พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
ปราจีนบุรีมีร่องรอยความเจริญ และมีพัฒนาการชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
และในสมัยประวัติศาสตร์ ก็ยังด้อยพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๘ เมืองปราจีนเป็นศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคตะวันออก
และในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๔ คือในสมัยอยุธยาถึงสมัยธนบุรี เมืองปราจีนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัมพูชา อยู่ในฐานะเมืองผ่านของเส้นทางเดินทัพระหว่างไทยกัยกัมพูชา
ในสมัยรัตนโกสินทร์ ปราจีนบุรีเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ได้มีการขยายเส้นทางรถไฟสายตะวันออก
จากเมืองฉะเชิงเทราผ่านเมืองปราจีนไปจนถึงเมืองอรัญประเทศ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
สภาพทางภูมิศาสตร์
จังหวัดปราจีนบุรี ตั้งอยู่ทางตอนบนของภาคตะวันออก ทางตอนบนเป็นพื้นที่สูง
เป็นป่าต่อเนื่องกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ตอนล่างเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง
ทำให้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
จากสภาพทางธรณีวิทยาพบว่า บริเวณเขตอำเภอเมือง ฯ และอำเภอศรีมโหสถ เมื่อประมาณ
๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว พื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบน้ำขึ้นถึง เป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างทะเลกับแผ่นดิน
มีลักษณะเป็นอ่าว มีป่าชายเลนขึ้นปกคลุม
หลังจาก ๖,๐๐๐ ปี ที่ผ่านมาน้ำทะเลได้ลดระดับลงมา และสูงขึ้นอีกครั้ง เมื่อ
๔,๐๐๐ ปี ในระดับ ๒ เมตร จากระดับน้ำทะเลปัจจุบัน หลังจากนั้น ระดับน้ำทะเลได้มีการขึ้นลงหลายครั้ง
จนกระทั่งเมื่อประมาณ ๑,๕๐๐ ปี ที่แล้วจึงอยู่ในระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เป็นผลให้สภาพแวดล้อมบริเวณนี้เปลี่ยนจากป่าชายเลนเป็นป่าพรุ
แม่น้ำบางปะกง ในสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ปากแม่น้ำอยู่บริเวณอำเภอบางคล้า
จังหวัดฉะเชิงเทรา สภาพร่องรอยทางน้ำเก่าไหลลงสู่แม่น้ำบางปะกง เส้นทางคมนาคมทางน้ำ ที่ใช้ติดต่อกับชุมชนใกล้เคียงในสมัยโบราณ
จึงมีเส้นทางหลักสองสายคือ
เส้นทางแรก อยู่ทางทิศเหนือไปตามคลองลำผักชี ไปบรรจบคลองไผ่ ไปบรรจบคลองไผ่ชะเลือดที่บ้านไผ่ขาด
ไหลผ่านบ้านดอนใหญ่ไปบรรจบกับคลองสนามโพธิ ทางเหนือบ้านต้นตาลไหล แล้วไปบรรจบแม่น้ำบางปะกง
ที่บ้านหาดยาง เป็นระยะทางประมาณ ๑๓ กิโลเมตร
เส้นทางสายที่สอง ทางด้านตะวันตก ใช้เส้นทางคลองผักชีต่อไปยังคลองหัวไผ่เทศ
ไปรบรรจบกับคลองบางเพลงที่บ้านบางขาว ไหลผ่านบ้านกระทุ่มแพร แล้ววกไปเหนือผ่านบ้านวังขอบ
ห้วยบางปลาร้า ไปบรรจบแม่น้ำบางปะกง ที่บ้านคลองหัวกรด ระยะทางประมาณ ๒๘ กิโลเมตร
จากลักษณะรูปประเทศดังกล่าว เมืองศรีมโหสถจึงเหมาะสมต่อการเป็นเมืองท่า
ค้าขายกับดินแดนอื่นในละแวกใกล้เคียง ทั้งทางบกและทางน้ำ เช่น แหล่งตัดหินที่เขาด้วน
อำเภอกบินทร์บุรี มักพบโบราณเชื่อต่อกับเมืองศรีมโหสถ เมืองโบราณบ้านโคกขวาง
อำเภอศรีมหาโพธิ อยู่ห่างจากตัวเมืองศรีมโหสถ ไปทางทิศตะวันออก ๑๖ กิโลเมตร
ชุมชนบริเวณโบราณสถาน สระมรกต
ห่างจากตัวเมืองศรีมโหสถไปทางใต้ประมาณ ๔ กิโลเมตร ชุมชนบ้านโคกหัวขาว
อำเภอพนมสารคาม บ้านคูเมือง
ตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เมืองพระรถ
อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เมืองดงสะคร
อำเภอเมืองนครนายก และชุมชนโบราณบ้านโคกกระโดน
อำเภอปกพลี จังหวัดนครนายก นอกจากนี้ยังติดต่อกับดินแดนที่อยู่ใกลออกไป เช่น
บุรีรัมย์ นครปฐม เป็นต้น รวมทั้งดินแดนโพ้นทะเล เช่น จีน อินเดีย และเปอร์เซียอีกด้วย
เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ แผ่นดินได้งอกออกไปตามตะกอนที่ถูกพัดพามาทับถมบริเวณปากแม่น้ำ
ทางน้ำที่เคยติดต่อกับทางทะเลได้ง่าย ก็ตื้นเขินไม่สะดวกต่อการเดินเรือ ประกอบกับช่วงเวลานั้นมีการรวมกลุ่มตั้งเป็นชุมชนขึ้นใหม่
เช่น เมืองสุพรรณบุรี เมืองละโว้ เมืองอโยธยา และเมืองสุโขทัย เป็นทำเลที่สะดวกต่อการติดต่อค้าขายได้มากกว่า
เป็นผลให้การตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณ ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี ตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ตอนปลาย
จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ คงเหลือเป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่ไม่มีการติดต่อกับชุมชนภายนอกมากนัก
สมัยตอนก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีปรากฎหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนสมัยโบราณ เมื่อ
๒๕๐๐ - ๒.๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นห้วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
ถึงสมัยกึ่งก่อนประวัติศาตร์ที่แหล่งโบราณคดีบ้านกระทุ่มแพ้ว
ตำบลกระทุ่มแพง อำเภอบ้านสร้าง ที่บ้านหนองอ้อ ตำบลดงพระราม อำเภอเมือง และที่บ้านดงชัยมัน
ตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม
หลักฐานที่พบคือ ลูกปัดแก้วแบบอินโด - แปซิฟิกสีต่าง ๆ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน
หินอะเกต และหินควอตซ์ เครื่องมือเหล็ก เป็นต้น แสดงว่าได้มีการติดต่อกับชุมชนโบราณ
ใกล้เคียงและอินเดีย โดยเฉพาะที่บ้านดงชัยมัน ได้พบชิ้นส่วนกลองมโหรทึก
ซึ่งเป็นโบราณวัตถุในวัฒนธรรมดองชอย ซึ่งพบอยู่ทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน
และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่
๑ - ๕
บริเวณที่ตั้งเมืองมโหสถ สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นชุมชนมาก่อนพุทธศตรวรรษที่
๑๑ และอาจเก่าแก่ถึงพุทธศตวรรษที่ ๖ โดยมีความสัมพันธ์กับชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
ก่อนการสร้างเมืองศรีมโหสถ เป็นชุมชนที่รวมตัวกันเป็นกลุ่ม หมู่บ้านเกษตรกรรม
มีการติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยน และรับวัฒนธรรมจากภายนอก แต่ยังไม่มีการสร้างเมืองที่มีคันดินคูน้ำล้อมรอบชุมชน
อาจมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรฟูนัน และมีการติดต่อค้าขายกับนักเดินเรือจากต่างประเทศ
หลักฐานที่พบแสดงถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมฟูนัน และวัฒนธรรมอินเดียแบบ อมราวดี
มีอายุอยู่ในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ซึ่งเชื่อว่าตรงกับอาณาจักรฟูนัน
หลักฐานสำคัญได้แก่ ภาพสลักนูนต่ำ และประติมากรรมบางชิ้นคือ ภาพมกร หรือเหราบางตัว
ที่ขอบโบราณสถานสระแก้ว มีลักษณะคล้ายมกรในศิลปะอินเดีย แบบอมราวดี
ซึ่งมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ - ๙ และมกรบางตัวคล้ายกับมกรในศิลปะอินเดียแบบคุปตะ
ซึ่งมีอายุอยู่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๑ ส่วนประติมากรรมบางชั้นได้แก่พระพุทธรูปที่พบในบ่อน้ำหน้าอาคารรอยพระพุทธบาทคู่
มีพุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระพุทธรูปในศิลปะฟูนัน
การพบขวานหินขัดตามโบราณสถาน และแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในเมืองศรีมโหสถ ทำให้อนุมานได้ว่า
ชุมชนดังกล่าว น่าจะมีความสัมพันธ์กับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ที่พบตามแนวชายฝั่งทะเลเดิมในบริเวณลุ่มแม่น้ำ
บางปะกงบริเวณจังหวัดชลบุรี ซึ่งเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเมือ่ประมาณ ๕,๐๐๐
- ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว
ต่อมาสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีความซับซ้อน ขึ้นจนเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ ๖ - ๑๐
ได้รับวัฒนธรรมจากภายนอก เข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ พัฒนาเป็นชุมชนหรือบ้านเมืองในกลุ่มวัฒนธรรม
ทวารวดี ที่อายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ และมีการอยู่สืบเนื่องต่อมาในพุทธศตวรรษที่
๑๗ - ๑๘
สมัยประวัติศาสตร์
พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๙
การพัฒนาการแบ่งออกได้เป็นสองชาติใหญ่ คือ ช่วงแรกร่วมสมัยกับกลุ่มบ้านเมืองสมัยวัฒนธรรม
ทวารวดีในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖
ช่วงที่สองสืบเนื่องจาก ช่วงแรก แต่สภาพสังคม การเมือง การปกครอง ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในช่วงนี้
วัฒนธรรมเขมรโบราณ
ได้แพร่เข้ามามีการผสมผสานกับวัฒนธรรมทวารวดีที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน
ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖
ชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ยุคแรก คือ ชุมชนสมัยประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า ทวารวดี
พบหลักฐานที่เมืองศรีมโหสถ อำเภอศรีมโหสถ และเมืองโบราณโคกขวาง อำเภอศรีมหาโพธิ
เป็นเมืองที่มีคูน้ำกับดินล้อมรอบเหมือนอย่างเมืองในสมัยทวารวดีโดยทั่วไป
หลักฐานที่แสดงความเกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูพบอยู่ทั่วไปภายในตัวเมือง
ภายในเมืองพบประติมากรรม เช่น พระวิษณุ พระคเณศ มหิษาสุรวรรทินี วรรธนรัศวร
คชลักษ มีศิวลึงค์ ตรีศูล โคนันท์ เป็นต้น
ส่วนชุมชนนอกเมืองศรีมโหสถ ได้พบศาสนสถานในพุทธศาสนาหลายแห่ง บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้
ทิศใต้ และทิศตะวันตก ซึ่งพบหลักฐานว่ามีการอยู่อาศัยหนาแน่น มีหลักฐานตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่
๑๑ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ได้พบพระพุทธรูปแบบทวารวดี จารึกเตลกฎาหคาถา
(คาถากระทะน้ำมัน) และจารึกคาถา เยธัมมา ฯ
บนแผ่นดินเผาบนหลังพระพิมพ์ดินเผา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการนับถือพระพุทธศาสนา
ฝ่ายเถรวาท ส่วนรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ปางปรัชญา ปางบิดา ที่พบแสดงถึงการนับถือพระพุทธศาสนา
ฝ่ายมหายาน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘
ประติมากรรมในศาสนาพราหมณ์ ที่พบมีอายุรวมสมัยกับปกติมากรรมในพุทธศาสนา เช่น
พระพุทธรูปที่มักพบอยู่ทางนอกเมือง มีการค้าขายแลกเปลี่ยนกับนักเดินเรือ ติดต่อประเทศการนี้ได้พบเหรียญจีนในสมัยราชวงค์ถัง
ส่วนการค้าขายแลกเปลี่ยนภายในดินแดนใก้ลเคียง มีการใช้เหรียญทวารดีเช่นเดียวกับ
ที่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีแห่งอื่น ๆ
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖ เป็นระยะที่เมืองศรีมโหสถได้พัฒนาถึงขีดสุด จากการขุดค้น
ในช่วงชั้นดินตอนกลาง พบลักฐานทางโบราณคดีหนาแน่นมาก เป็นช่วงที่อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากภายนอก
เช่น อินเดียแบบปาละ และจากเขมรผสมผสานกับลักษณะพื้นเมือง นอกจากนี้ยังพบประติมากรรมดินเผา
ที่มักพบในเมืองทวารวดีเมืองอื่น
ๆ เช่น คชลักษมีคนจูงลิง และหน้าบุคคล เป็นต้น
หลักฐานที่สำคัญคือได้หขุดพบรอบพระพุทธบาทคู่บนพื้นศิลาแลงธรรมชาติ กว้างยาวประมาณ
สามเมตรเศษ เป็นรอยพระพุทธบาทที่สลักเลียนแบบเท้ามนุษย์ มีรูปธรรมจักรอยู่ทั้งสองข้าง
ตามจารึกเนิน สระบัว หรือจารึกคาถากระทะน้ำมัน ซึ่งท่านพุทธศิริให้ทำการจารึกพร้อมทั้งพระบาทคู่
ซึ่งน่าจะหมายถึง
รอยพระพุทธบาทแห่งนี้
จารึกเนินสระบัว ราหูมหาศักราช ๖๘๓ ตรงกับปี พ.ศ.๑๓๐๔ พบที่เนินสระบัวใกล้
รอยพระพุทธบาทคู่ เป็นตัวอักษรหรือปัลลวะ เขียนเป็นภาษาเขมรโบราณและภาษาบาลี
เนื้อหาของจารึกเป็นการสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๙
ผู้คนในเขตเมืองโบราณศรีมโหสถยังคงอยู่อาศัยสืบเนื่องมา ตั้งแต่ครั้งสมัยทวารวดี
มีการรายกลุ่มเป็นสังคมเมืองที่มีคูน้ำกับดินล้อมรอบ มีศาสนสถาน มีเนินดินที่อยู่อาศัย
มีบ่อน้ำสระน้ำทั้งบริเวณในเมือง และนอกเมืองรวมแล้วมากกว่า ๕๓๘ แห่ง
ในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น ศาสนสถาน ถนนโบราณ คูเมือง และกำแพงเมือง
ต้องใช้แรงงานคนเป็นจำนวนมาก เป็นลักษณะสังคมที่มีหัวหน้าปกครองคล้ายรัฐขนาดเล็ก
เช่น เมืองโบราณ บ้านโคกขวาง
อำเภอศรีมหาโพธิ เมืองดงละคร
อำเภอเมืองนครนายก โดยมีเมืองศรีมโหสถเป็นศูนย์กลาง มีการรับวัฒนธรรมเขมรมาโดยตลอด
ในเขตพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ได้พบหลักฐานหลักฐานทางโบราณคดีที่มีอายุร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่
๗ เช่น จารึกบนเครื่องสำริดหลายชิ้น เขียนด้วยอักษร และภาษาเขมรโบราณ ระบุศักราชอยู่ในต้นพุทธศตวรรษที่
๑๘ บริเวณโบราณสถานสระมรกต อำเภอศรีมหสถ พบซากอาคารจึง สันนิษฐานว่า เป็นอโรคยาศาลา
หรือโรงพยาบาล ที่พบอยู่เป็นจำนวนมากในภาคอีสานของไทย และในกัมพูชา ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่พระเจ้าชัยวรมันที่
๗ ให้สร้างขึ้น
ภายในบริเวณโบราณสถานสระมรกต มีตัวโบราณสถานอยู่สองกลุ่มในบริเวณเดียวกัน
กลุ่มแรก อยู่ทางทิศตะวันตก เป็นอาคารกลุ่มรอบพระพุทธบาท กลุ่มที่สองอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเป็นอาคาร
แบบปราสาทเขมรโบราณ ก่อด้วยศิลาแลง ลักษณะแผนผังเหมือนอโรคยาศาลา มีสระน้ำขนาดใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออก
ทางด้านทิศตะวันตกของสระน้ำมีทางเดินไปสู่โบราณสถาน ทางด้านทิศตะวันตก ก่อนถึงตัวกำแพงแก้ว
รอบโบราณสถาน มีสระน้ำ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้องรอบตัวอาคาร ถัดเข้าไปเป็นกลุ่มปรางค์ประธาน
ประกอบด้วยอาคารที่มีแผนผังเป็นรูปกากบาทสองหลัดเชื่อมต่อกันในแนวทิศตะวันออก
- ตะวันตก ด้านซ้ายมือมีอาคารรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก เป็นลักษณะของบรรณาลัย
หรือห้องสมุด ใช้เก็บหนังสือตำรายา นอกจากนี้ยังมีอาคารสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก
อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์ประธาน ปัจจุบันโบราณสถานแห่งนี้
เหลืออยู่เพียงบางส่วน
ส่วนโบราณสถานที่พบบริเวณโบราณสถานสระมรกด เป็นประติมากรรมมีลักษณะเป็นศิลปะขอมระบบบายน
มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกพระโพธิสัตว์
และรูปนางดารา ซึ่งเป็นรูปเคารพในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ที่ได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์เขมรในขณะนั้น
มีการพบเครื่องเคลือบจีนสมัยราชวงค์หยวน ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง มีเครื่องเคลือบจากบุรีรัมภ์
แผ่นตะกั่วม้วน และตะกั่วนม หลักฐานที่พบในชั้นดินตอนบนส่วนนี้กำหนดอายุได้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
๑๗ เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน
สินค้าที่นำเข้าได้แก่ ดีบุก ตะกั่ว นำมาผสมทองแดง เพื่อทำสำริดเครื่องถ้วยจีน
และเครื่องถ้วยเปอร์เซียเป็นต้น ส่วนสินค้าส่งออก สันนิษฐานว่า เป็นผลิตผลทางเกษตรของป่า
และประติมากรรมจากหิน โดยมีการพบแหล่งผลิตประติมากรรมและเครื่องมือที่เขาด้วน
ตำบลย่านรี อำเภอกบินทร์บุรี และยังพบเงินสกุลจีนสมัยราชวงศ์ ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
๑๒ - ๑๕ และอาจตกทอดมาถึงชั้นหลังอีก นอกจากนี้ยังมีเงินทวารวดีเป็นภาพพระอาทิตย์
และภาพศรีวัตตะอีกด้วย
ห่างจากคูเมืองศรีมโหสถ ออกมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ ๕๐๐ เมตร มีร่องรอยคันดินคูเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
กว้างประมาณ ๒๔๐ เมตร ยาวประมาณ ๓๙๐ เมตร ลักษณะคล้ายเมืองขนาดเล็ก สันนิษฐานว่า
สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘
หลังจากรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่
๗ เป็นต้น อาณาจักรเขมรโบราณเริ่มเสื่อมอำนาจลง และล่มสลายไปในที่สุด และได้เกิดกลุ่มบ้านเมืองขึ้นในดินแดนประเทศไทย
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อันได้แก่ อาณาจักรอยุธยา ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางภาคกลางของประเทศ
ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙
ในสมัยสุโขทัยไม่ปรากฏชื่อเมืองปราจีนบุรีในเอกสาร แต่ได้พบเครื่องถ้วยจีนที่มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่
๑๘ - ๑๙ ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์ซ้อง จึงเชื่อว่าในสมัยสุโขทัย บริเวณพื้นที่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี
มีผู้อาศัยอยู่สืบเนื่องกันมา
สมัยอยุธยา
- ธนบุรี
ในสมัยอยุธยา ปรากฏชื่อเมืองปราจีนเป็นครั้งแรก คำว่าปราจีนหมายถึง เมืองตะวันออก
แต่การเขียนชื่อเมืองมีแตกต่างกันออกไป เช่น ปราจินบุรี ปราจีณบุรี และปราจีนบุรี
นอกจากนี้ยังมีคำว่า ประจินบุรี ซึ่งหมายถึงเมืองตะวันตก คือ เมืองตะวันตกของอาณาจักรเขมร
ปราจีนบุรีในฐานะหัวเมืองชั้นในด้านตะวันออก
ก่อนรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑) เมืองปราจีน มีฐานะเป็นเมืองเล็กที่อยู่ใกล้ราชธานีคือ
กรุงศรีอยุธยา ทางกรุงศรีอยุธยาจะส่งขุนนางไปปกครองโดยให้ขึ้นตรงต่อราชธานี
หลังจากมีการปฏิบัติการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้มีการแบ่งการปกครองเป็นหัวเมืองชั้นใน
หัวเมืองชั้นนอกและหัวเมืองประเทศราช และแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นเอก ชั้นโท
และชั้นจัตวา และได้ลดฐานะหัวเมืองชั้นในคือ เมืองลูกหลวงและเมืองหลานหลวง
แต่เดิมมาเป็นเมืองจัตวา ภายใต้การปกครองของราชธานี โดยส่งขุนนางไปปกครอง
และให้ขึ้นตรงต่อเมืองมาก เขตที่จัดเป็นหัวเมืองชั้นในคือ ทิศตะวันตกจดเมืองสุพรรณบุรี
เมืองปราจีนบุรี ตามที่ระบุไว้ในพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง ตำแหน่งเจ้าเมืองหรือผู้รั้ง
มีบรรดาศักดิ์และราชทินนามที่ออกพระอุไทยธานี
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เมืองปราจีนบุรีเป็นหัวเมืองชั้นใน
สมัยอยุธยามาตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เนื่องจากพระเจ้าอู่ทองนำแบบแผนวิธีปกครองของกรุงสุโขทัย
และของขอมมาปรับปรุงใช้ในการปกครองกรุงศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยามีเมืองป้อมปราการด่านชั้นใน
สำหรับป้องกันราชธานีทั้งสี่ทิศ คือ ทิศเหนือ เมืองลพบุรี ทิศตะวันออก เมืองนครนายก
ทิศใต้ เมืองพระประแดง และทิศตะวันตก เมืองสุพรรณบุรี
ปราจีนบุรีเมืองผ่านของเส้นทางเดินทัพไทย
- กัมพูชา จากที่ตั้งของเมืองปราจีนบุรี
เมื่อเกิดศึกสงครามระหว่างอาณาจักรอยุธยากับอาณาจักรกัมพูชา เมื่อกรุงศรีอยุธยามีศึกติดพันกับพม่า
หรือเกิดความอ่อนแอกัมพูชาจะถือโอกาสมากวาดต้อนผู้คนตามชายแดน เช่น เมืองปราจีนบุรี
จนมาถึงรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ พระองค์ได้ตรัสแก่มุขอำมาตย์ลำดับพฤติกรรมของผู้ครองแผ่นดินกับพูชา
ตั้งแต่พระยาละแวกบิดานักพระสุโทนักพระสุทัน
เมื่อครั้งศึกกรุงหงสาวดีครั้งแรก พระยาละแวกได้ยกทัพเข้ามากวาดเอาผู้คนชาวเมืองปราจีนไป
จนต้องยกทัพไปปราบ จนต้องถวายนักพระสุโทนักพระสุทันเข้ามากรุงศรีอยุธยา ต่อมานักพระสัฏฐาผู้น้องไปเอาทัพญวนมาฆ่าพระยาละแวก
แล้วได้ราชสมบัติเป็นพระยาละแวกองค์ใหม่ และได้ยกทัพเข้ามาถึงวัดสามวิหาร
ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา จนเสียพระจำปาราชลูกชาย แต่ยังไม่เข็ดหลาบ
เมื่อมีศึกหงสาวดีติดพระนครครั้งใด ฝ่ายไทยพระมหาธรรมราชา มิได้มีพระทัยอาฆาต
จนได้มีการปันเขตแดนปักศิลาจารึก ครั้งศึกเชียงใหม่ยกมา พระยาละแวกได้แต่งน้องชายมาช่วยงานพระราชสงคราม
แต่กลับยกทัพมาตีประจันตชนบทมามาบัดนี้ พระองค์จะยกไปแก้แค้น แล้วให้เกณฑ์ทัพมีกำลังคนสิบหมื่น
ช้างเครื่องแปดร้อย ม้าพันห้าร้อย ยกทัพไปตีกัมพูชา
เส้นทางเดินทัพในสมัยอยุธยาตอนต้น จะใช้เส้นทางบกเป็นสำคัญ โดยเดินทัพไปทางด้านตะวันออก
เพื่อเข้าตีกัมพูชา ส่วนเส้นทางเดินทัพสมัยอยุธยาตอนกลาง และตอนปลาย จะใช้ทั้งเส้นทางบก
และเส้นทางน้ำ เส้นทางบกจากกรุงศรีอยุธยาไปทางด้านทิศตะวันออก เส้นทางเดินทัพจะผ่านพิหานแดง
(พิหารแดง) บ้านนา
เมืองนครนายก ด่านกบแจะ
(เมืองประจันตคาม) ด่านหนุมาน
(กบินทร์บุรี) ด่านพระปรุง
(อำเภอเมืองสระแก้ว) ช่องตะโก ด่านพระจารึก
(อรัญประเทศ - ตาพระยา) ตำบลทำนบ ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองอรัญประเทศ และเมืองพระตะบอง
ตำบลพะเนียด เมืองพระตะบอง
(ปัตบอง) เมืองโพธิสัตว์
และเมืองละแวก
ในแผนที่ยุทธศาสตร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เส้นทางตะวันออกคือ
จากกรุงเก่าไปบ่อโพง พระแก้ว พิหารทอง บ้านนา เมืองนครนายก เมืองปราจีน เมืองใหม่
ด่านหนุมาน ช่องตะโก ด่านพระปาง ยางเก้าต้น หนองสะโม่ง ด่านพระจารึก
สมัยรัตนโกสินทร์
ในรัชสมัยโกสินทร์ตอนต้น เมืองปราจีนบุรี ยังคงเป็นเมืองผ่านของเส้นทางเดินทัพระหว่างไทยกับกัมพูชา
มีผู้คนอาศัยมากขึ้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า
ฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นหลายเมือง เช่น เมืองกบินทร์บุรี เมืองอรัญประเทศ และเมืองวัฒนานคร
เป็นต้น และโปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคลองบางนาก
ทำให้การติดต่อระหว่างเมืองปราจีน และกรุงเทพ ฯ สะดวกรวดเร็วขึ้น
ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริที่จะสร้างป้อมปราจีนบุรี
แต่ได้ลงมือก่อสร้างและแล้วเสร็จ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่เมืองปราจีนบุรีเริ่มมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และเมื่อมีการปฏิรูปการปกครอง
จากระบบกินเมืองเป็นระบบเทศาภืบาล ได้ใช้เมืองปราจีนบุรี เป็นที่ว่าการมณฑลปราจีนบุรี
ทำให้เมืองปราจีนบุรีเป็นศูนย์กลางความเจริญในภาคตะวันออก
สมัยรัตนโกสินทร๋ตอนต้น
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปราจีนบุรีมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นใน
เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา เป็นหัวเมืองจัตวา เจ้าเมืองเป็นที่ออกพระอุทัยธานี
ถือศักดินา ๓,๐๐๐ ขึ้นกรมมหาดไทย มีเมืองกระยินบุรีและเมืองประจันตคาม เป็นเมืองขึ้น
ต่อมาบรรดาศักดิ์และราชทินนามเจ้าเมืองปราจีนเปลี่ยนไปเป็น พระอุไทยมนตรี
แต่ชาวปราจีนโดยทั่วไปนิยมเรียกตามชื่อเมืองว่า พระยาปราจีน
หรือพระยาปราจิม
ด้วยเหตุที่ไทยกับกัมพูชาทำสงครามกันอยุ่เป็นประจำ ไทยจึงเป็นต้องมีด่านหน้า
เพื่อป้องกันศึกเขมรทางด้านตะวันออกคือ ด่านหนุมาน
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าตั้งขึ้นแต่เมื่อใด สันนิษฐานว่า เป็นด่านเก่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกด่านหนุมานตั้งเป็นเมืองกบินทร์บุรี
นอกจากนั้นยังยกบ้านแจะขึ้นเป็นเมืองประจันตคาม
ยกบ้านทุ่งแขยกขึ้นเป็นเมืองวัฒนานคร
และยกบ้านสวายเป็นเมืองศรีโสภณ
เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๖ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา
(สิงห์ สิงหเสนี) ยกทัพไปรบญวน และในปี พ.ศ.๒๓๘๐ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์
ฯ (พัด บุนนาค) เป็นแม่กองจ้างจีนขุดคลองบางขนาก
ตั้งแต่หัวหมากไปถึงบางขนาก โดยต้นคลองเรียกว่า คลองแสนแสบ
ตอนปลายคลองเรียกว่า คลองบางขนาก ขุดเสร็จ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๓ เป็นระยะประมาณ
๑,๓๓๘ เส้น คลองบางขนากได้ใช้เป็นเส้นทางลำเลียงยุทโธปกรณ์ เข้าไปรบกับญวนได้สะดวก
และรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเริ่มขุดคลองมหานาคไปตามคลองที่ขุดใหม่คือ คลองแสนแสบ
คลองบางขนาค แล้วไปออกแม่น้ำบางปะกง ผ่านเมืองปราจีน แล้วไปขึ้นบกที่ต้นน้ำบางปะกง
เมื่อเสร็จศึกญวนแล้ว คลองบางขนากก็กลายเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำของเมืองปราจีน
และเมืองใกล้เคียกับกรุงเทพ ฯ
พ.ศ.๒๓๙๙ ได้ขุดพบพระพุทธรูปทองคำที่ชายป่าดงศรีมหาโพธิ์ หล่อด้วยทองคำเนื้อหก
น้ำหนักแปดตำลึง ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ได้ถวายนามพระพุทธรุปองค์นี้ว่า พระนิรันตราย
ประดิษฐานในหอเสถียรธรรมปริตร
ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการที่เมืองปราจีน
ด้วยมีพระราชดำริว่าเป็นเมืองหน้าศึก แต่ยังไม่มีป้อมปราการ จำเป็นต้องทำป้อมกำแพงเมืองไว้อย่างเมืองพระตะบอง
และเมืองเสียมราช ในปี พ.ศ.๒๔๑๐ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เสด็จไปตรวจสถานที่ และวางแผนผังที่จะก่อสร้างป้อมและกำแพงเมือง
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.ศ.๒๔๑๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เริ่มก่อสร้างป้อมและกำแพงเมืองปราจีน
ได้ระดมผู้คนจากเมืองต่าง ๆ มาช่วยทำอิฐ เพื่อใช้ในการก่อสร้าง โดยเกณฑ์มอญบ้านสามโคก
เมืองสุรินทร์ เมืองขุนขันธ์ เมืองสังฆะ เมืองศรีสะเกศ และเมืองเดชอุดม นอกจากนี้ยังเกณฑ์มอญบ้านสามโคก
เมืองปทุมธานี มาตั้งทำการเผาอิฐอีกด้วย การก่อสร้างแล้วเสร็จแล้ว เมื่อปี
พ.ศ.๒๔๑๕ มีการฝังหลักเมือง แล้วทำการเฉลิมฉลอง มีการสวดมนต์เย็นฉันเช้า แล้วเบิกแว่นเวียนเทียนรอบกำแพงเมือง
พ.ศ.๒๔๑๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองปราจีน ได้ทรงตรวจป้อม
และกำแพงเมือง พระองค์ได้มีพระราชทานคำแนะนำว่า ฉางข้าวปลูกใกล้กำแพงเมือง
ถ้าข้าศึกทิ้งไฟเข้ามาจะไหม้หมด ให้รื้อออกปลูกห่างกำแพง กับให้เจ้าเมืองปลูกศาลาชุมพลกลางกำแพงเมือง
และตึกปืนอย่างละหนึ่งหลัง
พ.ศ.๒๕๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระปรีชากลการ
(สำอาง อมาตยกุล) ซึ่งจบวิศวกรรมศาสตร์จากสก๊อตแลนด์ ประเทศอังกฤษ ไปทำบ่อทองที่เมืองกบินทร์บุรี
และสร้างโรงเครื่องจักรที่เมืองปราจีน โรงทำทองที่เมืองปราจีน เปิดทำการ เมื่อปี
พ.ศ.๒๔๑๘
พ.ศ.๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งมณฑลใหม่อีกสามมณฑลคือ
มณฑลปราจีนบุรี มณฑลพิษณุโลก และมณฑลราชบุรี มณฑลปราจีนบุรีมีสี่เมือง โดยรวมหัวเมืองทางลำแม่น้ำปางประกง
คือ เมืองปราจีนบุรี เมืองนครนายก เมืองพนมสารคาม และเมืองฉะเชิงเทรา มีข้าหลวงใหญ่ประจำอยู่ที่เมืองปราจีน
ต่อมาได้รับโอนเมืองชลบุรี เมืองพนัสนิคม และเมืองบางละมุง เข้ามาอยู่ในเขตปกครอง
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๗
พ.ศ.๒๔๔๑ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองส่วนท้องถิ่น ยกเลิกชื่อเจ้ากรมแขวง
ให้เปลี่ยนเป็นนายอำเภอ ในครั้งนั้นมีห้าอำเภอด้วยกันคือ อำเภอเมือง ฯ อำเภอท่าประชุม
อำเภอบ้านสร้าง อำเภอหาดทราย และอำเภอบ้านบก นายอำเภอมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง
ในราชทินนามต่าง ๆ กัน
พ.ศ.๒๔๔๓ ยุบอำเภอหาดทวายไปรวมกับอำเภอเมือง ฯ ตั้งด่านสระแก้ว เมือลวัฒนานคร
และเมืองอรัญประเทศ เป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอเมืองกบินทร์บุรี
พ.ศ.๒๔๔๕ มณฑลปราจีนได้ย้ายที่ทำการมณฑลไปตั้งที่อำเภอฉะเชิงเทรา เมืองปราจีนได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็นห้าอำเภอคือ
อำเภอเมือง ฯ อำเภอบ้านสร้าง อำเภอศรีมหาโพธิ์ (แยกสาขาเป็นอำเภอท่าประชุมชน)
อำเภอกระบิล (แยกสาขาเป็นอำเภอวัฒนา และอำเภอสระแก้ว) ละอำเภอประจันตคาม
ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ตัดทางรถไฟสายตะวันออก
เป็นทางขนาดกว้าง ๑,๔๓๕ เมตร เป็นระยะทาง ๖๑ กิโลเมตร ถึงแปดริ้ว เปิดเดินรถได้
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้แปลงทางรถไฟเป็นทางกว้าง ๑.๐๐ เตรม แล้วสร้างต่อจากฉะเชิงเทราไปเชื่อมกับทางรถไฟกัมพูชา
ที่ตำบลคลองลึก อำเภออรัญประเทศ การก่อสร้างได้รับความร่วมมือจากหน่วยทหารช่าง
ในการวางรางจากฉะเชิงเทรา ถึงปราจีนบุรี ต่อจากนั้นกรมรถไฟดำเนินการเอง การก่อสร้างแล้วเสร็จ
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๙ เป็นความยาว ๑๙๔ กิโลเมตร สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๗.๒๗ ล้านบาท
หลังพ.ศ.๒๔๗๕
ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๔๗๖ ให้มีข้าหลวงประจำจังหวัด
(แทนผู้ว่าราชการจังหวัด) คณะกรรมการจังหวัด และสภาจังหวัด เป็นผลให้มณฑลปราจีนถูกยกเลิกไป
และเมืองปราจีนมีฐานะเป็นจังหวัดปราจีนบุรี
ในเวลาต่อมา ได้มีการรวมจังหวัดยกขึ้นเป็นภาค ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ กำหนดให้มีห้าภาค
ภาคที่ ๒ มีที่ทำการภาคอยู่ที่จังหวัปราจีนบุรี มีจังหวัดขึ้นตรง ๑๐
จังหวัด คือ จังหวัดปราจีนบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก จันทบุรี
ตราด ระยอง พิบูลสงคราม และจังหวัดพระตะบอง
พ.ศ.๒๔๘๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติยุบ และรวมการปกครองบางจังหวัด ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีคือ ให้ยุบจังหวัดนครนายก แล้วให้รวมท้องที่จังหวัดที่ยุบเข้าไว้ในการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี
เว้นแต่ท้องที่อำเภอบ้านนา ให้รวมเข้าไว้ในการปกครองของจังหวัดสระบุรี
จังหวัดสระบุรีจัดให้อยู่ในภาค ๑ มีที่ทำการภาคอยู่ที่กรุงเทพ ฯ มีจังหวัดขึ้นตรง
๑๗ จังหวัด
พ.ศ.๒๔๘๙ เมื่อได้มีการประกาศใช้ความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศส
ทำให้จังหวัดพิบูลสงคราม และจังหวัดพระตะบองเป็นของฝรั่งเศส ทำให้จังหวัดในภาค
๑ ลดลงไปสองจังหวัด
เหตุการณ์สงครามมหาเอเซียบูรพา
จังหวัดปราจีนบุรี เป็นเส้นทางผ่านของกองกำลังทหารญี่ปุ่น ที่ยกมาทางประเทศกัมพูชา
ไปยังกรุงเทพ ฯ โดยเคลื่อนที่ทางรถยนตร์ อำเภออัญประเทศ ตามเส้นทาง ศรีมโหสถ
- อรัญประเทศ วัฒนานคร สระแก้ว กบินทร์บุรี - อำเภอเมืองปราจีนบุรี - กรุงเทพ
ฯ เครื่องบินรบของญี่ปุ่นเข้าโจมตีสนามบินวัฒนานคร ซึ่งมีฝูงบินที่ ๔๓ ขอวกองทัพอากาศไทยประจำอยู่
|