สกุณา
ประยูรศุข
เรือท่องเที่ยวลำใหญ่มีนักท่องเที่ยวอยู่เต็มค่อยๆ
เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างช้าๆกลางลำน้ำบางปะกง
เมื่อแล่นผ่านหน้า *วัดโสธรวรารามวรวิหาร*
หรือ วัดหลวงพ่อโสธร
พระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองฉะเชิงเทรา
ความอลังการของพระอุโบสถหลังใหม่
ยังไม่หมดแค่นั้น
เพราะหากเดินผ่านเข้าไปภายใน
ประตูทางเข้า
และผนังอาคารของโบสถ์เป็นจุดแรกที่ปะทะสายตา
การก่อสร้างผนังภายนอกพระอุโบสถ
บุด้วยหินอ่อนจากอิตาลี
เพื่อให้ทนแดดทนฝน
และสวยงาม
ซึ่งได้รับการบอกเล่าจากช่างว่า
หินอ่อนจากอิตาลีมีความคงทน
และมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหินอ่อนในเมืองไทย
ส่วนผนังภายในใช้หินอ่อนในประเทศ
ซุ้มกรอบประตูหน้าต่างทำด้วยดินเผา
โดยนำดินขาวคุณภาพดีมาปั้นเป็นซุ้มแล้วต้องเผาอุณหภูมิสูง
1,000 องศาเช่นกัน
เมื่อเผาแล้วตรงไหนอยากให้เป็นสีทองก็จะเคลือบน้ำทองอีกทีให้เปล่งปลั่งสวยงาม
กระเบื้องหลังคาโบสถ์ทำจากเซรามิกเผาสีด่อน
เพื่อให้ตัดกับสีทองของ
*ฉัตรทองคำ* ช่อฟ้า
ใบระกา และ ทวย
ขณะที่รั้ว หรือ
กำแพงแก้ว
ทำด้วยหินแกรนิตสีดำ
สลับลูกกรงเหล็กสีดำคาดทอง
กรรมวิธีของการทำส่วนประกอบพระอุโบสถแต่ละชิ้นแต่ละอันละเอียดลออ
และต้องประณีตอย่างยิ่ง
หากสิ่งไหนทำไปแล้วเกิดรอยแตก
หรือตำหนิแม้แต่นิดเดียว
ต้องทิ้งแล้วทำใหม่ทันที
ดังนั้นจึงใช้เวลาในการก่อสร้างนานมาก
สำหรับพื้นภายในพระอุโบสถเป็นหินอ่อนสีแดง
สลักลวดลายเป็นห้วงมหาสุมทร
มีปลาในวรรณคดีว่ายวนเวียนราวกับเคลื่อนไหวได้
ทั้งปลาอานนท์
ปลากระโห้ กระแห
คางเบือน ปลากราย ฯลฯ
ตรงกึ่งกลางเป็นดอกบัวขนาดใหญ่
มีกลีบคว่ำกลีบหงายสลับกัน
ภายในดอกบัวเป็นที่ประดิษฐานองค์พระ
หลวงพ่อโสธรองค์จริง
อยู่ตรงกลาง
รายล้อมด้วยพระองค์อื่นๆอีก
13 องค์
ทั้งหมดอยู่ภายในฐานกลีบบัว
ซึ่งมีเกสรบัวเป็นที่ระบายความชื้นใต้ดินจากฐานองค์พระไม่ให้ความชื้นขึ้นมาทำลายองค์พระ
เลขานุการเจ้าอาวาส
บอกว่าด้านบนสุด หรือ
เพดานพระอุโบสถนั้น
ทำเป็นท้องฟ้ามีดาวระยับระยับ
เรียกว่า "จักรวาล"
ใช้วัสดุเรืองแสง
ถึงไม่เปิดไฟก็มองเห็นเป็นท้องฟ้าที่ดารดาษด้วยหมู่ดาว
"เป็นการสร้างตามตำราทางโหราศาสตร์
โดยจักรวาลจะทำมุมเล็งลักขณากับองค์พระเป็นมิ่งมงคลอยู่ตลอดเวลาที่พระอยู่ในพระอุโบสถ
จะเห็นว่าตั้งแต่หลวงพ่อพุทธโสธรขึ้นจากน้ำ
และมาประทับอยู่ที่ตรงพระอุโบสถปัจจุบันนี้
องค์พระไม่เคยขยับเขยื้อนไปไหนเลย
และถ้ามองจากข้างล่างขึ้นไปจะเห็นว่าพระอุโบสถมีทั้งหมด
8 ชั้น ตั้งแต่ชั้น 5
ขึ้นไปเป็นที่ประดิษฐาน
*พระบรมสารีริกธาตุ*"
ส่วนพื้นทั้งสี่มุมภายในพระอุโบสถเป็นซุ้มเสมาสำหรับบรรจุลูกนิมิต
โดยลูกนิมิตนี้จะไม่ฝังดิน
แต่จะใส่เข้าไปในซุ้มที่ตั้งไว้บนพื้น
เพื่อกำหนดเป็นเขตพัทธสีมาที่ใช้ในการประกอบพิธีสังฆกรรมของพระสงฆ์
|