ท่องเที่ยว
||
เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
||
ดูดวงตำราไทย
||
อ่านบทละคร
||
เกมส์คลายเครียด
||
วิทยุออนไลน์
||
ดูทีวี
||
ท็อปเชียงใหม่
||
รถตู้เชียงใหม่
Truehits.net
dooasia : ดูเอเซีย
รวมเว็บ
บอร์ด
เรื่องน่ารู้ของสยาม
สิ่งน่าสนใจ
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
เที่ยวหลากสไตล์
มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
เส้นทางความสุข
ขับรถเที่ยวตลอน
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
อุทยานแห่งชาติในไทย
วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
ไก่ชนไทย
พระเครื่องเมืองไทย
เที่ยวภาคเหนือ
กำแพงเพชร
:
เชียงราย
:
เชียงใหม่
:
ตาก
:
นครสวรรค์
:
น่าน
:
พะเยา
:
พิจิตร
:
พิษณุโลก
:
เพชรบูรณ์
:
แพร่
:
แม่ฮ่องสอน
:
ลำปาง
:
ลำพูน
:
สุโขทัย
:
อุตรดิตถ์
:
อุทัยธานี
เที่ยวภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
:
ขอนแก่น
:
ชัยภูมิ
:
นครพนม
:
นครราชสีมา(โคราช)
:
บุรีรัมย์
:
มหาสารคาม
:
มุกดาหาร
:
ยโสธร
:
ร้อยเอ็ด
:
เลย
:
ศรีสะเกษ
:
สกลนคร
:
สุรินทร์
:
หนองคาย
:
หนองบัวลำภู
:
อำนาจเจริญ
:
อุดรธานี
:
อุบลราชธานี
:
บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
เที่ยวภาคกลาง
กรุงเทพฯ
:
กาญจนบุรี
:
ฉะเชิงเทรา
:
ชัยนาท
:
นครนายก
:
นครปฐม
:
นนทบุรี
:
ปทุมธานี
:
ประจวบคีรีขันธ์
:
ปราจีนบุรี
:
พระนครศรีอยุธยา
:
เพชรบุรี
:
ราชบุรี
:
ลพบุรี
:
สมุทรปราการ
:
สมุทรสาคร
:
สมุทรสงคราม
:
สระแก้ว
:
สระบุรี
:
สิงห์บุรี
:
สุพรรณบุรี
:
อ่างทอง
เที่ยวภาคตะวันออก
จันทบุรี
:
ชลบุรี
:
ตราด
:
ระยอง
เที่ยวภาคใต้
กระบี่
:
ชุมพร
:
ตรัง
:
นครศรีธรรมราช
:
นราธิวาส
:
ปัตตานี
:
พัทลุง
:
พังงา
:
ภูเก็ต
:
ยะลา
:
ระนอง
:
สงขลา
:
สตูล
:
สุราษฎร์ธานี
www.dooasia.com
>
มรดกไทย
>
ประวัติจังหวัด
|
ย้อนกลับ
|
หน้าต่อไป
|
|
พัฒนาทางประวัติศาสตร์
|
มรดกทางธรรมชาติ
|
มรดกทางวัฒนธรรม
|
มรดกทางพระพุทธศาสนา
|
บุคคลสำคัญของท้องถิ่น
พระยาโบราณราชธานินทร์
ท่านเป็นผู้วางผังเมืองปทุมธานี มีนามเดิมว่า พร เดชะคุปต์ เป็นชาวบางกอกน้อย เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๔ เป็นบุตรขุนฤทธิ์ดรุณเศรษฐ์ เมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบแล้ว ได้ไปรับราชการที่กระทรวงมหาดไทย ท่านเป็นผู้บุกเบิกค้นคว้าโบราณสถาน โบราณวัตถุ ขุดค้นผังเมืองปราสาทพระราชฐานบริเวณพระราชวังโบราณที่พระนครศรีอยุธยา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาโบราณราชธานินทร์ ฯ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระยาโบราณราชธานินทร์ เป็นผู้วางผังเมืองปทุมธานีใหม่ และเป็นผู้คุมดำเนินการสร้างอาคารศาลาว่าการปทุมธานีหลังเดิม จวนเจ้าเมือง บ้านพักผู้พิพากษา เรือนจำจังหวัด รวมทั้งสถานที่ราชการอื่น ๆ
แต่เดิมก่อนหน้านั้นบริเวณที่ทำการเมืองจะใช้จวนเจ้าเมืองเป็นที่ว่าราชการ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้มีการสร้างสถานที่ราชการ ได้เกิดศาลากลางจังหวัด ศาลและเรือนจำ เป็นตัวเมืองที่บ้านโคกชะพลู ตำบลบางกระดี่ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้โปรดเกล้าให้พระยาโบราณราชธานินทร์ เป็นผู้ดำเนินการย้ายศาลากลางจังหวัด และสถานที่ราชการอื่น ๆ ของเมืองปทุมธานี จากบ้านโคกชะพลู ตำบลบางกระดี่ บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา มาตั้งวที่บ้านบางปรอก ตำบลบางปรอก บนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากดบริเวณที่ตั้งตัวเมืองเดิมมีตลิ่งงอกออกมา ทำให้คลองตื้นเขิน การเดินทางด้วยเรือทำได้ลำบาก
หม่อมราชวงศ์ สุววพันธ์ สนิทวงศ์
ท่านเป็นผู้อำนวยการขุดคลองรังสิต เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๖ เป็นบุตรในพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวง ไปศึกษาวิชาการแพทย์ที่สก็อตแลนด์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๕ ก่อนเข้าเรียนวิชาแพทย์ได้เข้าเรียนด้านวิศวกรรมก่อน เนื่องจากอายุยังน้อย ทำให้ท่านมีความรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องเครื่องจักรกลแบบตะวันตก อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการขุดคลองรังสิต ในเวลาต่อมา
ม.ร.ว.สุวพันธ์ ฯ สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยจากสก๊อตแลนด์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๗ ในเวลาต่อมาได้รับพระราชทานยศนายพันตรี มีตำแหน่งเป็นแพทย์ในทางทหารบก และทหารเรือ ท่านได้รับราชการจนนถึงปี พ.ศ.๒๔๓๒ จึงได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ ในขณะนั้นโครงการขุดคลองรังสิตได้รอเริ่มแล้วยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๑ โดยความดำริของพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ต่อมา ม.ร.ว.สุวพันธ์ ได้เข้ามาดูแลบริหารงานโครงการขุดคลองรังสิตทั้งหมด ในตำปหน่งผู้อำนวยการบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม
ม.ร.ว.สุววพันธ์ ได้บริหารงาน เริ่มสัมปทานครั้งแรกในโครงการรังสิต เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๓ ในเขตทุ่งหลวง หรือที่เรียกต่อมาว่าทุ่งรังสิต เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลบจอมเกล้าและพระเจ้าจอมมารดา ม.ร.ว.เนื่อง ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสายสนิทวงศ์
ในการดำเนินการขุดคลอง มีการลงทุนนำเครื่องจักรเข้ามาใช้แทนแรงงานคนได้แก่ รถขุด เรือขุด เรือยนต์ และเรือกลไฟ มีการจ้างวิศวกร และช่างสำรวจชาวต่างประเทศเข้ามาทำงาน ม.ร.ว.สุวพันธ์ นอกจากจะมีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการขุดคลอง แล้วยังเข้ามาเป็นวิศวกรประจำเรือขุดของบริษัทด้วย
บริษัทขุดคลองแลดูนาสยาม ขุดคลองได้ทั้งสิ้น ๕๙ คลอง รวมความยาวประมาณ ๒๒,๗๘๐ เส้น แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๑๔๔๐
นอกเหนือจากการขุดคลองรังสิตแล้ว ม.ร.ว.สุววพันธ์ ยังได้นำเทคโนโลยีตะวันตกเข้ามาใช้ในการทำนาข้าวในที่นารังสิต โดยได้สั่งเครื่องจักรไถนาชนิดที่ใช้ควายเทียมจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาทดลองทำนา
นายจำปา เยื้องเจริญ
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษามอญ เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๙ ที่ตำบลบางตะไนย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรนายสันต์และนางเทียบ เยื้องเจริญ ซึ่งมีเชื้อสาญเป็นชาวรามัญด้วยยกันทั้งคู่ เมื่อเยาวัยท่านได้ศึกษาจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาส จังหวัดนนทบุรี จากนั้นได้บรรพชาเป็นสามเณรและได้ศึกษาอักษรมอญ พร้อมกับหัดเทศน์มหาชาติกัณฑ์มัทรี ทำนองมอญด้วย ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เรียนพระปริยัติธรรม สอบได้นักธรรมตรี และได้ลาอุปสมบทเพื่อรับหมายเกณฑ์เป็นทหาร เมื่อพ้นการเป็นทหารแล้ว ได้มาประกอบอาชีพส่วนตัว
จากนั้นได้เข้ารับราชการที่กรมไปรษณีย์ แล้วโอนมารับราชการที่กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปกร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕ ทำงานในแผนกหอวชิรญาณ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการรักษาศิลาจารึก ระเบียบรักษาวหนังสือ ที่เป็นตัวเขียน ตรวจสอบอ่านและคัดสำเนาจารึกโบราณ โดยได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการอ่าน ตรวจสอบ แปรอักษรมอญ และอักษรไทยโบราณ
ผลงานที่พอประมวลได้ มีดังนี้
๑. เป็นอาจารย์พิเศษสอนภาษามอญ และอักษรมอญ ในภาควิชาตะวันออก คณะโบราณคดี กรมศิลปากร
๒. จัดทำพจนานุกรมภาษามอญ - ไทย ร่วมกับศาสตราจารย์ ดร.บรรจบ พันธุเมธา
๓. งานที่เกี่ยวกับด้านจารึก ได้ตรวจแปลจารึกต่าง ๆ คือ
- จารึกวัดโพธิ์ร้าง (นฐ.ฯ) อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ
- จารึกฐานพระพุทธรูปยืนวัดข่อย (ลบ.ฯ) อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ
- จารึกวัดมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช (นศ.ฯ) อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ
- จารึกถ้ำนารายณ์ (สบ.๑) อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ
- จารึกเมืองบึงคอกช้าง ๓ (จน.๓) อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ
- จารึกเสาแปดเหลี่ยน (สป.๑) อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ
- จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา ๑ (ขก.๑๖) อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ
- จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา ๒ (ขก.๑๗) อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ
- จารึกหลังพระพิมพ์ดินเผานาดูน ๑ (มค ๒) อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ
- จารึกหลังพระพิมพ์ดินเผานาดูน ๒ (มค ๒) อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ
- จารึกหลังพระพิมพ์ดินเผาเมืองฟ้าแดดสงยาว ๑ (กส ๑) อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ
- จารึกหลังพระพิมพ์ดินเผาเมืองฟ้าแดดสงยาว ๒ (กส ๒) อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ
- จารึกสถูปดินเผาเมืองทัพชุมพล ๑ (นว ๗) อักษรมอญโบราณ และบาลี
- จารึกวัดโพธิ์ชัยเสมาชัยร้าว (กส.๗) อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ
- จารึกหินบดคูเวียงมะโน (ชม.๔๕) อักษรมอญโบราณ ภาษาพม่าโบราณ
- จารึกวิหารโพธิลังกา (นศ.๒) อักษรมอญโบราณ ภาษาพม่าโบราณ
- จารึกพระเจ้าสราธิสิทธิ ๑ วัดดอนแก้ว (ลพ ๑) อักษรมอญโบราณ ภาษาบาลี
- จารึกพระเจ้าสราธิสิทธิ ๒ วัดกู่กุด (ลพ ๒) อักษรมอญโบราณ ภาษามอญโบราณและภาษามอญ
- จารึกวัดมหาวัน (ลพ ๓) อักษรมอญโบราณ ภาษามอญ
- จารึกบ้านหลวย (ลพ.๖) อักษรมอญโบราณ ภาษามอญ
- จารึกสมิงสิรนิมะโนราชา เป็นลานทองแดง (กท ๒๗) อักษรมอญโบราณ ภาษามอญ
|
ย้อนกลับ
|
หน้าต่อไป
|
บน
|
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย
www.dooasia.com
เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com
ใช้
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
.