เกาะหมาก หรือ Koh Mak เป็นเกาะขนาดใหญ่
อยู่ระหว่างเกาะช้างกับเกาะกูด ห่างจากฝั่งประมาณ 38 กิโลเมตร
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,000 ไร่ มีรูปร่างคล้ายดาวสี่แฉก
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสวนมะพร้าว โดยรอบมีอ่าว ชายหาดที่สวยงาม
และน้ำใสสะอาดหลายแห่ง เช่น บริเวณอ่าวตานิด อ่าวไผ่ อ่าวโปร่ง อ่าวผาด
อ่าวแดง อ่าวส่วนใหญ่
บริเวณชายฝั่งรอบเกาะและเกาะใกล้เคียงพบแนวปะการังที่สมบูรณ์ และสวยงาม
บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย
ช่วงฤดูท่องเที่ยวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤษภาคม
ชุมชนดั้งเดิมบนเกาะหมากส่วนใหญ่เป็นเขมรเชื้อชาติไทยที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อครั้งเมืองประจันตคีรีเขตร
หรือเกาะกงเป็นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2447 โดยมีหลวงพรหมภักดี
ต้นตระกูลตะเวทิกุล เป็นผู้ควบคุมคนจีนบนเกาะกง
คนบนเกาะส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน มีอาชีพเกษตรกรรมทำสวนยางพารา
และสวนมะพร้าว
จนเกาะหมากได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวที่สำคัญของจังหวัดตราด
บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย
เมืองตราดสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า กราด
ที่เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด
ต้นไม้ชนิดนี้มีขึ้นอยู่รอบเมืองตราด
ซึ่งในสมัยนั้นมีต้นกราดอยู่เป็นจำนวนมาก แต่พอถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยา
รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองตราดมีชื่อในขณะนั้นว่า บ้านบางพระ
จังหวัดตราด
หรือเมืองทุ่งใหญ่ปรากฏชื่อในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.
2178) ว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ
ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเล
ที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือ เพื่อขนถ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า
เติมเสบียงอาหาร น้ำจืดบริเวณอ่าวเมืองตราด
จึงเป็นแหล่งที่ตั้งชุมชนพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขาย
ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา
สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม
และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง
จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด
เมื่อครั้งสงครามกู้เอกราชสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเลือกตราดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน
ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารก่อนเคลื่อนกองทัพเรือออกจากจันทบุรี
ในสมัยรัชการที่ 1
เมืองตราดยังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์
เมืองเวียงจันท์ซึ่งต่อมาหันไปสวามิภักดิ์กับญวน
ไทยกับญวนผิดใจกันจนต้องทำสงครามกันในปี พ.ศ. 2371 ตราดเป็นแหล่งกำลังพล
และเสบียงอาหารมีการตั้งป้อมค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตราด
สมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดจันทบุรี
ปี ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. 2447
โดยแลกกับเมืองตราดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด
รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง)
ต่อมารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์
และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย
ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญายกเมืองตราดกับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง
(เมื่อหันหน้าไปทางปากแม่น้ำ) คืนให้กับไทยโดยแลกเปลี่ยนกับพระตะบอง
เสียมราฐ ศรีโสภณ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449
โดยฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี
ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทย
ฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสได้กระทำพิธีส่ง
และรับมอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไปเมื่อวันที่ 6
กรกฎาคม พ.ศ. 2450
ในช่วงสงครามอินโดจีน (พ.ศ.
2483-2484) ฝรั่งเศสพยายามเข้ายึดเมืองตราดอีกเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ.
2484
กองทัพเรือไทยได้เข้าต่อสู้ขัดขวางกองทัพเรือฝรั่งเศสที่ล่วงล้ำน่านน้ำไทยอย่างกล้าหาญ
รักษาเมืองยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ได้
ปี พ.ศ. 2521 เกิดสงครามสู้รบในกัมพูชา
ชาวเขมรนับแสนหนีตายทะลักเข้ามาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด
เขตพรมแดนด้านตะวันออก เส้นทางหลวงหมายเลข 318
จากตัวเมืองตราดเลียบขนานเทือกเขาบรรทัด
และชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลองใหญ่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ
เมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. 2529
เส้นทางสายนี้ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณตลาดหาดเล็ก
สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกง
การขุดพบ พลอยแดง หรือ
ทับทิมสยาม ในเขตอำเภอบ่อไร่เมื่อปี พ.ศ. 2514 ก่อกระแสการตื่นพลอย
ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ามาแสวงโชคที่นี่ความเจริญทุกด้านมุ่งสู่บ่อไร่จนกลายเป็นเมืองใหญ่คู่กับตัวเมืองตราด
พื้นที่ที่เคยเป็นป่าทึบกลายเป็นหลุมบ่อ เมื่อทรัพย์สินในดินเริ่มหมดไป
ในปี พ.ศ. 2534 บ่อไร่กลายเป็นเมืองร้าง
เหลือไว้เพียงอาคารร้านค้าซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ
จังหวัดตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 315 กิโลเมตร
มีพื้นที่ประมาณ 2,819 ตารางกิโลเมตร
เป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 5 อำเภอ
กับ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่
อำเภอบ่อไร่ กิ่งอำเภอเกาะกูด และกิ่งอำเภอเกาะช้าง
สภาพภูมิอากาศ
จังหวัดตราดมีอากาศไม่ร้อนจัด หรือหนาวจนเกินไป แต่มีฝนตกชุกมาก
เพราะมีพื้นที่ติดทะเลและภูเขาโอบล้อม จึงทำให้รับอิทธิพลของลมมรสุม
แบ่งออกเป็น 3 ฤดู
ฤดูหนาว เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ช่วงเดือนพ.ย.-ก.พ. อากาศไม่หนาวมากนัก
อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน เป็นช่วงระหว่างเดือน มี.ค.-เม.ย. อุณหภูมิโดยเฉลี่ยไม่เกิน 34
องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เกิดจากอิทธิพลลมมรสุมตัวันตกเฉียงใต้พัดผ่านทะเลอ่าวไทย ในช่วงเดือน
พ.ค.-ต.ค ของทุกปี ทำให้มีฝนตกชุกในเกือบทุกพื้นที่
โดยเฉลี่ยจะมีปริมาณน้ำฝน 4,000 มม.ต่อปี
เกาะหมาก หรือ Koh Mak
เป็นเกาะขนาดใหญ่ อยู่ระหว่างเกาะช้างกับเกาะกูด ห่างจากฝั่งประมาณ 38
กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,000 ไร่ มีรูปร่างคล้ายดาวสี่แฉก
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสวนมะพร้าว โดยรอบมีอ่าว ชายหาดที่สวยงาม
และน้ำใสสะอาดหลายแห่ง เช่น บริเวณอ่าวตานิด อ่าวไผ่ อ่าวโปร่ง อ่าวผาด
อ่าวแดง อ่าวส่วนใหญ่
บริเวณชายฝั่งรอบเกาะและเกาะใกล้เคียงพบแนวปะการังที่สมบูรณ์ และสวยงาม
บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย
ช่วงฤดูท่องเที่ยวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤษภาคม
ชุมชนดั้งเดิมบนเกาะหมากส่วนใหญ่เป็นเขมรเชื้อชาติไทยที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อครั้งเมืองประจันตคีรีเขตร
หรือเกาะกงเป็นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2447 โดยมีหลวงพรหมภักดี
ต้นตระกูลตะเวทิกุล เป็นผู้ควบคุมคนจีนบนเกาะกง
คนบนเกาะส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน มีอาชีพเกษตรกรรมทำสวนยางพารา
และสวนมะพร้าว
จนเกาะหมากได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวที่สำคัญของจังหวัดตราด
บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย
เดินทางไปเกาะกูด
รถยนตร์ ขับรถไปเองเลือกได้ 2 เส้นทาง
1. จากกรุงเทพใช้ทางหลวงหมายเลข 3 (บางนา-ตราด)
ผ่านชลบุรี ระยอง จันทบุรี เลยไปจนถึงจังหวัดตราดรวมระยะทางทั้งสิ้น
385 กิโลเมตร
2. จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงหมายเลข3
(บางนา-ตราด)เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง หมายเลข 344(ชลบุรี-บ้านบึง-แกลง)
เมื่อถึงอำเภอแกลง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข3
ผ่านจังหวัดจันทบุรีจนถึงจังหวัดตราด รวมระยะทาง 315 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง
การเดินทางไปจังหวัดตราดสามารถเลือกขึ้นรถได้ทั้งสถานขนส่งเอกมัยและสถานีขนส่งหมอชิตใหม่
บริษัทโชคอนุกูลได้ชื่อว่าบริการดี แต่มีรถให้บริการน้อย
ต่างจากบริษัทสหมิตรเชิดชัยทัวร์ รถออกทุกๆชั่วโมง
และบริษัทศุภรัตน์ทัวร์นอกจากรถปรับอากาศชั้น 1 และรถปรับอากาศ VIP
จะเลือกบริษัทไหนก็ตามแต่ชอบ
บริษัท ขนส่ง จำกัด
กรุงเทพฯ-ตราด รถออกตั้งแต่เวลา 06.00-24.00น.
โทรศัพท์ 0-2391-8097 ,0-2382-2098
ตราด-กรุงเทพฯ รถออกตั้งแต่เวลา 06.30-17.30น.โทรศัพท์ 0-3951-1986
บริษัท โชคอนุกูล
กรุงเทพฯ(เอกมัย)-ตราด รถออกเวลา 14.00น. และ
23.30น.โทรศัพท์ 0-23924-7680
ตราด-กรุงเทพฯ(เอกมัย) รถออกเวลา 06.30 และ 23.30น.โทรศัพท์
0-3951-1208
บริษัทเชิดชัยทัวร์
กรุงเทพฯ(เอกมัย)-ตราด
รถออกตั้งแต่เวลา06.00-23.00น.โทรศัพท์ 0-2931-2237
ตราด-กรุงเทพฯ(เอกมัย) รถออกตั้งแต่เวลา07.00-23.30น.โทรศัพท์
0-3951-1062
กรุงเทพฯ(หมอชิต) โทรศัพท์ 0-2936-0199
บริษัท ศุภรัตน์ทัวร์
กรุงเทพฯ(เอกมัย)-ตราด
รถออกตั้งแต่เวลา08.30-22.30น.โทรศัพท์ 0-2391-2331
กรุงเทพฯ(หมอชิต)-ตราด รถออกตั้งแต่เวลา06.00-23.00น.โทรศัพท์
0-2936-3388
ตราด-กรุงเทพฯ(เอกมัย) รถออกตั้งแต่เวลา08.30-23.00น.โทรศัพท์
0-3951-1481
ตราด-กรุงเทพฯ(หมอชิต)รถออกตั้งแต่เวลา08.30-23.00น.โทรศัพท์
0-3951-1481
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.kohmakisland.com
แผนที่เกาะกูด เกาะหมาก