข์ใจแก่ตนเอง |
อย่าซื้อลูกสะใภ้มาเรือน |
อย่าหาคู่ครองให้ลูกหลานโดยวิธีคลุมถุงชน |
อย่าเชือนผ้าแผ่น |
อย่าได้ลาดหรือปูผ้าผืนใหญ่โดยไม่จำเป็น |
ช้างม้าแล่นอย่าชักหาง |
กิจการใดที่เกินกำลังอำนาจของตนจะทัดทานได้
ก็ต้องปล่อยให้ผ่านไป |
กลางฟานแล่นอย่าวกหน้า |
หมายถึงน้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ |
ม้าช้างดีด
อย่าแล่นตามหลัง |
หมายถึงให้ระวังในการคบคน
โดยเฉพาะคนพาลอย่าวางใจ |
ท่านเผาหนังอย่าถามเชื่อเขี้ยว |
หมายถึงกิจการใดที่เกินกำลังความสามารถของตนอย่าได้อวดดีไปทำ |
ยิงโลบเลี้ยวอย่าเอามาเป็นเมีย |
ผู้หญิงไม่ดี
หรือหญิงแพศยา อย่าได้นำมาเป็นภรรยา |
เข้า
(ข้าง) เต็มเยีย อย่าอ้างว่ากินเงิน |
ข้าวเต็มยุ้งฉาง
อย่าอ้างว่ามีกินอีกนาน |
เงินพันอย่าไขกลางกาด |
มีเงินมากอย่าได้เปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ |
อย่าประมาทตนเจ้ามีศีล |
อย่าได้ลบหลู่ดูแคลนผู้ทรงศีล |
อย่าขุดดิน
หื้อท่านฝังหุ่น |
หมายถึงอย่าได้สมรู้ร่วมคิดในการทำความผิด |
อย่ามุ่มคำเก่าหื้อ
ท่านผิดกัน |
อย่ารื้อฟื้นคำพูดเก่า
ๆ มาพูดอีกเพื่อให้เขาทะเลาะกัน |
อย่าฟันไร่ที่จอมผา |
หมายถึงอย่าทำงานที่ใช้แรงงานโดยเปล่าประโยชน์ |
อย่าเยี๊ยะนาที่ตาหล่าย |
อย่าทำนาที่ตลิ่งน้ำ
จะเกิดความเสียหายไม่คุ้มค่า |
อย่าฟันไม้
ก่ายถมทางหลวง |
หมายถึงอย่างหลงมัวเมาในอวิชชา
ทำให้ขัดขวางคุณความดี |
อย่าฟันโรงที่ท่านอยู่ |
หมายถึงอย่าให้กิเลศตัณหา
มาทำลายคุณธรรมในเรือนใจของตน |
อย่านั่งปู่เอาเอาหลังไปอิงเนอะ |
หมายถึงให้รู้จักกาละเทศะ
รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น |
เงินคำ
อยู่คมพร้า เสื้อผ้าอยู่คมขวาน |
หมายถึงให้หนักเอาเบาสู้
มีความวิริยะ อุตสาห |
ฝูงอาจารย์จาริต
อย่าได้จิตคำผวน |
ทั้งมวลบ่ได้ซื้อ
คำของครูบาอาจารย์ควรเชื่อฟัง ไม่ประพฤตินอกรีต |
อย่ามืดมื้อเป็นดั่งเดือนดำ |
อย่ามัวหลงไม่ยอมรับรู้
คำสั่งสอนของผู้รู้ |
อย่ากทำ
(กระทำ) เป็นดั่งอี้ เป็นคนสัพปลี้บ่ดีแล |
อย่าทำตนเป็นคนกลับกลอก |
อย่าอวดอ้างคุณคอง |
อย่าได้อวดอ้างว่าตนมีคาถาอาคม |
คุณคองมีหื้อหมั่นเล่า |
ให้หมั่นครองศิลปคุณ
ข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ |
กำไหนหื้อมั่น
หั้น อย่าเยี๊ยะสั้นหันสั้น |
หื้อคึดเอายาว
ทำสิ่งใดให้ทำอย่างจริงจัง อย่าใจเร็วด่วนได้ |
จักกินนาหื้อแถมของฝาก |
หวังประโยชน์จากผู้อื่น
ก็ควรทำประโยชน์กับผู้อื่นบ้าง |
จักปากหื้อแยงยาม
จักถามหื้อแยงถี่ |
พูดจาให้ดูกาลเทศะ |
จักจดรี่ให้ดูฝน |
จะทำอะไรให้พิจารณาโดยรอบคอบ |
จาคำหื้อมีเมื่อ |
จะพูดคำไม่ดีไม่เหมาะสมให้ดูกาลเทศะ |
จักขอหื้อปากม่วน |
จะขออะไรใครให้เจรจาไพเราะน่าฟัง |
จักรีบด่วนหื้อเอาเบา |
หมายถึงให้ปลดวางกิเลสตัณหาต่าง
ๆ |
ท่านรักเราหื้อเรารักตอบ |
มิตรจิตรมิตรใจ |
ท่านครอบหื้อเราปัง |
เมื่อท่านถ่ายทอดความรู้ให้
ควรตั้งใจฟัง ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน |
ท่านชังหื้อชัยนำ |
เมื่อท่านไม่ชอบอย่างไร
ก็อย่าได้ประพฤติปฏิบัติอย่างนั้น |
ท่านกำหื้อกำแทน |
เมื่อท่านทำการใด
ให้ช่วยเหลือเพื่อแบ่งเบาภาระ |
ท่านแบนหื้อแบนล่อ |
เมื่อท่านได้กำหนดแนวทางปฏิบัติอย่างไรให้ปฏิบัติตาม |
ท่านถ่อหื้อเราพาย |
มีกิจการใดให้ช่วยกันทำ |
จักเป็นนายหื้อรักหมู่ |
เป็นเจ้าคนนายคนต้องรักพวกพ้องบริวาร |
จักเป็นปู่หื้อรักลูกรักหลาน |
เป็นผู้ใหญ่ให้รักผู้น้อย |
จักเป็นขุนกวานหื้อรักเพือนบ้าน |
อยากเป็นกำนัน
หรือผู้ตัดสินคดีความให้รักเพือนบ้าน |
จักต้านถ้อยหื้อพิจารณาตวงถี่ |
จะเจรจาความหรือตัดสินคดีความใด
ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน |
จักอยู่ที่ใด
อย่าจาแข็ง |
จะอยู่ที่ใดอย่าพูดหยาบคาย
สามหาวกับเพื่อนบ้าน |
ที่ใดแหงหื้อค่อยเว้น |
ที่ใดมีความแตกแยกขาดสามัคคี
อย่าได้สมาคมด้วย |
ขึ้นแล้วหื้อค่อยลง |
อย่าลืมตนประมาท |
เงินเต็มถงอย่าหื้อน้อย |
อย่านอนใจว่ามีเงินมาก |
อันจักหื้อย่อมมีหลายประการ |
การทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยมีหลายแนวทาง |
ปากบ่ช่างก็จะเสียมิตร |
พูดไม่เป็นก็อาจเสียเพื่อนได้ |
คันผิดหื้อค่อยแปง |
อย่าได้ทำความผิดซ้ำสอง |
หีบแกงร้อน
หื้อค่อยเป่า |
อย่าทำการสิ่งใดอย่างผลีผลาม |
หัวใจเน่า
หื้อพันหาย |
รู้จักระงับใจตนเอง
ใช้สติปัญญาเข้าข่ม อารมณ์ของตน |
คันกลัวตายหื้อรู้เยี่ยง |
ถ้ากลัวตายให้ประพฤติธรรม |
หาบเฟืองหื้อค่อยไป |
อย่าประมาทในการดำเนินชีวิต |
ใคร่ไวหื้อคลานใคร่นานหื้อแล่น |
ช้า
ๆ ได้พร้าเล่มงาม อย่าใจเร็วด่วนได้ |
ใคร่นั่นแท่นหื้อเรียนธรรม |
อยากนั่งธรรมาสน์ให้เรียนธรรม |
หื้อจำนำคำสอนพระเจ้าต่อเท้ากุ้มชีวังเทอะ |
ให้จดจำคำสอนของพระยามังรายเพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน |
|
ตราบเท่าชีวิตจะหาไม่ |