วัดโปรดเกศเชษฐาราม ที่ตั้ง
อยู่ตรงข้ามกับวัดไพชยนต์พลเสพ
ประวัติความเป็นมา
วัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นอารามหลวงชั้นตรี อยู่ ตรงข้ามกับวัดไพชยนต์พลเสพ
ผู้สร้างวัดนี้ คือพระยาเพชรพิไชย (เกตุ) ผู้ เป็นต้นสกุล "เกตุทัต"
ซึ่งเป็นบุตรของพระ ยาเพชรพิไชย (หง) ผู้เป็นต้นสกุล " หงสกุล" สร้างเมื่อปีมะเมีย
พ.ศ. ๒๓๖๕ ชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดปาก คลอง" เพราะอยู่ใกล้กับปากคลองลัดหลวง
วัดนี้ได้รับพระราชทานชื่อว่าอะไร เมื่อ ไร ไม่มีหลักฐานยืนยัน นอกจากสันนิษฐานว่า
คงจะเป็นในสมัยรัชกาลที่ ๓ เพราะการ สร้างวัดในสมัยนั้นเป็นพระราชนิยมอย่างยิ่ง
จนมีคำกล่าวว่า "พระเจ้าแผ่นดินรัช กาลที่ ๑ ทรงโปรดคนเป็นนักรบ รัชกาล ที่ ๒
ทรงโปรดคนเป็นกวี รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดคนสร้างวัด" สมัยนั้นจึงมีคน
นิยมสร้างวัดกันเป็นจำนวนมาก วัดใดที่สร้าง อยู่ในเกณฑ์ก็ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง
วัดโปรดเกศฯก็คงเป็นพระอารามหลวงในยุค นั้น ส่วนชื่อวัดคงยังหาหลักฐานไม่ได้
ว่าได้รับพระราชทานเมื่อไร ชื่อวัดจึง มีการเขียนขึ้นหลายแบบ เช่น
วัดโปรดเกตุเชษฐาราม , วัดโปรดเกษเชษฐาราม
วัดโปรดเกศเชฏฐาราม , วัดโปรดเกศเชษฐาราม
เรื่องการเขียนชื่อวัดนี้ คงจะเขียนขึ้นตาม ความเข้าใจโดยยึดในความหมายที่ว่า ผู้
สร้างวัดนี้เป็นพระพี่เลี้ยง คำว่า "เชฏฐ " เป็นชื่อของเดือน ๗
ตามจันทรคติและยังแปล ว่า "พี่" หรือ "ผู้เจริญที่สุด" ตามภาษาบาลี ภาษาไทยเขียนว่า
"เชษฐ" หรือ "เชษฐา"
ในการก่อสร้างวัดโปรดเกศฯครั้งแรก ปรากฏว่า มีเพียงพระอุโบสถ พระวิหารการเปรียญ
พระเจดีย์ใหญ่ ๒ องค์ และหอระฆัง และเสนาสนะ ที่อยู่ของ สงฆ์อีกสองคณะ
ภายในบริเวณพระอุโบสถและพระ วิหารปูด้วยกระเบื้องหน้าวัว
ในบริเวณระหว่างพระอุโบสถกับ พระวิหารก็ปูกระเบื้องหน้าวัวทั้งสิ้น มีแท่นสำหรับ
นั่งเล่นสามแท่น ก่ออิฐ ถือปูน พื้นปูด้วย หินอ่อน
ส่วนมณฑปนั้นทราบว่ายังสร้างไม่เสร็จ และคงจะสำเร็จในยุคต่อมา
ในสมัยพระปัญญาพิศาลเถร (สุก) เป็นเจ้า อาวาส
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ พระราชทานพระราชทรัพย์ให้พระยาเพชรพิ ไชย
(เกตุ) มาสร้างกุฏิอีกคณะหนึ่งแถบ ริมคลองลัดหลวงและได้สร้างหอสวดมนต์ ๑ หลัง หอฉัน
๑ หลัง กับกุฏิอีก ๗ หลัง สร้าง แบบฝากระดานไม้สัก มุงด้วยกระเบื้องไทยทั้งสิ้น
ในสมัยพระครูวินยาบูรณาจารย์ (คำ) เป็นเจ้าอาวาส พระยาเพชรพิไชย (หนู) บุตรพระยาเพชรพิไชย
(เกตุ) ได้สร้าง และปฏิสังขรณ์ผนังพระอุโบสถหลังใหม่และเขียนลานเพดาน
เพราะเดิมไม่ได้เขียนไว้ กับได้ปฏิสังขรณ์พระพุทธ ไสยาสน์ในพระวิหาร
สร้างเขื่อนรอบสระพระมรฑป เพราะ ของเดิมสร้างไว้เป็นเขื่อนไม้ และยังได้ปฏิสังขรณ์
อย่างอื่นอีกมากมายทั่วทั้งพระอาราม
ความสำคัญต่อชุมชน
ในสมัยนี้วัดเป็นที่นิยมในการศึกษาหา ความรู้ของชาวบ้านและเป็นหลายๆอย่างที่ชาว
บ้านต้องการเช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ศาลสถิตยุติธรรม วัดโปรดเกศฯก็มีพร้อมทุกประการ
พระสงฆ์มี หน้าที่ช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องต่างๆกัน เช่น
พระต้องเป็นหมอรักษาโรคทางใจ คือ สอนธรรมะ รักษาโรคทางกาย คือหมอยาแผนโบราณ นอกจาก
นี้ยังเป็นหมอดูรักษาศรัทธาและความสบายใจ แก่ชาวบ้าน เช่น เป็นผู้ให้ฤกษ์ยาม
เป็นผู้ พิพากษาคดีเล็กๆน้อยๆ เป็นต้น
|