ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีความหมายว่า "แผ่นดินทอง" โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อนี้ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)
เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
วันพฤหัสบดี ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2548 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการเปิดทดลองใช้สนามบินเป็นครั้งแรก โดยมีกำหนดใช้งานจริงในราวกลางปี หรือปลายปี พ.ศ. 2549
ท่าอากาศยานฯ มีพื้นที่ 20,000 ไร่ ตั้งอยู่ที่ถนนบางนาตราด ประมาณกิโลเมตรที่ 15 อยู่ในเขตตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันออก 25 กิโลเมตร
สารบัญ
1 วาระแห่งชาติ
2 รายละเอียดภายใน
2.1 ระบบทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยาน
2.2 อาคารผู้โดยสาร
2.3 อาคารจอดรถ
2.4 ระบบสาธารณูปโภค
2.5 ระบบบริการคลังสินค้า
2.6 ระบบโภชนาการ
2.7 โรงซ่อมบำรุงอากาศยาน
2.8 ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ
2.9 โรงแรมและบริการ
3 ปัญหาการก่อสร้าง
3.1 ปัญหาทางเทคนิค
3.2 ปัญหาการทุจริต
4 ลิงก์ภายนอก วาระแห่งชาติ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานนานาชาติขนาดใหญ่ ที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาความเจริญด้านเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว และด้านอื่น ๆ ของประเทศเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงกำหนดให้ (การก่อสร้าง) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องร่วมกันดำเนินการแบบบูรณาการ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย
ตามนโยบายของรัฐบาล ได้กำหนดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ และจะเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ รายละเอียดภายใน
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ ที่พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ได้แก่ ระบบทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยาน
ทางวิ่ง มี 2 เส้น กว้างเส้นละ 60 เมตร ยาว 3,700 เมตร และ 4,000 เมตร ห่างกัน 2,200 เมตร มีทางขับขนานกับทางวิ่งทั้ง 2 เส้น ให้บริการขึ้น-ลง ของอากาศยานได้พร้อมกัน และเมื่อพัฒนาจนสมบูรณ์แล้ว จะมีทางวิ่งทั้งหมด 4 เส้น เป็นทางวิ่งข้างละ 2 เส้นขนานกัน
หลุมจอดอากาศยาน มีจำนวน 120 หลุมจอด (จอดประชิดอาคาร 51 หลุมจอด และจอดระยะไกลอีก 69 หลุมจอด) ในจำนวนนี้มีการเตรียมหลุมจอดอากาศยานขนาดใหญ่ไว้ด้วย จำนวน 5 หลุมจอด อาคารผู้โดยสาร
อาคารผู้โดยสารเป็นอาคารเดี่ยว มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 563,000 ตารางเมตร อยู่ทางทิศเหนือของท่าอากาศยาน รองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี ภายในอาคารมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น จุดตรวจบัตรโดยสาร 360 จุด จุดตรวจหนังสือเดินทาง ขาเข้า 124 จุด / ขาออก 72 จุด. โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยแบบ 100% Hold Baggage In-line Screening System นอกจากนี้ยังมีสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอยู่ใต้อาคารอีกด้วย อาคารจอดรถ
อาคารจอดรถมี 2 อาคาร แต่ละอาคารสูง 5 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสาร สามารถรองรับรถยนต์ได้ถึง 5,000 คัน นอกจากนี้ยังมีที่จอดรถบริเวณอื่นๆ รวมทั้งหมดกว่า 15,677 คัน ระบบสาธารณูปโภค
ระบบป้องกันน้ำท่วม มีการสร้างเขื่อนดินสูง 3.5 เมตร กว้าง 70 เมตร โดยรอบพื้นที่ท่าอากาศยาน และมีอ่างเก็บน้ำภายใน 6 แห่ง ซึ่งสามารถรองรับน้ำได้ 3.2 ล้านลูกบาศก์เมตร
ระบบน้ำประปา เชื่อมต่อกับระบบประปาของการประปานครหลวง และมีถังน้ำประปาสำรองขนาด 40,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถสำรองน้ำประปาไว้ใช้ได้ 2 วัน
สถานีแปลงไฟฟ้าย่อย เป็นสถานีแปลงไฟฟ้าเพื่อลดแรงดันไฟฟ้าจาก 115 กิโลโวลท์ ให้เหลือ 24 กิโลโวลท์ มีจำนวน 2 สถานี เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้แก่ทุกระบบภายในท่าอากาศยาน
ระบบบำบัดน้ำเสีย สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 16,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ระบบจัดเก็บกากของเสีย สามารถกำจัดกากของเสียได้ประมาณ 100 ตันต่อวัน ระบบบริการคลังสินค้า
คลังสินค้ามีพื้นที่ให้บริการประมาณ 568,000 ตารางเมตร และมีการให้บริการแบบเขตปลอดพิธีการศุลกากร (Free Zone) ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ซึ่งรองรับสินค้าได้ 3 ล้านตันต่อปี ระบบโภชนาการ
ระบบโภชนาการสามารถผลิตอาหาร ให้แก่สายการบินต่างๆ ได้ 100,000 ชุดต่อวัน โรงซ่อมบำรุงอากาศยาน
โรงซ่อมบำรุงอากาศยานมีจำนวน 2 โรง สามารถจอดอากาศยานขนาดใหญ่ เช่น แอร์บัส เอ 380 ได้ ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ
ศูนย์ควบคุมฯ มีหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก (132.2 เมตร) พร้อมระบบวิทยุสื่อสาร ระบบติดตามอากาศยาน และระบบนำร่องอากาศยานที่ทันสมัย โรงแรมและบริการ
โรงแรมตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร ในระยะแรกมีจำนวน 600 ห้อง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นอกจากนี้ภายในท่าอากาศยาน จะมีการบริการต่างๆ มากมาย เช่น ศูนย์บริการรถเช่า ร้านค้า ภัตตาคาร สถานีเติมน้ำมัน ฯลฯ ปัญหาการก่อสร้าง
ปัญหาทางเทคนิค ในการก่อสร้างช่วงแรก พบปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่การก่อสร้าง
|