ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดภูเก็ต >สะพานหิน/Saphan Hin 

สะพานหิน/ Saphan Hin

 

สะพานหิน

สะพานหิน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจภายในตัวเมืองภูเก็ต มีลักษณะเป็นชายหาดอยู่สุดถนนภูเก็ตซึ่งยื่นลงไปในทะเลเล็กน้อย เป็นที่ตั้ง ของอนุสาวรีย์หลัก 60 ปี ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 เพื่อเป็นที่ระลึกแก่กัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัสไมล์ ชาวออสเตรเลียผู้นำเรือขุดแร่ลำแรกมาใช้ขุดแร่ดีบุกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2452 รวมทั้งเป็นที่ตั้งของศูนย์กีฬา สระว่ายน้ำ ศูนย์บริการคอมพิวเตอร์แก่ประชาชน ศูนย์เยาวชน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลนครภูเก็ต และศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง สถานที่สักการะพระนางกิ้วเที้ยนเลี่ยนลื้อ และใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีในเทศกาลกินผัก

ประวัติความเป็นมา

เดิมที บริเวณสะพานหินเป็นท่าเรือสำคัญที่เรือขนส่งสินค้า และเรือโดยสารใช้เป็นจุดเทียบท่า ถือเป็นท่าเรือใหญ่ของการเดินทางในเขตทะเลอันดามัน เชื่อกันว่าท่าเรือสะพานหินยังเป็นท่าเทียบเรือที่ตัวแทนชาวภูเก็ตซึ่งเดินทางกลับจากประเทศจีนนำควันธูป (เหี่ยวเอี้ยน) มาเพื่อประกอบพิธีกินผัก จนกลายเป็นประเพณีสำคัญของชาวภูเก็ตในปัจจุบัน

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของสะพานหิน ยังเป็นบริเวณที่เรือขุดแร่ลำแรกของโลกทำการขุดแร่ดีบุกจากอ่าวทุ่งคาซึ่งเป็นทะเลบริเวณสะพานหินขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกด้วย โดยผู้นำเรือขุดแร่ดังกล่าวเข้ามาขุดแร่ คือ กัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัส ไมลส์ ชาวออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. 2452[1] ซึ่งภายหลังก็ส่งผลให้มีการสร้างเรือขุดแร่ขึ้นใช้งานอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จนกระทั่ง พ.ศ. 2511 อธิบดีกรมมีความคิดที่จะให้มีสิ่งปลูกสร้าง เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงการขุดแร่ด้วยเรือขุดแร่ลำแรกของโลก จึงได้เปิดให้มีการประกวดออกแบบจนสิ้นปี พ.ศ. 2511 มีผู้ประกวดออกแบบทั้งสิ้น 6 ราย ทางคณะกรรมการพิจารณาเลือกแบบของนายชวลิต หัสพงษ์ มาดำเนินการก่อสร้างอนุเสาวรีย์ โดยได้รับความช่วยเหลือจาก บริษัททุ่งคาฮาเบอร์ทินเดร็ดยิ่งเบอร์ฮัด (อังกฤษ: Tongkah Harbour Tin Dredging Co. Ltd) ที่ตั้งของอนุเสาวรีย์ดังกล่าวอยู่บริเวณริมหาดปลายแหลมของสะพานหิน ณ ขณะนั้น

สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ

ภายหลังมีการถมทะเลบริเวณสะพานหินเพิ่มพื้นที่สาธารณประโยชน์ โดยใช้วัสดุส่วนหนึ่งเป็นดินโคลนที่ลอกจากคลองก่อจ๊าน ซึ่งเป็นคลองที่ขุดลอกเพื่อใช้ประโยชน์เป็นที่จอดเรือประมงขนาดเล็ก ดำเนินการขุดโดยกัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัส ไมลส์ วัสดุอีกส่วนเป็นขยะและซากจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่ส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้ได้รับการปรับปรุงใช้เป็นสนามกีฬากลางและศูนย์อำนวยความสะดวกต่างๆ ของเทศบาลนครภูเก็ตส่วนหนึ่ง ใช้เป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชนใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจอีกส่วนหนึ่ง

สิ่งปลูกสร้างอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่บริเวณสะพานหิน คือ ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง ซึ่งใช้เป็นที่สักการะบูชาพระนางกิ้วเที้ยนเลี่ยนลื้อ ผู้เป็นเทพเจ้าชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายศาสนาเต๋า โดยสร้างตามคำบอกเล่าของร่างทรง ว่าพระนางต้องการให้สร้างศาลเจ้าสำหรับพระนางขึ้นที่ปลายแหลมสะพานหิน เพื่อที่พระนางจะได้ช่วยปกป้องลูกหลานชาวภูเก็ตจากภัยพิบัติต่างๆ โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2539 จนแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2540 มีลักษณะสถาปัตยกรรมจีน ทั้งนี้ในช่วงเทศกาลกินผัก ศาลเจ้าแห่งนี้ยังใช้เป็นที่ประกอบพิธีรับพระและส่งพระในตอนเริ่มและตอนท้ายของพิธีกินผัก


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวสะพานหิน

 
ภูเก็ต/Information of PHUKET

  Saphan Hin
A land reclamation project provided abundant new land now used for parks and public facilities at
Sapan Hin, located where Phuket Rd., meets the sea in Phuket Town. In the circle is the Tin Mining
Monument, shaped like a large drill bit, dedicated to the memory of Captain Edward Thomas Miles,
the Australian who brought the first tin dredge to Phuket in 1909. The monument was built in 1969 on
the occasion of the 60th anniversary of tin dredging in Phuket. The Sport Center is located in the park.

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ภูเก็ต เกาะภูเก็ต แผนที่จังหวัดภูเก็ต แหลมพรหมเทพ
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกระทู้
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอถลาง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


เขารัง

Khao Rang
(ภูเก็ต)


หาดในหาน
Nai Han Beach
(ภูเก็ต)


อ่าวเสน

Sehn Bay
(ภูเก็ต)
แผนที่จังหวัดภูเก็ต/map of PHUKET
โรงแรมจังหวัดภูเก็ต/Hotel of PHUKET

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์