ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

            วังเจ้าเมืองพัทลุง  อยู่ในเขตตำบลลำปำ อำเภอเมือง ฯ ประกอบด้วยวังเก่า และวังใหม่

                - วังเก่า  ผู้สร้างและเป็นเจ้าของคือ พระยาอภัยบริรักษ์ ฯ (น้อย) เจ้าเมืองพัทลุงระหว่างปี พ.ศ.๒๔๑๒ - ๒๔๓๑  เดิมเป็นเจ้าเมืองปะเหลียน หัวเมืองจัตวา ขึ้นกับเมืองพัทลุง พระยาอภัยบริรักษ์ (น้อย) ได้สร้างที่พำนักซึ่งใช้เป็นที่ว่าการเมืองด้วย แต่ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด ได้มีการตกทอดมาตามลำดับ จนเป็นของ คุณยายประไพ  มุตตามระ บุตรีหลวงศรีวรวัตร ก่อนจะมอบวังเก่าให้แก่กรมศิลปากร
            วังเก่าเป็นเรือนไทยภาคใต้ผสมภาคกลาง มีเรือนใหญ่ทรงไทยแฝดอยู่ตรงกลาง ตัวเรือนยกพื้นสูงเสากลมปักลงดิน หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ด้านหน้าเรือนใหญ่เป็นเฉลียงยื่นออกไปทางทิศตะวันตก ถัดไปเป็นชานสำหรับใช้ว่าราชการ หรือประกอบพิธีการต่าง ๆ สุดชานเป็นเรือนครัวมีบันไดขึ้นสองทางคือ ด้านทิศใต้ และด้านทิศเหนือ
            เดิมเป็นเรือนไทยแฝดสามหลังติดกันใต้ถุนสูง หลังที่หนึ่งแหละหลังที่สอง ทำเป็นห้องนอน ห้องที่สามเป็นห้องแม่ทาน ลักษณะเป็นห้องยาว ครอบคลุมพื้นที่แนวห้องโถง หน้าเรือนหลังที่หนึ่งและหลังที่สองด้วย การที่จะข้าไปยังห้องแม่ทาน จะต้องเข้าทางประตูที่ติดกับห้องโถงหน้าเรือน หลังที่สอง หน้าห้องโถงของเรือนหลังที่หนึ่งและหลังที่สอง เป็นระเบียงลดระดับลงไปจากห้องโถงหน้าห้องนอน ยาวเลยไปจนสุดแนวของห้องแม่ทานด้วย ระเบียงส่วนที่บังห้องแม่ทานอยู่นั้นกั้นเป็นห้องเก็บของขนาดเล็ก เรียกว่า ห้องระเบียง
            ด้านทิศใต้ของนอกชานแนวเดียวกับห้องแม่ทาน มีเรือนขนาดเล็ก มีห้องนอนเดียว เรียกว่า ห้องเล็ก ระหว่างเรือนหลังเล็กกับเรือนแฝดมีชานเล็กคั่นอยู่
            ตรงข้ามกับแรือแฝดสามหลังซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของชานเรือน เป็นเรือนยาวทอดยาวจากทิศใต้ทางทิศเหนือ กั้นเป็นห้อง ใช้เป็นยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือก ข้าวสาร ห้องหครัว ห้องเก็บของ และห้องสุขา
            วัสดุที่ใช้สร้างเป็นไม้ทั้งหมด การประกอบเรือนใช้ลูกสัก หรือลิ่มไม้เชื่อมยึดแทนตะปู ซึ่งเป็นวิธีของช่างไทยโบราณ

                - วังใหม่  พระยาอภัยบริรักษ์ ฯ (เนตร)  เป็นผู้สร้างวังใหม่ขึ้นด้านหลังวังเก่าทางด้านทิศใต้ติดกับคลองลำปำ ชาวบ้านเรียกว่า วังใหม่ชายคลอง
            พระยาอภัยบริรักษ์ (เนตร)  เป็นเจ้าเมืองพัทลุงคนสุดท้าย และเป็นผู้ว่าราชการเมืองพัทลุงในระบบใหม่เป็นคนแรก
            วังใหม่เป็นกลุ่มเรือนไทยห้าหลัง ยกพื้นสูงล้อมรอบชานบ้านที่อยู่ตอนกลาง เป็นลานทรายก่อด้วยกำแพงอิฐกั้นทรายไว้ กลุ่มเรือนไทยดังกล่าวประกอบด้วยเรือนประธาน ซึ่งเป็นที่พักของพระยาอภัยบริรักษ์ ฯ (เนตร) เจ้าเมืองพร้อมภรรยาเอกและบุตร ลักษณะเป็นเรือนแฝดสองหลัง ภายในมีห้องนอนหลายห้อง
            ห้องนอนเจ้าเมืองพื้นห้องทำเป็นช่องลับมีกระดานปิดไว้ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เจ้าเมืองสามารถหลบหนีออกไปริมฝั่งคลองลำปำได้ หน้าห้องนอนเป็นโถง เข้าใจว่าเป็นที่สำหรับเจ้าเมืองว่าราชการ มีระเบียงลดระดับลงไปสองด้าน เข้าใจว่าเป็นที่นั่งของข้าราชการระดับต่าง ๆ เมื่อเข้าประชุมหารือข้อราชการ ถัดลงไปเป็นลานบ้านซึ่งเป็นลานทราย
            เรือนไทยอีกสี่หลังล้อมรอบลานบ้าน สามหลังเป็นเรือนขนาดเล็ก มีห้องนอนและระเบียงหน้าห้องเหมือนกัน ใช้เป็นที่อยู่ของอนุภรรยาและบุตร อีกลังหนึ่งเป็นเรือนครัว เรือนทุกหลังสร้างด้วยไม้แบบเรือนไทยโบราณ
            วังเจ้าเมืองพัทลุงเป็นมรดกของทายาทในสายตระกูลจันทโรจวงศ์ ทายาทได้มอบให้กรมศิลปากร เพื่อเป็นสมบัติของชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ ต่อมาทายาทอีกส่วนหนึ่งที่ครอบครองวังเก่า ก็ได้มอบให้แก่กรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ กรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะปฎิสังขรณ์ และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมในวันและเวลาราชการ
            เรือพัทลุง  เมื่อเมืองพัทลุงได้รวมเข้ากับมณฑลนครศรีธรรมราช ได้มีที่ทำการมณฑลอยู่ที่เมืองสงขลา เนื่องจากมณฑลนครศรีธรรมราช เป็นหัวเมืองชายทะเล รัฐบาลกลางจึงได้ส่งเรือสำหรับใช้ในราชการ ไปประจำที่มณฑลนครศรีธรรมราชสามลำ เป็นเรือขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก อย่างละหนึ่งลำ เรือขนาดใหญ่ชื่อ เรือมณฑลนครศรีธรรมราช เรือขนาดกลางชื่อ เรือแหล่งพระราม แหละเรือขนาดเล็กชื่อ เรือพัทลุง
            เรือพัทลุงใช้ประโยชน์ในทะเลสาปสงขลา และสถานที่ต่าง ๆ ระหว่างเมืองสงขลากับพัทลุง และใช้เป็นเรือพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในปี พ.ศ.๒๔๗๖ เมื่อเสด็จประทับที่เมืองสงขลา
            ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ ได้ใช้เป็นเรือพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมพสกนิกร ที่ตั้งบ้านเรือนตามชายฝั่งทะเลสาปสงขลา
            โครงสร้างของเรือพัทลุงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ความยาว ๑๓.๕๐ เมตร กว้าง ๓.๕๐ เมตร มีเสาเหล็กกลมหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองเป็นโครงหลังคา เชิงชายรอบหลังคาประดับด้วยลายอุบะ ใช้เครื่องยนต์ ๖ สูบ ขนาด ๗๕ แรงม้า เป็นเรือท้องแบน ตัวเรือเป็นเก๋งชั้นครึ่ง มีชั้นดาดฟ้าไม้
ศิลปกรรมท้องถิ่นพัทลุง
            พัทลุงมีศิลปกรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนใหญ่เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์
            ศิลปกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์  มีอยู่ ๒ ประเภทคือ
                - ขวานหินขัด  พบทั่วไปทุกอำเภอไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ชิ้น ขวานหินขัดของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ ชาวบ้านเรียกว่า ขวานฟ้า พบทั้งในถ้าเพิงหิน ที่ราบริมน้ำ และในทะเลสาปสงขลา เช่นกลางทุ่งนา หน้าถ้ำล่องลม เขาชัยสน พ้านควนกรวด ตำบลปรางหมู่ อำเภอเมือง ฯ ในทะเลสาปสงขลาใกล้เกาะราบ อำเภอปากพะยูน เป็นต้น
                - ภาชนะดินเผา  พบในถ้ำหลายแห่งได้แก่ ถ้ำล่องลม ถ้ำควายเขาชัยสน และถ้ำของลำเสียว  ภาชนะดินเผาที่พบส่วนใหญ่แตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย พอจะแยกออกเป็นสองแบบได้แก่ ภาชนะดินเผาแบบธรรมดาผิวขัดมัน มีลายเชือกทาบ และภาชนะดินเผาแบบหม้อสามขาผิวขัดมัน มีลายเชือกทาบ
            ศิลปกรรมสมัยเริ่มประวัติศาสตร์  มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๘ ในเขตจังหวัดพัทลุงมีไม่มากนัก ศิลปกรรมที่สำคัญมีดังนี้
                - พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด  พบที่เมืองพัทลุงเก่า บ้านควนแร่ ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง ฯ  องค์พระโพธิสัตว์ประทับยืนบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย เรียกว่า พระปัทมปาณีโพธิสัตว์ มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓  อีกองค์หนึ่งพบที่วัดเขียนบางแก้ว อำเภอเขาชัยสน องค์พระโพธิสัตว์ประทับยืนพระหัตถ์ทั้งสองหักหายไป มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕
                - พระอิศวรสำริด  เป็นเทวรูปพระอิศวรปางนาฏราชา ประทับยืนร่ายรำ รอบองค์พระอิศวรมีรัศมีเป็นรูปวงโค้ง หรือรูปเกือกม้าประดับด้วยเปลวเพลิง อิทธิพลศิลปะโจฬะของอินเดีย มีอายุอยู่ประมาณหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๕
                - พระพิมพ์อินเดีย  พบจำนวนมากที่ถ้ำเขาอกทะลุ ถ้ำคูหาสวรรค์ และถ้ำนางเขาชัยสน สร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกันคือ พระพิมพ์ดินดิบรูปสี่เหลี่ยมยอดมนปางแสดงธรรม และปางสมาธิ พระพิมพ์ดินดิบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปางสมาธิ พระพิมพ์ดินดิบรูปทรงกลมรี พระพิมพ์ดินดิบรูปทรงกลมยอดแหลม เป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
   ศิลปกรรมสมัยประวัติศาสตร์
            ศิลปกรรมสมัยนี้เป็นยุคประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นสมัยที่พัทลุงมีความเจริญรุ่งเรือง ได้มีการสร้างสรรค์งานทางศิลปะประเภทประติมากรรม สถาปัตยกรรมและจิตรกรรมไว้มากมาย ที่มีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๕ ดังนี้
            ศิลปกรรมสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐  พบทั้งประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ส่วนจิตรกรรมไม่ปรากฏ
                - ประติมากรรม  พบทั้งที่เป็นพระพุทธรูปสำริดและหินทรายแดง และใบพัทธสีมาจำหลักหินทรายแดง

                - สถาปัตยกรรม  ส่วนใหญ่หักพังไปตามกาลเวลา ที่พอมีเหลืออยู่ให้ศึกษาได้มีพระมหาธาตุเจดีย์วัดเขียนบางแก้ว อำเภอเขาชัยสน เพียงแห่งเดียว เป็นเจดีย์ก่อด้วยอิฐองค์ระฆังคว่ำแบบลังกา หรือแบบพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช รอบองค์เจดีย์มีฐานทักษิณาวรรต มีทางขึ้นทางด้านทิศตะวันออก มีเจดีย์ทิศสี่องค์ ตามประวัติว่าเจ้าพระกรุงทอง เจ้าเมืองสทิงพาราณสีเป็นผู้สร้าง
            ศิลปกรรมสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๓  พบกระจายอยู่ทั่วไปตามชุมชนโบราณ ซึ่งมีทั้งประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ไม่ปรากฏจิตรกรรมอยู่เลย
                - ประติมากรรม  มีทั้งพระพุทธรูปสำริดและพระพุทธรูปปูนปั้นอยู่เป็นจำนวนมาก
                - สถาปัตยกรรม  พบหลักฐานทางสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาน้อยมาก เนื่องจากสถาปัตยกรรมเดิมคงสร้างด้วยไม้ คงเหลือแต่เจดีย์ที่สำคัญได้แก่ ฐานเจดีย์วัดควนแร่ ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง ฯ  เหลือแต่ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานเจดีย์วัดควนปรง ตำบลท่ามิหว้า อำเภอเมือง ฯ  เหลือแต่ฐานรูปแปดเหลี่ยม แต่ละด้านมีรูปยักษ์แบก แต่หักพังไปหมดแล้ว องค์ระฆังเดิมกล่าวกันว่า เป็นแบบทรงระฆังหรือทรงลังกา เจดีย์วัดจินตาวาส  ตำบลตำนาน อำเภอเมือง ฯ  มีอยู่ ๘ องค์ ตั้งอยู่รอบอุโบสถ มีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง เจดีย์วัดเขา (ร้าง) ตำบลชัยหัว อำเภอเมือง ฯ  ตั้งอยู่บนยอดเขา มีฐานสี่เหลี่ยมรอบรับฐานแข้งสิงห์ย่อมุมไม้สิบสอง แต่ละด้านมีซุ้มพระพุทธรูปโค้งแหลมลดหลั่นด้านละสองซุ้ม องค์ระฆังแบบลังกา เจดีย์วัดป่าเลไลยก์ ตำบลลำปำ อำเภอเมือง ฯ  มีฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้างด้านละ ๒ เมตร
            ศิลปกรรมสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ๒๕  เป็นสมัยรัตนโกสินทร์ พบมีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นฝีมือช่างท้องถิ่น มีทั้งประติมากรรม สถาปัตยกรรมและจิตรกรรม ที่สำคัญมีดังนี้
                - ประติมากรรม  พบพระพุทธรูปสำริดและพระพุทธรูปปูนปั้นซึ่งพบอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นพระประธานในพระอุโบสถ
                - สถาปัตยกรรม  มีทั้งที่เป็นอุโบสถ เจดีย์และที่อยู่อาศัย ได้แก่ อุโบสถวัดวัง ตำบลลำปำ อำเภอเมือง ฯ  ก่ออิฐถือปูน ด้านหน้ามีมุขเด็จ ภายในมุขประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางป่าเลไลยก์ สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อุโบสถวัดยางงาม ตำบลลำปำ อำเภอเมือง ฯ  ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าใบระกาสวยงาม เสาผาไลเป็นเสากลม หัวเสาและฐานเสาประดับด้วยลายปูนปั้นรูปกลีบบัว มีคันทวยไม้แกะสลักรูปพญานาค หน้าบันจำหลักไม้ด้านหน้า เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ด้านหลังเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อุโบสถวัดสุนทราวาส ตำบลบันแต อำเภอควนขนุน เป็นแบบเก๋งจีน ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าปันทั้งด้านหน้าและด้านหลังประดับด้วยลายปูนปั้น ดอกไม้และลายคล้ายตัวอักษรเอสในภาษาอังกฤษหันหลังชนกัน ตรงกลางเป็นลายวงกลม ฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อุโบสถวัดวิหารเบิก ตำบลลำปำ อำเภอเมือง มีช่อฟ้าใบระกา มีเสาพาไลรอบฐาน ทักษิณาวรรต หน้าบันมีลายปูนปั้น ด้านหน้าเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ด้านหลังเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

เจดีย์วัดวัง ตำบลลำปำ อำเภอเมือง ฯ ฐานเป็นรูปแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง ลวดลายแข้งสิงห์ องค์ระฆังทรงลังกา หรือทรงระฆังคว่ำ ไม่มีบัลลังก์ ปล้องไฉนเป็นมาลัยลูกแก้ว สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๓ รอบอุโบลสถ์ มีเจดีย์อีก ๘ องค์ เป็นรูปเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง และเจดีย์ทรงลังกา สร้างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เจดีย์วัดควนกรวด ตำบลปรางหมู่ อำเภอเมือง ฯ ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส มีฐานแข้งสิงห์รองรับองค์ระฆัง แบบย่อมุมไม้สิบสอง สร้างสมัยพระบาทสมเด็จพระจุมจอมเกล้า ฯ
                - จิตรกรรม  นิยมเขียนไว้บนผนังอุโบสถ บนแผ่นผ้า และในหนังสือบุด ส่วนใหญ่เป็นภาพพุทธประวัติชาดก นิยมใช้สีเอกรงค ์ส่วนใหญ่ได้จากธรรมชาติ เช่น สีแดงชาดจากดินเทศ สีขาวจากปูนขาว สีเหลืองจากรงค์ นิยมระบายสีอ่อน แล้วตัดเส้นด้วยสีที่เข้มกว่า ภาพเขียนที่สำคัญได้แก่
                    ภาพพระบฎ วัดหัวเตย ตำบลโคกทราย อำเภอปากพยูน เขียนแผ่นผ้าดิบ จำนวนสามแผ่น เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๕
                    จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดสุนทราวาส ตำบลบันแต เขียนขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕
                    จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดวิหารเบิก ตำบลลำปำ อำเภอเมือง
                    จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดวัง ตำบลคลองลำปำ อำเภอเมือง
                    จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดเขากลาง ตำบลบันแต อำเภอควนขนุน
        นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่เขียนไว้บนหนังสือบุด เพื่อใช้ประกอบเรื่อง ส่วนใหญ่เป็นภาพพระมาลัย พุทธประวัติ ชาดก บางเล่มเขียนเป็นลวดลายไทย รูปสัตว์ พรรณพฤกษาและรูปเทวดา
หัตถกรรมมท้องถิ่น
            หัตถกรรมเป็นงานฝีมือที่เกิดจากการนำวัสดุต่าง ๆ มาคิดประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวัน หรือในโอกาสอื่น ๆ
            หัตถกรรมกระจูดหรือสานเสื่อกระจูด  นิยมทำกันมากที่ตำบลทะเลน้อยและตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน มีขั้นตอนการทำดังนี้

                - การเตรียมกระจูด  เมื่อได้กระจูดมาแล้ว จะนำมาตัดขนาดสั้นยาวตามที่ต้องการ มัดกระจูดไว้เป็นมัด ๆ แล้วนำไปแช่ไว้ในหลุมน้ำ แล้วนำกระจูดไปตาก หรือผึ่งแดดแบบรูปกระโจม ทิ้งไว้ประมาณ ๒ - ๓ วัน จึงนำกระจูดไปทับใให้แบบนโดยใช้ลูกกลิ้งคอนกรีต เสร็จแล้วนำไปตำหรือรีดด้วยเครื่องรีดยาง ให้เส้นกระจูดแบนเรียบ แล้วนำไปย้อมสีที่ต้องการ
                - การสานกระจูด  เดิมนิยมสานด้วยลายสอง ซึ่งเป็นลายดั้งเดิม ต่อมาได้มีการประดิษฐ์ลายใหม่เช่นลายลูกกบ ลายดาว ลายลูกแก้ว ลายบวก ลายแมลงหวี่ ลายใยแมลงมุม ลายกางเขน ลายก้างปลา ลายดอกกุหลาบ และลายดาวล้อมเดือน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีลายที่ไม่ปรากฎชื่ออีกเป็นจำนวนมาก การสานจะแตกต่างกันตามชนิด และรูปแบบของผลิตภัณฑ์ การวางเส้นตอกเวลาสาน จะวางส่วนโคนและส่วนปลายสลับกันทีละเส้น รูปแบบผลิตภัณฑ์กระจูดมีหลายรูปแบบด้วยกัน ดังนี้
                    รูปแบบดั้งเดิม  ได้แก่ เสื่อกระจูดแบบสานด้วยลายสอง สอบนั่งกระจูด สอบหมากกระจูดและสอบหมุกกระจูด
                    รูปแบบวพัฒนา สานเป็นลายและรูปแบบต่าง ๆ มีการย้อมสีกระจูดหลากสีเช่นสีแดง สีเขียว สีเหลืองและสีม่วง เป็นต้น ได้แก่ เสื่อกระจูดรูปใหม่ เสื่อปูโต๊ะ หมวก กระเป๋า พัด กระบุง ตะกร้า ฝาชี ฯลฯ
            ผลิตภัณฑ์กระจูด  เป็นสินค้าที่ทำลายได้ให้กับชาวบ้านทะเลน้อยปีละเป็นจำนวนมาก
            หัตถกรรมแกะหนัง  เดิมนิยมแกะด้วยหนังวัว ควาย หมี เสือ กวาง และกวระจง โดยแกะเป็นรูปหนังตะลุง คณะหนังตะลุงแต่ละคณะจะมีรูปหนังประมาณ ๑๐๐ - ๓๐๐ รูป ทำให้ช่างแกะรูปหนังตะลุง มีรายได้พอเลี้ยงชีพ ปัจจุบันประชาชนนิยมนำรูปหนังตะลุงไปใช้เป็นเครื่องประดับบ้านหรือสำนักงาน ทำให้รูปหนังตะลุง กลายเป็นสินค้าพื้นเมืองที่แพร่หลายมาก เป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนารูปแบบของการแกะหนังให้ทันสมัย และเป็นไปตามความต้องการของสังคมมากขึ้น
                - ขั้นการเตรียมหนัง  การแกะหนังปัจจุบันนิยมใช้หนังวัว โดยใช้หนังวัวสด ๆ มาทำการฟอก ขูดหนังด้านในให้เนื้อยุ่ยที่ติดหนังออกให้หมด นำหนังไปขึงให้ตึง ราดด้วยน้ำส้มสายชูแล้วขูดหนังวอีกครั้งหนึ่ง ให้บางเรียบตามความต้องการ การขูดหนังเดิมนิยมขูดทั้งสองด้านจนบางใส แต่ปัจจุบันบางครั้งยต้องการขนสัตว์ด้วย ก็จะขูดด้านในด้านเดียว หลังจากนั้นวนำหนังสัตว์ไปตากแดดให้แห้งประมาณ ๒ - ๓ วัน
                - ขั้นการแกะหนัง  ก่อนการแกะหนัง ช่างจะใช้เหล็กแหลมร่างเป็นโครงภาพ และลงรายละเอียด หรืออาจใช้วิธีการวาดภาพบนกระดาษ แล้วปรุตามรูปภาพ นำภาพมาทับลงบนหนัง ใช้แป้งโรยลงบนกระดาษปรุ จะได้ภาพลงบนหนังตามที่ต้องการ เมื่อจะเริ่มแกะหนังช่างจะต้องทำพิธีบูชาครูบาอาจารย์ และพระพิฆเนศวร เพื่อป้องกันเสนียดจัญไร จากนั้นใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ตุ๊ดตู่ ซึ่งเป็นเหล็กกลม มีหลายขนาดปลายแหลมมีรูกลวง ตอกไปตามแนวภาพหรือลวดลายในรูปหนัง ส่วนที่มีความละเอียดจะใช้มีดคม ๆ ตัดแกะตกแต่งอีกชั้นหนึ่ง เมื่อแกะรูปเสร็จแล้วใช้มีดตัดรูปออกจากหนัง
            การแกะรูปหนังที่เป็นรูปศักดิ์สิทธิ์ อาจต้องใช้หนังที่ต่างจากรูปธรรมดาทั่วไป เช่น รูปฤาษีแกะด้วยหนังเสือ รูปตลกแกะด้วยหนังหมี เป็นต้น ก่อนแกะต้องดูฤกษ์ยามที่เป็นมงคล
                - การระบายสีรูปหนัง  สีที่ใช้เป็นสีย้อมแพร สีย้อมผ้า สีน้ำหมึก และบางครั้งใช้สีทำขนม สีที่นิยมได้แก่ สีแดง สีเขียว สำน้ำเงิน สีเหลือง สีม่วง สีดำ และสีทอง โดยใช้ภู่กันขนาดต่าง ๆ มาใช้ระบาย ในกรณีที่รูปหนังฟอกสองหน้า จะต้องระบายสีทั้งสองหน้า แต่ถ้าฟอกหนังด้านเดียว อีกด้านยังติดขนอยู่จะระบายสีด้านเดียว เมื่อสีแห้งสนิท จะนำน้ำมันวานิชมาทาชักเงา เพื่อป้องกันน้ำและสีลอก เดิมนิยมใช้น้ำมันยางจากต้นยางธรรมชาติ หลังจากน้ำมันแห้งสนิท ก็นำรูปหนังไปเก็บรักษาเป็นอันเสร็จวิธีการแกะหนัง
                - รูปแบบการแกะหนัง  มีอยู่ ๒ ประเภทคือ รูปแบบหนังตะลุง นิยมแกะเป็นรูปหนังตะลุงตามที่คณะหนังตะลุงสั้งทำ เช่น รูปฤาษี เจ้าหญิง ตัวตลก เป็นต้น มักเป็นรูปแบบเเดิมเพียงแต่เปลี่ยนแปลงลวดลาย หรือเครื่องแต่งกายให้สอดคล้องกับปัจจุบัน รูปแบบที่ใช้ประดับตกแต่ง เป็นรูปแบบที่พัฒนามาจากรูปแบบแบบแรก มีขนาดใหญ่ - เล็ก และรูปแบบหลากหลายตามความประสงค์ของผู้สั่งวทำ

            หัตถกรรมกะลามะพร้าว  เริ่มเกิดขึ้นไม่นานมานี้ มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ การผลิตในระยะแรก ๆ ใช้แรงงานคนเป็นหลัก ต่อมาได้รับการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์จากทางราชการ ทำให้ผลิตได้มากขึ้น
                - ขั้นตอนการผลิต  การคัดเลือกกะลามะพร้าว เป็นขั้นตอนแรก ต้องคัดเลือกรูปทรงกะลามะพร้าวที่เหมาะสมต่อผลิตภัณฑ์ เช่น ถ้าจะทำเป็นช้อน ต้องคัดเลือกกะลามะพร้าวที่มีขนาดเล็ก ถ้าจะทำกระเป๋าถือ ต้องคัดเลือกกะลาที่มีขนาดใหญ่
            การคัดแยกส่วนกะลามะพร้าวเพื่อให้มีรูปร่างและขนาดตามลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ โดยใช้เลื่อยเหล็กหรือเลื่อยไฟฟ้า เมื่อเลื่อยกะลาออกเป็นส่วน ๆ แล้ว แกะเนื้อมะพร้าวด้านในออกให้หมด โดยใช้เครื่องมือที่คล้ายมีดปลายงอ หน้ากว้างประมาณ ๑ นิ้ว ขูดเนื้อมะพร้าวออกใหห้มดแล้วร่างแบบลงบนกะลา ใช้เลื่อยเหล็กตัดตามรูปที่วางไว้ ใช้ตะไบถูผิวด้านนอกของกะลาจนถึงผิวดำ  ถ้าต้องการให้ขูดง่ายต้องนำกะลาที่จะตัดไปแช่น้ำก่อน เพื่อให้ผิวกะลาอ่อนตัวสะดวกในการขูด เมื่อขูดเรียบร้อยแล้ว ใช้กระดาษทรายขัดภายนอกและภายในให้ผิวเรียบยิ่งขึ้น
                - การประกอบผลิตภัณฑ์  ถ้าเป็นช้อน ตะหลิว ส้อม ฯลฯ จะต้องนำปใส่ด้าม ซึ่งทำจากไม้ที่มีลวดลายในเนื้อเพื่อความสวยงามเช่น ไม้ขาวดำ ไม้ขี้เหล็ก ใช้สว่านเจาะรูกะลาและด้ามไม้ แล้วใช้ย่านลิเพามาจักสานยึดติดให้แน่นหนา ถ้าต้องการให้กะลามีเงางามดำสนิท จะต้องใช้น้ำมันมะพร้าว มาขัดถูให้เป็นเงามงาม ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย
                - ตลาดต่างประเทศ  ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกะลามะพร้าว ตำบลชัยบุรี เป็นที่นิยมของตลาดต่างประเทศมาก ตลาดต่างประเทศที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และเยอรมัน เป็นต้น

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์