ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางวัฒนธรรม

แหล่งโบราณคดี
           ในเขตจังหวัดตรัง มีถ้ำต่าง ๆ เป็นแหล่งโบราณคดีแสดงร่องรอยของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และยุคประวัติศาสตร์ อีกส่วนหนึ่งคือ แหล่งโบราณคดีที่อยู่ในอาณาเขตของวัด
           แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาสามบาตร  ถ้ำเขาสามบาตรเป็นถ้ำภูเขาหินปูนเล็ก ๆ ใกล้แม่น้ำตรัง ในเขตตำบลนาตาล่วง อำเภอเมือง ฯ ชาวบ้านเล่าว่า มีผู้นำทรัพย์สมบัติมาซุกซ่อนไว้มากถึงสามบาตรพระ และยังผูกปริศนาลายแทงไว้ด้วย
           จากการสำรวจครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕ สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ ทรงบันทึกถึงการพบอักษรจารึกบนผนังถ้ำ และทรงวินิจฉัยว่า เป็นตัวอักษรสมัยอยุธยา ลักษณะเดียวกับที่วัดป่าโมก
           ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ คณะสำรวจจากกรมศิลปากร ได้สำรวจพบว่าถ้ำนี้มีหลักฐานทางโบราณคดี ยุคก่อนประวัติศาสตร์คือ เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินค่อนข้างหยาบ แบบหม้อสามขา ภาชนะปากผาย ชามเตี้ย ตกแต่งผิวด้วยลายเชือกทาบ เครื่องมือสะเก็ดหิน ค้อนหิน เปลือกหอยแครงเจาะรู ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ กระดองเต่า หอยน้ำจืด ส่วนหลักฐานสมัยอยุธยาคือ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินข้าวเหนียวแบบชามมีเชิง คนโทและพวยกา
           ในปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้มีการสำรวจพบภาพเขียนสีแดงเป็นรูปภาพคล้ายภูเขาสามลูกต่อกัน
           มีผู้ให้ความเห็นว่า ถ้ำนี้เคยใช้เป็นศาสนสถานสำคัญของกลุ่มชนในภูมิภาคนี้ร่วมสมัยอยุธยา โดยมีตัวหนังสือจารึกบนผนังหิน บอกปี พ.ศ. ๒๑๕๐ ซึ่งเป็นหลักฐานที่หาได้ยาก
            แหล่งโบราณคดีถ้ำหน้าเขา  ถ้ำหน้าเขาอยู่บนเขาหินปูนลูกโดดใกล้เทือกเขาบรรทัด อยู่ในเขตตำบลช่อง อำเภอนาโยง จากการสำรวจถ้ำหน้าเขา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ พบเศษกระเบื้องดินเผาลายเชือกทาบ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาแบบสามขา เครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือหินขัด กระดูกสัตว์และฟันสัตว์ สันนิษฐานว่าเป็นพื้นที่ทำกิจกรรม และเป็นที่อยู่ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่มาช่วงเวลาหนึ่ง และอาจมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม กับกลุ่มคนโบราณในแหล่งโบราณคดีอื่นในพื้นที่แถบนี้

            แหล่งโบราณคดีเขาแบนะ  เขาแบนะเป็นเขาลูกโดดตั้งอยู่ที่ปลายแหลมของหาดฉางหลาง ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา
            หลักฐานทางโบราณคดีคือ ภาพเขียนสีมีสองแห่งได้แก่ ที่เพิงผาทางทิศเหนือและเพิงผาด้านทิศตะวันออก แห่งแรกเป็นภาพปลาสองตัวเขียนด้วยสีแดง ต่ำลงมาเป็นภาพหัวสัตว์คล้ายเสือปลาหรือแมว และยังมีภาพลายเส้นสีแดง เป็นกลุ่มหลักเรียงกันคล้ายคลื่นอยู่ใกล้ ๆ กัน อีกแห่งหนึ่งมีภาพลายเส้นขนาดเล็ก อยู่สูงจากพื้นประมาณ ๘ เมตร
            แหล่งโบราณคดีเขาเจ้าไหม  เขาเจ้าไหมอยู่ที่ปลายหาดยาวของหมู่บ้านเจ้าไหม ตำบลเกาะลิปง อำเภอกันตัง จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ พบว่า ด้านเพิงผาที่หันหน้าออกทะเล มีหลักฐานโบราณวัตถุตลอดแนวเพิงผาได้แก่ โบราณวัตถุประเภทหิน ซึ่งไม่มีลักษณะเครื่องมือที่ชัดเจน และโบราณวัตถุประเภทดินเผา มีเศษภาชนะดินเผาด้านนอกเรียบ ด้านในขัดมันขอบปากผาย บางตอนของผนังเพิงผาปรากฎภาพเขียนสีเขียนด้วยสีแดง แต่ภาพค่อนข้างเลือนลาง
           แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาไม้แก้ว  ถ้ำเขาไม้แก้วอยู่ที่เขาหินปูน ในตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอสิเกา จากการสำรวจ ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ พบโบราณวัตถุประเภทหินพบเพียงชื้นเดียว เป็นเครื่องมือกะเทาะ ทำจากหินควอร์ตไซต์ รูปร่างเป็นขวานหิน แต่หักชำรุด โบราณวัตถุประเภทดินเผา พบเศษภาชนะดินเผา ๑๔ ชิ้น เป็นส่วนตัวภาชนะทั้งหมด มีแบบผิวเรียบธรรมดา แบบเคลือบน้ำดินสีแดงด้านนอก และแบบลายเชือกทาบ ทั้งสามแบบเนื้อหยาบและมีกรวดปน มีบางชิ้นที่ตกแต่งผิวด้านนอกเป็นลายขูดขีด เนื้อดินเผาค่อนข้างละเอียด
            แหล่งโบราณคดีเขาหญ้าระ  เขาหญ้าระ อยู่ในเทือกเขาหินปูน ต่อเนื่องมาจากเขาโต๊ะล่าง และเขาลิพัง ทางตอนเหนือ ในเขตตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน
            จาการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ พบโบราณวัตถุประเภทหิน ส่วนมากจะเป็นเครื่องมือหินกะเทาะที่ทำจากหินปูนและทำจากหินควอร์ตไซต์ มีหลายลักษณะ จำแนกได้ เป็นเครื่องมือหินกะเทาะ ทำการสะเก็ดหินปูน และทำจากหินควอร์ตไซต์ จำนวน ๑๓ ชิ้น โดยทำเป็นเครื่องทำมาหากิน เช่น เครื่องมือสำหรับขุดเจาะสับ - ตัด ขุด แต่ละชนิดมีสภาพสึกกร่อนและชำรุด โบราณวัตถุประเภทดินเผา พบเศษภาชนะดินเผา ๓๖ ชิ้น แบ่งตามส่วนต่าง ๆ ของภาชนะได้คือ ส่วนปาก ปากผายออก ด้านบนตัดตรง และปากกลมตรง เนื้อหยาบ มีกรวดปน ผิวเรียบ ทั้งด้านนอกและด้านในส่วนตัว แบ่งตามลักษณะการตกแต่งผิวได้สองแบบคือ แบบเรียบ เนื้อหยาบมีกรวดปน แบบลายเชือกทาบ เนื้อหยาบถึงหยาบมาก และมีกรวดปน
            แหล่งโบราณคดีถ้ำซาไก  ถ้ำซาไกหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า เพิงผาลาคนแก่ อยู่ที่บ้านควนไม้กำ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน ไม่เคยมีการสำรวจมาก่อน เคยเป็นที่อยู่ของหมู่ซาไก ซึ่งมาพักประมาณปีละครั้ง ในช่วงฤดูฝน ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ได้มีการสำรวจครั้งแรก จากคณะสำรวจในโครงการวิจัยวัฒนธรรมโหบินเนียน ในประเทศไทย
           คณะสำรวจแบ่งชั้นนดิน ทางโบราณคดีเป็นสี่ชั้นคือ
               - ชั้นดินทางโบราณคดี ชั้นที่ ๑  พบสิ่งของที่เป็นของร่วมสมัยกับสิ่งของปัจจุบันที่หมู่ซาไกใช้ เป็นระยะเวลากว่า ๕๐ ปี
               - ชั้นดินทางโบราณคดี ชั้นที่ ๒  พบเศษภาชนะดินเผา เนื้อหยาบ ผิวด้านนอกมีทั้งผิวเรียบ ผิวขัดมันและลายเชือกทาบ เครื่องมือหินขัดคือ ขวานหินขัดหลายรูปแบบ บางอันพบร่วมกับโครงกระดูกและอื่น ๆ คือ ภาชนะดินเผา ลูกปัด เปลือกหอย จักรหิน หินลับ กระดูกสัตว์ เมล็ดพืช ร่องรอยกองไฟ สันนิษฐานว่า คนก่อนประวัติศาสตร์ ที่อยู่ในถ้ำนี้น่าจะอยู่ในยุคหินใหม่ เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
               - ชั้นดินทางโบราณคดี ชั้นที่ ๓  พบขวานหินกะเทาะ ซึ่งกะเทาะจากหินกรวดแม่น้ำ ขวานที่มีรูปร่างคล้ายค้อนเป็นหินกรวดกลมมนจากแม่น้ำ กระดูกสัตว์ ตัวอย่างหอย และกองไฟ สันนิษฐานว่า เป็นของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคก่อนหินใหม่
               - ชั้นดินทางโบราณคดี ชั้นที่ ๔  พบแต่หลักฐานหินกรวดที่ไม่มีร่องรอยการถูกกะเทาะ จัดชั้นดิน ในชั้นนี้ว่าเป็นชั้นที่ไม่มีคนอยู่อาศัย
           แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาหมูดิน  ถ้ำเขาหมูดิน ตั้งอยู่ที่เขาน้ำพราย ซึ่งเป็นเขาหินปูน อยู่ในเขตอำเภอปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ พบว่าถ้ำหนูดินมีอายุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุที่พบมีสองประเภทคือ ประเภทหิน และประเภทดินเผา
            แหล่งโบราณคดีถ้ำตรา  ถ้ำตราตั้งอยู่ในเขาหินปูนลูกหนึ่งในเขตตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด ภายในถ้ำตราเพดานมีภาพคล้ายตราประทับรูปวงกลมมีลวดลาย ปัจจุบันอยู่ในสภาพลบเลือนมาก จนไม่สามารถสังเกตรายละเอียดของภาพไดชัดเจน
            แหล่งโบราณคดีถ้ำน้ำพราย  ถ้ำน้ำพรายอยู่ในภูเขาหินปูนลูกหนึ่งในเขตตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด ลูกเดียวกันกับที่ตั้งถ้ำตรา ห่างออกไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๓๐ เมตร
            จากการสำตรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ พบว่ามีภาพเขียนสีบนผนังด้านทิศตะวันออก กลุ่มที่ ๑ เขียนด้วยสีแดงระบายสีทึบจำนวนสามภาพเรียงต่อกัน ภาพแรกเป็นรูปทรงเรขาคณิตทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมบน ภาพที่สองมีรูปทรงคล้ายเครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง และภาพที่สามเป็นรูปทรงเรขาคณิต ส่วนกลุ่มที่สองอยู่ในเหลือบหินติดต่อกับกลุ่มแรก มีอยู่สองภาพคือ ภาพเขียนสีเป็นเส้นขนานกันคล้ายกรงสัตว์ ถัดเข้าไปเป็นภาพเขียนสีแดงอยู่ในสภาพลบเลือน

            ในบริเวณใกล้เคียงถ้ำเขาน้ำพราย ยังมีหลักฐานทางโบราณคดีได้แก่ เครื่องมือประเภทขวานหินขัดไม่มีบ่า เศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ชิ้นส่วนภาชนะแบบหม้อสามขา ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์เผาไฟ สันนิษฐานว่า เป็นพื้นที่กระทำกิจกรรมการอยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และอาจมีการใช้พื้นที่อย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
           แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาปินะ  เขาปินะอยู่ในเขตตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด มีถ้ำใหญ่น้อยสลับซับซ้อนจัดตามระดับความสูงได้หกระดับ
               - ระดับที่ ๑  พื้นที่ถ้ำต่ำกว่าระดับพื้นดินมีน้ำขังอยู่ตลอด มีทางน้ำไหลลอดภูเขา ชาวบ้านเรียกถ้ำน้ำ
               - ระดับที่ ๒  พื้นถ้ำอยู่สูงกว่าระดับพื้นดินประมาณ ๓ เมตร มีอยู่สามถ้ำด้วยกัน ได้แก่ ถ้ำฤาษี พบกระดูกคนโบราณจำนวนมาก เดิมเรียกว่า ถ้ำกระดูก ถ้ำต่อไปคือถ้ำแกลบ อีกถ้ำหนึ่งไม่มีชื่ออยู่ระหว่างถ้ำฤาษี และถ้ำแกลบ
               - ระดับที่ ๓  มีถ้ำพระบรรทม  เป็นที่ประดิษฐานพระบรรทม เมื่อร้อยปีเศษมาแล้ว ก่อด้วยปูนเพชร
               - ระดับที่ ๔  มีถ้ำพระองค์กลาง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปห้าองค์ก่อด้วยปูนเพชร องค์หนึ่งมีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฎ ส่วนที่เหลือทำขึ้นสมัยหลัง
               - ระดับที่ ๕  มีถ้ำเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์องค์หนึ่ง ไม่ปรากฎว่าสร้างเมื่อใด มีการบูรณะใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐
               - ระดับที่ ๖  มีอยู่สี่ถ้ำคือ ถ้ำลบ ถ้ำจำปา แอ่งน้ำธรรมชาติ ถ้ำมะขาม ถ้ำหอยโข่ง เคยมีผู้พบโบราณวัตถุในถ้ำหอยโข่งหลายอย่าง เช่น ขวานหินขัด หม้อสามขา
            แหล่งโบราณคดีวัดคีรีวิหาร  วัดคีรีววิหารตั้งอยู่ที่บ้านทาน ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕ สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เคยเสด็จมา ณ วัดแห่งนี้ ทรงบันทึกสภาพของวัดและกล่าวถึงหลักฐานทางโบราณคดีว่า มีรูปพระพิมพ์ดินดิบหลายชนิด ในพระพิมพ์มีอักษรเทวนาครี จารึกไว้ด้วย
            ที่วัดแห่งนี้ยังมีพระพุทธรูปฝีมือช่างพื้นเมือง คือพระนอน ยาว ๙.๕๐ เมตร ประดิษฐานอยู่ตรงปากถ้ำในเพิงผา และพระบริวารของเก่าเจ็ดองค์ สร้างขึ้นใหม่สามองค์
            แหล่งโบราณคดีภูเขาสาย  ภูเขาสาย  อยู่ในเขตตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด ในบันทึกของสมเด็จ ฯ พระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงกล่าวถึงถ้ำนี้ไว้ว่า
               "......ปากถ้ำสูงกว่า พื้นดินสัก ๘ วา เป็นผาชัน .....รวมเทวรูปได้ ๖ ชนิดคือ  ๑.รูปพระโพธิสัตว์สี่กรนั่งขัดสมาธิ  ๒.รูปอย่างเดียวกันแต่ขนาดย่อม  ๓.รูปพระโพธิสัตว์สองกรนั่งห้อยพระบาท  ๔.รูปพระโพธิสัตว์สองกรยืน  ๕.รูปพระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิ  ๖.รูปอย่างเดียวกันแต่องค์เล็ก ยังมีอีกไม่รู้ว่าอะไร  เป็นที่เม็ดยอดอะไรก็มี มีลายชิ้นอะไรแตก ๆ มีตราหนังสือ และมีขอบไม่ซ้ำกับรูปที่ได้ชัดเจนนั้นก็มี..."
           แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาขาว  ถ้ำเขาขาวอยู่ในภูเขาหินปูนโดด อยู่ในเขตตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด ในถ้ำมีผู้พบพระพิมพ์ดินดิบ สถูปเล็ก ๆ ลักษณะพระพิมพ์เหมือนกับที่วัดคีรีวิหาร และถ้ำเขาสาย
           แหล่งโบราณคดีวัดเขาพระ  วัดเขาพระอยู่ในเขตตำบลคลองปาว อำเภอรัษฎา ส่วนที่เป็นแหล่งโบราณคดีคือ ภูเขาด้านตะวันตกของวัด ตัววัดเริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
            หลักฐานทางโบราณคดีที่พบมีสองส่วนคือ บริเวณเพิงผาหน้าถ้ำ เป็นประดิษฐานพระพุทธรูปฝีมือช่างพื้นบ้าน ที่ผนังถ้ำเหนือเศียรพระพุทธรูป มีลายเขียนเป็นรูปวงกลมบ้าง คล้ายดอกบัวบ้าง มีอักษรไทยจารึกอยู่ด้วย ลักษณะคล้ายอักษรถ้ำเขาสามบาตร แต่ลบเลือนมากจนอ่านเอาความไม่ได้ ส่วนที่สองคือบริเวณในถ้ำมีพระพุทธรูปไม้เล็ก ๆ วางกองอยู่เป็นอันมาก มีผู้พบเศษภาชนะดินเผาประเภทหม้อสามขา เศษกระดูก และเศษเปลือกหอยปะปนอยู่ด้วย
            แหล่งโบราณคดีเขาหลักจัน  เขาหลักจันอยู่ที่ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด มีถ้ำอยู่หลายถ้ำ เช่น ถ้ำแพะ ถ้ำพราน ในถ้ำมีโบราณวัตถุประเภทเครื่องมือหิน มีทั้งหินลับ ขวานหินขัด และมีเศษภาชนะดินเผา ลายเชือกทาบ และผิวเรียบ
            นอกจากแหล่งโบราณคดีดังกล่าวแล้ว ยังมีคำบอกเล่าถึงการพบโบราณสถานที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง เช่นพบเศษภาชนะดินเผา รวมทั้งโอ่งดินเผาที่ยังมีรูปทรงสมบูรณ์ ที่ทะเลสองห้อง อำเภอห้วยยอด พบขวานหินขัดเรียงรายตามลุ่มแม่น้ำ พบพระพิมพ์ที่เขาพระวิเศษ อำเภอวังวิเศษ และเศษภาชนะดินเผา ในถ้ำของภูเขาบริเวณใกล้เคียง พบพระพุทธรูปที่ถ้ำเขาพลู ตำบลบางสัก อำเภอกันตัง พบเศษเครื่องปั้นดินเผา และเครื่องประดับ คนโบราณที่ถ้ำบริเวณแหลมโต๊ะบนเกาะลิบง เขาโต๊ะแนะ ริมคลองเจ้าไหม
แหล่งประวัติศาสตร์
            แหล่งประวัติศาสตร์ของเมืองตรังส่วนใหญ่เกี่ยวเนื่องด้วยสถานที่ตั้งเมือง ในยุคแรก ๆ นั้น หาร่องรอยเดิมได้ยาก เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิศาสตร์ มีเพียงแต่ข้อสันนิษฐานโดยอาศัยชื่อบ้านผนวกกับแนวคิดที่ว่า การตั้งเมืองมักจะอยู่ริมแม่น้ำ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการติดต่อคมนาคม
           แหล่งประวัติศาสตร์เกาะลิบง  ตามประวัติเมืองตรัง โต๊ะเฮ้าหวา หรือโต๊ะบังกะหวา ผู้นำชุมชนในเกาะลิบง ได้เป็นพระยาลิบงตำแหน่งเจ้าเมือง เมื่อสิ้นพระยาลิบงแล้ว หลวงฤทธิ์สงครามได้เป็นเจ้าเมือง
            ในปี พ.ศ.๒๓๕๒ เกิดศึกถลาง ได้ใช้เกาะลิบงเป็นที่ชุมนุมทัพเรือจากเมืองต่าง ๆ ในฝ่ายใต้ ยกกำลังไปรบพม่าจนได้ชัยชนะ ห้วงเวลาดังกล่าว หลวงฤทธิ์สงครามเป็นเจ้าเมือง
            ในปี พ.ศ.๒๓๕๔ หลวงฤทธิ์สงครามถึงแก่กรรม เกาะลิบงได้คลายความสำคัญลง
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นที่ตั้งด่านภาษีอยู่ที่บริเวณแหลมจุโหย
           แหล่งประวัติศาสตร์เมืองเก่าควนธานี พบร่องรอยความเป็นที่ตั้งเมือง ในบริเวณตั้งแต่ศาลหลักเมืองไปจนจดชายคลอง จากท่าแก้มดำจนถึงท่าหัวไทร ถัดจากศาลหลักเมืองลงไปมีร่องรอยคุกโบราณ กระสุนปืนใหญ่ ใกล้ริมน้ำจะมีซากอิฐและแนวกำแพง ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ มาสร้างไว้ ตั้งใจจะให้เป็นที่ว่าราชการเมือง พบเหรียญที่ขุดได้ในบริเวณนี้ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓.๘ เซนติเมตร จารึกปี ค.ศ.๑๗๙๙ (ตรงกับปี พ.ศ.๒๓๔๒) ด้วยอักษรภาษาต่างประเทศ
            บริเวณท่าแก้มดำคือบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำตรังในปัจจุบัน ส่วนท่าที่จะขึ้นควนธานีคือ ท่าหัวไทร มีคลองขุดเชื่อมระหว่างสองท่านี้ ผู้ดำเนินการขุดคลองคือ พระยามนตรีสุริยวงศ์ ข้าหลวงหัวเมืองฝ่ายตะวันตก ซึ่งมาประจำที่เมืองตรัง
            ใกล้ไปทางท่าเรือแก้มดำ มีซากเตาเผาอิฐและฐานเจดีย์เก่า เตาเผาอิฐมีลักษณะเป็นหลุมลึกขอบหลุมเป็นฐานอิฐที่ก่อขึ้นมาจากพื้น มีอิฐเก่า ๆ เหลืออยู่หลายก้อน เป็นชนิดเดียวกับที่พบที่ทำเนียบของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ส่วนฐานเจดีย์เก่าเป็นเพียงเนินดิน ตรงกลางจะมีเสาที่เป็นไม้อยู่สามเสา สูงประมาณ ๑๕๐ เซนติเมตร ฐานรากเจดีย์กว้างประมาณ ๙ x ๙ เมตร แผ่นอิฐที่สำรวจพบมีสภาพที่สมบูรณ์ และมีขนาดเดียวกันกับอิฐที่พบที่เตาเผาอิฐ สันนิษฐานว่า มาจากเตาเผาเดียวกัน
           แหล่งประวัติอศาสตร์อำเภอกันตัง  เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ พระยารัษฎา ฯ ได้ย้ายที่ตั้งเมืองควนธานีไปตั้งที่กันตัง โดยได้จัดสร้างสวถานที่ราชการต่าง ๆ เป็นเครื่องผูกฝาจากชั่วคราวขึ้นก่อน จนถึงปี พ.ศ.๒๔๔๐  จึงขอจัดสร้างสถานที่ราชการเหล่านี้ขึ้นใหม่ พร้อมกับพัฒนาเมืองตรังให้เป็นเมืองท่าค้าขาย จัดสร้างท่าเรือ และสะพาน ท่าเทียบเรือ เช่น สะพานเจ้าฟ้า เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕ ในย่านนี้ยังมีบริษัทที่ทำการค้าทางเรือกับต่างประเทศ สืบทอดกิจการมาจนถึงปัจจุบัน

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์