ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดสมุทรปราการ > ป้อมพระจุลจอมเกล้า / Phra Chulachomklao Fortress 

ป้อมพระจุลจอมเกล้า/ Phra Chulachomklao Fortress

 

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปจาก http://www.navy.mi.th/activity/tourism.htm 

  :: ประวัติป้อมพระจุลจอมเกล้า ฐานทัพเรือกรุงเทพ

ป้อมพระจุลจอมเกล้า มีหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย และการป้องกันพื้นที่ รวมทั้งการดำเนินงานเกี่ยวกับงานธุรการ การกำลังพล การยุทธการและ
ข่าว การเงิน และกิจการพิเศษ ตลอดจนประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ และ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง มีสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่และดูแล ดังนี้

- สะพานชมป่าชายเลน
- อุทยานประวัติศาสตร์
- เกาะผีเสื้อ
- พิพิธภัณฑ์ เรือหลวงแม่กลอง
- อนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5
- ป้อมนาคราช
- ป้อมปืนเสือหมอบ
- ร้านอาหารท้ายเรือ


:: ป่าชายเลน
ป้อมพระจุลจอมเกล้า ได้จัดสร้างสะพานชมป่าชายเลนขึ้นเมื่อ ๒๔ ธ.ค.๔๒ ซึ่งสะพานนี้สามารถใช้เดินชมนก ชมปู ปลาได้หลาย ๆ ชนิด ทั้งขณะที่ทะเลท่วมถึง และทั้งทะเลลดลง ตลอดจนได้พบภาพรากไม้ที่ยึดติดดินโผล่ขึ้นมาอย่างสวยงาม (ภาพหนังสือรอยอดีตที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า) สะพานแห่งนี้ทอดยาวไปในพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณริมเขื่อนกั้นน้ำเก่าแก่ รวมยาวประมาณ ๓๐๐ เมตร มีประชาชนเข้าเยี่ยมชมทุกวัน โดยเฉพาะวันหยุดราชการจะมีผู้ไปเยี่ยมชมมากพอสมควร



อุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือป้อมพระจุลจอมเกล้า
ภายหลังจากที่มีการบูรณะป้อมพระจุล และก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสร็จสิ้นลงแล้ว ได้มีประชาชนและผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมสถานที่ และสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ ฯ เป็นจำนวนมาก กองทัพเรือดำเนินการพัฒนาพื้นที่บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า และเร่งรัดซ่อมแซม
ปรับปรุงเสือหมอบ และจัดทำพื้นแสดงวิวัฒนาการของทหารเรือไทยในการป้องกันประเทศ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านภูมิสถาปัตย์และประวัติศาสตร์ ตลอดจนด้านการท่องเที่ยวเข้าร่วมหารือ เพื่อกำหนดแนวความคิดในการนำ อาวุธเก่าแก่มาตั้งแสดงในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ – อาวุธกลางแจ้ง บนพื้นที่ด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ ฯ โดยใช้ชื่อว่า "อุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือป้อมพระจุลจอมเกล้า"


เกาะผีเสื้อหรือป้อมผีเสื้อสมุทร
เกาะผีเสื้อหรือป้อมผีเสื้อสมุทร ได้สร้างขึ้นในสมัยของรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ร.๒ ใน พ.ศ.๒๓๖๒ เริ่มก่อสร้างนั้น ได้ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กับเจ้าพระยาคลัง เป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง โดยสร้างตัวป้อมผีเสื้อสมุทรมีกำแพงป้อม ๒ ชั้น ต่อมาเมื่อถึงพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นครองราชย์ เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๓ และต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๘๘ พระองค์ได้ทรงมีพระราชดำริให้ปรับปรุงตัวป้อมผีเสื้อสมุทรใหม่ โดยรื้อกำแพงทางด้านนอกออก แล้วสร้างเป็นกำแพงปีกกาขยายออกทั้งสองด้าน

จนมาถึง พ.ศ.๒๔๓๖ ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ขึ้นครองราชย์ ได้ทรงปรับปรุงตัวป้อมปืนขึ้นโดยการถอดปืนโบราณออก แล้วติดตั้งปืนใหญ่ขนาดลำกล้อง ๖ นิ้ว จำนวน ๓ กระบอก ซึ่งพระองค์ได้สั่งซื้อมาจาก ประเทศอังกฤษจำนวน ๑๐ กระบอก และได้ติดตั้งที่ป้อมพระจุล จำนวน ๗ กระบอก เป็นปืนเสือหมอบกึ่งอัตโนมัติ


ปัจจุบันนี้ ป้อมผีเสื้อสมุทรมีปืนขนาด ๖ นิ้ว อยู่ ๒ กระบอก และอีก ๑ กระบอกนั้น ทางสถานีทหารเรือสัตหีบ (ปัจจุบันเป็นฐานทัพเรือสัตหีบ) ได้นำไปติดตั้งที่เกาะพระ จำนวน ๑ กระบอก ในสมัยของ รัชกาลที่ ๕ นั้นถือว่าป้อมพระจุลและป้อมผีเสื้อสมุทรในยุคนั้นเป็นป้อมที่ทันสมัยที่สุด เพราะมีปืนใหญ่บรรจุกระสุนทางท้ายปืนและเป็นปืนกึ่งอัตโนมัติรุ่นแรกของป้อม

ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ ป้อมผีเสื้อสมุทรได้สร้างอาคารใหม่เป็นคลังเก็บทุ่นระเบิดที่รับมาจากประเทศเดนมาร์ก และในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ได้เปลี่ยนมาเป็นคลังเก็บวัตถุระเบิดและดอกไม้เพลิงขึ้นอยู่กับการดูแลของกรมสรรพาวุธทหารเรือ

ในปี พ.ศ.๒๕๒๙ กรมสรรพาวุธทหารเรือได้โอนการดูแลให้มาอยู่กับสถานีทหารเรือกรุงเทพ (ปัจจุบันเป็นฐานทัพเรือกรุงเทพ)


พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง 
ได้ขึ้นระวางเป็นพิพิธภัณฑ์ ณ บริเวณริมน้ำปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ใกล้กับพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๕ อยู่ในความดูแลของป้อมพระจุลจอมเกล้า ร.ล.แม่กลองมีอายุการใช้งานของกองทัพเรือนานถึง ๖๐ ปี จัดอยู่ในประเภทเรือสลุป สังกัดกองเรือฟริเกตที่ ๑ กองเรือยุทธการ เป็นเรือรบที่เก่าแก่เป็นอันดับ ๒ ของโลก ปัจจุบันกองทัพเรือจัดเป็นเรือพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชน และหน่วยงานต่าง ๆ เข้าเยี่ยมชม โดยเฉพาะมีนักเรียน นักศึกษา เข้าเยี่ยมชมปีละหลายพันคน

 


อนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๕ 
นอกเหนือจากการปรับปรุงเสริมสร้างอาณาบริเวณ โดยรอบป้อมพระจุลจอมเกล้าให้กลับมามีสภาพสมบูรณ์แล้ว กองทัพเรือยังได้อนุมัติให้มีการจัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้น เพื่อเป็นราชานุสรณ์และรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีต่อประเทศชาติและปวงชนชาวไทยอย่างหาที่เปรียบมิได้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตรงกับ เหตุการณ์สำคัญยิ่ง ๒ เหตุการณ์ คือ ประการแรกเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมพระชนพรรษาสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ อีกประการหนึ่งคือ เป็นปีที่ป้อมพระจุลจอมเกล้ามีอายุครบ ๑๐๐ ปี จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะมีการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์เพื่อให้อนุชนรุ่นต่อ ๆ ไปได้สักการบูชา

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้านับเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่สง่างามยิ่งนัก โดยทรงฉลองพระองค์ในชุดจอมทัพเรือ อีกทั้งภูมิทัศน์โดยรอบแวดล้อมไปด้วยเหล่าแมกไม้นานาชนิดดูร่มรื่น เสริมสร้างให้พระบรมราชานุสาวรีย์มีความโดดเด่นและงดงามขึ้นอีกมิใช่น้อย และในทุก ๆ วันที่ ๒๓ ตุลาคมของทุกปีจะมีพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะโดยกองทัพเรือและหน่วยราชการอื่น ๆ ตลอดจนพ่อค้า ประชาชนทั่วไป เช่นเดียวกับพิธีวางพวงมาลาและถวายราชสักการะ ณ บริเวณพระบรมรูปทรงม้า

โดยในต้นปี พ.ศ.๒๕๓๕ พลเรือเอกวิเชษฐ การุณยวนิช ผู้บัญชาการทหารเรือได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการโครงการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” โดยมีพลเรือโท ปรีชา สงวนเชื้อ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือ ฝ่ายยุทธบริการเป็นประธานกรรมการ เพื่อพิจารณาถึงรูปแบบตำบลที่จัดสร้าง ประสานการดำเนินงานในรายละเอียดกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนโครงการของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ซึ่งมี ศ.ดร.สุนทร เสถียรไทย ประธานกรรมการบริหารธนาคารแหลมทอง จำกัดในขณะนั้นเป็นประธานกรรมการอำนวยการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้


พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์ เครื่องแบบเต็มยศจอมพลเรือสวมพระมาลา มีขนาดสูง ๔.๒๐ เมตรหรือ ๒ เท่าครึ่งของพระองค์จริง ส่วนฐานของพระบรมรูปมีขนาด ๙๓๕ ตารางเมตร ออกแบบโดยอาจารย์เสวต เทศน์ธรรม จากมหาวิทยาลัยศิลปากรและวิศวกรจากกองทัพเรือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นถึงความสืบเนื่องกับศิลปกรรมของป้อมพระจุลจอมเกล้า และเพื่อเป็นการอนุรักษ์เค้าโครงของสภาพแวดล้อมทางศิลปกรรมและประวัติศาสตร์ ตามแนวพระราชดำริขององค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีในเรื่องการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมทั่วไป โดยใต้ฐานของพระบรมรูปได้จัดเป็นห้องโถง ไว้ภายในเพื่ออำนวยประโยชน์สำหรับกิจการต่าง ๆ ของกองทัพเรือ และจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวประวัติความเป็นมาของป้อมพระจุลจอมเกล้า โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการทั้งสิ้นประมาณ ๓๒ ล้านบาท พร้อมกันนั้นคณะกรรมการ ฯ ได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นองค์ประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ และสมเด็จพระญาณสังวรสกลมหาสังฆปรินายกเสด็จไปทรงประกอบพิธีเท ทองหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ หลังจากนั้นได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบรมรูปขึ้นประทับฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ และในเวลาต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีมาทรง เป็นประธานในพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้


ป้อมนาคราช 
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการสร้างป้อมที่เมืองสมุทรปราการ ตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีประมาณ ๒๑ ป้อม ทั้งนี้มีเป้าหมายที่ไทยเราเฝ้าระวังป้องกันข้าศึกที่มาจากญวนและชาติตะวันตก พื้นที่ที่ใช้ในการสร้างป้อมปราการจะอยู่เรียงราย ๒ ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระสมุทรเจดีย์จนถึงท้องที่อำเภอพระประแดงในปัจจุบัน

ป้อมนาคราช เป็นป้อมหนึ่งที่สร้างขึ้นเป็นกำแพงป้อมจะหนากว่าป้อมอื่น เพราะดินถูกน้ำทะเลเซาะ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๕ อยู่ฝั่งขาวของแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันมีซากแนวกำแพงให้เห็น แนวกำแพงอยู่ตั้งแต่บริเวณโรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์ เรื่อยมาจนถึงบริเวณบ้านพักครูและบ่อเลี้ยงปลาที่ชาวบ้านเข้ามาทำมาหากินอยู่ บ้านบางหลังสร้างอยู่ในแนวกำแพงเดิม ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าเคยมีการขุดพบปืนใหญ่โบราณแช่น้ำอยู่หลายกระบอก และในหน้าแล้งถ้าถางป่าออกหมดจะเห็นแนวกำแพงป้อมเป็นระยะทางหลายร้อยเมตรแต่ไม่ต่อเนื่องกัน ได้รับการดูแลจากโรงเรียน กองทัพเรือและกรมศิลปากรป้อมเป็นเครื่องเตือนใจว่า “ยามสงบ ถ้าไม่เตรียมรบให้พร้อมสรรพ เราจะพ่ายแพ้อริราชศัตรู”


ป้อมปืนเสือหมอบ 
เป็นปืนประจำป้อมพระจุลจอมเกล้า มีลักษณะเป็นปืนหลุม ๗ หลุม ปืนแต่ละกระบอกมีขนาด ๑๒๕/๓๒ มิลลิเมตร ความกว้างปากกระบอก ๑๕๒ มิลลิเมตร ลำกล้องยาว ๔.๘๖๔ เมตร หรือ ๓๒ เท่าของส่วนกว้างปากกระบอกหนัก ๕ ตัน และมีระยะยิงไกลสุด ๘.๐๔๖ เมตร โดยปืนมีสมรรถนะสูงทั้ง ๗ กระบอกนี้ได้สั่งมาจากบริษัท เซอร์ดับบลิวจีอาร์มสตรอง จำกัด ประเทศอังกฤษ ถือเป็นปืนใหญ่บรรทุกท้ายรุ่นแรกที่มีใช้ในกองทัพเรือ

 


ร้านอาหารท้ายเรือ
 จัดสร้างขึ้นโดยป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งเดิมทีบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.๕ ไม่มีสถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด ต่อมาเมื่อมีการสร้างพระบรมราชานุสวรีย์ ร.๕ มีบุคคลภายนอกหน่วยเข้ามาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก ดังนั้นป้อมพระจุลจอมเกล้าจึงได้จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ จนถึง พ.ศ.๒๕๔๗ ทร.จึงได้อนุมัติให้จัดสร้างอาคารเอนกประสงค์แทน เปิดใช้เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน

 


ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://phrasamutchedi.com 

  ป้อมพระจุลจอมเกล้า"  หรือที่นิยมเรียกขานกันโดยทั่วไปว่า  “ป้อมพระจุลฯ” ตั้งอยู่บริเวณริมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลแหลมฟ้าผ่า  อยู่ห่างจากแยกพระสมุทรเจดีย์ ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ประมาณ ๖ กิโลเมตร  

   ป้อมพระจุลฯ เป็นป้อมที่ทันสมัย   และมีบทบาทสำคัญยิ่งในการปกป้องอธิปไตยของชาติ  ซึ่งเป็นที่ทำการยิงต่อสู้กับอริราชศัตรูมาแล้วครั้งหนึ่ง    เมื่อ  ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖)  เป็นป้อมที่จารึกอยู่ในความทรงจำของคนไทย และประวัติศาสตร์ชาติไทย  เพราะในสมัยนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชปรารถว่า ประเทศอังกฤษและ ฝรั่งเศสกำลังแสวงหาเมืองขึ้นบรรดาประเทศต่างๆ ที่อยู่ติดเขตแดนไทย พระองค์จึงทรงหาวิธีป้องกันต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันทางน้ำ   ทรงเห็นว่าป้อมต่างๆ ที่เมืองสมุทรปราการ ล้วนแล้วแต่เป็นป้อมเก่าล้าสมัยและชำรุดทรุดโทรมมาก  อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถใช้ในการป้องกันบ้านเมืองได้   จึงทรงมีพระราชโองการให้ปรับปรุงและซ่อมแซมป้อมต่างๆ ขึ้น และทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้จัดสร้างป้อมที่ทันสมัยขึ้นอีกแห่งหนึ่งเป็นการเร่งด่วน   โดยจ้างชาวต่างประเทศที่ชำนาญการทหารเรือเป็นที่ปรึกษาวางแผนในการปรับปรุงกิจการทหารเรือ  ในครั้งนั้นด้วย

           ป้อมพระจุลฯ ถูกจัดสร้างขึ้นต้นปี พ.ศ.๒๔๒๗  แล้วเสร็จลงเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๓๖  และเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายนในปีเดียวกันนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยเรือพระที่นั่งมหาจักรีเพื่อทอดพระเนตรป้อม  ทรงทดลองยิงปืนป้อมด้วยพระองค์เองและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อป้อมแห่งนี้ว่า “ป้อมพระจุลจอมเกล้า”  ดังความในพระราชหัตถเลขาที่มีถึง   เสนาบดีตอนหนึ่งว่า 

           "แต่มีความกำเริบทะเยอทยานอยู่อย่างหนึ่งซึ่งได้กล่าวไว้แล้วเก้าปักษ์เดือนล่วงมาว่า  ป้อมนี้ได้สร้างขึ้นใหม่ในแผ่นดินปัจจุบันนี้   อยากจะให้ชื่อป้อมจุฬาลงกรณ ฤๅพระจุลจอมเกล้า  คล้ายกับป้อมทั้งปวงซึ่งเขาใช้ชื่อเจ้าแผ่นดินมีอยู่บ้าง  เช่น ฟอตวิลเลี่ยม เมืองกัลกัตตา เป็นต้น  ทั้งครั้งนี้จะได้สำเร็จเพราะทุนรอนซึ่งฉันจะอุดหนุนดังนี้  ก็ยิ่งมีความปรารถนากล้า  ถ้าท่านทั้งปวงเหนสมควรแล้ว  ขอให้เลือกนามใดนามหนึ่งเปนชื่อป้อมนี้  ให้เปนที่ชื่นชมยินดี แลเปนชื่อเสียงของฉันติดอยู่สืบไปภายน่า"

           ภายในบริเวณป้อมพระจุลฯ  ยังมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับยืนเด่นเป็นสง่า  อยู่บริเวณหน้าป้อมปืน  และนอกจากนั้นยังมีศาลพระนเรศนารายณ์ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ป้อมพระจุลฯแห่งนี้เปิดให้เข้าชมทุกวันโดยไม่เสียค่าเข้าชมใดๆ ทั้งสิ้น

           พระบรมราชานุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖  ความสูงทั้งหมด ๑๗.๕๐ เมตร  ขนาดพระบรมรูปสูง ๔.๒ เมตร  หรือสองเท่าครึ่งของพระองค์จริง  ฉลองพระองค์ในชุดจอมทัพเรือ


  พระบรมรูปจำลอง  หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์

 

  
เรือหลวงแม่กลอง  ปลดระวางแล้วจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์

 

  
ทางเข้าบริเวณที่ตั้งปืนเสือหมอบและหินจารึก

 

  
ปืนหลุมหรือปืนเสือหมอบ (Disappearing gun)

 ปืนประจำป้อมพระจุลฯ  มีลักษณะเป็นปืนหลุมจำนวน  ๗  หลุม แต่ละกระบอกมีขนาด ๑๒๕/๓๒  มิลลิเมตร ความกว้างปากกระบอก ๑๕๒ มิลลิเมตร  ลำกล้องยาว ๔.๘๖๔ เมตร  หนัก ๕ ตัน  มีระยะยิงไกลสุด ๘,๐๔๖ เมตร โดยสั่งมาจากบริษัท เซอร์ดับบลิวจีอาร์มสตรอง จำกัด> (Sir W.G. Armstrong &Co,)  ประเทศอังกฤษ  ถือเป็นปืนใหญ่บรรจุท้ายรุ่นแรกที่มีใช้ในกอบทัพเรือ  จึงทำให้ป้อมปืนแห่งนี้มีความทันสมัยที่สุดในขณะนั้น

           สำหรับประวัติศาสตร์ของการสร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า   ในระยะหลังโดยเงินพระราชทางจากพระคลังข้างที่นั้น  ได้มีจารึกไว้ที่หน้าป้อมเป็นประจักษ์พยานปรากฎไว้ว่า  “ศุภมัสดุ  ลุรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒ เมษายนมาศ  ทสมทินประวัติสะสิวาร  บริเฉกกำหนดพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์   บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชวิวงษ์วรุตพงษ์บริพัตร  วรขัตติยราชนิกโรดม  จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ  บรมธรรมมิกราชมหาราชา  บรมนาถบพิตรพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”

บุคคลสำคัญที่เป็นกำลังสำคัญในการก่อสร้างและติตั้งปืนที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า

๑. พลเรือโทกรมหมื่นปราบปรปักษ์   เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น  พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ
๒. พลเรือโทพระยาชลยุทธโยธิน  (Aodre Du Plessus De Richelieu) เป็นชาวเดนมาร์คซึ่งในขณะนั้นยังมียศเป็น พลเรือจัตวา เป็นรองผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นผู้ดำเนินการสั่งปืนใหญ่อาร์มสตรอง
๓. นาวาเอกพระชำนิกลการ  เมื่อครั้งมียศเป็นนายพันตรีสมบุญ (บุญยะกะลิน)  เจ้ากรมโรงงานเครื่องจักร
๔. พลเรือโทพระยาวิจิตรนาวี  เมื่อครั้งเป็น นายวิลเลี่ยม (บุญยะกะลิน)  ซึ่งเพิ่งสำเร็จการศึกษาวิชาช่างกลจากประเทศอังกฤษ  เป็นผู้ควบคุมการติดตั้งปืนใหญ่ประจำป้อม
๕. ร้อยเอกฟอนโฮลต์  (C Von Holck)  ซึ่งเป็นครูสอนวิชาปืนใหญ่  เป็นผู้บังคับการป้อมพระจุลจอมเกล้าคนแรก

ป้อมพระจุลจอมเกล้าสิ้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง  รวมทั้งปืนใหญ่ประจำป้อม  ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ บาท  หรือหนึ่งหมื่นชั่ง

 

  
              ภาพถ่ายทางอากาศ   บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า

รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวป้อมพระจุลจอมเกล้า

 
สมุทรปราการ/Information of SAMUTPRAKAN

  Phra Chulachomklao Fortress ป้อมพระจุลจอมเกล้า
This fortress, popuarly called by the people "Pom Phra Chun" was constructed during the reign of King Rama
V in the year 1893, and is located seven kilometers from Phra Samut Chedi on Suksawat Road. The Royal
Thai Navy sank a French warship, invading Thai waters, by firing from this fortress. The binoculars and the
ancient cannons are still kept in this fortress and a visit can be made with a permit issued by the Public
Relations Section, The Royal Thai Navy.

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

เว็บไซต์ท่องท่องประจำจังหวัดสมุทรปราการ แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ
อำเภอบางพลี
อำเภอพระประแดง
อำเภอพระสมุทรเจดีย์
อำเภอเมือง


เมืองโบราณ
The Ancient City
(สมุทรปราการ)


วัดอโศการาม
Wat Asokaram
(สมุทรปราการ)


สวางคนิวาส

Sawang Khani Wat
(สมุทรปราการ)


ฟาร์มจระเข้
Crocodile Farm

(สมุทรปราการ)
แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ/map of SAMUTPRAKAN

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์