โลมาอิระวดีมีลักษณะเด่นที่ครีบหลังรูปทรงสามเหลี่ยมขนาดเล็กปลายมน
พบในตำแหน่งที่ห่างจากจุดกึ่งกลางลำตัวค่อนไปทางหาง
เป็นโลมาขนาดเล็กที่ว่ายน้ำโดยปกติค่อนข้างช้า
และอยู่เป็นกลุ่มเล็ก
ๆ
เมื่อพิจารณาลักษณะภายนอก
โลมาอิระวดีมีรูปร่าง
ลักษณะคล้ายคลึงกับวาฬเบลูก้า
(Beluga whale)หรือที่เรียกทั่วไปว่าวาฬมีฟัน
(Toothed whale)
และยังมีรูปทรงคล้ายคลึงกับ
โลมาหัวบาตร
หรือโลมาไม่มีครับหลัง(Finless
porpoise)
ซึ่งมีหัวลมมนคล้ายกันทำให้บางครั้งมีความสับสนขึ้น
แต่ที่จำง่าย ๆ ก็คือ
โลมาอิระวดีมีครีบบนหลังหนึ่งอัน
และมีฟันแหลมอยู่บนขากรรไกรบน
จำนวนเต็มที่ 40
ซี่และจำนวน36 ซี่
อยู่บนขากรรไกรล่าง
อุปนิสัยของโลมาอิระวดีมักอยู่รวมเป็นฝูงเล็ก
แต่ละฝูงมีจำนวน 6
ตัวหรือน้อยกว่า
ไม่ชอบปรากฏตัวให้เห็นตามผิวน้ำทะเล
แต่ชอบโผล่หัวขึ้นมาที่ระดับผิวน้ำ
จนบางครั้งได้ชื่อว่า
เป็นจารชน ผลุบ ๆ โผล ่ๆ
(Spyhopping)(บางที่เป็นอาหารที่มันทำเพื่อสามารถมองเห็นได้รอบตัว)
มันไม่ชอบที่จะว่ายน้ำเล่นคู่กับเรือ
บางครั้งช่วยเหลือชาวประมง
บ้างก็โดนว่ายน้ำไล่ฝูงปลาให้ไปติด
อวนของชาวประมง
ที่น่ารักก็คือค่อนข้างขี้อายและหลบซ่อนตัว
ความยาวของโลมา
เต็มวัย อยู่ระหว่าง 90
-150
กิโลกรัมและให้ลูกเกิดใหม่มีความยาวประมาณ
1 เมตร
ที่มีน้ำหนักประมาณ 12
กิโลกรัมหรือมากกว่า
อาหารอันโอชะของโลมา
เหล่านี้คือปลากุ้งและปลาหมึก
มักพบโลมาอาศัยอยู่บริเวณน้ำตื้นชายฝั่งในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน
ของมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค
รอบหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย
ตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย
และทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ใกล้ชายฝั่ง
โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำได้แก่
บางปะกง ทะเลสาบสงขลา
เจ้าพระยา เป็นต้น
โลมาหลังโหนก
- Humpback Dolphin
โลมาหลังโหนกมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
Sousa chinensis จัดอยู่ในวงศ์
DELPHINIDAE
โลมาชนิดนี้พบได้ทั่วไป
ตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค
และในทะเลจีนใต้
จึงได้ชื่อสามัญว่าIndo-Pacific
humpback dolphin
เป็นที่น่าสังเกต
โลมาหลังโหนกมีสีเปลี่ยนแปรจากสีเหลืองจนถึงสีชมพู
จนบางครั้งเป็นสีขาวหรือสีเทา
แต่สีที่ท้องจะเป็นส่วนที่มีสีจางที่สุด
ลักษณะทั่วไปของโลมาชนิดนี้
คล้ายคลึงกับโลมาปากขวดทั่วไป
ยิ่งมีอายุมากเท่าไรสีจะจางลงเรี่อย
ๆ
โคนครีบหลังเป็นฐานกว้างโค้งลงด้านหลัง
บางครั้งอาจพบว่าฐานครีบมีความกว้างถึงหนึ่ง
ในสามของความยาวลำตัวทีเดียว
ในทะเลเราสามารถสังเกตโลมาชนิดนี้ได้จากลำตัวที่บึกบึนกลมยาวสีท้องขาว
บนหลังครีบเป็นโหนกแต่สิ่งที่ยากก็คือการจะเข้าไปใกล้
ๆ มัน
ขนาดปกติโลมาตัวเต็มวัยจะมีความยาว
2 ถึง 2.8 เมตรหนัก 150 ถึง 200
กิโลกรัม
ลูกโลมาเกิดใหม่ยาวประมาน
1 เมตร หนัก 25 กิโลกรัม
กินปลา เป็นหลัก
การว่ายน้ำของโลมานี้จะเป็นไปอย่างช้า
ๆ ไม่ชอบเล่นคลื่น
บริเวณหัวเรือขณะเรือแล่น
แต่ชอบเล่นในอากาศ
เช่น ตีน้ำด้วยหาง
หรือโผล่หัวผลุบ ๆ โผล่
ๆ
ชอบตะแคงแล้วใช้ครีบว่ายน้ำ
แม้จะเป็นโลมา
ที่ระแวดระวังเรือ
แต่ก็สามารถเข้าฝูงกับชนิดอื่นได้ดี
โดยเฉพาะพวกโลมา
ปากขวด
โลมาหลังโหนกแพร่กระจายอยู่ทั่วไป
แต่ดูเหมือนมันชอบที่จะ
อาศัยอยู่ตามชายฝั่งของทะเลเขตร้อน
ในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก
ซึ่งมีความลึกไม่มาหนักคือลึกไม่เกิน
20 เมตร
ในบางครั้งเราอาจพบมันเข้าไปอาศัยตามทะเลสาบ
ปากแม่น้ำ บึง
และแนวปะการัง
จากรายงานการศึกษาพบว่าโลมาชนิดนี้มีประชากร
2 กลุ่มแยกกัน
โดยเกาะสุมาตรา คือ
กลุ่มทางตะวันตก
ที่มีไขมันบริเวณ
โหนกมาก
และกลุ่มทางตะวันออก
ที่มีไขมันทางโหนกน้อย
หรือมี
แต่เห็นไม่ชัดเจน
ประชากรนั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
แต่ที่แน่ ๆ ประชากร
กำลังถูกคุกคามจากกิจกรรมของมนุษย์
เช่น สภาวะน้ำเสีย
การจราจรทางน้ำ
ที่แออัด การล่า
การสูญเสียแหล่งอาศัยทางเคมีมลภาวะทางเสียง
ขาดแคลน อาหารธรรมชาติ
และอันตรายจากเครื่องมือประมง
สิ่งที่ควรทำในการดูโลมา
1.
เมื่อเข้าใกล้ฝูงโลมาควรเคลื่อนเรือให้ช้าทีสุด
แล้วดับเครื่องใช้พายเบา
ๆ
2.
รักษาระยะห่างไม่ควรเข้าใกล้เกิน
30 เมตร
3.
ไม่ควรนำเรือดข้าฝ่างกลางฝูงโลมา
หรือไล่หลังโลมาควรดูอยู่ข้างๆฝูง
4.ไม่ควรนำเรือไปดักหน้า
หรือเร่งขวางหน้าฝูงโลมา
5.ไม่ควรเร่งเครื่องเรือ
หรือเร่งความเร็วกระทันหัน
6.ไม่ควรให้อาหารโลมา
ทำให้นิสัยการกินอาหารเปลี่ยนไป
การบริหารจัดการชมโลมา
ควรมีการจัดตั้งกกลุ่มกรรมการขึ้นมาดูแลและวางกฏระเบียบ
1.กำหนดจำนวนเรือที่ไปดูโลมาแต่ละครั้ง
ไม่ควรมากเกินไป
2.ระวังการทำให้เกิดเสียงใต้น้ำ
เช่น
การเร่งเครื่องเรือ
3.ขณะดูโลมาก็ไม่ควรนานเกินไป
ควรจัดเวลาเพื่อเรือลำอื่นด้วย
4.ผูกเรือกับทุ่นที่ได้จัดเตรียมไว้ให้
เราจะช่วยอนุรักษ์โลมาร่วมกับรายการได้อย่างไร
1.บันทึกวันที่ เวลา
สถานที่ที่พบโลมา
2.จำนวนตัวในฝูงว่า
มีกี่ตัว
ขนาดหัวถึงหางยาวประมาณเท่าไร
มีลูกด้วยหรือไม่
จำนวนลูกกี่ตัว
3.ลักษณะเด่นชัดของครีบหลัง
ครีบหลังมีหรือไม่มี
วาดเก็บไว้ด้วย
4.รูปร่างลักษณะของตัว
เช่น ปากยาวหรือสั้น
5.สีและลายตามลำตัว
6.พฤติกรรมการว่ายน้ำ
ดำน้ำ
ผุดขึ้นลงอย่างไร
7.สภาพอากาศและน้ำ เช่น
ความขุ่นใสของน้ำ
ลักษณะคลื่นลม
|