ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

            จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและวรรณกรรมได้มีการกล่าวถึงชุมชนริมน้ำเจ้าพระยา ในเขตจังหวัดปทุมธานีปัจจุบันในนามสามโคก มีฐานะเป็นเมืองเล็ก ๆ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีกล่าวอยู่ในวรรณกรรมเก่าแก่คือ นิราศวัดเจ้าฟ้า ของสุนทรภู่ ได้ให้ความหมายในเชิงตำนานเมือง คล้ายคลึงกับตำนานอื่น ๆ ในภาคกลางที่กล่าวถึงพระเจ้าอู่ทอง ทรงนำทรัพย์สมบัติมาเตรียมสร้างเมืองบริเวณนี้
            จากข้อมูลทางตำนานพื้นบ้านมีอยู่ว่า เดิมมีมอญสองพี่น้อง มีอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผา ทั้งสองคนได้ช่วยกันขุดดินถมโคกให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมถึง โดยได้แยกทำเป็นสองโคกอยู่ใกล้กัน แต่ละโคกได้สร้างเตาไว้บนโคกด้วยสำหรับเผาเครื่องปั้นดินเผาต่าง ๆ กิจการของทั้งสองพี่น้องดำเนินมาด้วยดีเป็นลำดับ นิสัยของพี่น้องคู่นี้ต่างกัน คนพี่เป็นคนใจบุญโอบอ้อมอารี ซื่อสัตย์ มีความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจทำมาหากินด้วยสุจริต ได้คิดประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผาของตน ให้มีคุณภาพดีขึ้นเสมอ เป็นที่นิยมของลูกค้ามากจึงร่ำรวยขึ้น ส่วนคนน้องมีนิสัยเกียจคร้านเป็นคนหยาบผลงานที่ได้จึงไม่ดี ทำให้ฐานะมีแต่ทรงกับทรุด เกิดความคิดริษยาพี่ชายต่อมาวันหนึ่งได้รวบรวมพรรคพวกทำลายเตาเครื่องปั้นดินเผาของพี่ชายจนหมดสิ้น แต่พี่ชายก็ไม่โกรธจึงได้ไปสร้างโคกใหม่ และสร้างเตาเผาใกล้บ้านตนเอง เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา กิจการของเขาก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีก
            จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์สอดคล้องกับตำนานท้องถิ่นคือ สามโคก เป็นแหล่งเตาเผาซึ่งชาวมอญสร้างขึ้นเพื่อผลิตเครื่องปั้นดินเผา ใช้ในชุมชน และส่งไปขายตามที่ต่าง ๆ
            สามโคกเป็นชุมชนเก่าแก่ก่อนรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในสมัยอยุธยา ในกฏหมายลักษณะพระธรรมนูญว่าด้วยการใช้ตราราชการ พ.ศ.๒๑๗๕ ระบุว่าสามโคกเป็นหัวเมืองหนึ่งที่ขึ้นตรงต่อกรมพระกลาโหม
            ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการอพยพชาวมอญ ๑๑ คน ที่เป็นผู้นำการอพยพครั้งนั้นมียศศักดิ์ และโปรดเกล้า ฯ ให้ควบคุมมอญเหล่านั้น ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามโคก ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ทรงรับมอญอพยพให้เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามโคก ทำให้มีจำนวนชาวมอญเพิ่มมากขึ้น จึงได้ขยายชุมชนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ เข้าไปในแผ่นดินมากขึ้น โดยเฉพาะทางฝั่งด้านตะวันตก ได้มีการขุดคลองเพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคมเพิ่มขึ้น ส่วนพื้นที่ทางฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นป่ารกทึบ มีหนองน้ำและสัตว์ป่าอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อมีโครงการขุดคลองรังสิต ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สภาพของป่าดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นพื้นที่นาข้าว
ปทุมธานีสมัยอยุธยา - สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

            ในห้วงสมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น บริเวณเขตจังหวัดปทุมธานีมีความเกี่ยวข้องกับชาวมอญแทบทั้งสิ้น การอพยพของชาวมอญจากประเทศพม่า มายังประเทศไทยมีอยู่หลายครั้งด้วยกัน โดยทั่วไปคนไทยมักเรียกคนมอญที่อพยพเข้ามาในสมัยธนบุรีว่า มอญเก่า และเรียกคนมอญที่อพยพเข้ามากับสมิงสอดเบา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่า มอญใหม่
            สมัยอยุธยา  มีการอพยพชาวมอญเข้ามาตั้งถิ่นที่อยู่ในเมืองปทุมธานีในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา มีชาวมอญที่ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จากเมืองพม่าเป็นจำนวนมาก ชาวมอญที่มีชื่อเสียงได้แก่ พระยาเกียรติ พระยาราม และพระมหาเถรคันฉ่อง ซึ่งต่อมาได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณบ้านใหม่มะขามหย่อง บางลี่ บางขาม ปากน้ำประสบ บ้านบางเพลิง บ้านไร่ ป่าฝ้าย บ้านขมิ้น และบ้านหัวแหลม โดยเฉพาะบ้านขมิ้น ถือว่าเป็นชุมชนมอญที่มีขนาดใหญ่ และเป็นที่พำนักของพระยาเกียรติพระยาราม
            ต่อมาในปี พ.ศ.๒๑๓๖ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกกองทัพไปตีเมืองหงสาวดี  เมื่อยกทัพกลับได้กวาดต้อนครัวมอญมากรุงศรีอยุธยาด้วย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่า ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พวกมอญดังกล่าวไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ใด สันนิษฐานว่า คงให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบชานพระนคร และส่วนหนึ่งคงอยู่ร่วมกับชาวมอญที่อพยพเข้ามาครั้งแรก
            ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พวกมอญได้ก่อกบฏต่อกษัตริย์พม่าและถูกพม่าปราบปรามลงได้ ชาวมอญส่วนหนึ่งหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พม่าได้ส่งทูตมาเจรจาขอรับครัวมอญคืน แต่พระเจ้าปราสาททองทรงปฏิเสธ
            ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  พม่าทำสงครามกับจีนในปี พ.ศ.๒๒๐๓ พวกมอญที่ถูกเกณฑ์เข้าทำสงครามได้พากันหลบหนีกองทัพ พาครอบครัวจากเมืองเมาะตะมะเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ชาวมอญเหล่านั้น ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก ปลายเขตกรุงศรีอยุธยากับเขตเมืองนนทบุรี และบริเวณวัดตองปุ ชานกรุงศรีอยุธยา อพยพเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาอีกหลายครั้ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้โปรดเกล้า ฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น
            ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏหลักฐานจากคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด ได้ความว่ามีชุมชนชาวมอญอยู่หลายแห่ง กระจายตัวอยู่ในบริเวณกำแพงพระนคร กับชานพระนครรอบกรุงศรีอยุธยา ชาวมอญเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย
            สมัยธนบุรี  ได้มีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวมอญ โดยมีพญาเจ่งเป็นหัวหน้า สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ชาวมอญดังกล่าวทั้งหมด ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปากเกร็ด แขวงเมืองนนทบุรี และสามโคก  ชาวมอญที่อพยพเข้ามาในครั้งนั้นมีจำนวนถึง ๓๐,๐๐๐ คนเศษ
            สมัยรัตนโกสินทร์  มีการอพยพของชาวมอญครั้งสำคัญในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จไปรับครอบครัวมอญเหล่านั้นที่เมืองกาญจนบุรี และเจ้าฟ้าอภัยภูธร สมุหนายกไปรับครอบครัวมอญที่เมืองตาก แล้วนำครอบครัวมอญทั้งหมดมาตั้งบ้านเรือนที่แขวงเมืองปทุมธานี เมืองนนทบุรี และเมืองนครเขื่อนขันธ์ โดยให้สมิงสอดเบาเป็นพระยารัตนจักร ควบคุมดูแลชาวมอญเหล่านี้
            ในระยะแรก ๆ นั้น ชาวมอญส่วนมากจะได้รับพระบรมราชานุญาตให้ตั้งบ้านเรือนบริเวณสองฟากฝั่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะบริเวณสามโคก ต่อมาเมื่อมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจึงได้มีการโยกย้ายไปตั้งบ้านเรือนในพื้นที่รอบนอกออกไป มีการจับจองพื้นที่ดินในการเพาะปลูก
            จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในระยะเวลาต่อมาพบว่า ผู้นำชาวมอญได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากทางการไทยหลายคน เช่น สมิงวิลาสสงครามสมิงพลเพชร กับพวกอีกหกคน ได้ทำเรื่องขอจับจองที่นาตำบลคลองกระทุ่มแบน ปลายคลองวัดที่ ๓ แขวงเมือง ปทุมธานี ซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่า สมิงพระรามสิทธิกับพวกจับจองที่นา ในตำบลลาดปลาดุก แขวงเมืองปทุมธานี พระยานครอินทร์ ขอจับจองที่ดินในตำบลเชียงรากน้อย แขวงเมืองปทุมธานี พระยามหาโยธาขอจับจองที่ดินปลายคลองบ้านพร้าว มะแตง ขอจองที่นาตำบลคลองตาง แขวงเมืองปทุมธานี  พระยามหาโยธากับพวกขอจับจองที่ดินในตำบลคลองบางหลวงและเชียงรากใหญ่ เป็นต้น
            ความสำคัญชองชุมชนสามโคกปรากฏชัดเจนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสามโคกทางชลมารค เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๘ ประทับอยู่ในพลับพลาริมน้ำ ที่ปลูกอยู่ตรงข้ามกับชุมชนสามโคก ปัจจุบันคือที่ตั้งวัดปทุมทอง บรรดาชาวมอญต่างพากันมาเฝ้ารับเสด็จ และได้นำดอกบัวขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายอย่างเนืองแน่น ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริว่า เมืองสามโคกนี้มีดอกบัวเป็นจำนวนมาก เสมือนเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนแห่งนี้ จึงได้โปรดเกล้า ฯ พระราชทานชื่อเมืองใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคลว่า ปทุมธานี เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๕๘ มีฐานะเป็นเมืองตรี
            ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะเมืองนนทบุรี เมืองปทุมธานี และเมืองนครเขื่อนขันธ์ เมืองสมุทรปราการ ไปขึ้นอยู่กับเมืองพระนครบาล แขวงกรุงเทพ ฯ เพื่อสะดวกในการปกครอง
            เมืองปทุมธานีในสมัยนั้นมีกลุ่มชนเชื้อสายต่าง ๆ อยู่ห้ากลุ่มด้วยกันคือ มอญ จีน ลาว ญวน และแขก  (ต่อมาชนกลุ่มนี้รู้จักกันในนามไทยอิสลาม) ปัจจุบันยังมีการตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดปทุมธานี มีการผสมผสานกับชาวไทยจนแยกกันไม่ออก บรรดาลูกหลานของกลุ่มชนเชื้อสายต่าง ๆ ยังคงดำรงชีวิตตามรูปแบบเฉพาะของตนอยู่ โดยเฉพาะสามกลุ่มใหญ่ ๆ คือ

                ชาวมอญ  ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่กันหนาแน่นในอำเภอสามโคก ซึ่งเป็นชุมชนเดิมโดยเฉพาะที่บ้านกลาง บ้านเจดีย์ทอง บ้านบางโพธิ บ้านศาลาแดง บ้านสวนมะม่วงบน บ้านตากแดด และบ้านสะตือ เป็นต้น และมีกระจายอยู่ในเขตอำเภอเมือง เช่น ที่บ้านบางปรอก บ้านคลองพิกุล บ้านวัดหงส์ บ้านวัดโคก และบ้านปากคลองโพธิ ในเขตอำเภอลาดหลุมแก้ว มีการอยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ ในตำบลคูขวาง ตำบลระแหง ตำบลลาดหลุมแก้ว ตำบลหน้าไม้ และตำบลบ่อเงิน
                ในพื้นที่อีกสี่อำเภอที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี อำเภอลำลูกกา และอำเภอหนองเสือ พบชุมชนมอญอยู่น้อยมาก

                ชาวจีน ในเขตจังหวัดปทุมธานี มีชาวจีนอยู่สามกลุ่ม อาศัยอยู่ปะปนกันทั่วไป มีแต้จิ๋ว ไหหลำ และฮกเกี้ยน จีนแต้จิ๋วมีมากที่สุด บรรพบุรุษของคนจีนเหล่านี้ส่วนใหญ่อพยพเข้ามาประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ และอีกกลุ่มหนึ่งเข้ามาตอนหลังสงครามมหาเอเซียบูรพาสิ้นสุดลง
                การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวจีนในเขตจังหวัดปทุมธานี มีมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเฉพาะบริเวณสามโคก เป็นแหล่งแรกที่ชาวจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เพราะเป็นชุมชนเก่าเช่น ที่ตลาดบางเตย มีชาวจีนอาศัยอยู่หนาแน่น มีศาลเจ้า โรงเจ และฮวงซุ้ย (สุสานจีน) ยังมีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อในเทศกาลต่าง ๆ เช่น ตรุษจีน ไหว้พระจันทร์ ไหว้บรรพบุรุษ
                ชาวจีนสมัยก่อนจะอาศัยอยู่บนแพ และทำการค้าบนแพ อาชีพสำคัญได้แก่ ค้าขาย รับจ้าง ทำสวนผัก และงานช่างฝีมือประเภทช่างเงิน ช่างทอง
                มีชุมชนจีนเก่าแก่อีกหลายชุมชนได้แก่ ชุมชนตลาด บ้านลาดด้วน ในเขตอำเภอสามโคก ตลาดระแหง ในเขตอำเภอลาดหลุมแก้ว ตลาดเจริญผลพัฒนา และตลาดศิริวัฒนา ในเขตอำเภอเมือง ฯ  ตลาดบางขันธ์ ในเขตอำเภอคลองหลวง ตลาดปากคลอง ฯ และตลาดรังสิต ในเขตอำเภอธัญบุรี
                ชาวอิสลาม  ในสมัยอยุธยาจะเรียกชาวอิสลามรวมกันว่า แขก บางคนได้รับแต่งตั้งให้เป็นขุนนางจนถึงระดับสูง เช่น เป็นที่เจ้าพระยาบวรราชนายก เป็นต้น
            จังหวัดปทุมธานี เป็นที่อยู่อาศัยของชาวอิสลามมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอลำลูกกา ปรากฎหลักฐานว่า ชาวอิสลามเข้าอยู่อาศัยตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ชาวอิสลามเหล่านี้มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองปัตตานี และถูกนำมาอยู่ในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑลเช่นเดียวกับชุมชนบ้านครัว สี่แยกมหานาค มักกะสัน พญาไท มีนบุรี หนองจอก และที่บ้านลุมพลี บ้านหัวแหลม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการนำชาวอิสลามมาจากเมืองปัตตานี ขึ้นมาอีกและให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในตำบลท่าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว
            ที่อำเภอลำลูกกามีมัสยิดอยู่แปดแห่ง รองลงมาคือ อำเภอลาดหลุมแก้ว และมีกระจายอยู่อำเภออื่น ๆ อีก ๑ - ๒ แห่ง
ปทุมธานียุคใหม่ (สมัยรัตนโกสินทร์ - พ.ศ.๒๕๐๐)

            ในปี พ.ศ.๒๔๕๘ ได้เปลี่ยนการเขียนชื่อจังหวัดจากประทุมธานี เป็นปทุมธานี ขึ้นกับมณฑลกรุงเก่า (เปลี่ยนเป็นมณฑลอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๑) มีเขตการปกครองประกอบด้วยอำเภอบางกระดี่ (ปัจจุบันคือ อำเภอเมือง ฯ) อำเภอสามโคก และอำเภอเชียงราก (ปัจจุบันคือ อำเภอลาดหลุมแก้ว)
            ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ ให้ยุบจังหวัดธัญบุรีมาเป็นอำเภอ ในจังหวัดปทุมธานี และให้มีเขตการปกครองเพิ่มอีกสี่อำเภอคือ อำเภอธัญบุรี อำเภอลำลูกกา อำเภอหนองเสือ และอำเภอบางหวาย (ปัจจุบันคืออำเภอคลองหลวง)
            กำเนิดทุ่งรังสิต  จากการขุดคลองรังสิต เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๑ ได้เกิดการบุกเบิกที่ดินจากสภาพป่าและท้องทุ่ง มาเป็นนาข้าวอันกว้างใหญ่ไพศาล
            ชื่อทุ่งหลวงรังสิต แต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่เรียกกันว่า ทุ่งหลวง เป็นท้องทุ่งกว้างใหญ่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณทางตอนใต้ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงมาจนจรดเขตกรุงเทพ ฯ มีแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง (หรือแม่น้ำนครนายก) เป็นแนวขวา - ซ้าย กับมีคลองแสนแสบ คลองบางขนาก เป็นแนวเขตทางตอนใต้ ทำให้ท้องทุ่งบริเวณคลองแสนแสบมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ทุ่งหลวงแสนแสบ หรือทุ่งแสนแสบ เมื่อมีการขุดคลองรังสิตและคลองซอยต่าง ๆ บริเวณที่ขุดคลองใหม่เรียกว่า ทุ่งหลวงรังสิต หรือทุ่งรังสิต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะเขตทุ่งหลวงทั้งสองขึ้นเป็นเมืองใหม่คู่กันสองเมืองคือ เมืองมีนบุรี สำหรับทุ่งหลวงแสนแสบ และเมืองธัญญบุรี สำหรับทุ่งหลวงรังสิต อันหมายความว่าเป็นเมืองปลา และเมืองข้าว
            ในการขอสมัปทานขุดคลองในโครงการรังสิตคือ การขุดคลองรังสิต และคลองซอยต่าง ๆ นั้น บริษัทขุดคลองแลคูบาสยาม ได้รับสัมปทานให้ขุดคลองเป็นระยะเวลาสัมปทาน ๒๕ ปี ขุดคลองตามโครงการ ๕๙ สาย เป็นระยะทาง ๒๒,๗๗๙ เส้น หรือประมาณ ๙๑๑ กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๘๐๐.๐๐๐ - ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ ไร่ บริษัทดังกล่าวถือกำเนิดในรูปบริษัทเอกชนในปี พ.ศ.๒๔๓๑ โดยได้เริ่มขุดคลองสายแรกในตำบลบ้านใหม่ ที่ใต้เกาะใหญ่ แขวงเมืองปทุมธานี ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาไปออกแม่น้ำนครนายก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๓ เป็นคลองกว้าง ๖ วา ๖ ศอก ยาว ๑,๔๐๐ เส้น

            การตั้งถิ่นฐานของชาวนา  จากการขุดคลองรังสิต ได้มีการอพยพผู้คนจากถิ่นต่าง ๆ เข้าไปตั้งรกรากทำมาหากินในพื้นที่แห่งใหม่นี้ นับจากปี พ.ศ.๒๔๓๘ ผู้คนเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำนาอย่างเห็นได้ชัด
            การตั้งถิ่นฐานในเขตรังสิตโดยตรงได้เริ่มขึ้นหลังขุดคลองแสนแสบ และคลองประเวศบุรีรมย์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของคลองรังสิต เมื่อการตั้งถิ่นฐานของผู้คน ในเขตดังกล่าวเริ่มเต็มล้นแล้ว ผู้คนก็เริ่มอพยพเข้ามาทางตอนใต้แล้วค่อย ๆ กระจายขึ้นไปทางตอนเหนือ ในระยะก่อนที่คลองจะขุดเข้าไปก็พบว่า มีผู้คนได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่บ้างแล้ว
            แรงจูงใจที่ทำให้ชาวนาอพยพเข้าไปทำกินเป็นจำนวนมากและอย่างรวดเร็ว นอกจากเป็นผลจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจข้าว ที่ทำให้ข้าวเป็นที่ต้องการของตลาดโลกแล้ว ยังมาจากแรงผลักดันจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจในครั้งนั้น ที่กรุงเทพ ฯ ได้ขยายตัวออกไปราคาที่ดินสูงขึ้น และผลจากการเลิกทาสในปี พ.ศ.๒๔๑๕ ทำให้ทาสบางส่วนที่กลายเป็นเสรีชน และการผลักดันให้ต้องอพยพออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่

            การตั้งเมืองธัญบุรี  จำนวนประชากรที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานในเขตทุ่งรังสิต ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๔๒-๒๔๕๒ มีจำนวนประมาณ ๓๕,๐๐๐ คน จากจำนวนประชากรในกรุงเทพ ฯ มีประมาณ ๓๔๕,๐๐๐ คน และประชากรทั่วประเทศมีประมาณ ๘.๓ ล้านคน จึงทำให้มีความจำเป็นต้องตั้งเมืองธัญบุรีขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕ โดยได้สร้างเมืองขึ้นที่ตำบลระหว่างคลองซอยที่ ๖ กับที่ ๗ ทางฝั่งเหนือของคลองรังสิต พระราชทานนามเมืองว่า เมืองธัญบุรี และได้โปรดเกล้า ฯ ให้ นายพันโท พระฤทธิจักรกำจร ราชองครักษ์ประจำการ เป็นผู้ว่าราชการเมือง มีอาณาเขตทิศตะวันตกตั้งแต่ทางรถไฟนครราชสีมา ไปทางทิศตะวันออกจนถึงคลองซอยที่ ๑๔ ฝั่งตะวันออกจดแขวงเมืองนครนายกและฉะเชิงเทรา ทิศเหนือตั้งแต่คลองหกวาฝั่งใต้ พรมแดนกรุงเก่าและเมืองสระบุรีลงมาถึงทิศใต้จนพ้นเขตคลองหกวาสายล่างไป ๔๐ เส้น ตามเขตนา ริมคลองหลวงฝั่งใต้จดแขวงกรุงเทพ ฯ และเมืองมีนบุรี แบ่งออกเป็น ๔ อำเภอคือ อำเภอเมือง อำเภอคลองหลวง อำเภอหนองเสือ และอำเภอลำลูกกา
            เมืองธัญบุรี ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ ฯ ต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ จึงโอนไปสังกัดมณฑลกรุงเก่า และเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ ได้ลดฐานะเป็นอำเภอชั้นเอกขึ้นกับจังหวัดปทุมธานี
ปทุมธานียุคปัจจุบัน

            ปทุมธานีเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นต้นมา ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เริ่มจากการปรับเปลี่ยนจากการผลิตข้าว ไปสู่การเพาะปลูกพืชอื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น การทำสวนผัก สวนส้ม แตงโม และผลไม้อื่น ๆ เพื่อตอบสนองตลาดภายในประเทศและตลาดเพื่อการส่งออก
            ในขณะเดียวกันพื้นที่อีกบางส่วนได้พัฒนาไปสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑ พื้นที่ดังกล่าวได้แก่ พื้นที่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณคลองรังสิต ส่วนพื้นที่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก
            จุดเริ่มการเปลี่ยนแปลงด้านเกษตรกรรมสมัยใหม่ เกิดขึ้นเนื่องจากการสร้างเขื่อนชัยนาทในโครงการเจ้าพระยาใหญ่ ทั้งนี้เนื่องมาจาก ในช่วงหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา ข้าวไทยเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ผู้แทนองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)  ได้เสนอแนะให้ประเทศไทยทำการพัฒนาแหล่งน้ำ ในโครงการชลประทานขนาดใหญ่ ซึ่งไทยเคยมีโครงการลักษณะดังกล่าวมาแล้วในอดีตคือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางรัฐบาลไทยจึงได้เสนอโครงการกู้เงินเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ จากธนาคารโลก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕ เพื่อก่อสร้างโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ และสร้างเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ส่งผลให้พื้นที่บริเวณคลองรังสิตได้รับน้ำที่ใช้ในการเกษตรอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในบริเวณดังกล่าว

            นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๒ - ๒๕๑๗ ได้เริ่มมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนมาทำพืชไร่และพืชสวน โดยมีนายทุนจากกรุงเทพ ฯ เริ่มเข้ามาจับจองพื้นที่มากขึ้น มีการทำสวนกล้วยและสวนส้ม จนในที่สุดพื้นที่ในเขตอำเภอหนองเสือ อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี และอำเภอคลองหลวง กลายเป็นพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวาน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่เพาะปลูกรวมกันถึง ๑๕๐,๐๐๐ ไร่ ซึ่งก่อให้เกิดรายได้มากกว่าการทำนาข้าวของจังหวัดปทุมธานีทั้งหมด
            ถนนพหลโยธินที่ผ่านย่านกลางเขตจังหวัดปทุมธดานีได้มีการพัฒนาปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่สองข้างทางในเขตรังสิตเป็นย่านอุตสาหกรรมใหม่ มีการตั้งโรงงานทอกระสอบ โรงงานปั่นด้าย โรงงานทอผ้า และโรงงานอุตสาหกรรมเคมี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐ เป็นต้นมาโรงงานอุตสาหกรรมได้เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ.๒๕๓๗ มีอยู่ถึง ๑,๑๖๙ แห่ง ใช้เงินลงทุนประมาณ ๖๗,๐๐๐ ล้านบาท มีแรงงานทำงานในโรงงานประมาณ ๑๔๖,๐๐๐ คน
            ผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดปทุมธานีได้ก่อให้เกิดปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ แรงงานในภาคเกษตรได้ปรับเปลี่ยนอาชีพ มารับจ้างเป็นลูกจ้างในโรงงานอุตสหากรรม ก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิต และสภาพแวดล้อมของจังหวัดปทุมธานีอย่างมาก มีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น มีความต้องการพื้นที่อยู่อาศัยมากขึ้น พื้นที่รังสิตปัจจุบันได้รับผลกระทบทั้งทางสภาวะแวดล้อม และมลพิษต่า งๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาคุณภาพของน้ำ อากาศ เสียง และขยะมูลฝอย เป็นต้น

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์